Share to:

 

ราตรี (พรรณไม้)

ราตรี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Solanales
วงศ์: Solanaceae
สกุล: Cestrum
สปีชีส์: C.  nocturnum
ชื่อทวินาม
Cestrum nocturnum
L.

ราตรี หรือ หอมดึก มีถิ่นกำเนิดในแคริบเบียน[1]เป็นพืชในวงศ์ Solanaceae เป็นไม้ไม่ผลัดใบ เป็นไม้พุ่ม เปลือกสีเทาอ่อนเกือบขาว ใบเดี่ยวรูปหอกแคบเรียบเป็นมัน ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาว วงกลีบดอกรูปหลอดผอม บานตอนกลางคืน กลิ่นหอมแรง มักส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ผลค่อนข้างกลม สีขาวขุ่น มีหลายเมล็ด ผลสุกถ้ารับประทานทำให้คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาเจียน ประสาทหลอน ใจสั่น ระคายเคืองเยื่อบุลำไส้เล็ก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ความเป็นพิษ

ไม่มีข้อมูลความเป็นพิษจากการย่อยของราตรี แต่ก็มีเหตุผลที่เชื่อว่าควรเตือน สมาชิกทั้งหมดของวงศ์ Solanaceae มีสารพิษกลุ่มอัลคาลอยด์เรียกโซลานีน [2]แม้ว่าพืชบางชนิดในวงศ์นี้สามารถรับประทานได้โดยไม่ทำให้เจ็บป่วย คนที่มีอาการหอบหืดมีรายงานว่าหายใจลำบากเมื่อหายใจเอากลิ่นดอกที่บานพร้อมกันจำนวนมาก พืชในสกุล Cestrum มีกรดคลอโรเจนิก ซึ่งสารตัวนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับผลกระทบของราตรี

สารสกัดจากพืชแสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของยุงแต่ไม่เป็นพิษต่อปลา [3][4] สารสกัดจากพืชทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางโลหิตวิทยาในปลาน้ำจืดเมื่อได้รับความเข้มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นที่ทำให้ตาย [5][6]

การเป็นพืชรุกราน

ราตรีเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลก รวมทั้งออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้ จีนตอนใต้ และทางใต้ของสหรัฐอเมริกา ในบางประเทศเป็นวัชพืช ในเอาก์แลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ จัดเป็นวัชพืชที่ร้ายแรง[7]

ราตรีในวรรณคดี

ลมพระพายชายชื่นในคืนนี้
กลิ่นราตรีหอมระรื่นชื่นใจแสน
ดอกไม้อื่นดื่นไปในดินแดน
จะเหมือนแม้นราตรีไม่มีเลย
(อิเหนา - พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2)

อ้างอิง

  1. Hortus Third Cornell University, Western Garden Book 2007 Ed
  2. What is solanine. Wisegeek
  3. Patil CD, Patil SV, Salunke BK, Salunkhe RB (2011). "Bioefficacy of Plumbago zeylanica (Plumbaginaceae) and Cestrum nocturnum (Solanaceae) plant extracts against Aedes aegypti (Diptera: Culicide) and nontarget fish Poecilia reticulata". Parasitol Res. 108 (5): 1253–1263. doi:10.1007/s00436-010-2174-6.
  4. Chetan Jawale; Rambhau Kirdak; Laxmikant Dama (2010). "Larvicidal activity of Cestrum nocturnum on Aedes aegypti". Bangladesh Journal of Pharmacology. 5 (1): 39–40. doi:10.3329/bjp.v5i1.4714.[ลิงก์เสีย]
  5. CS JAWALE, LB DAMA (2010). "Haematological Changes In The Fresh Water Fish, Exposed To Sub-Lethal Concentration Of Piscicidal Compounds From (Fam: Solanaceae)" (PDF). National Journal of Life Sciences. 7 (1): 82–84.
  6. Jawale C. S.; Vinchurkar A. S.; Dama L. B., Pawar (2012). "Cestrum nocturnum (l) a prospective piscicide for control of predatory fish channa punctatus (bloch.)". Trends in Fisheries Research. 1 (2): 14–17.
  7. Cestrum wild locations – Google Maps. Maps.google.co.nz. Retrieved on 2011-07-10.
  • เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม. เศรษฐศิลป์. 2552
Kembali kehalaman sebelumnya