เศรษฐศาสตร์มหภาค
เศรษฐศาสตร์มหภาค (อังกฤษ: macroeconomics) เป็นสาขาของเศรษฐศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถ โครงสร้าง พฤติกรรม และการตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งประกอบไปด้วยเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ประเทศ และระดับโลก[1][2] นักเศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาดัชนีรวม อาทิ จีดีพี อัตราการว่างงาน รายได้ประชาชาติ ดัชนีราคา และความสัมพันธ์ระหว่างกันของแต่ละภาคในระบบเศรษฐกิจเพื่อทำความเข้าใจถึงการทำงานของเศรษฐกิจ พวกเขายังพัฒนาแบบจำลองที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ อาทิ รายได้ประชาชาติ ผลผลิต การบริโภค การว่างงาน เงินเฟ้อ การออม การลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และการเงินระหว่างประเทศ แม้ว่าเศรษฐศาสตร์มหภาคจะเป็นศาสตร์ที่กว้าง แต่มันก็ประกอบด้วยสองส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของศาสตร์นี้ คือการศึกษาสาเหตุและผลลัพธ์ของความผันผวนในระยะสั้นในรายได้ประชาชาติ (วัฏจักรธุรกิจ) และการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวของเศรษฐกิจ (การเพิ่มรายได้ประชาชาติ) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มหภาคและการพยากรณ์มักจะถูกใช้โดยรัฐบาลเพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาและการประเมินนโยบายเศรษฐกิจ แนวคิดเศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้นเศรษฐศาสตร์มหภาคครอบคลุมหลาย ๆ แนวคิดและหลาย ๆ ตัวแปร แต่ว่ามีอยู่สามประเด็นสำคัญสำหรับงานวิจัยทางเศรษฐศาสตร์มหภาค ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคมักเชื่อมโยงปรากฏการณ์ทางผลผลิต การว่างงาน และเงินเฟ้อ นอกเหนือไปจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ หัวข้อเหล่านี้ยังมีความสำคัญอย่างมากต่อตัวแสดงทางเศรษฐศาสตร์ทุกตัว ประกอบด้วยคนงาน ผู้บริโภค และผู้ผลิต ผลผลิตและรายได้ผลผลิตประชาชาติคือผลรวมของทุกอย่างที่ประเทศผลิตได้ในช่วงขณะหนึ่ง ทุกอย่างที่ถูกผลิตขึ้นและขายสร้างรายได้ในปริมาณที่เท่ากัน ผลผลิตรวมของระบบเศรษฐกิจหนึ่งๆ ถูกไว้โดยจีดีพีต่อประชากร ผลผลิตและรายได้ถูกมองว่าเท่ากันและสามารถใช้แทนกันได้ ผลผลิตเปลี่ยนได้เป็นรายได้ ผลผลิตถูกวัดขึ้นหรือสามารถมองได้จากฝั่งการผลิตและถูกวัดเป็นผลรวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย หรือผลรวมของมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจ ผลผลิตทางเศรษฐกิจมหภาคมักถูกวัดโดยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในบัญชีประชาชาติ เศรษฐกรผู้ที่สนใจในการเพิ่มขึ้นในระยะยาวศึกษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสะสมเครื่องจักรและทุนอื่นๆ และการมีการศึกษาและทุนมนุษย์ที่ดีขึ้นเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นในผลผลิตทางเศรษฐกิจตลอดช่วงเวลา อย่างไรก็ดี ผลผลิตไม่จำเป็นจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างคนเส้นคนวาตลอดเวลา วัฏจักรธุรกิจสามารถก่อให้เกิดการลดลงในระยะสั้นที่เราเรียกว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอย เศรษฐกรมองหานโยบายทางเศรษฐศาสตร์มหาภคที่ป้องกันเศรษฐกิจไม่ให้เข้าสู้ภาวะถดถอยและทำให้การเจริญเติบโตในระยะยาวเร็วมากขึ้น การว่างงานเงินเฟ้อและเงินฝืดการที่ระดับราคาทั่วไปของทั้งประเทศเพิ่มขึ้นเรียกว่าเงินเฟ้อ ถ้าราคาลดลง นั่นคือมี เงินฝืด เศรษฐกรวัดการเปลี่ยนแปลงในราคาโดยใช้ดัชนีราคา เงินเฟ้อสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไปและเติบโตมากเกินไป ในทางเดียวกัน ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนำไปสู่เงินฝืด ธนาคารกลาง ผู้บริหารปริมาณเงินของประเทศ มักจะหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาโดยใช้นโยบายการเงิน การเพิ่มขึ้นในอัตราดอกเบี้ยหรือการลดลงในปริมาณเงินในเศรษฐกิจมักทำงานเงินเฟ้อลดลง เงินเฟ้อสามารถก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นในความไม่แน่นอนและผลเสียที่ตามมาอื่นๆ เงินฝืดทำให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจลดลง ธนาคารกลางพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพทางราคาเพื่อป้องกันเศรษฐกิจจากผลเสียที่ตามมาเมื่อราคาเกิดการเปลี่ยนแปลง แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์มหภาคอุปสงค์มวลรวม-อุปทานมวลรวมแบบจำลองเอดี-เอเอส เป็นแบบจำลองพื้นฐานในการอธิบายเศรษฐกิจมหภาค ไอเอส-แอลเอ็มแบบจำลองไอเอส-แอลเอ็มแสดงถึงการประสานกันของอัตราดอกเบี้ยและผลผลิตที่ทำให้เกิดดุลยภาพในตลาดสินค้าและตลาดเงิน ตลาดสินค้าได้แสดงผ่านดุลยภาพในการลงทุนและการออม (ไอเอส) ส่วนตลาดเงินได้แสดงดุลยภาพในอุปทานเงินและความชื่นชอบในสภาพคล่อง เส้นไอเอสประกอบด้วยจุดหลายๆ จุดที่การลงทุน เมื่ออัตราดอกเบี้ยคงที่ เท่ากับการออม เมื่อผลผลิตคงที่ เส้นโค้งไอเอสมีความชันลดลงเพราะผลผลิตและอัตราดอกเบี้ยมีความสัมพันธ์แบบผกผันกันในตลาดสินค้า แบบจำลองการเจริญเติบโตแบบจำลองการเจริญเติบโตแบบนีโอคลาสสิคของโรเบิร์ต โซโลว์ กลายเป็นแบบจำลองมาตรฐานในการอธิบายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว แบบจำลองเริ่มจากฟังก์ชันการผลิตที่รายได้ประชาชาติเป็นผลผลิตของปัจจัยนำเข้าสองอย่าง คือทุนและแรงงาน แบบจำลองโซโลว์สมมติว่าทุนและแรงงานถูกใช้ในอัตราที่คงที่โดยที่ไม่มีความผันผวนของอัตราว่างงาน และการใช้กำลังการผลิตที่มักจะพบได้ในวัฏจักรธุรกิจ การเพิ่มขึ้นในผลผลิต หรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ สามารถเกิดขึ้นได้เฉพาะหากเกิดการเพิ่มขึ้นของการสะสมทุน ประชากรที่มากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีที่นำไปสู่ผลิตภาพที่มากขึ้น (ผลิตภาพของปัจจัยรวม) การเพิ่มขึ้นในอัตราการออมส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นเพียงชั่วคราวเนื่องจากระบบเศรษฐกิจผลิตทุนมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มผลผลิต แต่อย่างไรก็ดี นำไปสู่ที่ว่าค่าเสื่อมจะจำกัดการขยายตัวของทุน ทำให้การออมจะนำมาใช้เพื่อชดเชยทุนที่เสื่อมลงไป และเงินออมจะไม่พอที่จะจ่ายให้เกิดการขยายตัวของทุนอีก แบบจำลองโซโลว์ยังแนะนำว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในรูปของผลผลิตต่อหน่วยขึ้นอยู่กับแค่เพียงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่ทำให้ผลิตภาพเพิ่มขึ้น ในทศวรรษ 1980 และ 1990 ทฤษฎีการเจริญเติบโตจากภายในได้พัฒนาขึ้นเพื่อท้าทายทฤษฎีการเติบโตแบบนีโอคลาสสิค ชุดแบบจำลองนี้อธิบายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านปัจจัยอื่นอาทิ ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขยายการผลิต และการเรียนรู้จากการทำงาน ซึ่งถูกกำหนดมาจากภายในแทนที่จะใช้การพัฒนาเทคโนโลยีจากภายนอกเมื่อดังที่ใช้ในการอธิบายการเติบโตในแบบจำลองโซโลว์ นโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคนโยบายการเงินธนาคารกลางใช้นโยบายการเงินโดยการควบคุมปริมาณเงินผ่านกลไกต่างๆ นโยบายการคลังนโยบายการคลังคือการใช้รายได้และรายจ่ายรัฐบาลในการเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจ อาทิเช่น รายจ่าย ภาษี และหนี้ เปรียบเทียบเศรษฐกรมักจะชื่นชอบนโยบายการเงินมากกว่าการคลังเพราะว่ามันมีข้อดีสองประการ พัฒนาการบทความหลัก ประวัติความคิดทางเศรษฐศาสตร์มหภาค ที่มาเศรษฐศาสตร์มหภาคเป็นลูกหลานของแขนงวิชาที่เคยแตกออกจากกันอย่างทฤษฎีวัฏจักรธุรกิจและทฤษฎีการเงินมหภาค ทฤษฎีปริมาณเงินมีอิทธิพลอย่างมากในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มันมีหลายรูปแบบ รวมทั้งรูปแบบที่อิงจากงานของเออร์วิง ฟิชเชอร์
ในมุมมองเบื้องต้นของทฤษฎีปริมาณเงินนี้ ความเร็วของเงิน (V) และปริมาณสินค้าที่ผลิตได้ (Q) คงที่ ดังนั้นการเพิ่มขึ้นในปริมาณเงิน (M) จะส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นในระดับราคา (P) ทฤษฎีปริมาณเงินเป็นหัวใจสำคัญของทฤษฎีทางเศรษฐกิจแบบคลาสสิคที่ได้รับการยอมรับในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 สำนักออสเตรียงานของลุดวิก วอน ไมสส์ ที่ชื่อ Theory of Money and Credit ตีพิมพ์ในปี 1912 เป็นหนึ่งในหนังสือสำคัญของสำนักออสเตรียที่ใช้แก้ปัญหาเศรษฐศาสตร์มหภาค เคนส์และสาวกเศรษฐศาสตร์มหภาค ในสมัยใหม่ ริเริ่มจากงานพิมพ์ของจอห์น เมนาร์ด เคนส์ที่ชื่อ General Theory of Employment, Interest and Money เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ขึ้น เศรษฐกรคลาสสิคไม่สามารถหาเหตุผลได้ว่าทำไมสินค้าถึงขายไม่ออกและการภาวะว่างงานขึ้นในคนงาน ในทฤษฎีแบบคลาสสิค ราคาและค่าจ้างจะลดจนกว่าตลาดจะตรวจผ่าน และสินค้าและแรงงานทุกชนิดจะขายออก เคนส์นำเสนอทฤษฎีใหม่ทางเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายว่าทำไมตลาดจะไม่ตรวจผ่าน ซึ่งถูกพัฒนา (ในศตวรรษที่ 20) สู่สำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์มหภาคที่เรียกว่าเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ หรือที่เรียกว่า เคนส์นิยมหรือทฤษฎีเคนส์ ในทฤษฎีแบบเคนส์ ทฤษฎีปริมาณเงินถูกทำลายลงเพราะว่าประชาชนและธุรกิจมักจะถึงเงินสดไว้ในยามที่เศรษฐกิจกำลังยากลำบาก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เขาเรียกว่าภาวะการชื่นชอบในสภาพคล่อง เคนส์ยังอธิบายผลตัวทวีว่าจะเป็นตัวทวีการลดลงของการบริโภคหรือการลงทุนเพียงเล็กน้อยให้เกิดการถดถอยทั่วทั้งเศรษฐกิจ เคนส์ยังให้ความเห็นว่าบทบาทของความไม่แน่นอนและสัญชาตญาณสัตว์มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจ รุ่นต่อมาถัดจากเคนส์ได้รวมเศรษฐศาสตร์มหภาคใน ทฤษฎีทั่วไป กับเศรษฐศาสตร์จุลภาคแบบนีโอคลาสสิคเพื่อสร้างการสังเคราะห์นีโอคลาสสิค ก่อนทศวรรษ 1950 เศรษฐกรหลายคนยอมรับในการสังเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มหภาคนี้ เศรษฐกรอย่าง พอล แซมมวลสัน ฟรังโก โมดิจานี่ เจมส์ โทบิน และโรเบิร์ต โซโลว์ พัฒนาแบบจำลองรูปนัยแบบเคนส์ขึ้นมาและสร้างทฤษฎีรูปนัยของการบริโภค การลงทุน และอุปสงค์ต่อเงินที่แบบหัวใจหลักของกรอบความคิดแบบเคนส์ สำนักการเงินนิยมมิลตัน ฟรีดแมน ได้ปรับปรุงทฤษฎีปริมาณเงินให้ควบรวมบทบาทของอุปสงค์เงินเข้าไปด้วย เขาอ้างว่าบทบาทของเงืนในเศรษฐกิจเพียงพอที่จะอธิบายภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับอุปสงค์มวลรวมไม่จำเป็นมากนัก ฟรีดแมนยังอ้างว่านโยบายการเงินมีประสิทธิภาพมากกว่านโยบายการคลัง อย่างไรก็ดี ฟรีดแมนยังคงสงสัยถึงความสามารถของรัฐบาลในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายการเงิน เขายังชื่นชอบนโยบายที่ว่าด้วยการเติบโตของปริมาณเงินอย่างคงที่เป็นการทั่วไปแทนที่การแทรกแซงเป็นระยะๆ ฟรีดแมนยังท้าทายความสัมพันธ์ของเส้นโค้งฟิลลิปส์ระหว่างเงินเฟ้อและการว่างงาน ฟรีดแมนและเอ็ดมันด์ เฟลปส์ (ผู้ที่ไม่ใช่นักการเงินนิยม) เสนอเส้นโค้งฟิลลิปส์รูปแบบเพิ่มเติมที่นำความเป็นไปได้ที่จะเกิดการได้อย่างเสียอย่างในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพระหว่างเงินเฟ้อและการว่างงานออกไป เมื่อช็อคน้ำมันในทศวรรษ 1970 สร้างการว่างงานที่มากและเงินเฟ้อที่สูง ฟรีดแมนและเฟลปส์ได้รับการสรรเสริญเป็นอย่างมาก สำนักการเงินนิยมมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 และเสื่อมความนิยมเมื่อธนาคารกลางพบว่ามันยากที่จะใช้เป้าหมายปริมาณเงินแทนที่จะเป็นอัตราดอกเบี้ยอย่างที่นักการเงินนิยมให้คำแนะนำไว้ สำนักการเงินนิยมได้รับความนิยมลดลงในเชิงการเมืองอีกครั้งเมื่อธนาคารกลางได้สร้างภาวะถดถอยขึ้นเพื่อลดภาวะเงินเฟ้อ คลาสสิคใหม่เศรษฐศาสตร์มหภาคคลาสสิคใหม่ยังคงท้าทายสำนักเคนส์ พัฒนาการหลักๆ ในแนวคิดแบบคลาสสิคใหม่มาเมื่อ โรเบิร์ต ลูคัส ริเริ่มการคาดหมายที่มีเหตุผลต่อเศรษฐศาสตร์มหภาค ก่อนหน้าลูคัส เศรษฐกรนิยมใช้การคาดหมายในอดีตที่ตัวแทนมักจะถูกสมมติว่าให้มองกลับไปยังอดีตเพื่อคาดการณ์อนาคต ภายใต้การคาดหมายที่มีเหตุผล ตัวแทนถูกมองว่ามีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้บริโภคไม่เพียงแต่สมมติอัตราเงินเฟ้อ 2% แค่เพียงเพราะว่าเป็นการหาค่าเฉลี่ยในช่วงปีที่ผ่านมา แต่เธอมองไปยังนโยบายการเงินในปัจจุบันและสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจแล้วถึงนำมาสร้างการพยากรณ์ เมื่อเศรษฐกรคลาสสิคใหม่นำการคาดหมายที่มีเหตุผลมาใส่ในแบบจำลอง พวกเขาแสดงว่านโยบายการเงินมีผลกระทบในวงจำกัด ลูคัสยังได้สร้างการวิพากษ์ที่เลื่องลือเกี่ยวกับแบบจำลองเชิงประจักษ์ของสำนักเคนส์ เขาอ้างว่าแบบจำลองพยากรณ์ที่อิงจากความสัมพันธ์เชิงประจักษ์มักจะสร้างการพยากรณ์แบบเดิมแม้ว่าข้อมูลที่นำมาสร้างแบบจำลองนั้นจะเปลี่ยนแปลงไป เขาให้การสนับสนุนแบบจำลองที่ที่อิงจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน ซึ่งในหลักการควรจะมีความแม่นยำหากสภาพเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป ภายหลังข้อวิพากษ์ของลูคัส เศรษฐกรคลาสสิคใหม่นำโดย เอดเวิร์ด ซี เพรสคอตต์ และ ฟินน์ อี คิดแลนด์ สร้างแบบจำลองวัฎจักรธุรกิจจริง (อาร์บีซี) ของเศรษฐกิจมหภาค แบบจำลองอาร์บีซีถูกสร้างโดยผนวกสมการพื้นฐานจากเศรษฐศาสตร์จุลภาคนีโอคลาสสิค ในกรณีที่จะสร้างความผันผวนในเศรษฐกิจมหภาค แบบจำลองอาร์บีซีอธิบายภาวะถดถอยและการว่างงานโดยใช้การเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีแทนที่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงในตลาดสินค้าหรือเงิน ผู้ที่จารณ์แบบจำลองอาร์บีซีอ้างว่าเงินมีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด และแนวคิดเรื่องการถดถอยทางเทคโนโลยีสามารถอธิบายการถดถอยในระยะที่ผ่านมานี้เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ อย่างไรก็ดี ช็อคในทางเทคโนโลยีเป็นเพียงสิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดในบรรดาช็อคต่อระบบจำนวนมากที่เป็นไปได้ที่สามารถนำมาสร้างแบบจำลอง ทั้งๆ ที่มีคำถามมากมายเกี่ยวกับทฤษฎีเบื้องหลังแบบจำลองอาร์บีซี แต่มันก็ได้รับการยอมรับและมีอิทธิพลมากในระเบียบวิธีทางเศรษฐศาสตร์ การตอบโต้ของเคนส์ใหม่เศรษฐกรสำนักเคนส์ใหม่ตอบโต้สำนักคลาสสิคใหม่โดยการพัฒนาการคาดการณ์อย่างมีเหตุผลและเน้นไปที่การพัฒนาแบบจำลองที่มีรากฐานมาจากจุลภาคที่ไม่ได้รับผลจากข้อวิพากษ์ของลูคัส สแตนลีย์ ฟิชเชอร์ และ จอห์น บี เทย์เลอร์ สร้างงานในระยะแรกโดยการแสดงให้เห็นว่านโยบายการเงินยังคงมีประสิทธิภาพแม้จะใช้ในแบบจำลองที่มีการคาดการณ์อย่างมีเหตุผลเมื่อค่าจ้างแรงงานถูกสัญญากำกับไว้ไม่ให้เปลี่ยน เศรษฐกรสำนักเคนส์ใหม่คนอื่นได้แก่ โอลิวีเยร์ แบลนชาร์ด ฮูลิโอ โรเตมเบิร์ก เกร็ก แมนคิว เดวิด โรเมอร์ และไมเคิล วูดฟอร์ด ขยายงานชิ้นนี้และศึกษากรณีอื่นๆ ที่ราคาและค่าจ้างขยับไม่ได้ที่นำไปสู่การที่นโยบายการเงินและการคลังนำไปสู้ผลกระทบที่แท้จริง เช่นเดียวกับแบบจำลองคลาสสิค แบบจำลองคลาสสิคใหม่ตั้งสมมติฐานว่าราคาสามารถปรับได้โดยสมบูรณ์และนโยบายการเงินจะส่งผลให้ราคาเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แบบจำลองเคนส์ใหม่เสาะหาที่มาของการที่ราคาและค่าจ้างมีความหนืดอันเนื่องมาจากการแข่งขันที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งทำให้นโยบายการเงินส่งผลกระทบต่อปริมาณแทนที่จะเป็นราคา ในช่วงท้ายทศวรรษที่ 1990 เศรษฐกรได้ข้อสรุปอย่างหยาบๆ โดยการนำความหนืดแข็งเกร็งตามตัวเงินของทฤษฎีเคนส์ใหม่ผนวกรวมกับการคาดหมายที่มีเหตุผลและระเบียบวิธีอาร์บีซีในการสร้างแบบจำลองดุลยภาพทั่วไปเชิงพลวัตแบบสุ่ม (ดีเอสจีอี) การผนวกรวมของคุณสมบัติเหล่านี้จากสำนักคิดที่แตกต่างกันทำให้เกิดการสังเคราะห์นีโอคลาสสิค แบบจำลองเหล่านี้ในปัจจุบันใช้ในธนาคารกลางหลายธนาคารและกลายเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐศาสตร์มหภาคร่วมสมัย เศรษฐศาสตร์เคนส์ใหม่ ซึ่งส่วนเนื่องพัฒนาอันเนื่องมากจากความต้องการที่จะตอบโต้แนวคิดเศรษฐศาสตร์คลาสสิคใหม่ ยังคงยืนหยัดที่จะใส่รากฐานทางเศรษฐศาสตร์จุลภาคเข้าไปยังเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์เพื่อแสดงให้เห็นว่าตลาดไม่สมบูรณ์สามารถจัดการอุปสงค์ได้อย่างไร ดูเพิ่มอ้างอิง
สารานุกรม
|