Share to:

 

มณฑลอุบล

มณฑลอุบล
มณฑลเทศาภิบาล
พ.ศ. 2455 – 2469

เมืองหลวงอุบลราชธานี
การปกครอง
 • ประเภทสมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ
สมุหเทศาภิบาล 
• พ.ศ. 2455–2456
พระยาศรีธรรมศุภราช (เจริญ จารุจินดา)
• พ.ศ. 2456–2469
พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค)
ยุคทางประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์
• แยกออกมาจากมณฑลอีสาน
พ.ศ. 2455
• เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภาคอีสาน
พ.ศ. 2459
• ยุบรวมกับมณฑลนครราชสีมา
31 มีนาคม พ.ศ. 2469
ก่อนหน้า
ถัดไป
มณฑลอีสาน
มณฑลนครราชสีมา
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ ไทย

มณฑลอุบล เป็นมณฑลที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2455 โดยแยกออกจากมณฑลอีสาน (มณฑลลาวกาว หรือ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ) จน พ.ศ. 2469 ยุบมณฑลอุบล ร้อยเอ็ด ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา

ประวัติ

เมืองอุบลราชธานีเริ่มตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2321 โดยมีพระปทุมวรราชสุริยวงศ์เป็นผู้ปกครอง ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เมืองในอีสานขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ในฐานะหัวเมืองประเทศราชและหัวเมืองอีสาน โดยยังคงปกครองในระบบอาญาสี่

จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการปฏิรูปหัวเมืองอีสาน โดยเมื่อ พ.ศ. 2434 มีการรวมหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกและหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มณฑลลาวกาว หรือ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็น มณฑลอีสาน ได้รวมหัวเมือง 5 บริเวณ คือ อุบลราชธานี จำปาศักดิ์ ขุขันธ์ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่เมืองอุบลราชธานี บริเวณอุบล มี 3 เมือง บริเวณจำปาศักดิ์มีเมืองเดียว บริเวณขุขันธ์มี 3 เมือง บริเวณสุรินทร์มี 4 เมือง และบริเวณร้อยเอ็ดมี 5 เมือง[1] ต่อมา พ.ศ. 2455 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล โดยมณฑลอุบลประกอบด้วย 3 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี ขุขันธ์ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมาเป็นศรีสะเกษ ตามชื่อที่ตั้งเมืองเดิม และสุรินทร์ มีที่ทำการมณฑลคงอยู่ที่ศาลารัฐบาลอุบล และข้าราชการมณฑลยังคงเป็นคณะเดิม[2] โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระยาศรีธรรมาศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นพระยาวิเศษสิงหนาท ปลัดมณฑลประจำจังหวัดขุขันธ์ มาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบล

พ.ศ. 2456 มีพระราชโองการให้รวมมณฑลอุดร มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ดเป็นภาค เรียกว่า "ภาคอีสาน" ตั้งที่บัญชาการมณฑลภาคที่เมืองอุดรธานี ให้พระยาราชนุกิจวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาวโลหิต) ดำรงตำแหน่งอุปราชภาคอีสาน และสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่ง[3] จนกระทั่ง พ.ศ. 2469 ยุบมณฑลอุบล ร้อยเอ็ด ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา[4]

อ้างอิง

  1. มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 16.
  2. มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 18.
  3. "การเมืองการปกครองเมืองอุบลราชธานี". งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
  4. "การปฏิรูปการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.

บรรณานุกรม

Kembali kehalaman sebelumnya