Share to:

 

ฟิล์มเลือด

Blood film
การแทรกแซง
Two push-type peripheral blood smears suitable for characterization of cellular blood elements. Left smear is unstained, right smear is stained with Wright-Giemsa stain.
ICD-9-CM90.5
MedlinePlus003665
ภาพลิมโฟไซต์จากฟิล์มเลือดจากการย้อมแบบ Wright's stain ซึ่งสามารถเห็นเม็ดเลือดแดง และเกล็ดเลือดด้วย

ฟิล์มเลือด หรือ สเมียร์เลือด (อังกฤษ: Blood film หรือ Blood smear) คือ การหยดเลือดลงบนสไลด์แล้วทำการไถสไลด์เพื่อให้เซลล์เม็ดเลือดต่าง ๆ กระจายตัวไปบนแผ่นสไลด์ หลังจากนั้น จึงนำแผ่นสไลด์ไปทำการย้อมสี และนำไปวินิจฉัยทางโลหิตวิทยาต่อไป ฟิล์มเลือดนั้นสามารถบอกถึงลักษณะและจำนวนของเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และสามารถใช้ประเมินปริมาณฮีโมโกลบินได้อย่างคร่าว ๆ นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ในการวินิจฉัยปรสิตบางชนิดที่อาศัยอยู่ในเลือด อาทิเช่น เชื้อมาลาเรีย และ เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคเท้าช้าง เป็นต้น

การเตรียมฟิล์มเลือด

การเตรียมฟิล์มเลือด เริ่มจากการหยดเลือดลงบนแผ่นสไลด์ที่ด้านใดด้านหนึ่งของสไลด์ แล้วใช้ตัวไถมาแตะที่ด้านหน้าของหยดเลือด โดยให้ตัวไถทำมุม 30-45 องศากับแผ่นสไลด์ แล้วไถตัวไถไปข้างหน้าด้วยความเร็วสม่ำเสมอ จะเกิดเป็นฟิล์มเลือด โดยฟิล์มเลือดที่ดีนั้นควรจะมีความยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร และปลายฟิล์มมน (ปลายลิ้นหมา) หลังจากนั้น จึงนำไปย้อมสี

การย้อมสีฟิล์มเลือด

สีที่ใช้ในการย้อมนั้น คือ Romanowsky dyes ซึ่งสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท แต่ที่นิยมนำมาใช้มากทางโลหิตวิทยา ได้แก่

  1. Giemsa stain
  2. Wright's stain ส่วนมากใช้สำหรับการดูเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ใช้เวลาในการเตรียมไม่นานนัก

ประโยชน์ของฟิล์มเลือด

ฟิล์มเลือดนั้นสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยวินิจฉัยโรคทางโลหิตวิทยาได้ โดยปกติแล้วเราใช้ฟิล์มเลือดเพื่อการตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (CBC:Complete blood count) อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้ฟิล์มเลือดเพื่อวินิจฉัยเบื้องต้นของโรคทางโลหิตวิทยาได้ อาทิเช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว โลหิตจาง รวมทั้ง ดูความผิดปกติของรูปร่างและจำนวนของเม็ดเลือดต่าง ๆ ภายในร่างกายได้ด้วย

นอกจากนี้ ฟิล์มเลือดยังมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคที่เกิดจากปรสิตบางชนิดได้ อาทิเช่น มาลาเรีย หรือโรคไข้จับสั่น ซึ่งบางระยะของปรสิตที่ก่อโรคนี้จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง ดังนั้น เราจึงสามารถใช้ฟิล์มเลือดในการดูลักษณะความแตกต่างของเชื้อเพื่อจำแนกสปีชีส์ของเชื้อในเบื้องต้นได้ เป็นต้น

อ้างอิง

  • สุภินันท์ สเป็ค-สายเชื้อ ,โลหิตวิทยา,2534
Kembali kehalaman sebelumnya