Share to:

 

ราชรัฐเจิ้ง

ราชรัฐเจิ้ง

郑国
806 ปีก่อนคริสตกาล–375 ปีก่อนคริสตกาล
แผนที่รัฐในสมัยราชวงศ์โจวรวมทั้งเจิ้ง
แผนที่รัฐในสมัยราชวงศ์โจวรวมทั้งเจิ้ง
สถานะราชรัฐ
เมืองหลวงเจิ้ง (郑)
ซินเจิ้ง (新郑)
ภาษาทั่วไปภาษาจีนโบราณ
กลุ่มชาติพันธุ์
ชาวฮั่วเซี่ย (华夏族)
ศาสนา
ลัทธิเต๋า, วิญญาณนิยม, การบูชาบรรพบุรุษ
การปกครองราชาธิปไตย
กง (公) 
• 806 – 771 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งฮวนกง (郑桓公)
• 743 – 701 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งจวงกง (郑庄公)
• 395 – 375 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งคังกง (郑康公)
ประวัติศาสตร์ 
• พระเจ้าโจวเซฺวียน พระราชทานเขตปกครองให้ เจิ้งฮวนกง
806 ปีก่อนคริสตกาล
• ถูกพิชิตโดย รัฐหาน
375 ปีก่อนคริสตกาล
สกุลเงิน方足布
เขตเวลาUTC+8
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์โจว
รัฐหาน
ราชรัฐเจิ้ง
"เจิ้ง" รูปแบบอักษร (บนสุด) แบบดั้งเดิม, (กลาง) จีนตัวเต็ม, (ด้านล่าง) จีนตัวย่อ
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ

แคว้นเจิ้ง (จีนตัวย่อ: 郑国; จีนตัวเต็ม: 鄭國; พินอิน: Zhèng guó; 806 ปีก่อนคริสตกาล - 375 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นรัฐประเทศราชของราชวงศ์โจว ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางของจีนโบราณในมณฑลเหอหนานยุคปัจจุบันบนที่ราบจีนตอนเหนือประมาณ 75 ไมล์ (121 กม.) ทางตะวันออกของเมืองหลวงของราชวงศ์ที่ลั่วหยาง เป็นราชรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในบรรดารัฐประเทศราชในตอนต้นของโจวตะวันออก (771–701 ปีก่อนคริสตศักราช) และเป็นราชรัฐแรกที่กำหนดประมวลกฎหมายอย่างชัดเจนในช่วงปลายปี 543 ปีก่อนคริสตศักราช ซึ่งผู้ก่อตั้งราชรัฐเจิ้งนี้ สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโจวลี่แห่งราชวงศ์โจว[1]

ประวัติศาสตร์

บทนำ

เจิ้งจวงกงด้วยความสามารถและกลยุทธ์อันยอดเยี่ยมทำให้ราชรัฐเจิ้งเป็นประเทศแรกที่เถลิงอำนาจขึ้นในยุควสันตสารท ดังนั้นจึงปรากฏคำว่า เจ้าผู้ครองแคว้นทั่วแผ่นดิน ล้วนแต่เป็นพวกเจิ้ง (天下诸侯,莫非郑党) บุคคลที่มีชื่อเสียง เช่น เจิ้งจวงกง (鄭莊公), จื่อชาน (子产), เลี่ยจื่อ(列子), จี้จ้ง (祭仲) เป็นต้น พระมหากษัตริย์แห่งราชรัฐเจิ้งใช้ แซ่ จี (姬), ซื่อ เจิ้ง (郑) ซึ่งได้ปกครองราชรัฐเจิ้งเป็นเวลากว่า 432 ปี และผ่านการปกครองโดยพระมหากษัตริย์รวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ ทั้งหมด 28 รัชกาล[2]

ก่อตั้ง

ราชรัฐเจิ้งก่อตั้งขึ้นในปีที่ 22 รัชสมัยพระเจ้าโจวเซฺวียน (806 ปีก่อนคริสตกาล) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โจวตะวันตก พระองค์ทรงพระราชทานเขตปกครองให้กับพระอนุชานามว่า "เจ้าฟ้าชายจีโหยว (王子姬友)" ซึ่งตั้งอยู่ภายในอาณาเขตของราชวงศ์โจว แถวมณฑลส่านซีบนแม่น้ำเว่ยทางตะวันออกของซีอาน เจ้าชายโหยว ซึ่งเป็นที่รู้จักในพระสมัญญนามว่าเจิ้งฮวนกง ยังรับราชการเป็นซือถู ภายใต้พระเจ้าโจวเซฺวียน[3]

ล้มสลาย

ศัตรูตัวฉกาจที่สุดของราชรัฐเจิ้งก็คือรัฐหาน อย่างไรก็ตาม สถานะของราชรัฐเจิ้งยังคงประสบกับความขัดแย้งภายในเมื่อเจิ้งไอกง (郑哀公) ถูกสังหาร และรัฐหานบุกโจมตีราชรัฐเจิ้ง และสังหารเจิ้งโหยวกง (鄭幽公) ดังนั้นเหล่าข้าราชบริพารจึงยก เจ้าชายไต้ 公子骀 พระอนุชาของเจิ้งโหยวกง ขึ้นเป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในพระสมัญญนาม เจิ้งซวีกง (郑繻公)[4]

เมื่อเจิ้งซวีกงขึ้นปกครอง ทำให้สถานการณ์ในการทำสงครามกับรัฐหานก็ดีขึ้นช่วงระยะหนึ่ง

ในปีที่ 15 แห่งรัชกาลเจิ้งซวีกง รัฐหานได้เข้าโจมตีเจิ้งและยึดเมืองหยงชิวของเจิ้งได้

ในปีที่ 16 แห่งรัชกาลเจิ้งซวีกง รัฐหานก็พ่ายแพ้ให้กับราชรัฐเจิ้งที่ฟู้ซู๋ (负黍)

ในปีที่ 23 แห่งรัชกาลเจิ้งซวีกง ราชรัฐเจิ้งบุกปิดล้อมรัฐหานที่นครหยางตี่ (阳翟)

เมื่อ 375 ปีก่อนคริสตกาล ราชรัฐเจิ้งเกิดความขัดแย้งภายใน รัฐหานจึงบุกโจมตี ราชรัฐเจิ้งล้มสลาย[5]

เจิ้งกั่วชีมู้ (郑国七穆)

เจิ้งกั่วชีมู้ หมายถึงราชสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจิ้งมู่กง[6][7] ซึ่งได้แก่

  • สกุลกั่ว (国氏) :มีที่มาจากพระนามจื่อกั่ว (子国) ของเจ้าชายฟา (公子发),ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.จื่อช่าน (子产) หรือที่รู้จักกันในชื่อกงซุนเชียว (公孙侨) "เจ้าชายเชียว"
  • สกุลซื่อ (驷氏) :มีที่มาจากพระนามจื่อซื่อ (子驷) ของเจ้าชายเฟ่ย (公子騑),ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.จื่อซี (子西) หรือที่รู้จักกันในชื่อกงซุนเซี้ย (公孙夏) "เจ้าชายเซี้ย"
  • สกุลฮาน (罕氏):มีที่มาจากพระนามจื่อฮาน (子罕) ของเจ้าชายซี่ (公子喜),ผู้สืบราชสกุล เช่น กงซุนเซ่อจรือ 公孙舍之 "เจ้าชายเซ่อจรือ" และบุตรชายของเซ่อจรือ คือ ฮานฮู๋ (罕虎) กับฮานถุ่ย (罕魋)
  • สกุลฟิง (丰氏):มีที่มาจากพระนามจื่อเฟิง (子丰) หรือ ผิง (平) ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.กงซุนต้วน (公孙段) "เจ้าชายต้วน"
    2.เฟิงจวน (丰卷)
  • สกุลโหย่ว (游氏):มีที่มาจากพระนามจื่อโหย่ว (子游) ของเจ้าชายเอีย (公子偃),ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.กงซุนไช้ (公孙虿) "เจ้าชายไช้"
    2.กงซุนชู๋ (公孙楚) "เจ้าชายชู๋"
    3.โหย่วพาน (游眅) หรือ จื่อหมิง(子明)
    4.โหย่วจี่ (游吉) หรือ จื่อต้าซู(子大叔)
  • สกุลอิ้น (印氏):มีที่มาจากพระนามจื่ออิ้น (子印),其后为印氏,ผู้สืบราชสกุล เช่น
    1.กงซุนเฮยกง (公孙黑肱) "เจ้าชายเฮยกง" หรือ จื่อจาง(子张)
    2.อิ้นต้วน (印段)、หรือ อิ้นกุ๋ย (印癸)

เนื่องจากราชสกุลทั้งหมดนี้สืบเชื้อสายมาจากเจิ้งมู่กง ทั้งเจ็ดตระกูลนี้จึงเรียกรวมกันว่า สัปตปูชา หรือ ชีมู่ (七穆) ซึ่งราชสกุลเหล่านี้ได้ผลัดกันเข้าควบคุมอำนาจทางการทหารและการเมืองของราชรัฐเจิ้งจากเจิ้งเซียงกง (郑襄公) เพื่อที่จะกลายเป็นผู้มีอำนาจที่แท้จริงของราชรัฐเจิ้ง บางครั้งถูกเรียกอย่างเสียดสีว่า ซานฮวนแห่งรัฐลู่ (鲁国的三桓)[8]

รายพระนามพระมหากษัตริย์

รัชกาล พระสมัญญนาม พระนามเดิม ฐานันดรศักดิ์เดิม ระยะเวลา รวมปีที่ครองราชย์ หมายเหตุ
1 เจิ้งฮวนกง
鄭桓公
โหยว
Yǒu
เจ้าฟ้าชาย
王子
หวางจื่อ
806 - 771 ปีก่อนคริสตกาล 36 ปี
2 เจิ้งหวู่กง
鄭武公
เจวี่ยถู่
Juétú
掘突
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
770 - 744 ปีก่อนคริสตกาล 27 ปี
3 เจิ้งจวงกง
鄭莊公
อู้เซิง
Wùshēng
寤生
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
743 - 701 ปีก่อนคริสตกาล 43 ปี
4 เจิ้งจาวกง
鄭昭公
ฮู

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
701 ปีก่อนคริสตกาล 1 ปี
5 เจิ้งหลี่กง
鄭厲公
ถู่

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
700 - 697 ปีก่อนคริสตกาล 4 ปี
6 เจิ้งจาวกง
鄭昭公
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
ฮู

696-695 ปีก่อนคริสตกาล 2 ปี ครองราชย์ครั้งที่ 2
7 กงจือเหมิ่น
公子亹
เหมิ่น
Mén
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
694 ปีก่อนคริสตกาล 7 เดือน ไม่ปรากฏพระสมัญญานามหลังสวรรคต
8 เจิ้งจืออิง
鄭子嬰
อิง
Yīng
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
693 - 680 ปีก่อนคริสตกาล 14 ปี ไม่ปรากฏพระสมัญญานามหลังสวรรคต
9 เจิ้งหลี่กง
鄭厲公
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
ถู่

679–673 ปีก่อนคริสตกาล 4 ปี ครองราชย์ครั้งที่ 2
10 เจิ้งเหวินกง
鄭文公
เจี่ย
Jié
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
672 - 628 ปีก่อนคริสตกาล 45 ปี
11 เจิ้งมู่กง
鄭穆公
หลัน
Lán
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
627 - 606 ปีก่อนคริสตกาล 22 ปี
12 เจิ้งหลิ่งกง
鄭靈公
อี่

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
605 ปีก่อนคริสตกาล 1 ปี
13 เจิ้งเซียงกง
鄭襄公
เจียน
Jiān
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
604 - 587 ปีก่อนคริสตกาล 18 ปี
14 เจิ้งเต้ากง
鄭悼公
เฟ่ย
Fèi
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
587 - 585 ปีก่อนคริสตกาล 2 ปี
15 เจิ้งเชิ่งกง
鄭成公
กุ้น
Gùn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
มิถุนายน 585 - มีนาคม 581 ปีก่อนคริสตกาล 3 ปี 11 เดือน
16 เจ้าชายซวี
公子繻
ซวี

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
581 ปีก่อนคริสตกาล ประมาณ 1 เดือน ไม่ปรากฏพระสมัญญานามหลังสวรรคต
17 เจิ้งซีกง
鄭僖公
ยุ้น
Yùn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
เมษายน 581 - พฤษภาคม 581 ปีก่อนคริสตกาล ประมาณ 2 เดือน
18 เจิ้งเชิ่งกง
鄭成公
กุ้น
Gùn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
พฤษภาคม 581 - 571 ปีก่อนคริสตกาล 9 ปี 8 เดือน ครองราชย์ครั้งที่ 2
19 เจิ้งซีกง
鄭僖公
ยุ้น
Yùn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
570 - 566 ปีก่อนคริสตกาล 5 ปี ครองราชย์ครั้งที่ 2
20 เจิ้งเจี่ยนกง
鄭簡公
เจีย
Jiā
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
565 - 530 ปีก่อนคริสตกาล 36 ปี
21 เจิ้งติ้งกง
鄭定公
หนิง
Níng
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
529 - 514 ปีก่อนคริสตกาล 16 ปี
22 เจิ้งเซียงกง
鄭獻公
ตุ๋น
Dǔn
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
513 - 501 ปีก่อนคริสตกาล 13 ปี
23 เจิ้งเซิงกง
鄭聲公
เซิ้ง
Shèng
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
500 - 463 ปีก่อนคริสตกาล 38 ปี
24 เจิ้งไอกง
鄭哀公
อี้

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
462 - 455 ปีก่อนคริสตกาล 8 ปี
25 เจิ้งก้งกง
鄭共公
โชว่
Chǒu
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
455 - 424 ปีก่อนคริสตกาล 31 ปี
26 เจิ้งโหยวกง
鄭幽公
จี๋

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
423 ปีก่อนคริสตกาล 1 ปี
27 เจิ้งซวีกง
鄭繻公
ไถ่
Tái
เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
422 - 396 ปีก่อนคริสตกาล 24 ปี
28 เจิ้งคังกง
鄭康公
อี๋

เจ้าชาย
公子
กงจื่อ
395 - 375 ปีก่อนคริสตกาล 21 ปี

ผังแสดงการสืบทอดของพระมหากษัตริย์แห่งราชรัฐเจิ้ง

ราชรัฐเจิ้ง
เจิ้งฮวนกง
鄭桓公
806 - 771 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งหวู่กง
鄭武公
770 - 744 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งจวงกง
鄭莊公
743 - 701 ปีก่อนคริสตกาล
ก้งชูต้วน
共叔段
เจิ้งจาวกง
鄭昭公
701 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งจืออิง
鄭子嬰
693 - 680 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งหลี่กง
鄭厲公
700 - 697 ปีก่อนคริสตกาล
กงจือเหมิ่น
公子亹
694 ปีก่อนคริสตกาล
จื่อเหริน
子人
เจิ้งเหวินกง
鄭文公
672 - 628 ปีก่อนคริสตกาล
ซูจาน
叔詹
ไท่จื่อฮั่ว
太子华
"รัชทายาท"
เจิ้งมู่กง
鄭穆公
627 - 606 ปีก่อนคริสตกาล
จื่อจาง
子臧
กงจือซื้อ
(公子士)
"เจ้าชายซื้อ"
กงจื่อเซี่ย
公子瑕
"เจ้าชายเซี่ย"
กงจื่อเซี่ย
公子瑕
"เจ้าชายเซี่ย"
เจิ้งหลิ่งกง
鄭靈公
605 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเซียงกง
鄭襄公
604 - 587 ปีก่อนคริสตกาล
จื่อเหลียง
子良
จื่อโหย่ว
子游
จื่อฮาน
子罕
จื่อซื่อ
子驷
จื่อกั่ว
子国
จื่อคง
子孔
จื่ออิ้น
子印
จื่อเฟิง
子丰
ซื้อจื่อคง
士子孔
จื่อหราน
子然
จื่อหยู๋ว
子羽
เจิ้งเต้ากง
鄭悼公
587 - 585 ปีก่อนคริสตกาล
เจ้าชายซวี
公子繻
587 - 585 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเชิ่งกง
鄭成公
พฤษภาคม 581 - 571 ปีก่อนคริสตกาล
จื่อชาน
子產
เจิ้งซีกง
鄭僖公
570 - 566 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเจี่ยนกง
鄭簡公
565 - 530 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งติ้งกง
鄭定公
529 - 514 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเซียงกง
鄭獻公
513 - 501 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งเซิงกง
鄭聲公
500 - 463 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งก้งกง
鄭共公
455 - 424 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งไอกง
鄭哀公
462 - 455 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งโหยวกง
鄭幽公
423 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งคังกง
鄭康公
395 - 375 ปีก่อนคริสตกาล
เจิ้งซวีกง
鄭繻公
422 - 396 ปีก่อนคริสตกาล

อ้างอิง

  1. Bai, Shouyi (2002). An Outline History of China. Beijing: Foreign Language Press. ISBN 7-119-02347-0.
  2. 司马贞认为其名为仲,字仲足;杜预《春秋经传集解·桓公十一年》:“祭,氏;仲,名。”孔颖达疏曰:“杜以萧叔非字,故知祭仲是名。”但班固《汉书·古今人表》中认为祭仲名足,皮锡瑞《经学通论》称祭仲“是名足字仲甚明,岂有以伯仲叔季为名者乎?
  3. 《竹书纪年》:晋文侯二年,周宣王子多父伐郐,克之。乃居郑父之丘,名之曰郑,是曰桓公。《水经·洧水注》
  4. *《史記》鄭世家
  5. Loewe, Michael (1999). Michael Loewe; Edward L. Shaughnessy (บ.ก.). The Cambridge History of Ancient China: From the Origins of Civilization to 221 B.C. Cambridge University Press. p. xxv. ISBN 0521470307. OCLC 37361770.
  6. 《春秋经传集解·襄公二十六年》:子展,郑子罕之子。居身俭而用心壹。郑穆公十一子,子然、二子孔三族已亡,子羽不为卿,故唯言七穆。○郑七穆,谓子展公孙舍之,罕氏也;子西公孙夏,驷氏也;子产公孙侨,国氏也;伯有良霄,良氏也;子大叔游吉,游氏也;子石公孙段,丰氏也;伯石印段,印氏也。穆公十一子,谓子良,公子去疾也;子罕,公子喜也;子驷,公子骈也;国,公子发也;子孔,公子嘉也;子游,公子偃也;子丰也;子印也;子羽也;子然也;士子孔也。子然、二子孔已亡,子羽不为卿,故止七也。
  7. 《春秋左传正义·襄公二十六年》:“子然、二子孔三族已亡”,十九年传文也。子羽不为卿者,案成十三年“郑公子班自訾求入于大宫,不能,杀子印、子羽”。不书於经,故知不为卿也。杜注彼云:皆穆公子也。又《世族谱》云:“子羽,穆公子。其后为羽氏,即羽师颉,是其孙。此非行人子羽,公孙挥也。”《世族谱》以公孙挥为杂人自外,唯有罕、驷、丰、游、印、国、良七族,见於经、传,皆出穆公,故称七穆也。
  8. 房占红 论郑国七穆世卿政治的内部秩序及其特点《厦门大学学报(哲学社会科学版)》 2008年第6期

[1][2][3] [4] [5] [6] [7] [8]

  1. Creel, Herrlee G. (1970). The Origins of Statecraft in China. ISBN 0-226-12043-0.
  2. Walker, Richard Lewis (1953-01-01). The Multi-state System of Ancient China. Beijing.
  3. Theobald, Ulrich (2018-11-01). "The Regional State of Zheng 鄭". China Knowledge. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  4. Knechtges, David R. & Chang, Taiping, บ.ก. (2014-09-22). Ancient and Early Medieval Chinese Literature: A Reference Guide, Part Three & Four. Vol. 3 & 4. LeidenꞏBoston: BRILL. pp. 2233–2234. ISBN 978-90-04-27185-2.
  5. Robert E. Harrist (2008). The landscape of words: stone inscriptions from early and medieval China. University of Washington Press. pp. 103, 117–118. ISBN 9780295987286.
  6. Chen, Jinhua (2007-05-11). Philosopher, Practitioner, Politician: the Many Lives of Fazang (643-712). BRILL. p. 146. ISBN 978-90-474-2000-2.
  7. Han Si (2008). A Chinese word on image: Zheng Qiao (1104-1162) and his thought on images. Acta Universitatis Gothoburgensis. pp. 31, 266. ISBN 978-91-7346-607-3.
  8. The Journal of the International Association of Buddhist Studies. International Association of Buddhist Studies. 1999. pp. 42, 39, 90.
Kembali kehalaman sebelumnya