พุทธชยันตี 2600 ปี หรือ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (อังกฤษ : Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha's Enlithenment ) [ 1] [ 2] เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา เถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555 [ 3]
การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา [ 4] พม่า และประเทศไทย [ 5] 1
โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน )
ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555 [ 6]
ตราสัญลักษณ์
ประเทศไทย
ธงสัญลักษณ์พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ได้เสนอรูปแบบพร้อมความหมายธงสัญลักษณ์แก่มหาเถรสมาคม และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เป็นสัญลักษณ์การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ให้คณะสงฆ์ หน่วยงานทางราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ใช้ประดับตกแต่ง ณ สถานที่ราชการ วัดและเคหสถานทั่วประเทศ ตั้งแต่ช่วงมาฆบูชา[ 7] หรือช่วงเทศกาลวิสาขบูชา (วันที่ 29 พฤษภาคม 2555) เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี 2555[ 8]
โดยธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี มีรูปแบบดังนี้
ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงสีเหลือง
มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี
รูปธรรมจักรมีซี่ จำนวน 12 ซี่ ซึ่งหมายถึง ญาณ 3 ในอริยสัจ 4
มีชื่องานภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะอยู่รอบวงธรรมจักร หากใช้ประดับในต่างประเทศหรือสถานที่ระดับสากล สามารถสลับที่ระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้ แล้วแต่กรณี
ความหมายของธงสัญลักษณ์นั้น ใบโพธิ์ หมายถึง การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า สีเขียวแห่งใบโพธิ์ หมายถึง ความเจริญงอกงามของพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ธรรมจักรกลางผืนธงฉัพพรรณรังสี หมายถึง หลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า กนกลายไทยชูช่อฟ้า หมายถึง ผืนแผ่นดินไทยได้เชิดชูพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า [ 9]
ประเทศอื่น ๆ
การจัดงานในประเทศไทย
รายละเอียด
การจัดงานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ
1. พิธีหลวง พิธีที่มีความเกี่ยวข้องกับสำนักพระราชวัง หรือเป็นพิธีพุทธบูชาที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในกิจกรรมพุทธบูชาในช่วงเวลาการฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในวาระต่าง ๆ เช่น พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวงจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานยังมณฑลพิธีงานพุทธชยันตี 2600 ปี ณ ท้องสนามหลวง การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า[ 10] การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปสมโภชพุทธชยันตี[ 11] การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกฉัตรประดิษฐานเหนือพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง[ 12] เป็นต้น
2. รัฐพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ภาครัฐอำนวยการ รวมถึงพิธีต่าง ๆ ที่มหาเถรสมาคม ดำริหรือมีมติให้เป็นกิจกรรมโดยคณะสงฆ์ไทย โดยมีการสนับสนุนและใช้งบประมาณของภาครัฐ เช่น การจัดตั้งคณะอำนวยการจัดงาน ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในลักษณะต่าง ๆ การจัดกิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรม 1 จังหวัด 1 อำเภอ 1 ท้องถิ่น : 1 พุทธบูชา เป็นต้น[ 13] [ 14] [ 15]
3. ราษฎรพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ วัด พระสงฆ์ องค์กรภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนร่วมกันจัดขึ้นด้วยความศรัทธา ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการเวียนเทียน การจัดทำบุญและถวายมหาสังฆทาน[ 16] กิจกรรมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ[ 17] [ 18] กิจกรรมงานวัดลอยฟ้า กิจกรรมฉายภาพยนตร์สื่อธรรมะทางพระพุทธศาสนา [ 19] กิจกรรมตักบาตรพระ 1,000,000 รูป[ 20] เป็นต้น
การเตรียมงาน
ริ้วกระบวนอิสริยยศอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ หลวง จากพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในโอกาสพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 28/2553 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 มหาเถรสมาคมได้เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 ครบรอบ 26 ศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเบื้องต้น และมหาเถรสมาคมได้มีมติที่ 628/2553[ 21] เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 เป็นพิเศษ เพราะวันวิสาขบูชา ปี 2555 ถือเป็นวันสำคัญยิ่งเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 2,600 ปี หรือครบศตวรรษที่ 26 แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประสานขอรับฟังความคิดเห็นจากกรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสงฆ์ เจ้าคณะภาค นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการจัดกิจกรรมพิเศษให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
ในปี พ.ศ. 2555 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้มีการประชุมหารือร่วมกับ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนกรมการศาสนา ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผู้แทนมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ และองค์กรภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อสรุปหาแนวทางการจัดงาน และเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อเห็นชอบ และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้แนวทางการดำเนินงานตามที่ที่ประชุมของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดังกล่าวเสนอมา โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการจัด[ 22] โดยที่ประชุมมีมติร่วมกันดังนี้
ใช้ชื่อว่า “งานฉลองสัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า”
รัฐบาลและคณะสงฆ์ไทยโดยมหาเถรสมาคม เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานหลัก
ใช้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล
การจัดงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ด้านการปฏิบัติบูชา ด้านวิชาการ และด้านกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
ระยะเวลาจัดงานในช่วงสัปดาห์เทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 - วันที่ 4 มิถุนายน 2555 รวม 7 วัน
ให้มีธงสัญลักษณ์ “งานฉลอง สัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” เพื่อให้ทุกวัดทั้งในและต่างประเทศใช้ประดับบริเวณวัดและสถานที่เหมาะสม
คณะกรรมการจัดงานภาครัฐ
ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า[ 23] [ 24] กรรมการประกอบด้วย
มหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ[ 23] [ 24]
พิธีหลวง
หมายกำหนดการพิธีและพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พุทธศักราช 2555 ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ดังต่อไปนี้
รัฐพิธี
ราษฏรพิธี
การจัดงานในประเทศอื่น ๆ
ชาวพุทธศรีลังกาฉลองสัมพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย
ในประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้มีการจัดงานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ พร้อมกันในปี พ.ศ. 2555 เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีเนื่องด้วยการนับพุทธศักราชที่แตกต่างกัน ทำให้ประเทศต่าง ๆ เช่น ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และพม่า จัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ เร็วกว่าประเทศไทย 1 ปี 1
โดยในประเทศศรีลังกา พม่า อินเดีย ได้ประกาศให้มีการเฉลิมฉลองในวาระนี้เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วิสาขบูชา พ.ศ. 2553 ถึงพ.ศ. 2555[ 26] เช่นในประเทศศรีลังกาใช้ชื่องานว่า The 2600th Sambuddathwa Jayanthi โดยจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่ทั่วประเทศในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา ในปี พ.ศ. 2554 (พ.ศ. 2555 ตามการนับพุทธศักราชแบบศรีลังกา) มีการออกเหรียญที่ระลึกโดยรัฐบาล การจัดสร้างอนุสรณ์สถานพุทธชยันตี และการบูรณะพุทธเจดีย์สถานโบราณในเมืองอนุราธปุระ และกิจกรรมพุทธบูชาต่าง ๆ ถูกจัดขึ้นทั่วประเทศ ในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ส่งเสริมให้ประชาชนไปนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน โดยมีการจัดงานใหญ่ของรัฐบาลและคณะสงฆ์ศรีลังกาในพุทธสถานสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติในประเทศอินเดีย-เนปาล ตลอดทั้งปี[ 27] [ 28]
เชิงอรรถ
หมายเหตุ 1 : ประเทศไทยจัดงานฉลอง พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งช้ากว่าประเทศอื่น ๆ 1 ปี โดยประเทศอินเดีย ศรีลังกา และพม่า จัดงานฉลองนี้ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2554 [ 29] (ตามการนับพุทธศักราชแบบไทย) เนื่องจากประเทศไทยนับพุทธศักราชช้ากว่าประเทศอื่น โดยประเทศไทยนับหนึ่งปีหลังพุทธปรินิพพานเป็น พ.ศ. 1 แต่ประเทศอื่นนับตั้งแต่การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเป็น พ.ศ. 1 (ดูเพิ่มที่ พุทธศักราช )
อ้างอิง
↑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.icundv.com 20-3-55
↑ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2555). งานฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment.). [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : [1] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 20-3-55
↑ เดลินิวส์ออนไลน์. (2555). พุทธชยันตี 2,600 ปีตรัสรู้. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.dailynews.co.th/article/342/15095 เข้าถึงเมื่อ 19-3-55
↑ Ministry of Buddhasasana and Religious Affairs. (2012). Sri Sambuddhatva Jayanthi Secretariat. [on-line]. เข้าถึงได้จาก [2] เก็บถาวร 2019-05-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 19-3-55
↑ วัดไทยลาสเวกัส. (2555). คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการจัดงานพุทธชยันตี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก [3] เก็บถาวร 2012-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เข้าถึงเมื่อ 19-3-55
↑ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2555). มติมหาเถรสมาคมที่ 1/2555 เรื่อง การจัดงานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.mahathera.org/uploaded_pdf/c-พุทธชยันตี_1.pdf [ลิงก์เสีย ]
↑ คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ การจัดงานฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี . (2555). ธงสัญลักษณ์ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.buddhajayanti.net/th/article_detail.php?ID=5 เก็บถาวร 2012-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ การจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี . (2555). แผนการดำเนินงานการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.buddhajayanti.net/th/activity-bangkok.php เก็บถาวร 2012-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2555). มติมหาเถรสมาคมที่ 242/2555 เรื่อง ขอความเห็นชอบการเตรียมงานฉลองพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.mahathera.org/uploaded_pdf/พุทธชยันตี2.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ 10.0 10.1 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2555). ปฏิทินการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน 2555 . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [4] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ ผู้จัดการออนไลน์. (2555). “ราชินี” ทรงเททองหล่อพระพุทธปฏิมา บำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพุทธชยันตี 2,600 ปี . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [5] เก็บถาวร 2012-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ ผู้จัดการออนไลน์. (2555). “สมเด็จพระนางเจ้าฯ” ทรงยกฉัตรประดิษฐานเหนือพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [6] เก็บถาวร 2012-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ เดลินิวส์ออนไลน์. (2555). รัฐบาลจัดงานพุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทั่วประเทศ . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [7]
↑ ที่ทำการปกครองจังหวัดอุบลราชธานี . (2555). เรื่อง: โครงการ "หนึ่งจังหวัด หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งอำเภอ หนึ่งพุทธบูชา หนึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หนึ่งพุทธบูชา . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [8] เก็บถาวร 2016-03-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). แนวทางการดำเนินงาน โครงการ ๑ จังหวัด ๑ อำเภอ ๑ ท้องถิ่น : ๑ พุทธบูชา ฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า [ลิงก์เสีย ] . กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
↑ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3. (2555). งานบุญ วิสาขปุรณมี ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [9]
↑ วัดคุ้งตะเภา. (2555). กิจกรรมแห่สมโภชพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระสังฆราช 2 ประเทศ (ประเทศไทยและประเทศพม่า) . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [10] เก็บถาวร 2016-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ วัดสังฆทาน. (2555). ร่วมฉลองและอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ ปีที่8 ท่าน้ำนนท์ฯ สู่วัดสังฆทาน . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [11] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [12] เก็บถาวร 2016-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ มติชนออนไลน์. (2555). อย่าพลาด ! "งานวัดลอยฟ้า" ณ สยามพารากอน รูปแบบใหม่ของพื้นที่เรียนรู้ธรรมะ . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [13]
↑ วัดพระธรรมกาย. (2555). โครงการตักบาตรพระ 1,000,000 รูป 77 จังหวัด ทุกวัดทั่วไทย . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก : [14]
↑ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2555). มติมหาเถรสมาคมที่ 628/2553 เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดงานวันวิสาขบูชาปี 2555 ครบรอบ 26 ศตวรรษแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.onab.go.th/attachments/5654_5522_648-53.pdf เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2555). มติมหาเถรสมาคมที่ 1/2555 เรื่อง การจัดงานฉลองสัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า . [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.mahathera.org/uploaded_pdf/c-พุทธชยันตี_1.pdf [ลิงก์เสีย ]
↑ 23.0 23.1 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 60/2555 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เก็บถาวร 2012-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ 24.0 24.1 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 83/2555 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพิ่มเติม เก็บถาวร 2012-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ “พระราชินี” เสด็จฯเวียนเทียนบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ท้องสนามหลวง
↑ พระวิจิตรธรรมาภรณ์. (2555). พุทธชยันตี. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=5813:2012-05-10-15-59-57&catid=145:buddhajayanti&Itemid=398 เก็บถาวร 2012-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ Sri Lanka Broadcasting Corporation. (2011). The 2600th Sambuddathwa Jayanthi and Vesak week to be officially declared on next week. . [on-line]. Available : http://www.slbc.lk/index.php/component/content/article/1-latest-news/6503-the-2600th-sambuddathwa-jayanthi-and-vesa [ลิงก์เสีย ]
↑ Asian Tribune is published. (2011). The 2600th Sambuddathwa Jayanthi Vesak Celebrated In Myanmar . [on-line]. Available : http://www.asiantribune.com/news/2011/05/31/2600th-sambuddathwa-jayanthi-vesak-celebrated-myanmar เก็บถาวร 2011-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ UN Secretary General (Ban Ki Moon). (2011). Secretary-General, at Event Marking 2,600 Years since Buddha’s Enlightenment, Urges Remembrance of His Message: Tolerance, Respect for All Religions. [on-line]. Available : http://www.un.org/News/Press/docs/2011/sgsm13573.doc.htm
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
วันสำคัญปกติ
วันสำคัญพิเศษ (เวียนเทียน) วันสำคัญพิเศษอื่น ๆ วันสำคัญตามพระวินัย งานฉลองในโอกาสพิเศษ ดูเพิ่ม
(⁂) วันหยุดราชการ
(!) เคยเป็นวันหยุดราชการ
(*) ไม่มีกำหนดวันแน่นอนตามปฏิทินจันทรคติ