Share to:

 

รายชื่อสปีชีส์ในสกุลทุเรียน

เท่าที่ทราบในปัจจุบันมีพืชในสกุลทุเรียนอยู่ 30 ชนิด มีอยู่ 9 ชนิดที่ผลสามารถรับประทานได้ แต่อาจยังมีบางชนิดที่ยังไม่ค้นพบและจัดจำแนก และมีผลที่สามารถรับประทานได้

ทุเรียนชนิดที่ผลสามารถรับประทานได้ มี 9 ชนิดดังนี้ :
  • Durio zibethinus.
  • Durio dulcis
  • Durio grandiflorus
  • Durio graveolens หรือทุเรียนบูรุง (burung), ทุเรียนกูนิง (kuning), ทุเรียนแดง (merah มาจากภาษามลายูแปลว่าแดง), ทุเรียนโอตะก์อูดังกาละฮ์ (otak udang galah), ตาเบอละก์ (tabelak) หรือทุเรียนแดงสด เป็นไม้ผลขนาดใหญ่ สูง 50 ม. ผลมีเปลือกสีเหลืองส้ม มีหนามรูปพีระมิดยาว 1 ซม. เนื้อหวานสีแดงเข้ม มีกลิ่นหอมคล้ายอัลมอนด์คั่ว D. graveolens คล้ายกับ D. dulcis แต่ผลจะสุกเปลือกแตกเปิดออกขณะยังอยู่บนต้นและมีเนื้อสีแดงเข้ม แต่ทว่าผลของ D. dulcis เมื่อตกจากต้นเปลือกยังไม่แตกเปิดออกมีเนื้อสีเหลืองเข้ม ทุเรียนซูลุก์ (suluk) หรือ ทุเรียนซียุงกง (siunggong), เป็นลูกผสมตามธรรมชาติของ D. zibethinus และ D. graveolens มีเนื้อและรสชาติเหมือน D. zibethinus ผสมกับรสคาราเมลไหม้ของ D. graveolens นิด ๆ ทุเรียนซิมโปร์ (simpor) ที่มีรสนุ่ม เนื้อสีเหลือง เป็นรูปแบบที่แปรผันของ D. graveolens
  • Durio kutejensisหรือทุเรียนเญกัก (Nyekak) เป็นทุเรียนของเกาะบอร์เนียว
  • Durio lowianus หรือทุเรียนดูวัน (duan) เป็นไม้ผลขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 50 ม. มีดอกสีแดงยาว มีผลรูปไข่ เนื้อในสีเหลืองสด
  • Durio macrantha.
  • Durio oxleyanus หรือทุเรียนซูกัง (sukang), ทุเรียนเบอลูดู (beludu), อีซู (isu) หรือเกอรนตางัน (kerontangan) เป็นไม้ผลขนาดใหญ่ปานกลาง สูงได้ถึง 40 ม. มีผลกลมเล็ก สีเขียวเทา หนามแข็งมีขนาดใหญ่ เป็นรูปพีระมิด งอเล็กน้อย เนื้อมีสีเหลืองนุ่ม มีรสหวาน
  • Durio testudinarum หรือโตร์โตยเซ (tortoise) หรือทุเรียนกูรา-กูรา (kura-kura) เป็นไม้ผลขนาดกลาง สูงได้ถึง 25 ม. เป็นชนิดที่มีการผสมเรณูในต้นเดียวกันเองทำให้มีความแปรผันน้อยและมีฤดูกาลออกดอกที่กว้าง เนื้อมีสีเหลืองซีดและมีกลิ่นแรงกว่าทุเรียนชนิดอื่น
ทุเรียนชนิดที่เหลือมีดังนี้ :
  • Durio acutifolius (Mast.) Kosterm.: กระจายพันธุ์ในกาลีมันตันและรัฐซาบะฮ์
  • Durio affinis (Becc.): กระจายพันธุ์ในกาลีมันตันตะวันตกและรัฐซาบะฮ์
  • Durio beccarianus (Kosterm. & Soegeng.): กระจายพันธุ์ในกาลีมันตันตะวันตก
  • Durio bukitrayaensis (Kosterm.)
  • Durio burmanicus (Soegeng.)
  • Durio carinatus (Mast.): กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู, เกาะบอร์เนียว
  • Durio crassipes (Kosterm.): กระจายพันธุ์ในเมืองเตนม (Tenom) และซีปีตัง (Sipitang) ของรัฐซาบะฮ์
  • Durio excelsus (Korth.) Bakh.: กระจายพันธุ์ในกาลีมันตัน
  • Durio griffithii (Mast.) Bakh.: กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว
  • Durio kinabaluensis (Kosterm & Soegeng): กระจายพันธุ์ในรัฐซาบะฮ์
  • Durio lanceolatus (Mast.): กระจายพันธุ์ในเกาะบอร์เนียว
  • Durio lissocarpus (Mast.): กระจายพันธุ์ในเกาะบอร์เนียว
  • Durio macrolepis (Kosterm.): กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู
  • Durio macrophyllus (Ridl.): กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู
  • Durio malaccensis (Planch.): กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู, เกาะสุมาตรา ปกติจะมีดอกสีขาว แต่ก็มี D. malaccensis ที่มีดอกสีแดงเรื่อพบในรัฐยะโฮร์, บางทีอาจเกิดจากการถ่ายเรณูข้ามดอกสีชมพูหรือสีแดงของ D. lowianus และ D. pinangianus
  • Durio mansoni (Gamble) Bakh.: กระจายพันธุ์ในประเทศพม่า
  • Durio oblongus (Mast.): กระจายพันธุ์ในรัฐซาราวัก
  • Durio pinangianus (Ridl.): กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู (รัฐเประ, รัฐปีนัง)
  • Durio purpureus (Kosterm. & Soegeng.): กระจายพันธุ์ในกาลีมันตันตะวันตก
  • Durio singaporensis (Ridl.): กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู
  • Durio wyatt-Smithii (Kosterm.): กระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายู (รัฐตรังกานู)
      • ซึ่งทุเรียนชนิดที่เหลือไม่ควรรับประทานเพราะมีค่ากำมะถันสูงซึ่งเป็นอันตรายแก่ร่างกาย

อ้างอิง

  • Brown, Michael J. (1997). Durio — A Bibliographic Review. International Plant Genetic Resources Institute. ISBN 92-9043-318-3.
  • Morton, J. F. (1987). Fruits of Warm Climates. Florida Flair Books. ISBN 0-9610184-1-0. Full text Durian chapter
Kembali kehalaman sebelumnya