Share to:

 

มาร์แต็งแห่งตูร์

มาร์แต็งแห่งตูร์
นักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์แบ่งเสื้อให้ยาจก
มุขนายก
เกิดราวปี ค.ศ. 316 หรือ 317
เมืองโซมบอตเฮ
ประเทศฮังการีในปัจจุบัน
เสียชีวิต11 พฤศจิกายนปี ค.ศ. 397
เมืองก็องเด-แซ็ง-มาร์แต็ง
แคว้นกอล ประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน
นิกายโรมันคาทอลิก

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์

ลูเทอแรน
วันฉลอง11 พฤศจิกายน
สัญลักษณ์คนขี่ม้าผู้ยกเสื้อคลุมให้ขอทาน, คนตัดเสื้อคลุม, ลูกโลกมีไฟลุก, ห่าน
องค์อุปถัมภ์ปฏิปักษ์ต่อความยากจน, ปฏิปักษ์ต่อการติดสุรา, ขอทาน, บัวโนสไอเรส, ทหาร, ผู้แสดงการขึ่ม้า, ประเทศฝรั่งเศส, ห่าน, ม้า, เจ้าของโรงแรม, ช่างตัดเสื้อ, ผู้ทำไร่องุ่น, ผู้ทำเหล้าไวน์, และเมืองต่าง ๆ

นักบุญมาร์แต็งแห่งตูร์ (ฝรั่งเศส: Martin de Tours; ละติน: Martinus) เกิดราวปี ค.ศ. 316 หรือ 317 ที่เมืองโซมบอตเฮในประเทศฮังการีปัจจุบัน และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนปี ค.ศ. 397 ที่เมืองก็องเด-แซ็ง-มาร์แต็ง เป็นอดีตบิชอปแห่งตูร์ ซึ่งเป็นเมืองที่นักแสวงบุญที่เดินทางไปซานเตียโกเดกอมโปสเตลา ประเทศสเปน นิยมหยุดพัก ตำนานเกี่ยวกับนักบุญมาร์แต็งมึด้วยกันหลายเรื่องจนเป็นนักบุญองค์หนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดีในนิกายโรมันคาทอลิก ตำนานบางอย่างก็ถูกบันทึกลงใน “vita” หรือชีวประวัติของนักบุญเพื่อเพิ่มความน่าเลื่อมใสในลัทธิบูชานักบุญมาร์แต็ง ชีวประวัติของท่านถูกบันทึกโดยซุลพิเชียส เซเวรุส (Sulpicius Severus) ผู้เป็นนักเขียนชีวประวัตินักบุญ มาร์แต็งเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ประเทศฝรั่งเศสและทหาร

ชีวิตเบื้องต้น

ชื่อของนักบุญมาร์แต็งตั้งตาม “Mars” คือเทพเจ้าแห่งสงครามซึ่งเป็นเทพเจ้าโรมัน ซึ่งซุลพิเชียส เซเวรุสตีความหมายว่า “ผู้กล้าหาญ” นักบุญมาร์แต็งเกิดที่เมืองซาวาเรีย บริเวณแพนโนเนีย ในประเทศฮังการีในปัจจุบัน พ่อของมาร์แต็งเป็นเจ้าหน้าที่ชั้นสูงทหารม้ารักษาพระองค์ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของกองทัพจักรวรรดิโรมัน ซึ่งต่อมาถูกส่งตัวไปประจำการที่ทิซินุม (Ticinum) ในปัจจุบันคือบริเวณปาเวีย (Pavia) ในประเทศอิตาลีซึ่งเป็นที่ที่มาร์ตินเติบโต

พออายุได้ 10 ขวบมาร์ตินก็ไปโบสถ์ทั้ง ๆ ที่ขัดกับความประสงค์ของพ่อแม่ เมื่อปี ค.ศ. 316 ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันแล้ว แต่ยังไม่เป็นศาสนาที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเท่าทางจักรวรรดิไบแซนไทน์ การเผยแพร่ศาสนาทางจักรวรรดิโรมันตะวันตกก็มากับชาวยิวและชาวกรีกที่เข้ารึตที่มาทำการค้าขาย แต่ศาสนาคริสต์ก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ชาวโรมันชั้นสูงและในบรรดาทหาร ซึ่งจะนิยมบูชา “ไมทรัส” มากกว่า ถึงแม้ว่าจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชเองจะทรงเปลี่ยนมานับถือคริสต์ศาสนาและทรงสนับสนุนการสร้างโบสถ์โดยทั่วไปเพื่อเผยแพร่ศาสนา แต่คริสต์ศาสนาในขณะนั้นก็ยังเป็นศาสนาที่นับถือกันในกลุ่มของชนส่วนน้อย เมื่ออายุได้สิบห้าปีมาร์แต็งก็ต้องเข้าเป็นทหารม้าเพราะพ่อเคยรับราชการมาก่อนและถูกส่งตัวไป “Ambianensium civitas” ซึ่งในปัจจุบันคือเมืองอาเมียงในประเทศฝรั่งเศส

ตำนานเสื้อคลุม

“เมตตาธรรมของนักบุญมาร์แต็ง”
โดยฌ็อง ฟูแก (Jean Fouquet)
“นักบุญมาร์แต็งและขอทาน” โดยเอล เกรโก (El Greco), ประมาณ ค.ศ. 1597-1599 ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งชาติ, วอชิงตัน ดี.ซี.

ขณะที่มาร์แต็งยังเป็นทหารอยู่ที่เมืองอาเมียงท่านเห็นนิมิตชีวิตของตนเองครั้งแล้วครั้งเล่า ภาพที่เห็นคือท่านจะยืนอยู่หน้าประตูเมืองอาเมียงกับทหารเมื่อท่านเห็นขอทาน ท่านก็ตัดสินใจทันทีโดยตัดเสื้อคลุมทหารที่ท่านใส่อยู่เป็นครึ่งแล้วยกครึ่งหนึ่งให้กับขอทาน พอตกกลางคืนท่านก็ฝันเห็นพระเยซูใส่เสื้อคลุมครึ่งตัวที่ท่านตัดให้ขอทาน และได้ยินพระเยซูกล่าวกับทูตสวรรค์ว่า “นี่คือมาร์แต็ง ทหารโรมันผู้ที่ยังมิได้รับบัพติศมา เขาให้เสื้อฉันใส่” [1] อีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่าเมื่อมาร์แต็งตื่นขึ้นมาเสื้อที่ตัดไปกลับมาเป็นเสื้อคลุมเต็มตัวตามเดิม เสื้อคลุมศักดิ์สิทธิ์ตัวนี้ก็เก็บรักษาไว้เป็นส่วนหนึ่งของสมบัตืเรลิกของกษัตริย์ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ของชาวแฟรงก์ต่อมา

ความฝันทำให้มาร์แต็งรู้ตัวว่าตนเองเป็นผู้มีความมีศรัทธาแก่กล้าต่อคริสต์ศาสนา จึงเข้าพิธีบัพติศมาเมื่ออายุได้ 18 ปี[2] มาร์ตินเป็นทหารต่อมาอีกสองปีจนกระทั่งเกิดสงครามกับพวกกอล ที่เมืองเวิร์มส์ในประเทศเยอรมนีเมื่อ ค.ศ. 336 มาร์ตินก็ไม่ยอมต่อสู้เพราะมีความเชื่อว่าความเชื่อในคริสต์ศาสนาเป็นการยับยังไม่ให้ต่อสู้ มา มาร์ตินกล่าวว่า “ข้าเป็นทหารของพระเยซู ข้าไม่สามารถทำการต่อสู้ได้” มาร์ตินจึงถูกกล่าวหาว่าขึ้ขลาดและถูกจำคุกแต่เพี่อเป็นการแสดงว่าท่านมืได้มีความขี้ขลาดอย่างที่ถูกกล่าวหา ท่านก็ทรงอาสาออกไปปรากฏตัวต่อหน้าศัตรูโดยไม่พกอาวุธ นายทหารก็เกือบจะให้นักบุญมาร์แต็งทำอย่างที่อาสา แต่ข้าศึกก็มาขอสงบศึกเสียก่อนที่มาร์ตินจะได้แสดงความกล้าหาญอย่างที่กล่าว หลังจากนั้นมาร์ตินก็ถูกปลดประจำการ[3]

หลังจากนั้นมาร์แต็งก็ประกาศตนเป็นคริสต์ศาสนิกชนและเดินทางไปเมืองตูร์เพื่อไปเป็นสาวกของนักบุญอีแลร์แห่งปัวตีเยผู้เป็นผู้สนับสนุนทฤษฎีตรีเอกภาพและเป็นปฏิปักษ์ต่อปรัชญาทวิเอกภาพนิยมหรือลัทธิเอเรียสของขุนนางชาววิซิกอท เมื่อนักบุญอีแลร์ถูกขับออกจากเมืองปัวตีเย มาร์แต็งก็กลับไปอิตาลี ระหว่างทางนักบุญมาร์แต็งก็ชักชวนคนเข้ารีตไปด้วยตามคำของซุลพิเชียส เซเวรุส ขณะเดียวกันก็ผจญปีศาจ เมื่อกลับมาจากอิลลิเรีย (Illyria) ซึ่งอยู่ในบริเวณคาบสมุทรบัลคานในปัจจุบันนักบุญมาร์แต็งก็ต้องเผชิญหน้ากับอ็อกเซ็นเทียส (Auxentius) อาร์ชบิชอปแห่งมิลาน ผู้นับถือลัทธิเอเรียสไล่มาร์แต็งออกจากเมือง ตามตำนานก็ว่ามาร์แต็งไปหาที่หลบภัยที่เกาะกาลลินาเรีย (Gallinaria) ซึ่งปัจจุบันคือเกาะอัลเบนยา (Isola d'Albenga) ในทะเลติร์เรเนียน ที่ที่มาร์แต็งใช้ชีวิตอย่างสันโดษ

โจมตีผู้นับถือลัทธิอาเรียส

เมื่อนักบุญอีแลร์แห่งปัวตีเยกลับมาเมื่อ ค.ศ. 361 ก็ร่วมกับมาร์ตินสร้างอารามลิกูเฌของคณะเบเนดิกติน ซึ่งกลายมาเป็นสถานที่สำคัญในการสอนศาสนาของบริเวณนั้น นักบุญมาร์ตินก็เดินทางไปทั้งด้านตะวันตกของกอลเพื่อเผยแพร่ศาสนา “รายละเอียดของการเดินทางเผยแพร่ศาสนายังเหลือให้เราทราบตามตำนานที่มาร์ตินเป็นผู้มีบทบาทซึ่งทำให้เราเห็นแผนการเดินทางอย่างคร่าว ๆ ” (Catholic Encyclopedia)

เมื่อปี ค.ศ. 371 มาร์แต็งก็เป็นบิชอปแห่งตูร์ ผู้ซึ่งมีบทบาทในการสั่งให้ทำลายและเผาวิหารของต่างศาสนา การกระทำเช่นนี้ทำให้เราเห็นภาพว่าวัฒนธรรมดรูอิดยังมีรากฐานลึกกว่าวัฒนธรรมของโรมันที่มีเพียงผิวเผิน เช่นเมื่อนักบุญมาร์แต็งสั่งให้ทำลายวิหารโบราณของดรูอิดซึ่งอยู่กลางดงสน เมื่อทำลายโบสถ์ชาวบ้านก็มิได้ต่อต้านมากเท่าใด แต่เมื่อนักบุญมาร์แต็นสั่งให้ตัดต้นไม้ชาวบ้านก็ประท้วงกัน (ซุลพิเชียส, “Vita” บทที่ xiii) ซุลพิเชียสกล่าวว่าหลังจากนั้นมาร์ตินก็ไปเมืองมาร์มูเตียร์ ซึ่งเป็นอารามที่มาร์ตินตั้งขึ้นอยู่บนฝั่งตรงข้ามกับเมืองตูร์ จากที่นี่มาร์ตินก็เริ่มระบบโบสถ์ประจำท้องถิ่นอย่างคร่าว ๆ

อ้างอิง

  1. "Sulpicius, ch 2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-09. สืบค้นเมื่อ 2008-01-30.
  2. Patron Saints Index: Saint Martin of Tours
  3. Kurlansky, Mark (2006). Nonviolence: twenty-five lessons from the history of a dangerous idea. Pp 26-27.
Kembali kehalaman sebelumnya