Share to:

 

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
มหามกุฏราชวิทยาลัย
ชื่อย่อมมร.ศช. / MBU SLC
คติพจน์“ความเป็นเลิศทางวิชาการตามแนวพระพุทธศาสนา”
ประเภทวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
สถาปนา28 มีนาคม พ.ศ. 2538
รองอธิการบดีพระมหาวิเชียร ธมฺมวชิโร,ดร.
ที่ตั้ง
วัดศรีสุทธาวาส เลขที่ 253/7 ถนนวิสุทธิเทพ ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 42000
เว็บไซต์slc.mbu.ac.th

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง (อังกฤษ: Mahamakut Buddhist University, Sri Lanchang Campus) เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ตำบลกุดป่อง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538

ประวัติ

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง [1]แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2536 พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณาโภ) ได้ปรารภถึงความจำเป็นของพระภิกษุสามเณรในภูมิภาคนี้ มีความลำบากในการเข้าไปศึกษาต่อในส่วนกลาง จึงได้เริ่มโครงการเปิดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแก่ภิกษุสามเณรขึ้น และได้จัดตั้งกรรมการพิจารณาจัดทำโครงการจัดตั้งวิทยาเขต จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเสนอขอเปิดเป็นศูนย์ของวิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น โดยท่านพระเดชพระคุณพระธรรมวราลังการ รับอุปถัมภ์ด้านทุนทรัพย์ในการดำเนินการ และได้รับอนุมัติให้เป็นสาขาวิทยาเขตอีสาน ในโครงการนำร่องวิทยาเขตนอกเขต ได้เริ่มเปิดให้การศึกษา ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา

วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 คณะกรรมการการศึกษาของสงฆ์ ได้อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตได้ตามมติสภามหาวิทยาลัย ที่ 1/2538 จึงได้จัดตั้งวิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดเลยขึ้น และได้ย้ายโอนนักศึกษาจากวิทยาเขตอีสานมาสังกัดวิทยาเขตศรีล้านช้าง

หน่วยงาน

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการประจำวิทยาเขตศรีล้านช้าง แบ่งส่วนการบริหารงานออกเป็น 3 ส่วนงาน คือ

  • สำนักงานวิทยาเขตศรีล้านช้าง
  • ศูนย์บริการวิชาการศรีล้านช้าง
  • วิทยาลัยศาสนศาสตร์ศรีล้านช้าง

หลักสูตรที่เปิดสอน

  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง (มมร.) จังหวัดเลย เป็นวิทยาเขตที่ขึ้นตรงต่อมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ส่วนกลาง ที่ตั้งอยู่ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีอัตลักษณ์ด้านการส่งเสริมศีลธรรม สร้างคนดี บริการวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่สังคม และสร้างโอกาสและอนาคตสำหรับทุกคน เปิดการเรียนการสอนสำหรับบรรพชิตและบุคคลทั่วไป ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก ระดับปริญญาตรี เปิดสอน 5 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 3 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 2 หลักสูตร ได้แก่[2]

  •    ระดับปริญญาตรี เปิดสอน 5 หลักสูตร ได้แก่

            1) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา

            2) หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง

            3) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ

            4) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย

            5) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา

  •    ระดับปริญญาโท เปิดสอน 3 หลักสูตร ได้แก่

            1) หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)

            2) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

            3) หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม) สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

  • ระดับปริญญาเอก เปิดสอน 2 หลักสูตร ได้แก่

            1) หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ร.ด.)

            2) หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศษ.ด.) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

หมายเหตุ : ทั้ง 2 ระดับเปิดการเรียนการสอนในภาคปกติ (จันทร์-ศุกร์) และภาคพิเศษ (เสาร์ – อาทิตย์)

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-30. สืบค้นเมื่อ 2017-05-15.
  2. http://slc.mbu.ac.th/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD/
Kembali kehalaman sebelumnya