ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในวิชาเศรษฐศาสตร์ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (อังกฤษ: recession) เป็นการหดตัวของวัฏจักรธุรกิจซึ่งส่งผลให้เกิดการชะลอโดยรวมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ[1][2] ตัวชี้วัดเศรษฐกิจมหภาคอย่างผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น (GDP) รายจ่ายการลงทุน กําลังผลิตของภาคอุตสาหกรรม รายได้ครัวเรือน กำไรธุรกิจและเงินเฟ้อลดลง ส่วนการล้มละลายและอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ในสหราชอาณาจักร นิยามว่าเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นลบสองไตรมาสติดต่อกัน[3] โดยทั่วไปภาวะเศรษฐกิจถดถอยเกิดเมื่อมีรายจ่ายลดลงอย่างกว้างขวาง (การเปลี่ยนแปลงอุปทานเป็นลบ) ซึ่งอาจเกิดจากหลายเหตุการณ์อย่างวิกฤตการเงิน การเปลี่ยนแปลงการค้าภายนอก และการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์เป็นลบ หรือการแตกของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ รัฐบาลปกติสนองต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยด้วยการใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคแบบขยายตัว เช่น การเพิ่มอุปสงค์เงิน (นโยบายการเงิน) การเพิ่มรายจ่ายภาครัฐและการลดการเก็บภาษี (นโยบายการคลัง) อ้างอิง
|