ภาษามลายู
ภาษามลายู (มลายู: bahasa Melayu, ยาวี: بهاس ملايو, เรอจัง: ꤷꥁꤼ ꤸꥍꤾꤿꥈ) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในประเทศบรูไน ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย และใช้สื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการในประเทศติมอร์-เลสเตและบางส่วนของประเทศไทย ภาษานี้มีผู้พูด 290 ล้านคน[6] (ประมาณ 260 ล้านคนในอินโดนีเซียเพียงประเทศเดียวซึ่งมีมาตรฐานเป็นของตนเองที่เรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย")[7] โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวักและกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) หรือ "ภาษามลายูมาเลเซีย" (Bahasa Melayu Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูรีเยา (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัซซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม ไวยากรณ์ภาษามลายูเป็นภาษารูปคำติดต่อ การสร้างคำใหม่ทำได้ 2 วิธีคือ ลงวิภัติปัจจัยที่รากศัพท์ สร้างคำประสมหรือซ้ำคำ หน่วยคำเติมรากศัพท์ที่เติมหน่วยคำเติมเป็นได้ทั้งคำนามและคำกริยา ตังอย่างเช่น masak (ทำอาหาร) เป็น memasak (กำลังทำอาหาร) memasakkan (ทำอาหารเพื่อ) dimasak (ทำอาหาร-รูปถูกกระทำ) และ pemasak (ผู้ทำอาหาร) บางครั้งมีการเปลี่ยนเสียงพยัญชนะตัวแรกเมื่อเติมคำอุปสรรคหน้ารากศัพท์ เช่น sapu (กวาด) เป็น penyapu (ไม้กวาด) panggil (เรียก) เป็น memanggil (กำลังเรียก) ตัวอย่างการใช้หน่วยคำเติมเพื่อเปลี่ยนความหมายของคำได้แก่การผันคำว่า ajar (สอน)
หน่วยคำเติมมี 4 ชนิดคือ อุปสรรค (awalan) ปัจจัย (akhiran) อุปสรรค+ปัจจัย (apitan) และอาคม (sisipan) หน่วยคำเติมเหล่านี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มตามหน้าที่คือ ทำให้เป็นนาม กริยา และคุณศัพท์ หน่วยคำเติมสร้างคำนาม เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำนาม ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง
หน่วยคำเติมสร้างคำกริยา เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำกริยา ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง
หน่วยคำเติมสร้างคำคุณศัพท์ เปลี่ยนรากศัพท์ให้เป็นคำคุณศัพท์ ตัวอย่างแสดงในตารางข้างล่าง:
ภาษามลายูมีปัจจัยที่ยืมจากภาษาอื่นเช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาอังกฤษ เช่น maha- juru- pasca- eka- anti- pro- คำประสมคำประสมเกิดจากการรวมคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปเข้าด้วยกัน ซึ่งคำเหล่านี้ปกติจะเขียนแยกกันในประโยค คำประสมนี้อาจรวมกันได้โดยตรง หรือมีปัจจัยเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น kereta หมายถึงรถ และ api หมายถึงไฟ รวมกันเป็น kereta api หมายถึงรถไฟ kita หมายถึง เรา kasih " รัก kamu "คุณ รวมกันเป็น เรารักคุณ การซ้ำคำการซ้ำคำในภาษามลายูมี 4 แบบคือ ซ้ำทั้งหมด ซ้ำบางส่วน ซ้ำเป็นจังหวะ และซ้ำโดยความหมาย ลักษณนามภาษามลายูมีการใช้ลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม และภาษาเบงกอล คำหน้าที่มี 16 ชนิด เป็นคำที่มีหน้าที่ทางไวยากรณืในประโยค ได้แก่ คำสันธาน คำบุพบท คำปฏิเสธ และคำอื่น ๆ คำปฏิเสธคำที่แสดงการปฏิเสธในภาษามลายูมี 2 คำ คือ bukan และ tidak bukan ใช้ปฏิเสธนามวลีและบุพบท ส่วน tidak ใช้ปฏิเสธคำกริยาและวลีคุณศัพท์
คำ bukan อาจใช้นำหน้า กริยาและวลีคุณศัพท์ได้ ถ้าประโยคนั้นแสดงความขัดแย้ง
เพศทางไวยากรณ์โดยทั่วไปไม่มีการแบ่งเพศ มีเพียงบางคำที่มีการแบ่งเพศตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น adik หมายถึงน้องโดยไม่แบ่งเพศ adik laki-laki หมายถึงน้องชายซึ่งไม่ตรงกับ"brother" ในภาษาอังกฤษ คำที่แบ่งเพศ เช่น puteri (เจ้าหญิง)และ putera (เจ้าชาย) การทำให้เป็นพหูพจน์โดยทั่วไปการแสดงพหูพจน์ใช้การซ้ำคำ ตัวอย่างเช่น ถ้วย 1 ใบ ใช้ cawan ถ้วยหลายใบใช้cawan-cawan แต่ลดรูปเหลือ cecawan แต่บางคำมีข้อยกเว้นเช่น orang หมายถึงบุคคลแต่คำว่าประชาชนไม่ใช้ orang-orang แต่ใช้คำว่า rakyat แต่ถ้าหมายถึงคนหลายคนหรือคนเยอะใช้คำว่า ramai orang ,คน 1 พันคนใช้ seribu orang ซึ่งเป็นการใช้คำแสดงจำนวนแสดงรูปพหูพจน์ นอกจากใช้แสดงพหูพจน์แล้ว การซ้ำคำยังใช้สร้างคำใหม่ด้วย เช่น hati หมายถึงหัวใจหรือตับแล้วแต่บริบท hati-hati หมายถึงระวัง และมักใช้เป็นคำกริยา การซ้ำคำนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับชาวต่างชาติที่เรียนภาษามลายู คำกริยาไม่มีการผันคำกริยาตามกาลหรือจำนวน ไม่มีเครื่องหมายแสดงกาล แต่มักบอกกาลโดยใช้คำกริยาวิเศษณ์แทน (เช่นเมื่อวานนี้) หรือตัวบ่งกาล เช่น sudah (พร้อมแล้ว) แต่ภาษามลายูมีระบบคำกริยาที่ซับซ้อนของปัจจัยเพื่อแสดงความหมายที่ต่างกันเล็กน้อยรวมทั้งแสดงผู้กระทำ ปัจจัยบางตัวถูกยกเว้นไม่ใช้ในการสนทนา การเรียงลำดับคำโดยทั่วไปเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม คำคุณศัพท์ คำสรรพนามชี้เฉพาะและสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำนามที่ขยาย คำยืมภาษามลายูมีคำยืมจากภาษาอาหรับ (มักเป็นคำทางศาสนา) ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาโปรตุเกส ภาษาดัตช์ ภาษาจีนบางสำเนียง คำยืมรุ่นใหม่ ๆ มักมาจากภาษาอังกฤษ โดยมากเป็นศัพท์วิทยาศาสตร์และศัพท์เทคนิค ตัวอย่างคำศัพท์
อิทธิพลของภาษามลายูในภาษาไทยภาษามลายูมีอิทธิพลในภาษาไทยมาช้านาน โดยมีหลักฐานชัดเจนย้อนหลังไปอย่างน้อยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏในปริบทต่าง ๆ ดังนี้
อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษามาเลย์ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาอินโดนีเซีย วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ ภาษามลายู วิกิท่องเที่ยว มีเฟรซบุ๊กสำหรับ Malay
|