Share to:

 

ราชวงศ์ภูคา

ราชวงศ์ภูคา
พระราชอิสริยยศกษัตริย์น่าน
ปกครองนครรัฐน่าน
เชื้อชาติชาวกาว
จำนวนพระมหากษัตริย์17 พระองค์
ประมุขพระองค์แรกพญาภูคา
ประมุขพระองค์สุดท้ายพญาผาแสง
สถาปนาพ.ศ. 1825[1]
ล่มสลายพ.ศ. 2004[2]
ราชวงศ์ถัดไปราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์

ราชวงศ์ภูคา[3] หรือ ราชวงศ์กาว[4] หรือ ราชวงศ์น่าน[5] เป็นราชวงศ์ที่ปกครองนครรัฐน่าน สถาปนาขึ้นโดยพญาภูคา ปกครองตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 โดยมีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองปัว ต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่เมืองย่าง ก่อนย้ายอีกครั้งลงมายังที่ราบลุ่มน่านคือเมืองภูเพียงแช่แห้งในรัชสมัยพญาครานเมือง[6] และย้ายมายังเมืองน่านตามลำดับ

นครรัฐน่านได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา ในปี พ.ศ. 1993 อินทแก่นท้าวกษัตริย์น่านหนีไปพึ่งพระยาเชลียง พระเจ้าติโลกราชจึงได้แต่งตั้งท้าวผาแสงบุตรท้าวแพงเชื้อสายราชวงศ์ภูคาปกครองน่าน[7] และเป็นเจ้านายราชวงศ์ภูคาพระองค์สุดท้าย เพราะหลังจากการสิ้นพระชนม์ของท้าวผาแสงขุนนางก็เข้ามากินเมืองแทน ดังปรากฏใน พื้นเมืองน่าน ความว่า "...แต่นั้นมาชื่อว่าพระญาบ่มีแลย่อมว่าเจ้าเมืองว่าอั้นมาแล..."[8]

นครรัฐน่านซึ่งมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวกาว จึงมีการสันนิษฐานว่าราชวงศ์ภูคาอาจมีเชื้อสายจากชาวกาวดังกล่าวด้วย ดังปรากฏว่าตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ซึ่งเรียกกษัตริย์น่านว่า "พระญากาวน่าน" และเรียกประชาชนชาวน่านว่า "กาวน่าน"[5] ซึ่งสอดคล้องกับศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 45 พ.ศ. 1935 เรียกผีบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่า "ด้ำพงศ์กาว" ซึ่งยืนยันถึงบรรพบุรุษของกษัตริย์น่านว่าเป็นชาวกาว[5] นอกจากนี้ราชวงศ์ภูคายังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับรัฐหลวงพระบาง (หลัง พ.ศ. 1700) และรัฐสุโขทัยที่มีบรรพบุรุษจากเมืองน่านชื่อ "ปู่ฟ้าฟื้น" ดังปรากฏใน จารึกปู่สบถหลาน เมื่อปี พ.ศ. 1935[9]

รายพระนามกษัตริย์

ปรากฏรายพระนามดังนี้[2][10]

ลำดับ พระนาม พระนามอื่น ครองราชย์ ความสัมพันธ์กับกษัตริย์
1. เจ้าขุนฟอง พุทธศตวรรษที่ 18 พระโอรสพญาภูคา
2. เจ้าเก้าเถื่อน เก้าเกื่อน, เก้าเกลื่อน ไม่ทราบปี พระโอรสเจ้าขุนฟอง
3. นางพญาแม่ท้าวคำพิน นางพญาแม่ท้าวคำปิน ไม่ทราบปี พระชายาเจ้าเก้าเถื่อน
4. พญาผากอง (ผู้ปู่) ผานอง 1856-1894 พระโอรสเจ้าเก้าเถื่อน
5. ขุนใส 1894-1896 พระโอรสเจ้าผานอง
6. พญาครานเมือง กรานเมือง, คานเมือง 1901-1906
7. พญาผากอง (ผู้หลาน) ผาคอง 1906-1931 พระโอรสพญาครานเมือง
8. เจ้าคำตัน ท้าวคำตัน 1936-1941 พระโอรสเจ้าผากอง
9. เจ้าศรีจันทะ ศรีจันต๊ะ 1941-1942 พระโอรสเจ้าคำตัน
ถูกพญาแพร่ยึดอำนาจ (1942-43)
12. เจ้าหุง 1943-1950 พระอนุชาเจ้าศรีจันทะ
13. เจ้าภูเข็ง ปู่เข็ง 1950-1960
14. เจ้าพันต้น 1960-1969 พระโอรสเจ้าภูเข็ง
15. พญางั่วฬารผาสุม 1969-1976 พระนัดดาเจ้าภูเข็ง
16. (1) เจ้าอินทแก่นท้าว (ครั้งที่ 1) อินต๊ะแก่นท้าว 1976 (3 เดือน) พระโอรสพญางั่วฬารผาสุม
17. เจ้าแพง แปง 1977-1978 พระอนุชาเจ้าอินทแก่นท้าว
16. (2) เจ้าอินทแก่นท้าว (ครั้งที่ 2) อินต๊ะแก่นท้าว 1978-1993 พระโอรสพญางั่วฬารผาสุม
ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา
18. เจ้าผาแสง ท้าวผาแสง 1993-2004 พระโอรสเจ้าเจ้าแพง
สิ้นสุดราชวงศ์ภูคา

อ้างอิง

  1. "ประวัติศาสตร์น่าน (ข้อมูลหออัตลักษณ์นครน่าน)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-03-29. สืบค้นเมื่อ 2021-04-30.
  2. 2.0 2.1 คณะทำงานเอกลักษณ์น่าน (2549). นครน่าน พัฒนาการเป็นนครรัฐ (PDF). ม.ป.ป. p. 15-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-24.
  3. ราชวงศ์นครน่าน - พระนครเชียงใหม่ เวียงสวรรค์บนแผ่นดินล้านนา
  4. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 106
  5. 5.0 5.1 5.2 สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 107
  6. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 111
  7. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 112
  8. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ:อมรินทร์, 2552. หน้า 113
  9. สุจิตต์ วงษ์เทศ (5 ธันวาคม 2557). "พระขรรค์ชัยศรี กับดาบฟ้าฟื้น". Sujitwongthes.com. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "แผนผังผู้ปกครองและเมืองศูนย์กลาง". นิทรรศการ พิพิธภัณฑ์ชีวิต วิถีชาวน่าน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-27. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
ก่อนหน้า ราชวงศ์ภูคา ถัดไป
ไม่มี ราชวงศ์ที่ปกครองนครรัฐน่าน
(พ.ศ. 1825 - พ.ศ. 2004)
ราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์
Kembali kehalaman sebelumnya