ริชาร์ด แฮริส (วิสัญญีแพทย์)
ริชาร์ด เจมส์ ดันบาร์ แฮริส (อังกฤษ: Richard James Dunbar Harris) เป็นวิสัญญีแพทย์ชาวออสเตรเลียและนักประดาน้ำในถ้ำที่มีบทบาทสำคัญใน ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง เขาและเครก ชาลเลนได้รับรางวัล Australian of the Year 2019 ร่วมกันอันเป็นผลมาจากการช่วยเหลือครั้งนั้น แฮร์ริสได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าการรัฐเซาท์ออสเตรเลียในปี 2024[1] อาชีพแพทย์หลังจากเรียนจบที่ St Peter's College เมือง แอดิเลด แฮร์ริสสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาแพทยศาสตร์และศัลยศาสตร์บัณฑิตที่ Flinders University ในปี ค.ศ. 1988 ต่อมาเขาสำเร็จการศึกษาด้านวิสัญญีแพทย์ในสหราชอาณาจักรและนิวซีแลนด์[2][3] แฮร์ริสทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านแพทย์ทางอากาศและวิสัญญีแพทย์ให้กับ South Australian Ambulance Service เขาเคยทำงานในทีมช่วยเหลือทางการแพทย์ในกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติในภูมิภาคแปซิฟิก และมีส่วนร่วมในภารกิจ Australian Aid ที่ วานูอาตู[2][3] ในเดือนมกราคม 2024 มีการประกาศว่าแฮร์ริสจะเป็นรองผู้ว่าการรัฐเซาท์ออสเตรเลีย[4] นักดำน้ำในถ้ำแฮริสเป็นนักประดาน้ำในถ้ำที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ประสบการณ์การดำน้ำในถ้ำของแฮริสรวมถึงการนำทีมนักดำน้ำชาวออสเตรเลียในการดำน้ำบันทึกความลึก 192 และ 221 เมตร (210 และ 242 หลา) ในปี ค.ศ. 2011 และ ค.ศ. 2012 ขณะค้นหาแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำ Pearse ของนิวซีแลนด์ ภารกิจนี้ถูกถ่ายทำให้กับเนชั่นแนลจีโอกราฟิก ในปี ค.ศ. 2011 แฮร์ริสได้รับการร้องขอจากตำรวจเซาท์ออสเตรเลียให้เข้าร่วมในการกู้ร่างเพื่อนสนิทของเขา Agnes Milowka ซึ่งเสียชีวิตขณะสำรวจถ้ำใกล้ แทนทานูลา ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย[5][6] ในปี ค.ศ. 2009 แฮร์ริสได้รับรางวัล "ความสำเร็จดีเด่น" ในการประชุมวิชาการเพื่อเป็นการแสดงถึงความทุ่มเทของเขาในการสำรวจการดำน้ำในถ้ำ และในปี ค.ศ. 2017 เขาได้รับรางวัลเช่นกัน[7][8] ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ. 2018 แฮร์ริสกำลังจะออกเดินทางในช่วงวันหยุดเพื่อไปดำน้ำในถ้ำที่ Nullarbor Plain เมื่อเขาและคู่หูนักดำน้ำ เครก ชาลเลน ได้รับการร้องขอจากรัฐบาลไทยตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านการดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษ พวกเขาจึงยกเลิกแผนการดำน้ำในวันหยุดและเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อพยายามช่วยเหลือเด็กไทยสิบสองคนและโค้ชทีมฟุตบอลของพวกเขาที่ ถูกขังอยู่ในถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน[3][9] ความพยายามของแฮร์ริสตลอดการกู้ภัยได้รับการอธิบายว่าเป็นสิ่งจำเป็น เขาทำการประเมินทางการแพทย์กับเด็กชายทั้งหมดที่ติดอยู่ในถ้ำและมันเป็นคำแนะนำของเขาว่าเจ้าหน้าที่ควรเริ่มต้นการช่วยชีวิตเด็กที่แข็งแกร่งที่สุดก่อนตามด้วยเด็กที่อ่อนแอที่สุด ระหว่างการช่วยเหลือแฮร์ริสได้ให้ยากล่อมประสาทกับเด็กชายเพื่อทำให้มั่นใจว่าพวกเขาจะไม่ตื่นตระหนกในระหว่างการช่วยเหลือ แฮริสและชาลเลนเป็นสมาชิก 2 คนสุดท้ายของทีมกู้ภัยที่ออกจากถ้ำหลังจากการช่วยเหลือ[2] เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 แฮริส พร้อมด้วย ชาลเลน ได้รับรางวัล Star of Courage และ Medal of Order of Australia จาก ผู้สำเร็จราชการออสเตรเลีย[10] เมื่อวันที่ 7 กันยายน ปีเดียวกัน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้น ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ แก่ แฮริส และ ชาลเลน[11] ในวันชาติออสเตรเลียปี ค.ศ. 2019 แฮร์ริสได้รับการประกาศให้เป็น ชาวออสเตรเลียแห่งปี 2019 ร่วมกับชาลเลน[12] เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 หมอแฮร์ริสและชาลเลนได้เผยแพร่หนังสือ Against All Odds[13] ที่เล่าถึงการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กชายจากถ้ำหลวง ในหนังสือและในการสัมภาษณ์ทางวิทยุที่โปรโมตหนังสือ พวกเขาแก้ไขความไม่ถูกต้องบางประการในสื่อเกี่ยวกับการช่วยชีวิต เขากล่าวว่าเขาไม่ได้เลือกลำดับที่เด็กชายจะออกจากถ้ำ และเด็กชายตัดสินใจเองโดยพิจารณาจากระยะทางที่เด็กชายแต่ละคนอาศัยอยู่ห่างจากถ้ำ นอกจากนี้ เขายังกล่าวอีกว่า เด็กชายทั้ง 12 คนหมดสติไปโดยสมบูรณ์ ขณะที่พวกเขาถูกพาตัวออกจากถ้ำที่ถูกน้ำท่วม ขณะที่เขาฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อที่ต้นขาให้เด็กชายแต่ละคน ๆ ละ 2 เข็ม คือ คีตามีนเพื่อให้พวกเขาหลับ และ อะโตรไพน์ เพื่อระงับการผลิตน้ำลายเพื่อหยุดการสำลัก รองผู้ว่าการรัฐเซาท์ออสเตรเลียเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2024 แฮร์ริสได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าการรัฐเซาท์ออสเตรเลีย[14] แฮร์ริสจะสาบานตนในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2024[15] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|