ประเทศลักเซมเบิร์กปกครองโดยเจ้าผู้ครองราชรัฐซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นเคานต์ ดยุก และแกรนด์ดยุก ตามลำดับ ในอดีตเป็นรัฐนี้ส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเยอรมนีและจากนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จนกระทั่งได้ปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2358
เคานต์แห่งลักเซมเบิร์ก
ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก-นาเมอร์
ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก-นาเมอร์
ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก-ลิมเบิร์ก
ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
ในพ.ศ. 1897 ประเทศได้เปลี่ยนเป็นดัชชี
ราชวงศ์ลักเซมเบิร์ก-ลิมเบิร์ก
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์
ในปีพ.ศ. 2010 เมื่อดัสเชสเอลิซาเบธที่ 2 ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กพระองค์สุดท้าย ทรงได้สละสิทธิอันชอบธรรมของพระนางในราชบัลลังก์ พระโอรสของฟิลลิปเดอะกูด ดยุกแห่งเบอร์กันดีคือ ชาร์ลส์เดอะโบลด์ ดยุกแห่งเบอร์กันดีทรงยอมรับพระอิศริยยศนี้โดยรวมเข้ากับพระยศ"ดยุกแห่งเบอร์กันดี"
ในปีพ.ศ. 2025/พ.ศ. 2049 ลักเซมเบิร์กได้ปกครองโดยราชวงศ์ฮับบูร์ก หลังจากการสละราชสมบัติของจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ดัชชีแห่งลักเซมเบิร์กจึงตกเป็นของราชวงศ์ฮับบูร์กสายสเปน
ในช่วงสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนปีพ.ศ. 2245 ถึงพ.ศ. 2257 ดินแดนได้กลายเป็นข้อพิพาทระหว่างเจ้าชายฟิลิปแห่งอองจูผู้เป็นพระนัดดาในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส สายราชวงศ์บูร์บงกับอาร์ชดยุกชาร์ลส์แห่งออสเตรียพระโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลีโอโพลด์ที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สายราชวงศ์ฮับส์บูร์ก ในปีพ.ศ. 2255 ลักเซมเบิร์กและนาเมอร์ได้ถูกครอบครองโดยอิเล็กเตอร์แม็กซิมิลเลียนที่ 2 เอ็มมานูเอลแห่งบาวาเรียโดยพันธมิตรฝรั่งเศส ด้วยจุดจบแห่งสงครามในปีพ.ศ. 2256 และสนธิสัญญาอูเทร็คท์ อิเล็กเตอร์เอ็มมานูเอลทรงฟื้นฟูรัฐอิเล็กเตอร์แห่งบาวาเรียและในปีพ.ศ. 2256 ลักเซมเบิร์กจึงถูกครอบครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูรก์สายออสเตรียอีกครั้งหนึ่ง
ลักเซมเบิร์กได้ถูกยึดครองโดยเหล่านักปฏิวัติฝรั่งเศสในระหว่าง พ.ศ. 2337 ถึง พ.ศ. 2356 ในการประชุมแห่งเวียนนาได้มีการยกระดับดินแดนเป็น "แกรนด์ดัชชี" และให้สิทธิ์ในการปกครองแก่สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 1 แห่งเนเธอร์แลนด์
แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดยุกแห่งลักเซมเบิร์กเป็นตำแหน่งของพระประมุขของลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศเดียวในโลกที่ปกครองแบบราชรัฐซึ่งได้รับการสถาปนาเมื่อปีพ.ศ. 2358 บนการรวมกับราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ภายใต้ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา
รัฐธรรมนูญแห่งลักเซมเบิร์กได้กำหนดสถานะของแกรนด์ดยุกว่า "แกรนด์ดยุกเป็นพระประมุขแห่งรัฐ ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกภาพและทรงเป็นผู้ค้ำจุนเอกราชของชาติ พระองค์ทรงสามารถใช้อำนาจเต็มด้วยการเห็นพ้องกันในรัฐธรรมนูญและกฎหมายแห่งประเทศ"
ภายใต้พ.ศ. 2328 ข้อตกลงราชสกุลนัสเซา ดินแดนต่างๆของราชวงศ์นัสเซาในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในข้อตกลง(ลักเซมเบิร์กและรัฐนัสเซา)ได้ถูกผูกมัดด้วยกฎบัตรซาลลิคได้นำมาซึ่งมรดกโดยสตรีหรือผ่านทางสตรีในโอกาสการสูญสิ้นทายาทที่เป็นบุรุษแห่งราชวงศ์ เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเล็มที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จสวรรคต เจ้าหญิงวิลเฮลมินาทรงเป็นรัชทายาทเพียงพระองค์เดียวได้ขึ้นครองราชสมบัติเนเธอร์แลนด์ โดยไม่ผูกมัดตามข้อตกลงของราชสกุล อย่างไรก็ตามราชบัลลังก์ลักเซมเบิร์กได้ผ่านไปถึงเชื้อสายบุรุษของราชวงศ์นัสเซาสายอื่น คือ ดยุกอดอลฟ์ผู้ถูกขับออกจากตำแหน่งดยุกแห่งนัสเซาและเป็นประมุขของสายราชวงศ์นัสเซา-เวลเบิร์ก
ในปีพ.ศ. 2448 เจ้าชายนิโคลอส วิลเฮล์มแห่งนัสเซาผู้เป็นพระอนุชาต่างมารดาของแกรนด์ดยุกอดอลฟีสิ้นพระชนม์ มีพระโอรสคือเคานท์จอร์จ นิโคลอสแห่งมาเรนเบิร์ก อย่างไรก็ตามทรงเป็นทายาทของการสมรสของต่างฐานะ เพราะฉะนั้นทรงเป็นสมาชิกของราชวงศ์เพียงทางนิตินัย ในปีพ.ศ. 2450 แกรนด์ดยุกวิลเล็มที่ 4 แห่งลักเซมเบิร์กผู้เป็นพระโอรสเพียงองค์เดียวของแกรนด์ดยุกอดอลฟ์ได้รับสิทธิการชอบธรรมแก่พระธิดาองค์โตคือ เจ้าหญิงมารี อเดเลด ซึ่งเป็นสิทธิในการสืบราชสมบัติด้วยความบริสุทธิ์แห่งการไร้บุรุษในราชวงศ์ และระบุไว้ในกฎดั้งเดิมราชสกกุลนัสเซา พระนางจึงทรงเป็นแกรนด์ดัสเชสพระองค์แรกผู้ปกครองแกรนด์ดัชชีแห่งลักเซมเบิร์กเมื่อพระบิดาเสด็จสวรรคตในปีพ.ศ. 2455 และทรงสละราชสมบัติในปีพ.ศ. 2462 พระขนิษฐาจึงครองราชย์สืบต่อคือแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก ผู้ซึ่งอภิเษกสมรสกับเจ้าชายเฟลิกซ์แห่งบูร์บง-ปาร์มา เจ้าชายในอดีตดัชชีแห่งพาร์มา เชื้อสายของพระนางได้ครองราชย์สืบต่อมาจนปัจจุบัน เป็นการดำเนินต่อของราชวงศ์นัสเซาและได้สถาปนาราชวงศ์บูร์บง สายบูร์บง-ปาร์มา
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
รายพระนามพระมหากษัตริย์แบ่งตามประเทศ |
---|
ทวีปแอฟริกา | |
---|
ทวีปเอเชีย | |
---|
ทวีปยุโรป | |
---|
ทวีปอเมริกา | |
---|
เขตโอเชียเนีย | |
---|
อดีตราชอาณาจักร | |
---|
* สมบูรณาญาสิทธิราชย์, ⁂ ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ, ! ราชาธิปไตยที่มีการเลือกตั้ง |