Share to:

 

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2562

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2562
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว20 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ระบบสุดท้ายสลายตัว25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อโดเรียน
 • ลมแรงสูงสุด185 ไมล์/ชม. (295 กม./ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด910 มิลลิบาร์ (hPa; 26.87 inHg)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด20 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด18 ลูก
พายุเฮอริเคน6 ลูก
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่
(ระดับ 3 ขึ้นไป)
3 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด≥ 98 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 1.198 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2019)
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก
2560, 2561, 2562, 2563, 2564

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2562 คือช่วงของฤดูกาลที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นปีที่สี่ติดต่อกันแล้วที่มีกิจกรรมของฤดูกาลสูงกว่าค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 และเท่ากับเมื่อปี พ.ศ. 2512 และเป็นฤดูกาลที่มีการใช้ชื่อพายุมากที่สุดเป็นอันดับที่สี่ ในบรรดาฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกที่มีการบันทึกไว้ด้วย โดยมีพายุได้รับชื่อ 18 ลูก และมีพายุหมุนเขตร้อนทั้งสิ้น 20 ลูก แม้ว่าหลายลูกจะเป็นพายุกำลังอ่อนและมีช่วงชีวิตที่สั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายของฤดูกาลก็ตาม ฤดูกาลอย่างเป็นทางการนั้นเริ่มนับในวันที่ 1 มิถุนายน และสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน วันเหล่านี้เป็นขอบระยะเวลาตามประวัติศาสตร์ที่จะมีพายุก่อตัวขึ้นมากที่สุดในแอ่งแอตแลนติก อย่างไรก็ตามการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ทุกเวลาในปี ซึ่งแสดงให้เห็นในฤดูกาลนี้ด้วยการก่อตัวขึ้นของพายุกึ่งโซนร้อนแอนเดรียในวันที่ 20 พฤษภาคม โดยเป็นเวลาห้าปีติดต่อกันมาแล้ว ที่มีพายุหมุนเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนก่อตัวขึ้นก่อนวันเริ่มฤดูกาลอย่างเป็นทางการ ทำลายสถิติเดิมที่ช่วงปี พ.ศ. 2494–2497 ทำไว้[1] นอกจากนี้ปีนี้ยังเป็นปีที่สองติดต่อกันแล้ว ที่ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนก่อตัวในเดือนมิถุนายนเลย

พายุเฮอริเคนลูกแรกของฤดูกาลชื่อว่า แบร์รี ก่อตัวขึ้นในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ทางด้านเหนือของอ่าวเม็กซิโก และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่รัฐลุยเซียนาของสหรัฐ จากนั้นกิจกรรมของแอ่งเว้นว่างไปเป็นเวลาห้าสัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม โดยมีพายุก่อตัวขึ้นบ้าง รวมทั้งพายุเฮอริเคนโดเรียน ซึ่งส่งผลกระทบกับหมู่เกาะวินด์เวิร์ดและหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐในฐานะพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรง และจากนั้นได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 อย่างรวดเร็วขณะกำลังประชิดประเทศบาฮามาส ซึ่งสร้างความเสียหายให้เกาะที่อยู่ทางปลายสุดด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อนจะมุ่งหน้าต่อไปยังอีสเทิร์นซีบอร์ดต่อ และสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมาก

ในเดือนกันยายน พายุโซนร้อนเฟอร์นันด์ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วใกล้กับชายฝั่งเม็กซิโก และได้พัดขึ้นฝั่งในรัฐตาเมาลิปัสของประเทศเม็กซิโก ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันอย่างรุนแรงไปทั่วทั้งรัฐ พายุเฮอริเคนอุมเบร์โตทำให้เกิดฝนตกอย่างหนักและมีลมแรงระดับเฮอริเคนไปถึงเบอร์มิวดาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนนิโคลในปี พ.ศ. 2559 ต่อมาพายุโซนร้อนอีเมลดาก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในอ่าวเม็กซิโก ก่อนจะพัดขึ้นฝั่งในรัฐเท็กซัส ทำให้เกิดอุทกภัยขึ้นในพื้นที่ ขณะที่พายุเฮอริเคนลอเรนโซได้กลายเป็นพายุระดับ 5 ที่อยู่ทางด้านตะวันออกสุดในบันทึกของพายุเฮอริเคนแอตแลนติก และทำให้เรือสัญชาติฝรั่งเศสชื่อ Bourbon Rhode อับปางลงหลังจากที่แล่นผ่านตัวพายุ นอกจากนี้พายุเนสตอร์ยังทำให้เกิดเหตุการณ์พายุทอร์เนโดพัดถล่มไปทั่วทั้งด้านตะวันตกของรัฐฟลอริดา ในช่วงกลางเดือนตุลาคม ทำให้เกิดความเสียหายปานกลางในพื้นที่ที่เคยได้รับผลกระทบจากพายุเฮอริเคนไมเคิลเมื่อปีก่อน พายุเฮอริเคนลูกสุดท้าย คือ พายุเฮอริเคนปาโปล กลายเป็นพายุเฮอริเคนที่ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกที่สุดนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนวินซ์ พายุโดเรียนและโลเรนโซ ทำให้ฤดูกาลกลายเป็นฤดูกาลที่สี่ติดต่อกันแล้วที่มีพายุอย่างน้อยหนึ่งลูกเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 (แมตทิวในปี 2559, ไอร์มาและมารีอาในปี 2560 และไมเคิลในปี 2561) และยังเป็นหนึ่งในเจ็ดฤดูกาลที่มีพายุเฮอริเคนระดับ 5 หลายลูกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

การพยากรณ์กิจกรรมในเขตร้อนของฤดูกาล 2562
ข้อมูล วันที่ พายุที่
ได้รับชื่อ
พายุเฮอริเคน พายุเฮอริเคน
ขนาดใหญ่
ค่าเฉลี่ย (2524–2553[2]) 12.1 6.4 2.7
สถิติสูงที่สุด 28 ลูก 15 ลูก 7 ลูก
สถิติต่ำที่สุด 4 ลูก 2† ลูก 0† ลูก
–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––
TSR[3] 11 ธันวาคม 2561 12 ลูก 5 ลูก 2 ลูก
CSU[4] 4 เมษายน 2562 13 ลูก 5 ลูก 2 ลูก
TSR[5] 5 เมษายน 2562 12 ลูก 5 ลูก 2 ลูก
NCSU[6] 16 เมษายน 2562 13–16 ลูก 5–7 ลูก 2–3 ลูก
UKMO[7] 21 พฤษภาคม 2562 13 ลูก* 7 ลูก* 3 ลูก*
NOAA[8] 23 พฤษภาคม 2562 9–15 ลูก 4–8 ลูก 2–4 ลูก
TSR[9] 30 พฤษภาคม 2562 12 ลูก 6 ลูก 2 ลูก
CSU[10] 4 มิถุนายน 2562 14 ลูก 6 ลูก 2 ลูก
UA[11] 11 มิถุนายน 2562 16 ลูก 8 ลูก 3 ลูก
TSR[12] 4 กรกฎาคม 2562 12 ลูก 6 ลูก 2 ลูก
CSU[13] 9 กรกฎาคม 2562 14 ลูก 6 ลูก 2 ลูก
CSU[14] 5 สิงหาคม 2562 14 ลูก 7 ลูก 2 ลูก
TSR[15] 6 สิงหาคม 2562 13 ลูก 6 ลูก 2 ลูก
NOAA[16] 8 สิงหาคม 2562 10–17 ลูก 5–9 ลูก 2–4 ลูก
–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––
เกิดขึ้นจริง
18 ลูก 6 ลูก 3 ลูก
* เฉพาะเดือนมิถุนายน–เดือนพฤศจิกายนเท่านั้น
† ฤดูกาลล่าสุดของเหตุการณ์ลักษณะนี้ซึ่งขึ้นหลายครั้ง (ดูทั้งหมด)

ทั้งก่อนหน้าและในระหว่างฤดูกาล หน่วยงานด้านอุตุนิยมวิทยาระดับชาติหลายหน่วยงาน และองค์กรทางวิทยาศาสตร์ จะพยากรณ์จำนวนของพายุที่จะได้รับชื่อ (มีความรุนแรงถึงพายุโซนร้อน) จำนวนของพายุเฮอริเคน และพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ (ระดับ 3 ขึ้นไปตามมาตราของแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน) ที่จะก่อตัวขึ้นในระหว่างฤดูกาล และ/หรือ จำนวนของพายุหมุนเขตร้อนที่จะส่งผลกระทบกับประเทศต่าง ๆ หน่วยงานต่าง ๆ นั้น ประกอบด้วย องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, องค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) และมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโด (CSU) การพยากรณ์จะประกอบด้วยการพยากรณ์รายสัปดาห์และรายเดือน โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านปัจจัย ที่จะกำหนดจำนวนของพายุโซนร้อน พายุเฮอริเคน และพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ภายในปีนั้น ๆ การพยากรณ์บางชิ้นจะคำนึงถึงกิจกรรมในฤดูกาลที่ผ่านมา และเหตุการณ์ลานีญาที่กำลังดำเนินอยู่ในตั้งแต่ก่อตัวในเดือนพฤศจิกายน 2560[17] โดยเฉลี่ย ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกในระหว่าง 2524 ถึง 2553 จะมีพายุโซนร้อนเกิดขึ้น 12 ลูก พายุเฮอริเคน 6 ลูก และพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 3 ลูก โดยมีดัชนีการสะสมพลังงานในพายุหมุน (ACE index) อยู่ระหว่าง 66 ถึง 103 หน่วย[2]

การคาดหมายก่อนฤดูกาล

การพยากรณ์แรกถูกตีพิมพ์โดย TSR เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 โดยพยากรณ์ว่าฤดูกาล 2562 จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย มีจำนวนพายุโซนร้อน 12 ลูก พายุเฮอริเคน 5 ลูก และพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2 ลูก เนื่องจากคาดว่าจะมีสภาพของเอลนีโญเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาล[3] วันที่ 4 เมษายน 2562 มหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดออกการคาดการณ์ของมหาวิทยาลัย โดยพยากรณ์ว่าฤดูกาลนี้จะเป็นฤดูกาลที่ใกล้เคียงค่าเฉลี่ย โดยมีพายุได้รับชื่อจำนวน 13 ลูก เป็นพายุเฮอริเคน 5 ลูก และเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2 ลูก[4] ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการพยากรณ์ฉบับปรับปรุง ซึ่งมีเนื้อความเช่นเดียวกับฉบับก่อนหน้า[5] วันที่ 16 เมษายน มหาวิทยาลัยรัฐนอร์ทแคโรไลนาได้ออกการพยากรณ์ตามมาเช่นกัน โดยพยากรณ์ว่าฤดูกาลนี้จะเป็นฤดูกาลที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย มีพายุได้รับชื่อ 13–16 ชื่อ เป็นพายุเฮอริเคน 5–7 ลูก และเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2–3 ลูก[6] วันที่ 6 พฤษภาคม The Weather Company ได้พยากรณ์ว่าฤดูกาลนี้จะเป็นฤดูกาลที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย มีพายุได้รับชื่อ 14 ลูก เป็นพายุเฮอริเคน 7 ลูก และเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 3 ลูก[18] วันที่ 21 พฤษภาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักร (UK Met Office) ได้ออกการพยากรณ์ฤดูกาล โดยคาดหมายว่าจะมีพายุที่ได้รับชื่อ 13 ลูก เป็นพายุเฮอริเคน 7 ลูก เป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 3 ลูก และมีดัชนีการสะสมพลังงานในพายุหมุนอยู่ที่ 109 หน่วย[7] วันที่ 23 พฤษภาคม องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ (NOAA) ได้ออกการพยากรณ์ฉบับแรกของหน่วยงาน โดยระบุว่าฤดูกาลนี้จะเป็นฤดูกาลที่ใกล้เคียงค่าปกติ ด้วยมีพายุที่ได้รับชื่อจำนวน 9–15 ลูก ซึ่งเป็นพายุเฮอริเคน 4–8 ลูก และเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2–4 ลูก[8] วันที่ 30 พฤษภาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ปรับปรุงการคาดการณ์ของหน่วยงาน โดยเพิ่มจำนวนของการคาดการณ์พายุเฮอริเคนเป็น 5 ถึง 6 ลูก[9]

การคาดหมายกลางฤดูกาล

วันที่ 4 มิถุนายน มหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดได้ปรับปรุงการคาดการณ์ของมหาวิทยาลัยฯ โดยเปลี่ยนเป็นมีพายุที่ได้รับชื่อ 14 ลูก ในจำนวนนั้นเป็นพายุเฮอริเคน 6 ลูก และในจำนวนพายุเฮอริเคนนั้นเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2 ลูก ทั้งนี้หมายรวมไปถึงพายุกึ่งโซนร้อนแอนเตรียด้วย[10] ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน มหาวิทยาลัยรัฐแอริโซนา (UA) ได้ออกการคาดหมายว่าฤดูกาลนี้จะเป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยมีพายุที่ได้รับชื่อจำนวน 16 ลูก ในจำนวนนั้นเป็นพายุเฮอริเคน 8 ลูก และในจำนวนพายุเฮอริเคนนั้นเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 3 ลูก และคาดว่ามีดัชนีการสะสมพลังงานพายุหมุนที่ 150 หน่วย[11] วันที่ 4 กรกฎาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดหมายกลางฤดูฉบับแรกออกมา โดยยังคงจำนวนที่คาดการณ์ไว้เท่ากับฉบับก่อนหน้า[12] วันที่ 9 กรกฎาคม มหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดได้ออกการคาดการณ์กลางฤดูฉบับที่สอง โดยยังคงจำนวนที่พยากรณ์ไว้เท่ากันกับฉบับก่อนหน้าของมหาวิทยาลัยฯ เช่นกัน[13] วันที่ 5 สิงหาคม มหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโดออกการคาดการณ์กลางฤดูฉบับที่สาม ทั้งนี้ยังคงจำนวนการพยากรณ์ไว้เท่าเดิมกับสองฉบับก่อนหน้า เว้นแต่จำนวนของพายุเฮอริเคนที่เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย[14] วันที่ 6 สิงหาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนได้ออกการคาดหมายฉบับที่สองและฉบับสุดท้ายของการคาดหมายกลางฤดู โดยมีการเปลี่ยนแปลงเพียงจำนวนของพายุที่ได้รับชื่อจาก 12 เป็น 13 ลูก.[15] วันที่ 8 สิงหาคม องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐได้ออกการคาดหมายฉบับที่สองของหน่วยงาน โดยเพิ่มโอกาสของพายุที่จะได้รับชื่อเป็น 10–17 ลูก ในจำนวนนี้เป็นพายุเฮอริเคน 5–9 ลูก และในจำนวนพายุเฮอริเคนนั้นเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2–4 ลูก[16]

ภาพรวมฤดูกาล

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก (SSHWS)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)

ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่ห้าติดต่อกันแล้วที่เริ่มต้นฤดูกาลก่อนวันอย่างเป็นทางการ โดยพายุกึ่งโซนร้อนแอนเดรียก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม

พายุ

พายุกึ่งโซนร้อนแอนเดรีย

พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 21 พฤษภาคม
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1006 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.71 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 17 พฤษภาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) ได้เริ่มพยากรณ์การก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ทางใต้ของเบอร์มิวดา ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาขึ้นเป็นพายุหมุยเขตร้อนหรือกึ่งเขตร้อนในภายหลัง[19]
  • วันที่ 18 พฤษภาคม บริเวณขนาดใหญ่และยาวของเมฆและพายุฟ้าคะนองพัฒนาขึ้นทางตะวันออกของบาฮามาส[20] ความแปรปรวนค่อย ๆ จัดระบบข้นขณะกำลังเคลื่อนตัวไปทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ แม้ว่าจะยังขาดการไหลเวียนที่แจ่มชัดอยู่
  • วันที่ 20 พฤษภาคม เที่ยวบินลาดตระเวนทางอากาศกองทัพอากาศสหรัฐเปิดเผยว่าพายุมีศูนย์กลางอย่างชัดเจน ทำให้มีการจัดประเภทระบบเป็นพายุกึ่งโซนร้อนและให้ชื่อว่า แอนเดรีย (Andrea) ในเวลา 22:30 UTC เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับความกดอากาศต่ำระดับบนที่อยู่ทางตะวันตก[21] หลังจากนั้นไม่นาน แอนเดรียก็มีกำลังสูงสุด[22] พายุที่พึ่งก่อตัวขึ้นไม่นานได้เผชิญเข้ากับสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย ไม่นานหลังจากนั้นการพาความร้อนของพายุได้สลายตัวลงเนื่องจากถูกบุกรุกโดยอากาศแห้ง
  • วันที่ 22 พฤษภาคม โดยจากการสลายตัวลงนั้น ทำให้แอนเดรียกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำหลังเขตร้อน[23][24]

พายุเฮอริเคนแบร์รี

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 15 กรกฎาคม
ความรุนแรง 75 ไมล์/ชม. (120 กม./ชม.) (1 นาที)
991 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.26 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนช็องตาล

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1009 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.8 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนโดเรียน

พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 สิงหาคม – 7 กันยายน
ความรุนแรง 185 ไมล์/ชม. (295 กม./ชม.) (1 นาที)
910 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 26.87 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเอริน

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1005 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.68 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเฟอร์นานด์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 5 กันยายน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกาเบรียล

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 กันยายน – 10 กันยายน
ความรุนแรง 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที)
995 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.38 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนอุมเบร์โต

พายุเฮอริเคนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 20 กันยายน
ความรุนแรง 125 ไมล์/ชม. (205 กม./ชม.) (1 นาที)
951 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.08 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเจร์รี

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 25 กันยายน
ความรุนแรง 105 ไมล์/ชม. (165 กม./ชม.) (1 นาที)
976 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.82 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนอีเมลดา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 19 กันยายน
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1005 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.68 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนคาเรน

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 27 กันยายน
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
1002 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.59 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนโลเรนโซน

พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 กันยายน – 2 ตุลาคม
ความรุนแรง 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.) (1 นาที)
925 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.32 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเมลิสซา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที)
995 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.38 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนสิบห้า

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 16 ตุลาคม
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1006 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.71 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเนสตอร์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 19 ตุลาคม
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
996 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.41 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนออลกา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 25 ตุลาคม
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
998 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.47 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนปาโบล

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 28 ตุลาคม
ความรุนแรง 80 ไมล์/ชม. (130 กม./ชม.) (1 นาที)
977 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.85 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนรีเบกาห์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
987 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.15 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเซบัสเตียง

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 25 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที)
994 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.35 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

รายชื่อต่อไปนี้จะใช้สำหรับพายุที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในปี พ.ศ. 2562 หากมีชื่อที่ถูกถอน จะมีการประกาศโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2563 และชื่อที่ไม่ได้ถูกถอนจากรายการนี้จะถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2568 โดยรายการที่ใช้ในปีนี้เป็นรายการเดียวกับที่ใช้ในฤดูกาล พ.ศ. 2556 เว้นชื่อ อีเมลดา ซึ่งถูกนำมาใช้แทนที่ อิงกริด

ในปี 2562 มีชื่อถูกใช้ทั้งสิ้น 18 ชื่อ ดังนี้

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในฤดูกาล 2562
รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ
01L แอนเดรีย
(Andrea)
07L เฟอร์นานด์
(Fernand)
12L คาเรน
(Karen)
18L ปาโบล
(Pablo)
02L แบร์รี
(Barry)
08L กาเบรียล
(Gabrielle)
13L โลเรนโซ
(Lorenzo)
19L รีเบกาห์
(Rebekah)
04L ช็องตาล
(Chantal)
09L อุมเบร์โต
(Humberto)
14L เมลิสซา
(Melissa)
20L เซบัสเตียง
(Sebastien)
05L โดเรียน
(Dorian)
11L อีเมลดา
(Imelda)
16L เนสตอร์
(Nestor)
06L เอริน
(Erin)
10L เจร์รี
(Jerry)
17L ออลกา
(Olga)

ส่วนชื่อ แทนยา (Tanya), แวน (Van) และเวนดี (Wendy) ไม่ถูกใช้ในฤดูกาลนี้

ผลกระทบ

ตารางนี้แสดงพายุทั้งหมดที่ก่อตัวในฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2562 ประกอบด้วยชื่อพายุ ระยะเวลา พื้นที่ขึ้นฝั่งได้รับผลกระทบ ความเสียหาย และจำนวนผู้เลียชีวิตทั้งหมด ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตในวงเล็บคือการเสียชีวิตเพิ่มเติมและการเสียชีวิตโดยทางอ้อม (เช่นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน) แต่ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับพายุหมุนเขตร้อนอยู่ ความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นจะรวมไปจนถึงขณะที่พายุกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน คลื่นในเขตร้อน หรือ บริเวณความกดอากาศต่ำด้วย ความเสียหายทั้งหมดอยู่ในค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ

สถิติของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ พ.ศ. 2562
ชื่อ
พายุ
วันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีความรุนแรงสูงสุด
ลมสูงสุด
1-นาที
ไมล์/ชม. (กม./ชม.)
ความกดอากาศ
(มิลลิบาร์)
พื้นที่ได้รับผลกระทบ ความเสียหาย
(ดอลลาร์สหรัฐ)
เสียชีวิต อ้างอิง


แอนเดรีย 20 – 21 พฤษภาคม พายุกึ่งโซนร้อน 40 (65) 1006 เบอร์มิวดา ไม่มี ไม่มี [25]
แบร์รี 11 – 15 กรกฎาคม พายุเฮอริเคนระดับ 1 75 (120) 991 ภาคมิดเวสเทิร์นของสหรัฐ, ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ, ชายฝั่งอ่าวของสหรัฐ >600 ล้าน 0 (1) [26][27]
สาม 22 – 23 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35 (55) 1013 บาฮามาส, รัฐฟลอริดา ไม่มี ไม่มี
ช็องตาล 21 – 24 สิงหาคม พายุโซนร้อน 40 (65) 1009 ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ ไม่มี ไม่มี
โดเรียน 24 สิงหาคม – 7 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 5 185 (295) 910 หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, หมู่เกาะลีเวิร์ด, ปวยร์โตรีโก, บาฮามาส, ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ, แคนาดาตะวันออก >8.28 พันล้าน 63 (7) [28][29][30][31][32][33]
เอริน 26 – 29 สิงหาคม พายุโซนร้อน 40 (65) 1005 คิวบา, บาฮามาส, ชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐ, แอตแลนติกแคนาดา เล็กน้อย ไม่มี
เฟอร์นานด์ 3 – 5 กันยายน พายุโซนร้อน 50 (85) 1000 เม็กซิโกตะวันออกเฉียงเหนือ, เซาท์เท็กซัส 213 ล้าน 1 [34][35]
กาเบรียล 3 – 10 กันยายน พายุโซนร้อน 65 (100) 995 กาบูเวร์ดี, ไอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร ไม่มี ไม่มี
อุมเบร์โต 13 – 20 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 3 125 (205) 951 เกาะฮิสปันโยลา, คิวบา, บาฮามาส, ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ, เบอร์มิวดา, แอตแลนติกแคนาดา, ไอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร >1 ล้าน 1 [36][33]
เจร์รี 17 – 25 กันยายน พายุเฮอริเคนระดับ 2 105 (165) 976 หมู่เกาะลีเวิร์ด, ปวยร์โตรีโก, เบอร์มิวดา ไม่มี ไม่มี
อีเมลดา 17 – 19 กันยายน พายุโซนร้อน 40 (65) 1005 รัฐเท็กซัส, รัฐลุยเซียนา, รัฐโอคลาโฮมา, รัฐอาร์คันซอ >2 พันล้าน 4 (1) [37][32][33]
คาเรน 22 – 27 กันยายน พายุโซนร้อน 45 (75) 1002 หมู่เกาะวินด์เวิร์ด, ตรินิแดดและโตเบโก, เวเนซุเอลา, หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน, ปวยร์โตรีโก เล็กน้อย ไม่มี
โลเรนโซ 23 กันยายน – 2 ตุลาคม พายุเฮอริเคนระดับ 5 160 (260) 925 แอฟริกาตะวันตก, กาบูเวร์ดี, อะโซร์ส, ไอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร 362 ล้าน 16 [38][39][40]
เมลิสซา 11 – 14 ตุลาคม พายุโซนร้อน 65 (100) 995[nb 1] รัฐมิดแอตแลนติก, นิวอิงแลนด์, รัฐโนวาสโกเชีย เล็กน้อย ไม่มี
สิบห้า 14 – 16 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 35 (55) 1006 แอฟริกาตะวันตก, กาบูเวร์ดี ไม่มี ไม่มี
เนสตอร์ 18 – 19 ตุลาคม พายุโซนร้อน 60 (95) 996 อเมริกากลาง, เม็กซิโก, ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ ไม่ทราบ 0 (3)
ออลกา 25 – 26 ตุลาคม พายุโซนร้อน 40 (65) 998 ชายฝั่งอ่าวของสหรัฐ, รัฐลุยเซียนา, รัฐแอละแบมา, รัฐมิสซิสซิปปี เล็กน้อย ไม่มี
ปาโบล 25 – 28 ตุลาคม พายุเฮอริเคนระดับ 1 80 (130) 977 อะโซร์ส ไม่มี ไม่มี
รีเบกาห์ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พายุกึ่งโซนร้อน 45 (75) 987 อะโซร์ส ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
19 ลูก 20 พฤษภาคม–ฤดูกาลยังดำเนินอยู่   185 (295) 910 >1.1456 หมื่นล้าน ≥95 (12)  

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Klotzbach, Philip [@philklotzbach] (May 20, 2019). "The Atlantic has now had named storms form prior to 1 June in five consecutive years: 2015–2019. This breaks the old record of named storm formations prior to 1 June in four consecutive years set in 1951–1954" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ May 20, 2019 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  2. 2.0 2.1 "Background Information: The North Atlantic Hurricane Season". Climate Prediction Center. National Oceanic and Atmospheric Administration. August 9, 2012. สืบค้นเมื่อ December 13, 2013.
  3. 3.0 3.1 Mark Saunders; Adam Lea (December 11, 2018). "Extended Range Forecast for Atlantic Hurricane Activity in 2019" (PDF). London, United Kingdom: Tropical Storm Risk.
  4. 4.0 4.1 "2019 Hurricane Season Expected to Be Near Average, Colorado State University Outlook Says". The Weather Channel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ April 4, 2019.
  5. 5.0 5.1 Mark Saunders; Adam Lea (April 5, 2019). "April Forecast Update for North Atlantic Hurricane Activity in 2019" (PDF). London, United Kingdom: Tropical Storm Risk.
  6. 6.0 6.1 Tracey Peake (April 16, 2019). "NC State Researchers Predict Normal 2019 Hurricane Season for East Coast". Raleigh, North Carolina: NC State University.
  7. 7.0 7.1 "North Atlantic tropical storm seasonal forecast 2019". Met Office. May 21, 2019. สืบค้นเมื่อ May 23, 2019.
  8. 8.0 8.1 Lauren Gaches (May 23, 2019). "NOAA predicts near-normal 2019 Atlantic hurricane season". NOAA. สืบค้นเมื่อ May 23, 2019.
  9. 9.0 9.1 Mark Saunders; Adam Lea (May 30, 2019). "Pre-Season Forecast for North Atlantic Hurricane Activity in 2019" (PDF). London, United Kingdom: Tropical Storm Risk. สืบค้นเมื่อ June 3, 2019.
  10. 10.0 10.1 "2019 Hurricane Season Expected to Be Near Average, Colorado State University Outlook Says". The Weather Channel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-06-05.
  11. 11.0 11.1 "University of Arizona (UA) Forecasts an Above-Average Hurricane Season" (PDF). University of Arizona (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-06-16. สืบค้นเมื่อ 2019-06-12.
  12. 12.0 12.1 Mark Saunders; Adam Lea (July 4, 2019). "July Forecast Update for North Atlantic Hurricane Activity in 2019" (PDF). London, United Kingdom: Tropical Storm Risk.[ลิงก์เสีย]
  13. 13.0 13.1 "ATLANTIC BASIN SEASONAL HURRICANE FORECAST FOR 2019" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-09. สืบค้นเมื่อ July 9, 2019.
  14. 14.0 14.1 "ATLANTIC BASIN SEASONAL HURRICANE FORECAST FOR 2019" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-05. สืบค้นเมื่อ August 5, 2019.
  15. 15.0 15.1 Mark Saunders; Adam Lea (August 6, 2019). "August Forecast Update for North Atlantic Hurricane Activity in 2019" (PDF). London, United Kingdom: Tropical Storm Risk.
  16. 16.0 16.1 "NOAA TO ISSUE UPDATED 2019 ATLANTIC HURRICANE SEASON OUTLOOK". สืบค้นเมื่อ August 8, 2019.
  17. "Here comes La Nina, El Nino's flip side, but it will be weak". ABC News. November 9, 2017. สืบค้นเมื่อ November 25, 2017.
  18. Jonathan Erdman; Brian Donegan (May 6, 2019). "2019 Hurricane Season Expected to be Slightly Above Average But Less Active Than Last Year". The Weather Company. สืบค้นเมื่อ May 7, 2019.
  19. Eric S. Blake (May 17, 2019). "Graphical Tropical Weather Outlook". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 20, 2019.
  20. Stacy R. Stewart (May 18, 2019). "Graphical Tropical Weather Outlook". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 20, 2019.
  21. John P. Cangialosi (May 20, 2019). "Subtropical Storm Andrea Special Discussion Number 1". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 20, 2019.
  22. Stacy R. Stewart (May 20, 2019). "Subtropical Storm Andrea Public Advisory Number 3". Miami, Florida: National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 20, 2019.
  23. Stacy Stewart (May 22, 2019). "Subtropical Storm Andrea Discussion Number 3". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 22, 2019.
  24. Richard Pasch (May 21, 2019). "Post-Tropical Cyclone Andrea Discussion Number 5". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 21, 2019.
  25. "Subtropical Storm Andrea Public Advisory". สืบค้นเมื่อ May 20, 2019.
  26. Adams, Char (July 15, 2019). "Good Samaritans Form Human Chain to Rescue Swimmers from Rip Current in รัฐฟลอริดา". PEOPLE.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ July 18, 2019.
  27. Global Catastrophe Recap: July 2019 (PDF) (Report). AON. August 1, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-16. สืบค้นเมื่อ August 16, 2019.
  28. Knowles, Rachel; Robles, Frances (September 5, 2019). "Death Toll Rises to 30 in Bahamas, as Stories of Survival Emerge". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
  29. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Bahamas damage
  30. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Bahamas deaths
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Canada Dorian
  32. 32.0 32.1 "Billion-Dollar Weather and Climate Disasters". National Centers for Environmental Information. 2019. สืบค้นเมื่อ October 9, 2019.
  33. 33.0 33.1 33.2 "Global Catastrophe Recap September 2019" (PDF). Aon Benfield. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-10-10. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
  34. "Minuto a minuto: Fernand azota Monterrey con lluvias torrenciales y deja un muerto". Infobae. September 4, 2019. สืบค้นเมื่อ September 7, 2019.[ลิงก์เสีย]
  35. "Fernand deja daños por 4 mil 200 mdp". Pulso Político. September 11, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-12. สืบค้นเมื่อ September 12, 2019.
  36. "62-year-old man drowns after getting caught in rip current at Topsail Beach". WTVD-TV. Associated Press. September 19, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-21. สืบค้นเมื่อ September 19, 2019.
  37. Toal, Margaret; Mervosh, Sarah; Ferman, Mitchell (September 20, 2019). "'I Can't Do This': Imelda Left Texas With at Least 5 Deaths and Historic Rainfall". The New York Times. สืบค้นเมื่อ September 21, 2019.
  38. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ BR dead
  39. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lorenzo NC deaths
  40. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lorenzo NY ripcurrent

แหล่งข้อมูลอื่น


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "nb" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="nb"/> ที่สอดคล้องกัน

Kembali kehalaman sebelumnya