Share to:

 

องค์การความร่วมมืออิสลาม

องค์การความร่วมมืออิสลาม

  • منظمة التعاون الإسلامي
  • Organisation de la coopération islamique
  • Organisation of Islamic Cooperation
ธงชาติOIC
ธง
คำขวัญ"To safeguard the interests and ensure the progress and well-being of Muslims"
  รัฐสมาชิก
  รัฐสังเกตการณ์
  รัฐที่ถูกระงับ
ศูนย์อำนวยการซาอุดีอาระเบีย ญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย
ภาษาทางการ
ประเภทศาสนา
สมาชิก57 ประเทศ
ผู้นำ
• เลขาธิการ
ฮุซัยน์ อิบรอฮีม ฏอฮา
ก่อตั้ง
• ลงนามในกฎบัตร
25 กันยายน พ.ศ. 2512
ประชากร
• 2018 ประมาณ
1.8 พันล้าน
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2019 (ประมาณ)
• รวม
27.949 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
19,451 ดอลลาร์สหรัฐ
จีดีพี (ราคาตลาด) 2019 (ประมาณ)
• รวม
9.904 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
9,361 ดอลลาร์สหรัฐ
เอชดีไอ (2018)เพิ่มขึ้น 0.672
ปานกลาง · 122
เว็บไซต์
www.oic-oci.org

องค์การความร่วมมืออิสลาม (อังกฤษ: Organisation of the Islamic Cooperation, OIC; อาหรับ: منظمة التعاون الإسلامي, อักษรโรมัน: Munaẓẓama at-Taʿāwun al-ʾIslāmiyy; ฝรั่งเศส: Organisation de la coopération islamique, OCI) อดีตมีชื่อว่า องค์การการประชุมอิสลาม (Organisation of the Islamic Conference) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งใน ค.ศ. 1969 ประกอบด้วย 57 รัฐสมาชิก แบ่งเป็นประเทศที่มีมุสลิมเป็นส่วนใหญ่ 48 ประเทศ[1] องค์การนี้ระบุว่าตนเป็น "เสียงส่วนรวมของโลกมุสลิม" และทำงานเพื่อ "ปกป้องและป้องกันผลประโยชน์ของโลกมุสลิมด้วยการสนับสนุนสันติภาพสากลและความปรองดอง"[2]

ทาง OIC มีคณะผู้แทนถาวรในสหประชาชาตืและสหภาพยุโรป ภาษาทางการของ OIC คือภาษาอาหรับ, อังกฤษ และฝรั่งเศส รัฐสมาชิกทั้งหมดมีประชากรรวมมากกว่า 1.8 พันล้านคนใน ค.ศ. 2015[3] ซึ่งมีจำนวนต่ำกว่าหนึ่งส่วนสี่ของประชากรโลก[4]

โอไอซีมีบทบาทในประเทศไทยในกรณีพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายหลังการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยส่งตัวแทนมาสังเกตการณ์เก็บข้อมูลในพื้นที่

ประวัติ

ณ วันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1969 เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่มัสยิดอัลอักศอในเยรูซาเลม อะมีน อัลฮุซัยนี อดีตมุฟตีแห่งเยรูซาเลม เรียกการลอบวางเพลิงนี้เป็น "อาชญากรรมของชาวยิว" และเรียกร้องให้ประมุขแห่งรัฐมุสลิมทั้งหมดจัดประชุมสุดยอด[5] ไฟไหม้ที่ "ทำลายหลังคาไม้เก่าบางส่วนและมินบัรอายุ 800 ปี"[6] ทางอิสราเอลกล่าวหาว่าเป็นอาการป่วยทางจิตของผู้กระทำความผิดที่เป็นนักมูลฐานนิยมคริสเตียนชาวออสเตรเลียนามว่าเดนิส ไมเคิล โรฮาน และทางการประชุมอิสลามระบุเป็นความผิดของขบวนการกับลัทธิไซออนิสต์เป็นการทั่วไป[7]

ในวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1969 การประชุมอิสลาม ซึ่งเป็นการประชุมสุดยอดของตัวแทนจาก 24 ประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม (ตัวแทนส่วนใหญ่เป็นประมุขแห่งรัฐ) จัดขึ้นที่ราบัต ประเทศโมร็อกโก[5][2] โดยมีมติออกมาว่า

รัฐบาลมุสลิมจะปรึกษากันเพื่อส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งในด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และจิตวิญญาณ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากคำสอนอันเป็นอมตะของศาสนาอิสลาม[5]

6 เดือนต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1970 จึงได้มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอิสลามครั้งแรกที่ญิดดะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย[7] ต่อมาใน ค.ศ. 1972 จึงมีการจัดตั้งองค์การการประชุมอิสลาม (OIC, ภายหลังเป็นองค์การความร่วมมืออิสลาม) ขึ้น[8]

รัฐสมาชิก

สันนิบาตอาหรับสหภาพรัฐสภาของรัฐสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลามองค์การความร่วมมืออิสลามสหภาพอาหรับมัฆริบข้อตกลงอะกาดีรสภาเอกภาพทางเศรษฐกิจอาหรับคณะมนตรีความร่วมมืออ่าวอาหรับWest African Economic and Monetary Unionองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจองค์กรแห่งรัฐเติร์กLiptako-Gourma AuthorityLiptako-Gourma Authorityองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจแอลเบเนียมาเลเซียอัฟกานิสถานลิเบียแอลจีเรียตูนิเซียโมร็อกโกเลบานอนอียิปต์โซมาเลียอาเซอร์ไบจานบาห์เรนบังกลาเทศเบนินบรูไนบูร์กินาฟาโซแคเมอรูนชาดคอโมโรสจิบูตีแกมเบียกินีกินี-บิสเซากายอานาอินโดนีเซียอิหร่านอิรักโกตดิวัวร์จอร์แดนคาซัคสถานคูเวตคีร์กีซสถานมัลดีฟส์มาลีมอริเทเนียโมซัมบิกไนเจอร์ไนจีเรียโอมานปากีสถานกาตาร์ซูดานปาเลสไตน์ซูรินามซีเรียทาจิกิสถานโตโกตุรกีเติร์กเมนิสถานยูกกันดาสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อุซเบกิสถานเยเมนเซียร์ราลีโอนกาบองเซเนกัลสหภาพอาหรับมัฆริบข้อตกลงอะกาดีรซาอุดีอาระเบีย
แผนภาพอ็อยเลอร์ที่คลิ๊กได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์การข้ามชาติหลายแห่งในองค์การความร่วมมืออิสลาม (ในปัจจุบันซีเรียถูกระงับจากทุกองค์การที่อยู่ในแผนภาพเนื่องจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสงครามกลางเมืองซีเรียที่ยังดำเนินอยู่)vde

องค์การความร่วมมืออิสลามมีสมาชิก 57 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 56 ที่เป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ (ยกเว้นปาเลสไตน์) บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สาธารณรัฐแอฟริกากลาง, ไทย, รัสเซีย และนอร์เทิร์นไซปรัส (ภายใต้ชื่อ "รัฐไซปรัสของตุรกี") เป็นรัฐสังเกตการณ์ และกลุ่มกับองค์การอื่น ๆ ก็สามารถเป็นผู้สังเกตการณ์ได้[9]

แอฟริกา

เอเชีย

ยุโรป

อเมริกา

ตำแหน่ง

ความขัดแย้งกับประเทศไทย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. The Pew Forum on Religion and Public Life. December 2012. "The Global Religious Landscape: A Report on the Size and Distribution of the World’s Major Religious Groups as of 2010 เก็บถาวร 23 มีนาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." DC: Pew Research Center. Article เก็บถาวร 26 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  2. 2.0 2.1 About OIC. Oic-oci.org. Retrieved 7 November 2014.
  3. The Pew Forum on Religion and Public Life. December 2012. "The Global Religious Landscape: A Report on the Size and Distribution of the World’s Major Religious Groups as of 2010 เก็บถาวร 23 มีนาคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน." DC: Pew Research Center. Article เก็บถาวร 26 กันยายน 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  4. "Members of the OIC—Organization of Islamic Cooperation". Worlddata.info. 1969-09-25. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-02-08.
  5. 5.0 5.1 5.2 Ciment, James; Hill, Kenneth, บ.ก. (6 December 2012). Encyclopedia of Conflicts Since World War II, Volume 1. Routledge. pp. 185–6. ISBN 9781136596148. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2023. สืบค้นเมื่อ 18 November 2017.
  6. LIEBER, DOV (22 August 2017). "PA, Hamas [allege] Jews planned 1969 burning of Al-Aqsa Mosque". The Times of Israel. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 November 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2017.
  7. 7.0 7.1 "The organization 'Islamic Conference' (OIC)". elibrary. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 January 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2017.
  8. Esposito, 1998, p.164.
  9. "Observers". Organisation of Islamic Cooperation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 14 January 2023.
  10. Alsharif, Asma (16 August 2012). "Organization of Islamic Cooperation suspends Syria". U.S. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2019. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya