รายพระนามรัชทายาทลักเซมเบิร์กรายพระนามรัชทายาทลักเซมเบิร์ก รายพระนามนี้รวมถึงบุคคลทุกคนที่ได้รับการพิจารณาว่าจะได้รับมรดกสืบราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์ก หรือ แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก ไม่ว่าจะเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงหรือทายาทโดยสันนิษฐานนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งลักเซมเบิร์กในวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1815 ผู้ที่ได้สิบราชบัลลังก์แกรนด์ดยุกหรือแกรนด์ดัชเชสจะแสดงเป็นตัวหนา ราชรัฐลักเซมเบิร์กก่อตั้งขึ้นในปีค.ศ. 1815 โดยการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาและรวมอยู่ในรัฐใหม่คือ สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ภายใต้พระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์ ในการแลกเปลี่ยนสำหรับบรรพบุรุษของพระองค์ โดยรัฐออเรนจ์-นัสเซาจะต้องตกเป็นของปรัสเซีย ส่งผลให้แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กพระองค์แรกเป็นพระมหากษัตริย์ชาวดัตช์ และรัชทายาทก็จะเหมาะสมกับทั้งสองราชบัลลังก์ สหภาพเริ่มแตกสลายในปีค.ศ. 1884 เมื่อพระราชโอรสองค์สุดท้ายของพระมหากษัตริย์-แกรนด์ดยุกได้สิ้นพระชนม์ ทำให้ไม่มีรัชทายาทที่เป็นชายในสายพระราชสันตติวงศ์ของราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา ในขณะที่พระราชธิดาของพระมหากษัตริย์คือ เจ้าหญิงวิลเฮลมินาสามารถ (และต้อง) สืบราชบัลลังก์ดัตช์ ในฐานะ สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์กในฐานะดินแดน "เยอรมัน" ตามข้อตกลงราชสกุลนัสเซาในปีค.ศ. 1783 ในที่นั้นกฎหมายแซลิก (การยกเว้นการสืบทอดมรดกของเพศหญิง) ได้นำมาใช้ แต่ราชบัลลังก์ได้ถูกส่งผ่านไปยังสาขาราชสกุลนัสเซาที่ยังคงเหลือเพียงหนึ่งคือ ราชสกุลนัสเซา-ไวล์บูร์ก[1] ราชสกุลสาขานี้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกันในอีก 20 ปีต่อมา คือ แกรนด์ดยุกทรงมีพระราชธิดา 6 พระองค์แต่ไม่มีพระราชโอรส และถือได้ว่าพระญาติของพระองค์คือ เคานท์แห่งมาเรนเบิร์ก ซึ่งมาจากการแต่งงานต่างฐานันดร ซึ่งยากในการสืบราชบัลลังก์ แทนที่(จากการประท้วงของเคานท์แห่งมาเรนเบิร์ก)[2]พระองค์จะใช้คำอธิบายในเรื่อง "กฎหมายกึ่งแซลิก" แต่ทรงเห็นพ้อง (ซึ่งมีความชัดเจนกว่าข้อตกลงราชสกุลนัสเซา)ให้ผ่านราชบัลลังก์ไปยังพระราชธิดาของพระองค์ (และทายาทชายของเหล่าพระราชธิดา)ในการประสูติ โดยเฉพาะพระสวามีของแกรนด์ดัชเชสจะไม่มีบทบาทในฐานะประมุข[3] ในปีค.ศ. 2011 กฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยอนุญาตให้สตรีสามารถสืบราชบัลลังก์ได้เท่าเทียมกับบุรุษ[4] รายพระนามรัชทายาท
ดูเพิ่มอ้างอิง
|