มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ในการกำกับดูแลของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ ฝ่ายธรรมยุติกนิกายของประเทศไทย ที่จัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่เริ่มประยุกต์หลักพระพุทธศาสนาให้เข้ากับศาสตร์วิชาการสังคมสมัยใหม่ โดยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศไทยและเป็นหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย[3] ประวัติ[4]สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเป็นพระน้องยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระดำริจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นภายใน วัดบวรนิเวศวิหาร โดยวิธีจัดการศึกษาแบบสมัยใหม่ มีลักษณะแตกต่างจากการเล่าเรียนภาษาบาลีตามประเพณีแบบเดิม ในขณะเดียวกัน ก็นำเอาวิธีวัดผลแบบข้อเขียนมาใช้เป็นแห่งแรกของประเทศไทยด้วย หลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงก่อตั้งสถาบันการศึกษานี้ขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีพระราชดำรัสให้พระองค์ทรงช่วยปรับปรุงโรงเรียนสอนภาษาบาลี ชื่อ "มหาธาตุวิทยาลัย" ภายในวัดมหาธาตุ ขึ้นเป็น "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เพื่อจัดการให้คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกายได้มีสถาบันการศึกษาชั้นสูงในลักษณะเดียวกัน ควบคู่ไปกับมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งสมัยนั้นเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูง และส่วนมากยังจำกัดอยู่แต่คณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต ต่อมา ทั้ง มหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ปิดตายลงเพราะประสบปัญหาหลายประการด้วยกัน นับเป็นเวลาหลายสิบปี จนกระทั่ง ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพได้พยายามรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ จนประสบผลสำเร็จ เมื่อ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์และคณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ได้ให้การอุปถัมภ์ โดยได้ทำการประกาศรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2488 ตามมาด้วย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งประกาศรื้อฟื้นกิจการในปี พ.ศ. 2490 อาจารย์สุชีพ ได้แถลงว่า สาเหตุที่ต้องมีมหาวิทยาลัยสงฆ์ก็เพราะคณะสงฆ์จำเป็นต้องผลิตบุคลากรที่รู้ทันวิชาการสมัยใหม่ มิฉะนั้น คณะสงฆ์จะไม่สามารถสั่งสอนแนะนำชาวบ้านได้ และการสื่อสารกันก็จะเกิดความไม่เข้าใจ เพราะชาวบ้านศึกษาด้านคดีโลก ส่วนพระสงฆ์ศึกษาด้านคดีธรรม ท่านจึงต่อสู้เพื่อให้ได้มหาวิทยาลัยสงฆ์มาอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด มหามกุฏราชวิทยาลัย และ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็ได้รับการรื้อฟื้นมาอีกครั้งหนึ่ง จนได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐในปี พ.ศ. 2540 ในสมัยนายสุขวิช รังสิตพลเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอให้รัฐสภาตรา ตามความในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 อันเป็นผลพวงมาจากการทุ่มเทและความมุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้งของท่านฯ อย่างแท้จริง เหตุผลนี้ ทำให้คนรุ่นหลังกล่าวยกย่อง "อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ" ว่าเป็น บิดาแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์ไทย เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่านและสืบสานเจตนารมณ์ของท่าน คณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิปุญญานุภาพ ขึ้นโดยความเห็นชอบของท่านเพื่อให้ทุนสนับสนุนนักศึกษาหรือครูอาจารย์ผู้ค้นคว้าวิจัยทางพระพุทธศาสนา ณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และดำเนินกิจการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
คณะปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแบ่งออกเป็น 5 คณะ[6]
วิทยาเขต
วิทยาลัย
พิธีพระราชทานปริญญาบัตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดถวายให้ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จพระดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษา บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ณ อาคารสุชีพ ปุญญานุภาพ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทำเนียบอธิการบดี
ทำเนียบนายกสภา
ความร่วมมือกับนานาชาติปัจจุบัน มหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่ตกลงในความร่วมมือเพื่อพัฒนา ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ใน อังกฤษ เพื่อเผยแผ่หลักพุทธธรรมให้กว้างขวางไปสู่นานาประเทศ นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียเพื่อพัฒนาการศึกษาพุทธศาสน์ศึกษาด้วย เกียรติภูมิของชาวมหามกุฏราชวิทยาลัยสิ่งที่ชาวมหามกุฏราชวิทยาลัยภาคภูมิใจที่สุดก็คือการเป็นมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาหรือมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศ หลังจากที่มีการเปิดการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัย นักศึกษาและครูอาจารย์มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้มีเป้าประสงค์ยิ่งใหญ่ตามเจตนารมณ์ของ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ คือพยายามขยายการอบรมจริยธรรมหรือศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาไปทั่วประเทศในรูปแบบต่างๆ กล่าวได้ว่าในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่ประเทศได้รับอิทธิพลวัตถุนิยมจากตะวันตก นักศึกษาและครูอาจารย์มหามกุฏราชวิทยาลัยได้มีบทบาทสำคัญในการชี้นำให้เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นศาสนาประจำชาติที่เป็นรากฐานของสังคมไทยมาช้านาน พระสงฆ์สามเณรที่เป็นพระนักศึกษาหลายรูปได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาเหล่านี้จนกระทั่งสำเร็จการศึกษา กิจกรรมที่คณาจารย์และนักศึกษาได้กระทำกันมาเพื่อปลูกฝังศีลธรรมในประเทศไทยมีจำนวนมาก อาทิ
ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยสงฆ์มหามกุฏราชวิทยาลัยหลักๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ประชาชนทั่วไปที่ติดตามผลงานของมหามกุฏราชวิทยาลัยมาโดยตลอดจึงอยู่ที่ความสามารถในการผลิตบุคลากรทางพระพุทธศาสนาเพื่อพิทักษ์รักษาพระพุทธศาสนาและเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับชั้น บุคคลที่มีชื่อเสียงคณาจารย์
ศิษย์เก่า
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|