รัฐฉู่
ประมาณ 1030 ปีก่อน ค.ศ. – 223 ปีก่อน ค.ศ. ฉู่ (楚)
ป. 350 ปีก่อน ค.ศ.
สถานะ
ไวเคานต์ (ก่อน 704 ปีก่อน ค.ศ.)
ราชอาณาจักร (704–223 ปีก่อน ค.ศ.)
เมืองหลวง
ตานหยาง [ 1] (丹陽)(ประมาณ 1030 – ประมาณ 680 ปีก่อน ค.ศ.)
หยิ่ง (ประมาณ 680 – 278 ปีก่อน ค.ศ.)
เฉิน (陈) (278–241 ปีก่อน ค.ศ.)
โช่วชุน (壽春) (241–224 ปีก่อน ค.ศ.)
เผิงเฉิง
ศาสนา
การปกครอง ราชาธิปไตย ยุคประวัติศาสตร์ ราชวงศ์โจว ประมาณ 1030 ปีก่อน ค.ศ. 706 หรือ 703 ไวเคานต์ 223 ปีก่อน ค.ศ.
สกุลเงิน เหรียญกษาปณ์จีนโบราณ
รัฐฉู่ (จีน : 楚 ; พินอิน : Chǔ , จีนเก่า : *s-r̥aʔ ) เป็นรัฐบริวาร ของจีนสมัยราชวงศ์โจว ตั้งอยู่ในบริเวณทางตอนใต้ของใจกลางดินแดนของราชวงศ์โจว และดำรงอยู่ในช่วงยุควสันตสารท ในช่วงปลายยุครณรัฐ รัฐนี้ถูกรัฐฉิน พิชิตเมื่อ 223 ปีก่อนคริสต์ศักราชในช่วงสงครามรวมชาติของฉิน
รัฐฉู่มีอีกชื่อว่า จิง (荆 ) และ จิงฉู่ (荆楚 ) ซึ่งกินพื้นที่ในปัจจุบันในมณฑลหูเป่ย์ และมณฑลหูหนาน ส่วนใหญ่ กับบางส่วนของฉงชิ่ง , มณฑลกุ้ยโจว , มณฑลเหอหนาน , มณฑลอานฮุย , มณฑลเจียงซี , มณฑลเจียงซู , มณฑลเจ้อเจียง และเซี่ยงไฮ้ ตานหยาง เมืองหลวงของรัฐฉู่ ตั้งอยู่ที่จุดบรรจบระหว่างแม่น้ำตาน และแม่น้ำซี เป็นเวลามากกว่า 400 ปี[ 3] [ 4] ปัจจุบันอยู่ใกล้กับเทศมณฑลซีชวาน มณฑลเหอหนาน แต่ภายหลังย้ายไปที่หยิ่ง เดิมราชวงศ์ฉู่ถือชื่อตระกูล ไหน่ (嬭 จีนเก่า: /*rneːlʔ/) ซึ่งภายหลังเขียนเป็นหมี่ (芈 จีนเก่า: /*meʔ/) นอกจากนี้ ราชวงศ์ฉู่ยังถือแซ่ หย่าน (酓 จีนเก่า: /*qlamʔ/, /*qʰɯːm/) ซึ่งภายหลังเขียนเป็นXiong (熊 จีนเก่า: /*ɢʷlɯm/).[ 5] [ 6]
รัฐฉู่ทรงอำนาจและอิทธิพลอย่างมากทั้งทางด้านการทหารและการปกครอง ในช่วงปลายราชวงศ์ฉิน ราว 206 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีเชื้อพระวงศ์คนหนึ่งของอดีตรัฐฉู่นามว่า เซี่ยงอวี่ ได้ตั้งตนเองเป็นกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ตะวันตกและสามารถโค่นล้มราชวงศ์ฉินลงได้สำเร็จ ขณะเดียวกันมีชาวนาซึ่งมาจากอดีตรัฐฉู่เช่นกันนามว่า หลิวปัง ได้ตั้งตนเป็นใหญ่และต่อสู้กับเซี่ยงอวี่ หรือฌ้อปาอ๋อง นานถึง 4 ปีก็ได้ชัยชนะเหนือเซี่ยงอวี่อย่างเด็ดขาด และตั้งตนเองเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก พระนามว่าจักรพรรดิฮั่นเกาจู่
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากรัฐฉู่
เซี่ยงอวี่ เชื้อพระวงศ์รัฐฉู่ซึ่งตั้งตนเป็นกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ตะวันตก
เซวี่ยนไทเฮา หรือ หมี่เยี่ย
อ้างอิง
Sima, Qian. Records of the Grand Historian (史記 ).
Zuo Qiuming, Zuo Zhuan (左传)
张淑一《先秦姓氏制度考察》 (ในภาษาจีน)
Defining Chu: Image And Reality In Ancient China , Edited by Constance A. Cook and John S. Major, ISBN 0-8248-2905-0
So, Jenny F., Music in the Age of Confucius , ISBN 0-295-97953-4
ข้อมูล
Behr, Wolfgang (2017). "The language of the bronze inscriptions" . ใน Shaughnessy, Edward L. (บ.ก.). Kinship: Studies of Recently Discovered Bronze Inscritpions from Ancient China . The Chinese University Press of Hong Kong. pp. 9–32. ISBN 978-9-629-96639-3 .
Behr, Wolfgang (2009). "Dialects, diachrony, diglossia or all three? Tomb text glimpses into the language(s) of Chǔ" . TTW-3, Zürich, 26.-29.VI.2009, "Genius Loci" : 1–48.
Chamberlain, James R. (2016). "Kra-Dai and the Proto-History of South China and Vietnam" . Journal of the Siam Society . 104 : 27–77.
Anhui Provincial Institute of Cultural Relics and Archaeology and Bengbu Museum (June 2015). "The Excavation of the tomb of Bai, Lord of the Zhongli State". Chinese Archaeology . Berlin , Boston : Walter de Gruyter . 14 (1): 62–85. doi :10.1515/char-2014-0008 .
อ่านเพิ่ม