มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (อังกฤษ: Loei Rajabhat University, อักษรย่อ: มรล. – LRU ) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 เดิมมีฐานะเป็น "วิทยาลัยครูเลย" เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยใช้เงินงบประมาณโครงการเงินยืมจากธนาคารโลก มีพื้นที่ประมาณ 323 ไร่ ตั้งอยู่บริเวณทุ่งขุมทอง ซึ่งเป็นพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยและร่วมกับพื้นที่ของชาวบ้าน อยู่ห่างจากจังหวัดเลยประมาณ 5 กิโลเมตร ตามเส้นทาง 201 เลย-เชียงคาน เริ่มรับนักศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2519 ชั้น ปกศ. และ ปกศ.สูง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เปิดทำการเรียนการสอนใน 5 คณะ บนพื้นที่ทุ่งขุมทอง มีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยเป็นสถานฝึกหัดนักศึกษาคณะครุศาสตร์ และมีศูนย์การศึกษาจังหวัดขอนแก่นเป็นเสมือนวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย
ประวัติ
- พ.ศ. 2519 เริ่มรับนักศึกษาชั้น ประกาศนียบัตร และ ประกาศนียบัตรชั้นสูง เมื่อ พ.ศ. 2520 ได้ยกฐานะเป็น "วิทยาลัยครู" ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 สามารถเปิดสอนได้ในระดับปริญญาตรีทางครู (คบ.) โดยเปิดสอน ครุศาสตรบัณฑิต 4 ปี ในปี พ.ศ. 2521 และได้ขยายจำนวนมากขึ้น ในปีต่อ ๆ มาทั้งในภาคปกติและภาค อคป.
- พ.ศ. 2528 เริ่มเปิดการศึกษาในสาขาที่ไม่ใช่ครู 2 สาย คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต และ วิทยาศาสตรบัณฑิต ถึงระดับปริญญาตรี (ตาม พ.ร.บ. วิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2527) ได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้นในปีต่อมา และได้เปลี่ยนการศึกษานอกเวลา จาก อคป. เป็น กศ.บป.
- พ.ศ. 2538 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏขึ้น และได้เปลี่ยนชื่อจาก "วิทยาลัยครู" เป็น "สถาบันราชภัฏ" ซึ่งเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยเปิดสอนในระดับที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีได้ ปี พ.ศ. 2540 ได้เริ่มเปิดสอนปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาทั้งภาคปกติและภาคพิเศษและได้เปิดสาขาไทยศึกษา เพื่อการพัฒนา และสาขาการบริหารเพื่อการศึกษาในปีถัดมาตามลำดับ
- พ.ศ. 2541 ได้จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยเปิดสอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา ภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยเป็นโครงการเพื่อการร่วมมือระหว่างสถาบันราชภัฏเลยกับจังหวัดเลย และเปิดรับนักศึกษาในโปรแกรม ปี พ.ศ. 2542 จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยเปิดสอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรไทยศึกษา ศึกษาเพื่อการพัฒนารุ่นที่ 1 และเปิดรับนักศึกษาใน โปรแกรมวิชาที่เปิดใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี 4 ปี , ระดับปริญญาตรี 2 ปี และระดับอนุปริญญา ปี พ.ศ. 2543 จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาโดยเปิดสอนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรการบริหารการศึกษารุ่นที่ 1 และเปิดรับนักศึกษาในโปรแกรมวิชาที่เปิดใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี 4 ปี , ระดับปริญญา 2 ปี และระดับอนุปริญญา ปี พ.ศ. 2544 ได้เปิดศูนย์โครงการจัดการศึกษา เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ท้องถิ่น (กศ.อท.) สำหรับจัดการศึกษาในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ อ.ชุมแพ จ. ขอนแก่น โดยเปิดสอนในสาขาวิชาการศึกษา , ระดับปริญญาตรี 2 ปี , ระดับปริญญาตรี 4 ปี , และระดับปริญญา 2 ปี มีวิชาที่เปิดใหม่ทั้งระดับปริญญาตรี 4 ปี , ระดับปริญญาตรี 2 ปี และระดับอนุปริญญา
- 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2547 เป็นต้นไป และได้เปลี่ยนชื่อจาก “ สถาบันราชภัฏเลย ” เป็น “ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย “ ชื่อภาษาอังกฤษ “ Loei Rajabhat University ”
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ลักษณะตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเป็นรูปวงรีสองวงล้อมตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานให้แก่กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ภายในวงรีด้านบนเป็นอักษรภาษาไทยเขียนว่า "มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย" ด้านล่างเป็นอักษรภาษาอังกฤษเขียนว่า "LOEI RAJABHAT UNIVERSITY" ภายใต้วงรีด้านในมีตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งเป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็นอุหรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตาฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน
- สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิดและพระราชทานนาม “ราชภัฏ”
- สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของมหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งอยู่ในแหล่งธรรมชาติและมีสภาพแวดล้อมที่สวยงาม
- สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางปัญญา
- สีส้ม แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ก้าวไกลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
- สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
หน่วยงานในสังกัด
หน่วยงานสนับสนุน
- สำนักงานอธิการบดี
- สถาบันวิจัยและพัฒนา
- กองนโยบายและแผน
- กองพัฒนานักศึกษา
- สำนักงานส่งเสริมวิชาการ
- สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ
- สำนักศิลปและวัฒนธรรม
- งานประกันคุณภาพ
- งานประชาสัมพันธ์
- งานกิจการพิเศษและสิทธิประโยชน์
- ศูนย์คอมพิวเตอร์
- ศูนย์วิทยาศาสตร์
- ศูนย์ประสานงาน กศ.บ.ป.
- ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา
- ศูนย์ภาษา
- ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
- สำนักงานคณาจารย์และข้าราชการ
คณะวิชา
หลักสูตรหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ)
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาพลศึกษา
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
- สาขาวิชาการประถมศึกษา
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาศิลปศึกษา
- สาขาวิชาดนตรีศึกษา
- สาขาวิชานาฏศิลป์
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษและบรรณารักษศาสตร์ (ใหม่)
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
- สาขาวิชาเคมี
- สาขาวิชาชีววิทยา
- สาขาวิชาฟิสิกส์
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
- สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- สาขาวิชาสัตวศาสตร์
- สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
- คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
- สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
|
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
- สาขาวิชาการจัดการ
- สาขาวิชาการตลาด
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
- สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.)
ภาควิชามนุษยศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
- สาขาวิชาดิจิตอลอาร์ต
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาทัศนศิลป์
- สาขาวิชาดนตรี
- สาขาวิชาภาษาจีนและอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
ภาควิชาสังคมศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.)
|
โรงเรียน
การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ
ระดับปริญญาตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ระบบ Admission กลาง โดยผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกต้องผ่านกระบวนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-Net) โดยจะนำผลการทดสอบดังกล่าวมาเลือกคณะและสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ตามความต้องการโดยผ่านทางการคัดเลือกของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- เว็บไซต์การรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยในระดับปริญญาตรี คลิกที่นี่
ระดับปริญญาโท
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทดังนี้
- การสอบคัดเลือก เป็นการสอบคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ โดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบเอง
- การคัดเลือก เป็นการคัดเลือกครูประจำการที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทสาขาวิชาต่างๆ โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนในภาคฤดูร้อน
ระดับปริญญาเอก
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยคัดเลือกผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาต่างๆ โดยการพิจารณาของมหาวิทยาลัย หรือสามารถสมัครสอบผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้
ศูนย์การศึกษา
วันราชภัฏ
ทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ [3]ของทุกปี เป็น “วันราชภัฏ” สืบเนื่องจากวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม สถาบันราชภัฏแก่วิทยาลัยครูเลย และวิทยาลัยครูทั่วประเทศ และได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตราพระราชลัญจกรส่วนพระองค์ เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยและมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ เป็นสิ่งที่นำความภาคภูมิใจสูงสุดมาสู่ชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยในฐานะสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สมควรจะเทิดพระมหากรุณาธิคุณนี้ไว้เหนือเกล้าและจงรักภักดีด้วยการตั้งปณิธานที่จะประพฤติ และปฏิบัติหน้าที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการพัฒนาประเทศและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่พี่น้อง ประชาชนชาวไทย ดังนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ถือว่าเป็นวันราชภัฏ ซึ่งชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจึงถือเป็นการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลยด้วยเช่นกัน[4]
คำว่า “ราชภัฏ” ให้ความหมายที่กินใจความว่า “คนของพระราชา…ข้าของแผ่นดิน” หากตีความตามความรู้สึกยิ่งกินใจและตีความได้กว้างขวางยิ่งขึ้นไปอีกนั่นก็คือ “การถวายงานประดุจข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่ต้องถวายงานอย่างสุดความสามารถ สุดชีวิต และสุดจิตสุดใจ” ซึ่งการเป็นคนของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทย่อมเป็นข้าของแผ่นดินอีกด้วย เนื่องจากว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทผู้เป็นมิ่งขวัญของพวกเราชาวราชภัฏ ทรงเป็นแบบอย่างการทรงงานเพื่อบ้านเมือง และแผ่นดินอย่างที่มิเคยทรงหยุดพักแม้เพียงนิด แม้ยามที่ทรงประชวรก็ไม่เคยหยุดทรงงาน เพื่อความสุขของปวงชนชาวสยามของพระองค์นั้นเองด้วยเหตุผลเหล่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจึงได้พระราชทานพระราชลัญจกร อันเป็นเครื่องประกอบพระราชอิศริยยศ พระราชอิศริยศักดิ์ ลงมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประหนึ่งเครื่องเตือนความทรงจำว่าพวกเราชาวราชภัฏคือ “คนของพระราชา และข้าของแผ่นดิน”
เนื่องในวันราชภัฎ[5] ในทุกๆ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย และมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ จึงได้จัดกรรมต่างๆ ขึ้นอาทิ การทำบุญตักบาตร การจัดนิทรรศการ การเสวนาทางวิชาการ และการมอบรางวัลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีต่อการสนับสนุนอุดมการณ์ของ “ชาวราชภัฎ” หนึ่งในรอบปีมีวาระสำคัญอย่างยิ่งที่พวกเราเลือดราชภัฎจะถือโอกาสในการทำงานเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริสืบต่อพระราชปณิธานและสืบสานพระราชประสงค์ เหมาะสมกับการเป็น “ข้ารองพระยุคลบาทยิ่ง” และอย่างให้ชาวราชภัฏทุกท่านสำนึกอยู่เสมอว่า “มีหน้าที่อุทิศตนทำงานทุกอย่าง เพื่อเป็นบทพิสูจน์ความจงรักภักดิ์ดี และเทิดทูนใต้ฝ่าละอองธุรีพระบาท และล้นเกล้าล้นกระหม่อมทุกๆ พระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ สำคัญนักเรียน นักศึกษา ครู คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ พวกเราชาวราชภัฏต้องเทิดทูนไว้เหนือเกล้าเกศี ด้วยการปฏิบัติทึกภาระกิจที่ได้รับมอบหมายประหนึ่งทำถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในทุกกรณี เพราะพวกเราชาวราชภัฎคือ “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน”
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
- ปี พ.ศ. 2548 [6]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย[7]-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมไพรพยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
- ปี พ.ศ. 2547-2559 [8]พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 10 (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณฯ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย[9]-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
- ปี พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยพระองค์เองในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ หอประชุมมหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิง
|
---|
สัญลักษณ์ | | |
---|
ศูนย์การศึกษา | |
---|
คณะ | |
---|
โครงการจัดตั้งคณะ | |
---|
โรงเรียน | |
---|
หน่วยงานอื่น ๆ | |
---|
|
|
---|
สัญลักษณ์ | |
---|
กลุ่มรัตนโกสินทร์ | |
---|
กลุ่มภาคกลาง | |
---|
กลุ่มภาคเหนือ | |
---|
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | |
---|
กลุ่มภาคใต้ | |
---|
อดีตมหาวิทยาลัยราชภัฎ | |
---|
|
|
---|
|
|
---|
มหาวิทยาลัย | |
---|
สถาบัน | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
|
|
|
---|
มหาวิทยาลัย | |
---|
สถาบัน | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
|
|
|
|
|
|