มานาซูรุ
มานาซูรุ (ญี่ปุ่น: 真鶴町; โรมาจิ: Manazuru-machi) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในจังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2012 เมืองนี้มีประชากรประมาณ 7,926 คน ความหนาแน่น 1,130 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่ทั้งหมด 7.02 ตารางกิโลเมตร เมืองนี้เป็นศูนย์กลางการผลิตหินคุณภาพสูงซึ่งคือ หินโคมัตสึอิชิ (本小松石) เหตุที่ตั้งชื่อเมืองว่ามานาซูรุ เนื่องจากรูปร่างบนแผนที่มีลักษณะคล้ายกับนกกระเรียน (คำว่า มานาซูรุ แปลว่า นกกระเรียนคอขาว) ภูมิศาสตร์มานาซูรุตั้งอยู่บนคาบสมุทรเล็ก ๆ ที่ยื่นเข้าไปในอ่าวซางามิ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขาฮาโกเนะ ในพื้นที่ทางมุมตะวันตกเฉียงใต้สุดของจังหวัดคานางาวะ อยู่คั่นกลางระหว่างนครโอดาวาระทางทิศเหนือและเมืองยูงาวาระทางทิศใต้ คาบสมุทรมานาซูรุเป็นที่ราบสูงภูเขาไฟ ที่ปลายสุดของแหลมมานาซูรุ มีหินที่เรียกว่า มิตสึอิชิ หรือ มิตสึอิวะ ซึ่งเป็นจุดที่สามารถชมทิวทัศน์ของทะเลได้ และได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานธรรมชาติประจำจังหวัด มานาซูรูฮันโต (県立真鶴半島自然公園) มีเหมืองหินจำนวนมากในพื้นที่ภูเขาทางตอนเหนือของเมือง เนินเขาตามชายฝั่งทางตอนเหนือมีการเพาะปลูกส้มอุนชูมิกัง และพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ภูเขาที่ต่อเนื่องไปยังวงแหวนรอบนอกของภูเขาไฟฮาโกเนะ ริเวียร่าแห่งญี่ปุ่นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมืองเป็นพื้นที่ภูเขาและมีพื้นที่ราบน้อย แต่ก็มีใช้พื้นที่เชิงเขาของภูเขาไฟฮาโกเนะถูกใช้เป็นสวนส้มมิกัง ทิวทัศน์ที่เป็นพื้นที่ลาดชันจากฮาโกเนะทางทิศเหนือลงไปยังอ่าวซางามิทางทิศใต้เป็นที่กล่าวกันว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในฝรั่งเศสและอิตาลี ทำให้มีการเรียกที่นี่ว่าเป็น ริเวียร่าแห่งญี่ปุ่น (Japanese Riviera)[1][2] เทศบาลข้างเคียงประวัติศาสตร์พื้นที่ในสมัยก่อนที่ประกอบเป็นมานาซูรุในปัจจุบันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นซางามิ ภายใต้การควบคุมของตระกูลโฮโจยุคหลังในยุคเซ็งโงกุ และเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาโอดาวาระในยุคเอโดะ ในช่วงเวลานี้มานาซูรุเป็นที่ขึ้นชื่อในเรื่องหินคุณภาพสูงสำหรับการก่อสร้าง หลังจากการฟื้นฟูเมจิ มานาซูรุได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านในปี 1889 ต่อมาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 1927 หมู่บ้านมานาซูรุได้รับการยกฐานะเป็นเมือง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 1956 ได้มีการรวมหมู่บ้านอิวะที่อยู่ติดกันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเมืองมานาซูรู ข้อเสนอในการรวมเมืองมานาซูรุเข้ากับเมืองยูงาวาระที่อยู่ติดกันได้รับการต่อต้านอย่างท่วมท้นจากการลงประชามติของพลเมืองในปี 2005 เศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่เป็นลักษณะเฉพาะของมานาซูรุคือการทำเหมืองหินโคมัตสึซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคกลาง จากนั้นเศรษฐกิจของมานาซูรุก็ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว และยังเป็นเมืองที่อยู่อาศัยของผู้ที่เดินทางไปทำงานในนครโอดาวาระที่อยู่ใกล้เคียง แม้ว่าคาบสมุทรที่เต็มไปด้วยเนินเขาและหินจะไม่เหมาะสำหรับการเกษตร แต่การเพาะปลูกส้มมิกังรวมไปถึงประมงเชิงพาณิชย์ก็ยังมีส่วนส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่น การขนส่งรถไฟทางหลวงเมืองพี่น้อง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ มานาซูรุ วิกิท่องเที่ยว มีคำแนะนำการท่องเที่ยวสำหรับ มานาซูรุ
|