Share to:

 

เทศบาลเมืองพระตะบอง

เทศบาลเมืองพระตะบอง
เทศบาลเมือง
พ.ศ. 2485–2489
ตลาดพระตะบองใน พ.ศ. 2486
พื้นที่
 • พิกัด13°1′43″N 102°59′22″E / 13.02861°N 102.98944°E / 13.02861; 102.98944
ยุคทางประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2
• จัดตั้ง
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485
• ความตกลงวอชิงตัน
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา

เทศบาลเมืองพระตะบอง เป็นอดีตเขตการปกครองท้องถิ่นระดับเทศบาลเมืองของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง โดยเทศบาลเมืองพระตะบองจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 ตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง พุทธศักราช 2485 มีอาณาเขตครอบคลุมตำบลในเมืองบางส่วน[1]

18 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลเมืองพระตะบอง[2] 27 สิงหาคม พ.ศ. 2486 รัฐบาลให้เทศบาลเมืองพระตะบองทำการสำรวจสำมะโนครัวประชากรในเขตเทศบาล[3]

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 และวันที่ 24 พฤศจิกายน 2487 รัฐบาลไทยได้ทำการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางรถไฟสายอรัญญประเทศ–มงคลบุรี เส้นทางรถไฟนี้พาดผ่านเขตเทศบาลเมืองพระตะบองด้วย[4][5]

หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เทศบาลเมืองพระตะบองไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเขตแดนประเทศไทยอีก โดยรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเขตแดนอินโดจีนฝรั่งเศส

ปัจจุบันพื้นที่เทศบาลเมืองพระตะบองเดิมยังพอหลงเหลืออิทธิพลไทยอยู่บ้าง เช่น ศาลากลางจังหวัดพระตะบองที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เคยจ้างสถาปนิกจากอิตาลีสร้างไว้ รวมทั้งวัดด็อมเร็ยซอ (ไทยเรียกวัดช้างเผือก) ที่มีตราแผ่นดินสยาม วัดสังแก อันเป็นที่บรรจุอัฐิคนในสกุลอภัยวงศ์[6] ส่วนวัดกำแพง ซึ่งสร้างแบบไทย ถูกแปรสภาพเป็นอื่น[7] ขณะที่วัดโพธิ์เวียล (ไทยเรียกวัดโพธิ์เรียน) มีสัญลักษณ์พานแว่นฟ้าสองชั้นเปล่งรัศมี ซึ่งได้รับอิทธิพลสัญลักษณ์รัฐธรรมนูญของไทย[8]

ที่ตั้งและอาณาเขต

เทศบาลเมืองพระตะบองมีพื้นที่ครอบคลุมอาณาเขตบางส่วนของตำบลในเมือง อำเภอเมืองพระตะบองบางส่วนที่เป็นศูนย์กลางทางการปกครองของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตำบลคลองเอก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตำบลในเมือง และตำบลห้วยหวาย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตตำบลสวนนุ่นและตำบลห้วยหวาย
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตำบลสวนนุ่น ตำบลผึ้งหลวง และตำบลคลองเอก

อ้างอิง

  1. "พระราชกริสดีกา จัดตั้งเทสบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2485" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 59 (73 ก): 2254–2258. 24 พรึสจิกายน 2485. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2014-01-25. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "พระราชกริสดีกา ไห้ไช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อส้างอาคาร พุทธสักราช 2479 ไนเขตเทศบาลเมืองพระตะบอง พุทธสักราช 2486" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (27 ก): 830–831. 18 พรึสภาคม 2486. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. "ประกาสกะซวงมหาดไทย เรื่องไห้ทำการสำหรวดราสดรไนเขตเทสบาลเมืองพระตะบอง จังหวัดพระตะบอง" (PDF). ราชกิจจานุเบกสา. 60 (47 ง): 2905. 14 กันยายน 2486.
  4. "พระราชกริสดีกา กำหนดเขตที่ดินไนบริเวนที่ที่จะเวนคืน ไนท้องที่อำเพออรัญประเทส จังหวัดปราจีนบุรี อำเพอสรีโสภน จังหวัดพิบูลสงคราม และอำเพอมงคลบุรี อำเพอเมืองพระตะบอง อำเพออธึกเทวเดช จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2485" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (73 ก): 2251. 24 พฤศจิกายน 2485.
  5. "พระราชกริสดีกา กำหนดเขตที่ดินไนบริเวนที่ที่จะเวนคืน ไนท้องที่อำเพออรัญประเทส จังหวัดปราจีนบุรี อำเพอสรีโสภน จังหวัดพิบูลสงคราม และอำเพอมงคลบุรี อำเพอเมืองพระตะบอง อำเพอรนนภากาส จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2487" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 61 (72 ก): 1146. 24 พฤศจิกายน 2487.
  6. "ตราจักรีที่พระตะบอง ปริศนาร่องรอยสยาม". ไทยรัฐออนไลน์. 5 พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "พระตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณ "รอยสยาม" และ "สามจังหวัด"กัมพูชา". สารคดี. 22 ตุลาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. หนุมานใส่แว่น (16 พฤษภาคม 2562). "ตามรอยศิลปะคณะราษฎรในพระตะบอง". GEN Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-29. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya