ยัญยัญ หรือ ยญ (สันสกฤต: यज्ञ, อักษรโรมัน: yajña, แปลตรงตัว 'บูชายัญ') ในศาสนาฮินดูหมายถึงพิธีกรรมที่กระทำต่อหน้ากองไฟ ส่วนใหญ่มีมนตร์ประกอบ[1] ยัญเป็นพิธีกรรมแบบพระเวท มีอธิบายอยู่ในส่วนพราหมณัมของพระเวท และในยชุรเวท[2] พิธีกรรมพัฒนาขึ้นมาจากการเซ่นไว้และบวงสรวงแก่กองไฟ มาเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นการถวายบูชาแด่พระอัคนี[1] เนื้อหาในอุปนิษัทพระเวทส่วนที่เกี่ยวข้องกับยัญจะเรียกว่า "กรรมกัณฑ์" (ส่วนทำงาน) เพื่อให้แตกต่างจากส่วน "ญาณกัณฑ์" (ส่วนความรู้) การประกอบพิธียัญที่สมบูรณ์เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของสำนักมิมังสาในปรัชญาฮินดู[3] นอกจากนี้ยัญยังมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านของฮินดู เช่น งานแต่งงาน ศัพทมูล"ยญ" (สันสกฤต: यज्ञ, อักษรโรมัน: yajña) มีรากมาจากคำในภาษาสันสกฤต "ยช" (yaj) แปลว่า 'การยูชา ชื่นชม ยกย่อง เคารพ' ปรากฏในวรรณกรรมพระเวทยุคแรก อายุมากกว่า 2000 ปีก่อนริสต์กาล[4][5] ในฤคเวท, ยชุรเวท (คำว่า "ยชุรเวท" ก็มาจากราก "ยช" เดียวกัน) และคัมภีร์อื่น ๆ ใช้คำว่ายัญหมายถึง "การบูชา การแสดงความเคารพ การสวดบูชา" ไปจนถึงความหมายเดียวกับ "การบูชายัญ" ในความหมายภาษาไทยปัจจุบัน[4] ในวรรณกรรมยุคหลังพระเวท ยัญใช้เรียกพิธีกรรมใดก็ตามที่มีการประกอบพิธีในทางสัญลักษณ์[4] ในขณะที่ภาษาไทยปัจจุบัน "ยัญ" ดังที่ปรากฏในคำว่า "บูชายัญ" หมายถึง "การบูชาของพราหมณ์อย่างหนึ่ง การเซ่นสรวงด้วยวิธีฆ่าคนหรือสัตว์เป็นเครื่องบูชา"[6] อ้างอิง
|