มิกโลช โฮร์ตี
วิเตซ[1] มิกโลช โฮร์ตี แห่งน็อจบาญอ (ฮังการี: nagybányai Horthy Miklós, เสียงอ่านภาษาฮังการี: [ˈnɒɟbaːɲɒi ˈhorti ˈmikloːʃ]; อังกฤษ: Nicholas Horthy;[2] เยอรมัน: Nikolaus Horthy Ritter von Nagybánya) เป็นพลเรือเอกและรัฐบุรุษชาวฮังการี ที่ได้กลายเป็นผู้สำเร็จราชการแห่งราชอาณาจักรฮังการี เขาได้ทำหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งอาณาจักรฮังการีในสมัยระหว่างสงคราม และเกือบตลอดช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1920 ถึง 15 ตุลาคม ค.ศ. 1944 เขาได้ถูกขนามนามว่า "ฮิสเซอรีนไฮเนส ผู้สำเร็จราชการแห่งอาณาจักรฮังการี"(ฮังการี: Ő Főméltósága a Magyar Királyság Kormányzója) โฮร์ตีได้เริ่มอาชีพของเขาในฐานะที่เป็นเรือตรีในกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีในปี ค.ศ. 1896 และได้รับยศตำแหน่งเป็นพลเรือตรีในปี ค.ศ. 1918 เขาได้แสดงถึงการปฏิบัติหน้าที่ในยุทธการที่ Strait of Otranto และกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพเรือออสเตรีย-ฮังการีในช่วงท้ายปีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาได้รับการเลื่อนยศตำแหน่งเป็นพลเรือโทและผู้บัญชาการกองเรือ เมื่อพลเรือเอกก่อนหน้านี้ได้ถูกขับออกจากตำแหน่งโดยจักรพรรดิคาร์ลที่ได้ให้การสนับสนุนการก่อกบฏ ในปี ค.ศ. 1919 ตามมาด้วยส่วนหนึ่งของการปฏิวัติและการเข้าแทรกแซงจากภายนอกในฮังการี ตั้งแต่โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย และยูโกสลาเวีย โฮร์ตีได้เดินทางกลับบูดาเปสต์พร้อมกับกองทัพแห่งชาติและต่อมาก็ได้รับเชิญให้เป็นผู้สำเร็จราชการจากรัฐสภา โฮร์ตีได้นำรัฐบาลชาติอนุรักษนิยม[3]ตลอดช่วงสมัยระหว่างสงคราม และได้ประกาศให้พรรคคอมมิวนิสต์ฮังการีและพรรคแอร์โรว์ครอสส์ เป็นพรรคการเมืองผิดกฎหมาย และดำเนินนโยบายต่างประเทศที่มุ่งเน้นการเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสนธิสัญญาไทรอานอน คืน เขาเป็นผู้ทำให้ความพยายามคืนสู่บัลลังก์ของ สมเด็จพระเจ้าคาร์ลที่ 4 ทั้งสองครั้งในปี ค.ศ. 1921 ต้องล้มเหลว รัฐบาลฮังการีตกอยู่ใต้ภัยคุกคามจากฝ่ายสัมพันธมิตรที่อาจจะประกาศสงคราม หากมีการฟื้นฟูราชวงศ์ฮาพส์บวร์คขึ้นมาสมเด็จพระเจ้าคาร์ลที่ 4 จึงทรงถูกพาออกไปจากฮังการีโดยเรือรบของสหราชอาณาจักรในสถานะผู้ลี้ภัย ในปลายปี ค.ศ. 1930 นโยบายต่างประเทศของโฮร์ตีนั้นได้ทำให้เขาต้องกลายเป็นพันธมิตรอย่างไม่เต็มใจกับเยอรมนีในการต่อกรกับสหภาพโซเวียต ด้วยการสนับสนุนอย่างเดียดฉันท์ของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ โฮร์ตีนั้นสามารถกู้คืนดินแดนบางส่วนที่ถูกเอาไปจากพวกเขาโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ภายใต้การนำของโฮร์ตี, ฮังการีได้ให้การสนับสนุนผู้ลี้ภัยชาวโปแลนด์ในปี ค.ศ. 1939 และได้มีส่วนร่วมในบทบาทการสนับสนุน (เป็นฝ่ายตรงข้ามกับแนวหน้า) ในช่วงที่เยอรมันเข้ารุกรานสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1941 และเยอรมันเข้ารุกรานยูโกสลาเวียในปีเดียวกัน ได้ครอบครองและผนวกรวมเข้ากับดินแดนของชาวฮังการีในอดีตซึ่งได้ถูกมอบให้กับราชณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีเนีย (ยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1929) โดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อย่างไรก็ตาม, ด้วยความไม่เต็มใจของโฮร์ตีที่จะมีส่วนร่วมในความพยายามทำสงครามของเยอรมันและฮอโลคอสต์ในฮังการี รวมทั้งได้ปฏิเสธที่จะส่งมอบชาวยิวเชื้อสายฮังการีมากกว่า 600,000 คนจาก 825,000 คนให้แก่เจ้าหน้าที่เยอรมัน ควบคู่ไปกับความพยายามหลายครั้งในการจัดการข้อตกลงอย่างลับๆกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากได้เห็นชัดเจนว่า ฝ่ายอักษะจะพ่ายแพ้สงคราม จนท้ายที่สุดก็ทำให้เยอรมันต้องส่งกองทัพเข้าไปรุกรานและเข้าควบคุมประเทศในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1944 ในปฏิบัติการมาร์กาเรต ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 โฮร์ตีได้แถลงการณ์ว่าฮังการีนั้นได้ประกาศสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรและถอนตัวออกจากฝ่ายอักษะแล้ว เขาได้ถูกบังคับให้ลาออก, ถูกจับกุมโดยเยอรมันและถูกพาตัวไปยังบาวาเรีย ในช่วงท้ายสงคราม, เขาได้อยู่ภายใต้การดูแลของทหารอเมริกัน[4] หลังจากได้ปรากฏตัวในฐานะพยานในการพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามที่เนือร์นแบร์คในปี ค.ศ. 1948 โฮร์ตีได้ตั้งรกรากและใช้ชีวิตในปีที่เหลืออยู่ของเขาในการลี้ภัยที่โปรตุเกส บันทึกของเขา Ein Leben für Ungarn (ชีวิตสำหรับฮังการี)[5] ได้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1953 เขาได้ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่มีความขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ในฮังการีร่วมสมัย[6][7][8][9] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|