ยี่โถ
ยี่โถ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nerium oleander L.) มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น แถบโปรตุเกสไปจนถึง อินเดีย อิหร่าน โดยสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปี พ.ศ. 2352-2364 เป็นพืชในวงศ์ Apocynaceae เป็นพืชมีพิษ ยางเมื่อถูกผิวหนังทำให้ระคายเคือง เป็นแผลพุพอง ถ้ารับประทานเมล็ดทำให้เวียนศีรษะ ง่วงนอน ถ่ายเป็นเลือด เป็นพิษต่อหัวใจ ทำให้ชัก[1] ลักษณะเฉพาะยี่โถ เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 ฟุต เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ เมื่อตัดหรือเด็ดจะมีน้ำยางไหลออกมา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลม ยาว ๑๕-๑๗ cm. กว้าง ๑.๗-๒.๐ cm. ขอบใบเรียบไม่มีจัก หนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้น ออกตามข้อของลำต้น ดอกมีสีชมพู ขาว ออกตามปลายของยอดลำต้นเป็นกระจุกหรือช่อ รูปร่างคล้ายกรวยหรือปากแตร เวลาบานกลีบจะมีกลิ่นหอม ดอกยี่โถสามารถออกดอกได้ทั้งปี ผลเกิดเมื่อดอกมีการผสมเกสรและร่วงหลุดไป จะเกิดผลเป็นฝัก 2 ฝัก ต่อ 1 ดอกยี่โถ 1 ดอก เมล็ดลักษณะคล้ายเส้นไหม การปลูกยี่โถ สามารถปลูกได้ทุกที่เนื่องจากขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิดได้ดี โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง ประโยชน์
ชื่อเรียกภาษาอื่น ๆ
ยี่โถในวรรณกรรม
"ลำดวนดอกดกเต็มต้น
" เห็นทับทิมริมกุฎีดอกยี่โถ สะอื้นโอ้อาลัยจิตใจหาย"
“…มะลิวัลย์อัญชันช่อ ทุกก้านกอสรล่มสรลอน ชงโค ยี่โถ ขจร รสรื่นรรวยรมย์…” อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|