Share to:

 

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว1 เมษายน พ.ศ. 2554
ระบบสุดท้ายสลายตัว1 มกราคม พ.ศ. 2555
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อซงด่า
 • ลมแรงสูงสุด195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด920 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด39 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด21 ลูก
พายุไต้ฝุ่น8 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น4 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมดทั้งหมด 3,111 คน
ความเสียหายทั้งหมด7.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2011)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2552, 2553, 2554, 2555, 2556

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2554 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่มีกิจกรรมของพายุน้อยกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย โดยมีพายุโซนร้อน 21 ลูก ในจำนวนนั้น 8 ลูกทวีกำลังแรงขึ้นเป็นถึงพายุไต้ฝุ่น และในจำนวนพายุไต้ฝุ่น มี 4 ลูก เป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น ฤดูกาลนี้เป็นฤดูที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมาก แม้ว่าทั้งสองฤดูกาล จะมีค่าเฉลี่ยจำนวนพายุโซนร้อนในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยที่ 26 ลูกก็ตาม พายุลูกแรกที่ได้รับชื่อของฤดูนี้ชื่อว่า แอรี ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ส่วนพายุลูกสุดท้ายที่ได้รับชื่อของฤดูชื่อว่า วาชิ สลายตัวไปในวันที่ 19 ธันวาคม

ฤดูกาลนี้ยังมีจำนวนผู้เสียชีวิตและการทำลายล้างมากกว่าฤดูกาลที่ผ่านมาอย่างมากด้วย โดยพายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้าส่งผลกระทบกับหลายประเทศในช่วงเดือนสิงหาคม พายุโซนร้อนตาลัสและพายุไต้ฝุ่นโรคี พัดขึ้นฝั่งที่ประเทศญี่ปุ่นและสร้างความเสียหายมากที่สุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 พายุไต้ฝุ่นเนสาท เป็นพายุที่ทรงพลังที่สุดที่ส่งผลกระทบกับประเทศจีนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 และพายุโซนร้อนวาชิ พายุลูกสุดท้ายของฤดูกาล แม้จะเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน แต่ส่งผลกระทบกับภาคใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ และทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 2,546 คน

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2553) 26.3 16.4 8.5 295 [1]
8 มีนาคม 2554 27.8 17.5 7.8 275 [1]
5 พฤษภาคม 2554 28.0 17.7 7.6 266 [2]
4 กรกฎาคม 2554 28.3 18.1 8.4 294 [3]
5 สิงหาคม 2554 28.2 17.9 8.0 281 [4]
วันที่พยากรณ์ ศูนย์
พยากรณ์
ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
มกราคม 2554 PAGASA 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 20–23 ลูก
30 มิถุนายน 2554 CWB 1 มกราคม — 31 ธันวาคม 22–26 ลูก [5]
ฤดูกาล 2554 ศูนย์
พยากรณ์
พายุหมุนเขตร้อน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 39 21 8
เกิดขึ้นจริง: JTWC 27 18 10
เกิดขึ้นจริง: PAGASA 19 14 6

ในแต่ละฤดูกาล สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของหลายประเทศ และหน่วยงานวิทยาศาสตร์หลายแห่ง ต่างพยากรณ์จำนวนพายุหมุนเขตร้อน พายุเขตร้อน และพายุไต้ฝุ่นที่จะก่อตัวขึ้นระหว่างฤดูกาล และ/หรือ จำนวนพายุหมุนที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง[2] หน่วยงานเหล่านั้นประกอบด้วย ศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเอเชีย-แปซิฟิก กาย คาร์เพนเตอร์ (GCACIC) แห่งมหาวิทยาลัยนครฮ่องกง, องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และสำนักสภาพอากาศกลางแห่งไต้หวัน[2][5]

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนประมาณยี่สิบถึงยี่สิบสามลูก ก่อตัวขึ้น และ/หรือ เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินภายในปี 2554[6] วันที่ 20 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกง คาดการณ์ว่าฤดูพายุไต้ฝุ่นในฮ่องกงอยู่ในระดับใกล้เคียงหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยอาจมีพายุหมุนเขตร้อนหกถึงเก้าลูกเคลื่อนตัวผ่านในระยะ 500 กม. นับจากดินแดนฮ่องกง โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6 ลูก[7] วันที่ 30 มีนาคม องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน ได้ออกการคาดการณ์ฉบับแรกของฤดูกาล โดยพยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนใกล้เคียงค่าเฉลี่ย โดยมีพายุโซนร้อน 27.8 ลูก พายุไต้ฝุ่น 17.5 ลูก พายุไต้ฝุ่น "รุนแรง" 7.8 ลูก และมีค่าดัชนีการสะสมพลังงานในพายุหมุนเขตร้อน (ACE) อยู่ที่ 275 หน่วย[nb 1][1] ต่อมาในช่วงต้นเดือนเมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาจีน (CMA) คาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 24 ถึง 26 ลูกก่อตัวขึ้นภายในแอ่งหรือเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งในช่วงปี โดยระบุว่าจะมีพายุมากกว่าปีก่อนที่มีพายุ 14 ลูก[8] นอกจากนี้ยังพยากรณ์การพัดขึ้นฝั่งประเทศจีนไว้ว่า จะมีพายุพัดขึ้นฝั่งประเทศจีนตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน ถึงวันที่ 7 ตุลาคม[8] ต่อมาในวันที่ 26 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยา (TMD) คาดการณ์ว่าจะมีพายุโซนร้อนสองลูกที่ส่งผลกระทบกับประเทศไทยในปี 2554 โดยพายุหนึ่งลูกส่งผลกระทบกับตอนบนของประเทศในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน ขณะที่อีกหนึ่งลูกจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน[9]

ในช่วงเดือนพฤษภาคม GCACIC ได้ออกการคาดหมายแรกของปี โดยพยากรณ์ว่าฤดูกาลนี้จะใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย โดยมีพายุหมุนเขตร้อน 31 ลูก พายุโซนร้อน 27 ลูก พายุไต้ฝุ่น 17 ลูก ก่อตัวขึ้นในระหว่างฤดูกาล[10] นอกจากนี้ยังพยากรณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเจ็ดลูกพัดขึ้นฝั่งในภาคใต้ของประเทศจีน ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม[10] ต่อมา TSR ได้ปรับแก้การคาดการณ์ของหน่วยงาน โดยเพิ่มจำนวนพายุโซนร้อนเป็น 28 ลูก เพิ่มจำนวนพายุไต้ฝุ่นเป็น 17.7 ลูก และลดพายุไต้ฝุ่น "รุนแรง" ลงเป็น 7.6 ลูก และลดค่าดัชนี ACE ลงเหลือ 266 หน่วย[2] ในปลายเดือนมิถุนายน สำนักสภาพอากาศกลางไต้หวันได้พยากรณ์ฤดูกาล โดยคาดว่าจะมีพายุใกล้กับค่าเฉลี่ย 25.7 ลูก โดยพายุโซนร้อน 22 ถึง 26 ลูกจะเกิดขึ้นในแอ่งในปี 2554[5] และคาดว่าจะมีพายุสามถึงห้าลูกส่งผลกระทบต่อประเทศไต้หวัน โดยค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.6 ลูก[5] ในการปรับปรุงการคาดการณ์เดือนกรกฎาคมของ GCACIC โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเจ็ดลูกพัดขึ้นฝั่งภาคใต้ของประเทศจีน ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม[11] และยังคาดการณ์อีกว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเจ็ดลูกเคลื่อนผ่านในระยะ 100 กม. จากคาบสมุทรเกาหลี หรือ ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม เทียบกับค่าเฉลี่ยที่สามลูก[11] โดยในการปรับปรุงของ TSR เดือนกรกฎาคมนี้ยังคาดว่าจะมีดัชนี ACE อยู่ที่ประมาณ 194 หน่วย และเพิ่มจำนวนพายุโซนร้อนเป็น 28.0 ลูก พายุไต้ฝุ่น 18.1 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 8.4 ลูก[3] และต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม TSR ได้ปรับแก้การพยากรณ์ใหม่ โดยเป็นการปรับปรุงครั้งสุดท้ายของปี 2554 โดยคาดการณ์จำนวนพายุโซนร้อนอยู่ที่ 28.2 ลูก พายุไต้ฝุ่น 17.9 ลูก พายุไต้ฝุ่นรุนแรง 8.0 ลูก และค่าดัชนี ACE อยู่ที่ 281 หน่วย[4]

ภาพรวมฤดูกาล

Tropical Storm WashiTyphoon Nalgae (2011)Typhoon Nesat (2011)Typhoon Roke (2011)Tropical Storm Talas (2011)Typhoon Nanmadol (2011)Typhoon Muifa (2011)Tropical Storm Nock-ten (2011)Typhoon Ma-on (2011)Tropical Storm Sarika (2011)Typhoon Songda (2011)Tropical Storm Aere (2011)

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ

พายุโซนร้อนแอรี

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 12 พฤษภาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เบเบง

พายุไต้ฝุ่นซงด่า

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 19 – 29 พฤษภาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
920 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.17 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เชเดง

พายุโซนร้อนซาเระกา

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 11 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โดโดง

วันที่ 8 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของเกาะเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากนั้นทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้เริ่มเฝ้าติดตามระบบนี้

พายุโซนร้อนไหหม่า

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 25 มิถุนายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอไก

วันที่ 15 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ตรวจพบการพาความร้อนของอากาศเหนือทะเล ห่างจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 1,350 กิโลเมตร (835 ไมล์)

พายุโซนร้อนกำลังแรงเมอารี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 27 มิถุนายน
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฟัลโกน

เช้าวันที่ 20 มิถุนายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมและกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ตรวจพบหย่อมความกดอากาศต่ำ ก่อตัวขึ้นห่างจากประเทศฟิลิปปินส์ไปทางตะวันออกประมาณ 760 กิโลเมตร

พายุไต้ฝุ่นหมาอ๊อน

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อีเนง

พายุหมาอ๊อนก่อตัวบริเวณเกาะเวก ในวันที่ 9 กรกฎาคม[12]

พายุโซนร้อนโทกาเงะ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 15 กรกฎาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฮันนา

พายุโซนร้อนกำลังแรงนกเต็น

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 – 31 กรกฎาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฮัวนิง

วันที่ 22 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์[13] โดยระบบค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้เริ่มเฝ้าสังเกตการณ์ระบบ และปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[14] ในวันถัดมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับความรุนแรงระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นเดียวกัน[15] และอีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ก็ได้เริ่มสังเกตการณ์พายุดีเปรสชันเขตร้อน และใช้ชื่อ ฮัวนิง (Juaning)[16][17] ต่อมาพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตกและทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนในที่สุด กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อว่า นกเต็น

พายุไต้ฝุ่นหมุ่ยฟ้า

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 27 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กาบายัน

วันที่ 23 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะชุกในหมู่เกาะไมโครนีเชีย[18] หย่อมความกดอากาศต่ำค่อย ๆ เคลื่อนไปทางทิศตะวันตก ต่อมาในวันที่ 25 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับระดับความรุนแรงระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่มันอยู่ห่างไปทางทิศตะวันตกของเกาะกวมประมาณ 505 ไมล์ทะเล (935 กิโลเมตร; 581 ไมล์)[19] ต่อมาในเวลาเที่ยงคืน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มเฝ้าสังเกตการณ์และปรับระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[20] วันที่ 28 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงพายุดีเปรสชันเขตร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อน[21] ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นก็ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนเช่นเดียวกัน และใช้ชื่อ หมุ่ยฟ้า กับระบบ[22]

พายุโซนร้อนกำลังแรงเมอร์บก

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

ช่วงวันที่ 3 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับเกาะเวก[23] มันได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เพียง 6 ชั่วโมงต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ เมอร์บก กับระบบ[24]

พายุไต้ฝุ่นนันมาดอล

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 31 สิงหาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: มีนา

วันที่ 19 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้ยและพัฒนาอยู่ทางตอนเหนือของเกาะปาเลา[25] ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคมระบบได้พัฒนาขึ้นและมีการหมุนเวียนลมเข้าหาศูนย์กลางเกิดขึ้น[26] โดยหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงเคลื่อนตัวไปทางเหนือจนถึงวันที่ 21 สิงหาคม จนเมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ประกาศยกระดับระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในขณะที่มันอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์[27] โดยระหว่างนั้นในวันที่ 20 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสเรียก 14W กับระบบ[28] ต่อมาในวันที่ 23 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ นันมาดอล กับระบบ[29] ในคืนเดียวกันนั้น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงของนันมาดอลเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[30] โดยมีรายงานการสังเกตลักษณะคล้ายตาพายุปรากฏขึ้นในพายุ[31] เป็นผลให้นันมาดอลถูกปรับระดับความรุนแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นในคืนเดียวกันนั้นเอง[32] พายุนันมาดอลเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยความเร็วลมประมาณ 95 นอต (176 กม./ชม.; 109 ไมล์/ชม.)[33] ในวันที่ 31 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับลดระดับความรุนแรงของนันมาดอลลง เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนขณะที่มันปกคลุมอยู่เหนือมณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน[34][35]

พายุโซนร้อนกำลังแรงตาลัส

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 สิงหาคม – 5 กันยนยน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

วันที่ 22 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวและพัฒนาขึ้นทางทิศตะวันตกของเกาะกวม[36] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเริ่มสังเกตการณ์และเฝ้าติดตามระบบ ขณะที่มันกำลังพัฒนาตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ต่อมาในวันที่ 25 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้พัฒนาขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ใช้ชื่อ ตาลัส กับระบบ[37] ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงของตาลัสเป็นพายุไต้ฝุ่น[38] จนวันที่ 5 กันยายน ตาลัสได้อ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุดขณะที่ปกคลุมอยู่ในทะเลตะวันออก[39][40]

จากการวิเคราะห์ภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 2557 กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงของระบบลงเป็นเพียงพายุโซนร้อนกำลังแรงเท่านั้น

พายุโซนร้อนโนรู

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 6 กันยายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
990 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.23 นิ้วปรอท)

วันที่ 1 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม[41] จนในวันต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มเฝ้าติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำลูกนั้น[42] ต่อมาได้มีการตรวจพบการพาความร้อนอย่างรวดเร็วขึ้น ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมออกประกาศเตือนพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ[43] วันที่ 3 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสเรียก "16W" กับพายุลูกนี้[44] ต่อมาพายุ 16W ได้เร่งความเร็วการเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือด้วยความเร็ว 18 นอต (33 กม./ชม.; 21 ไมล์/ชม.) และความเร็วลม 40 นอต (74 กม./ชม.; 46 ไมล์/ชม.) ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมปรับความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อน[45] ต่อมา กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน และใช้ชื่อ โนรู กับระบบ[46] หลังจากนั้นโนรูเคลื่อนตัวขึ้นไปทางเหนือเรื่อย ๆ กระทั่งมันค่อย ๆ ลดระดับความรุนแรงลง จนศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ได้ปรับลดความรุนแรงของโนรูลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[47] วันที่ 6 กันยายน โนรูได้ลดระดับความรุนแรงลงอีกและกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน ทางตะวันออกเฉียงใต้เฉตะวันออกของเกาะฮกไกโด ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมจึงได้ออกประกาศเตือนภัยพายุเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่มันจะสลายตัวไป[48]

พายุโซนร้อนกุหลาบ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 6 – 11 กันยายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โนโนย

วันที่ 6 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงหย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน บริเวณทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น[49] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[50] ในวันที่ 7 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ กุหลาบ กับระบบ ต่อมาในวันที่ 8 กันยายน กุหลาบเดินทางเข้าไปในเขตรับผิดชอบของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ทางสำนักงานจึงได้ทำการสังเกตการณ์และใช้ชื่อ โนโนย (Nonoy) กับระบบ[51] วันที่ 10 กันยายน กุหลาบได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นโรคี

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 22 กันยายน
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: โอนโยก

พายุไต้ฝุ่นเซินกา

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 20 กันยายน
ความรุนแรง 130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
970 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.64 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเนสาท

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 30 กันยายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
950 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.05 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เปดริง

วันที่ 21 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำต่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้เฉตะวันออกของปาเลา[52] ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) จึงได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุไซโคลนเขตร้อน (TCFA) กับระบบ[53] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ก็ได้เริ่มสังเกตการณ์พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้เช่นกัน[54] วันที่ 23 กันยายนระบบเริ่มพัฒนาขึ้น JTWC จึงได้ใช้รหัสเรียก 20W กับระบบ[55] เวลาเที่ยงคืน JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของ 20W เป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ เนสาท กับระบบ[56] ต่อมา JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนเนสาด เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันที่ 25 กันยายน[57] ในเวลาต่อมาไม่นาน JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของเนสาท เป็นพายุไต้ฝุ่น[58] เนสาทได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับสูงสุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ด้วยความเร็วลมเฉลี่ยลม 1 นาที ที่ความเร็ว 105 นอต หรือ 194 กม./ชม. หรือ 121 ไมล์/ชม.[59] ในวันที่ 29 กันยายน เนสาทได้พัดขึ้นฝั่งที่เมืองเหวินชางในเกาะไหหลำของจีน

พายุโซนร้อนไห่ถาง

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 24 – 27 กันยายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

ตอนเย็นของวันที่ 21 กันยายน ในเวลาอันใกล้เคียงกับที่พายุเนสาทก่อตัวชึ้น ยังมีหย่อมความกดอากาศต่ำอีกลูกก่อตัวบริเวณทางตะวันออกของประเทศเวียดนาม[52] ระบบได้พัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 24 กันยายน และเคลื่อนตัวไปทางของภาคตะวันออกของประเทศเวียดนาม[60] ในวันต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนกับระบบ และระบุว่ามันอาจทวีกำลังขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้[61]ต่อมาวันที่ 25 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับระดับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ ไห่ถาง กับระบบ หลังจากนั้น ไห่ถางได้พัดขึ้นฝั่งที่ประเทศเวียดนามและอ่อนกำลังลงตามลำดับ

พายุไต้ฝุ่นนาลแก

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 26 กันยายน – 5 ตุลาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กีเยล

ช่วงสายของวันที่ 26 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้รายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา ต่อมาช่วงสายของวันที่ 27 กันยายน JMA ได้ทำการเพิ่มระดับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้เป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ นาลแก กับระบบ[62] ในวันที่ 28 กันยายน JMA ปรับระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนนาลแกขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงนัลแก โดยมีความเร็วลมสูงสุดที่ศูนย์กลาง 55 นอต (102 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 63 ไมล์ต่อชั่วโมง)[63] ต่อมาในตอนกลางคืน สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้เริ่มออกประกาศเตือนภัยพายุ โดยกำหนดชื่อให้พายุว่า กีเยล (Quiel) เนื่องจากพายุได้เคลื่อนตัวเข้าไปในพื้นที่รับชอบของสำนักงานฯ[64] ต่อมาวันที่ 29 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความรุนแรงพายุโซนร้อนกำลังแรงเป็นพายุไต้ฝุ่นนัลแก โดยพายุไต้ฝุ่นนาลแกได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีความรุนแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 ในวันที่ 1 ตุลาคม ก่อนที่พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นนาลแก จะพัดขึ้นฝั่งที่เกาะลูซอน และสูญเสียพลังงานหลังจากเคลื่อนตัวผ่านบนแผ่นดิน และอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้นในทะเลจีนใต้ ทำให้นาลแกได้ลดความรุนแรงลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงในวันที่ 2 ตุลาคม และเป็นพายุโซนร้อนในช่วงสายของวันที่ 3 ตุลาคม ต่อมา JTWC ได้ลดระดับความรุนแรงของนาลแกเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 4 ตุลาคม

พายุโซนร้อนบันยัน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ราโมน

พายุโซนร้อนวาชิ

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 19 ธันวาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
992 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.29 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เซนโดง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 4 เมษายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

วันที่ 1 เมษายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ได้เฝ้าติดตามบริเวณความกดอากาศต่ำ ที่ก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ ห่างจากชายฝั่งนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 535 กิโลเมตร[65] ต่อมาทั้งสองหน่วยงานได้ออกแถลงการณ์โดยทันทีที่ระบบพัฒนาขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ซึ่งนับเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกแรกของฤดูกาล พ.ศ. 2554[66] จากการเฝ้าติดตามพบว่า พายุดีเปรสชันเขตร้อนมีการพัฒนาและเคลื่อนตัวหมุนเป็นวงกลม[67] ต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มออกคำเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนแก่พายุดังกล่าว[68] เช้าวันที่ 2 เมษายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสเรียกแก่พายุดีเปรสชันเขตร้อนว่า 01W[69] อย่างไรก็ดี ภายในไม่กี่ชั่วโมง พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้เริ่มสูญเสียการพาความร้อนไป เมื่อลมเฉือนเข้ามามีผลกระทบกับระบบ ซึ่งทำให้พายุไม่สามารถทวีกำลังรุนแรงขึ้นได้ ในขณะที่การเคลื่อนตัวของพายุนี้เกือบจะไม่เคลื่อนไปไหน[70] เมื่อไม่มีการพาความร้อนหลงเหลืออยู่ ในวันที่ 3 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้จึงได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[71] อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยังคงเฝ้าติดตามระบบดังกล่าวในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อนต่อไปอีกวันหนึ่ง ก่อนออกคำเตือนภัยพายุลูกนี้เป็นครั้งสุดท้าย[72]

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 02W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 6 เมษายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: อามัง

ในวันที่ 30 มีนาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มเฝ้าติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำ ที่ตั้งอยู่บริเวณทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะยาป[73] ในวันที่ 2 กันยายน ระบบเริ่มมีการไหลเวียนระดับต่ำ แม้การพาความร้อนของระบบจะยังดูไม่เป็นระเบียบนักก็ตาม หย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าวได้แสดงการไหลออกอย่างดี ภายในบริเวณที่มีลมเฉือนกำลังอ่อน จึงมีการคาดว่าหย่อมดังกล่าวจะพัฒนาขึ้นต่อไปในช่วงอีกหลายวันข้างหน้า ในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเฉตะวันตก[74] หลังพายุได้หยุดชะงักลงชั่วคราวในช่วงเช้าวันที่ 3 เมษายน พายุได้เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันออก นอกเหนือจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้พิเคราะห์แล้วว่า ระบบหย่อมความกดอากาศต่ำดังกล่าว มีศักยภาพเพียงพอที่จะประกาศให้เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ในขณะที่ระบบอยู่ทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่ 135 องศาตะวันออก ส่วนสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มออกการประกาศเตือนภัยกับพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้ด้วยเช่นกัน โดยให้ชื่อกับระบบว่า อามัง (Amang)[75] วันที่ 4 เมษายน ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนืออยู่นั้น ในที่สุดศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ประกาศให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และให้รหัสเรียกว่า 02W อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแนวปะทะอากาศที่กำลังสลายตัวอยู่ทางตะวันตกของพายุนั้น ได้ส่งผลให้พายุลูกนี้เข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนผ่านเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[76]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 5

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

ในช่วงเย็นวันที่ 31 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นระบุว่าหย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 7

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 14 – 16 มิถุนายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

วันที่ 15 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้น บริเวณทางตะวันตกของเกาะปาลาวัน ประเทศฟิลิปปินส์

พายุดีเปรสชันเขตร้อนโกริง

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 8 – 10 กรกฎาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

วันที่ 9 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณทางตะวันออกของจังหวัดเอาโรราของประเทศฟิลิปปินส์

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 14

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 16 กรกฎาคม
ความรุนแรง <45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น รายงานว่ามีพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ใกล้กับมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน จากนั้นพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็สลายตัวอย่างรวดเร็วหลังจากก่อตัวขึ้นเพียง 6 ชั่วโมง

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 15

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 16 – 17 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน หลังจากนั้นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกนี้ได้สลายตัวไป

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลันโด

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 19

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 3 – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

ในช่วงวันที่ 3 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ก่อตัวขึ้นบริเวณใกล้กับเกาะโบนิน และเคลื่อนตัวไปเรื่อย ๆ อย่างช้า ๆ ต่อมาในช่วงสายของวันที่ 4 สิงหาคมพายุดีเปรสชันเขตร้อนก็ได้สลายตัวไปบริเวณคาบสมุทรกี

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 13W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 14 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

ช่วงสายของวันที่ 8 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับระดับความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่ระบบอยู่ใกล้กับเกาะกวม

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 21

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 8 – 10 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

ช่วงวันที่ 8 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับระดับความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน ขณะที่มันอยู่บริเวณใกล้กับเกาะมินะมิโตะริชิมะ[77] หลังจากนั้นมันค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ จนวันที่ 10 สิงหาคม มันจึงค่อย ๆ สลายตัวไป[78]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 22

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 21 – 26 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

ในวันที่ 19 สิงหาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้ก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะกวม[79]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 29

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 14 – 15 กันยายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

วันที่ 14 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้เริ่มเฝ้าสังเกตการณ์พายุดีเปรสชันเขตร้อน แต่เนื่องจากมันไม่มีกำลังพอที่จะกลายเป็นพายุขนาดใหญ่ได้ ทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นหยุดติดตามพายุลูกนี้ในวันที่ 15 กันยายน[80]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 34

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 11 – 13 ตุลาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 24W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 8 พฤศจิกายน
ความรุนแรง <45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

ในวันที่ 5 พฤศจิกายน มีการพบหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ต่อมาในวันที่ 6 พฤศจิกายน หย่อมความกดอากาศต่ำเริ่มเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกและเริ่มเข้าใกล้ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 7 พฤศจิกายน หย่อมความกดอากาศต่ำเริ่มได้รับการตรวจสอบจากศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) และถูกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุไซโคลนเขตร้อน (TCFA) ในวันเดียวกันนั้น ต่อมา JTWC ได้เพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและใช้รหัสเรียก 24W กับระบบ ในตอนเย็น กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ก็ประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเช่นกัน จนวันที่ 8 พฤศจิกายน JTWC ได้ออกคำเตือนฉบับสุดท้ายเกี่ยวกับระบบเนื่องจากมันเริ่มอ่อนกำลังลง จากมวลอากาศเย็นที่อยู่ทางเหนือของพายุ และในวันที่ 10 พฤศจิกายน JMA รายงานว่าระบบได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 5 ธันวาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 26W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 14 ธันวาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[81] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[82] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[81] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[82] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (40 ไมล์ต่อชั่วโมง)[83] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[84] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2554 คือ แอรี จากชุดที่ 4 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ วาชิ จากชุดที่ 5 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 21 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2554
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 4 1101 แอรี
(Aere)
ชุดที่ 5 1107 โทกาเงะ
(Tokage)
ชุดที่ 5 1113 โนรู
(Noru)
ชุดที่ 5 1119 นัลแก
(Nalgae)
1102 ซงด่า
(Songda)
1108 นกเต็น
(Nock-ten)
1114 กุหลาบ
(Kulap)
1120 บันยัน
(Banyan)
ชุดที่ 5 1103 ซาเระกา
(Sarika)
1109 หมุ่ยฟ้า
(Muifa)
1115 โรคี
(Roke)
1121 วาชิ
(Washi)
1104 ไหหม่า
(Haima)
1110 เมอร์บก
(Merbok)
1116 เซินกา
(Sonca)
1105 เมอารี
(Meari)
1111 นันมาดอล
(Nanmadol)
1117 เนสาท
(Nesat)
1106 หมาอ๊อน
(Ma-on)
1112 ตาลัส
(Talas)
1118 ไห่ถาง
(Haitang)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[85] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ด้วย[85] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อนทั้งหมด[85] ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2554
อามัง (Amang) ฟัลโกน (Falcon) (1105) กาบายัน (Kabayan) (1109) เปดริง (Pedring) (1117) อูร์ซูลา (Ursula) (ไม่ถูกใช้)
เบเบง (Bebeng) (1101) โกริง (Goring) ลันโด (Lando) กีเยล (Quiel) (1119) บีริง (Viring) (ไม่ถูกใช้)
เชเดง (Chedeng) (1102) ฮันนา (Hanna) (1107) มีนา (Mina) (1111) ราโมน (Ramon) (1120) เวง (Weng) (ไม่ถูกใช้)
โดโดง (Dodong) (1103) อีเนง (Ineng) (1106) โนโนย (Nonoy) (1114) เซนโดง (Sendong) (1121) โยโยย (Yoyoy) (ไม่ถูกใช้)
เอไก (Egay) (1104) ฮัวนิง (Juaning) (1108) โอนโยก (Onyok) (1115) ตีโซย (Tisoy) (ไม่ถูกใช้) ซิกซัก (Zigzag) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาเบ (Abe) (ไม่ถูกใช้) ชาโร (Charo) (ไม่ถูกใช้) เอสโตย (Estoy) (ไม่ถูกใช้) เฮนิง (Gening) (ไม่ถูกใช้) อีร์มา (Irma) (ไม่ถูกใช้)
เบร์โต (Berto) (ไม่ถูกใช้) ดาโด (Dado) (ไม่ถูกใช้) เฟลีโยน (Felion) (ไม่ถูกใช้) เฮร์มัน (Herman) (ไม่ถูกใช้) ไฮเม (Jaime) (ไม่ถูกใช้)

ผลกระทบ

ตารางนี้รวมเอาทั้งหมดของระบบพายุที่ก่อตัวภายใน หรือ เคลื่อนตัวเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ทางฝั่งตะวันตกของเส้นแบ่งวันสากล ภายในปี พ.ศ. 2554 ประกอบด้วยชื่อพายุ ความรุนแรง บริเวณที่มีผลกระทบ จำนวนผู้เสียชีวิต และความเสียหาย ความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปี ค.ศ. 2011 (พ.ศ. 2554) ความเสียหายและผู้เสียชีวิตจากพายุนั้นรวมไปถึงตั้งแต่ครั้งเมื่อพายุยังเป็นเพียงหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือเปลี่ยนผ่านไปเป็นความกดอากาศต่ำนอกเขตร้อนแล้ว

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
01W 1 –4 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
02W
(อามัง)
3 –6 เมษายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
แอรี
(เบเบง)
5 – 12 พฤษภาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น &000000003440000000000034.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 48 [86]
ซงด่า
(เชเดง)
19 – 29 พฤษภาคม พายุไต้ฝุ่น 195 กม./ชม. 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท) ไมโครนีเชีย, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น &0000000287000000000000287 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 17 SongdaNDCC15[87][88]
TD 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ซาเระกา
(โดโดง)
8 – 11 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน &0000000248000000000000248 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 28 [89]
TD 14 – 15 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) จีน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี [90]
ไหหม่า
(เอไก)
16 – 25 มิถุนายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม, ลาว, ไทย &0000000167000000000000167 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 18
เมอารี
(ฟัลโกน)
20 – 27 มิถุนายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี &00000000012400000000001.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 11 [91][92]
โกริง 8 – 10 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 45 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, ไต้หวัน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หมาอ๊อน
(อีเนง)
11 –24 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) หมู่เกาะมาเรียนา, ญี่ปุ่น &000000005000000000000050 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 5 [93]
โทกาเงะ
(ฮันนา)
13 – 15 กรกฎาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 16 – 17 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) จีน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000
นกเต็น
(ฮัวนิง)
24 –31 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa (29.09 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม, ลาว, ไทย &0000000126300000000000126 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 128 [94]
หมุ่ยฟ้า
(กาบายัน)
25 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 930 hPa (27.46 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี &0000000480000000000000480 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 22 [95]
ลันโด 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี [96]
เมอร์บก 2 – 9 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 998 hPa (28.94 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 2 – 4 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
13W 8 – 14 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 8 – 10 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000ไม่มี
TD 20 – 25 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000ไม่มี
นันมาดอล
(มีนา)
21 –31 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 925 hPa (27.32 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน &00000014936300000000001.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 38 [97][98][99]
ตาลัส 23 สิงหาคม – 5 กันยายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &0000000600000000000000600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 82 [100]
โนรู 2 – 6 กันยายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 990 hPa (29.23 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
กุหลาบ
(โนโนย)
6 – 11 กันยายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1000 hPa (29.53 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น, เกาหลี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โรคี
(โอนโยก)
8 – 22 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 940 hPa (27.76 นิ้วปรอท) ญี่ปุ่น &00000012000000000000001.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 13 [101]
TD 13 – 15 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไต้หวัน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เซินกา 14 – 20 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 130 กม./ชม. 970 hPa (28.64 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เนสาท
(เปดริง)
23 – 30 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 150 กม./ชม. 950 hPa (28.05 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม &00000021190000000000002.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 98 [102][103][104][105][106]
ไห่ถาง 24 –27 กันยายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 996 hPa (29.41 นิ้วปรอท) จีน, เวียดนาม, ลาว &000000002000000000000020 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 25
นัลแก
(กีเยล)
26 กันยายน – 5 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa (27.61 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์, จีน, เวียดนาม &0000000250000000000000250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 18 [107]
บันยัน
(ราโมน)
9 – 14 ตุลาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ปาเลา, ฟิลิปปินส์ &00000000021000000000002.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 10
TD 10 – 13 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) จีน, เวียดนาม &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
24W 7 – 10 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 45 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
25W 4 – 5 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 45 กม./ชม. 1006 hPa (29.71 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
26W 10 – 14 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa (29.65 นิ้วปรอท) ฟิลิปปินส์ &0000000000000000000000 ไม่มี 4
วาชิ
(เซนโดง)
13 – 19 ธันวาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 992 hPa (29.29 นิ้วปรอท) หมู่เกาะแคโรไลน์, ฟิลิปปินส์ &000000009780000000000097.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2,546 [108][109][110]
TD 24 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa (29.59 นิ้วปรอท) ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
TD 31 ธันวาคม 2554 –
1 มกราคม 2555
พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa (29.77 นิ้วปรอท) มาเลเซีย &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
สรุปฤดูกาล
39 ลูก 1 เมษายน 2554 –
1 มกราคม 2555
  195 กม./ชม. 920 hPa (27.17 นิ้วปรอท)   &00000071764700000000007.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 3,111


ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. ตามการพยากรณ์ของ TSR พายุหมุนเขตร้อนรุนแรง คือพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมสูงสุดใน 1 นาที มากกว่า 175 กม./ชม. ขึ้นไป[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Saunders, Mark; Lea, Adam (March 8, 2011). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2011 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ March 21, 2011. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Saunders, Mark; Lea, Adam (March 8, 2011). May Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2011 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2011. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  3. 3.0 3.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (July 4, 2011). July Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2011 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2011. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  4. 4.0 4.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (August 5, 2011). August Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2011 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2011. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Weather Forecast Center (June 28, 2011). Three to Five Typhoons Expected to Hit Taiwan in 2011 (Report). Taiwan: Central Weather Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (.doc)เมื่อ September 18, 2018. สืบค้นเมื่อ June 28, 2011.
  6. "Cold weather affects Benguet mummies". Manila Bulletin. January 7, 2010.
  7. Lee, B.Y. (March 23, 2011). "Speech by Dr. B Y Lee, Director of the Hong Kong Observatory March 23, 2011" (PDF). Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 4, 2016. สืบค้นเมื่อ August 7, 2013.
  8. 8.0 8.1 China Meteorological Administration (January 30, 2012). Member Report: China (PDF). Typhoon Committee 44th session. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific and World Meteorological Organization's Typhoon Committee. p. 22. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ March 3, 2016. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  9. Early May to mid October 2011 (PDF) (Weather outlook for Thailand during Rainy Season). Thai Meteorological Department. April 26, 2011. สืบค้นเมื่อ August 7, 2013.[ลิงก์เสีย]
  10. 10.0 10.1 Guy Carpenter Asia-Pacific Climate Impact Center (May 9, 2010). May 2011 Predictions of Seasonal Tropical Cyclone Activity over the Western North Pacific (PDF) (Report). City University of Hong Kong. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2012. สืบค้นเมื่อ August 6, 2013.
  11. 11.0 11.1 Guy Carpenter Asia-Pacific Climate Impact Center (July 4, 2011). Updated Prediction of Seasonal Tropical Cyclone Activity over the Western North Pacific for 2011 (PDF) (Report). City University of Hong Kong. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2012. สืบค้นเมื่อ July 11, 2010.
  12. "JTWC - Tropical Cyclone Outlook 091530 - Typhoon Ma-on". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-23. สืบค้นเมื่อ 23 August 2011.
  13. "NWS Guam — Tropical Weather Advisory 1 for Pre-Tropical storm Nock-ten". National Oceanic and Atmospheric Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-23. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  14. "JTWC — Tropical Depression 10W — Warning 001". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  15. "JMA Tropical Cyclone Advisory 250000". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  16. "PAGASA — Severe Weather Bulletin Number ONE". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  17. "JMA Tropical Cyclone Advisory - 260000". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
  18. "NWS Guam — Tropical Cyclone Advisory 231930 for pre-tropical storm Muifa". NOAA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
  19. "JTWC — Tropical Cyclone Advisory 001 - Pre-tropical storm Muifa". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
  20. "JMA — Tropical Cyclone Advisory 260000 - Pre-tropical storm Muifa". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  21. "JTWC — Tropical Storm 11W — Warning 011". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  22. "JMA — Tropical Cyclone Advisory 280600 - Tropical Storm Muifa". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-14. สืบค้นเมื่อ 28 July 2011.
  23. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 030000 - Tropical depression 18". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-03. สืบค้นเมื่อ 3 August 2011.
  24. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 030600 - Tropical Storm Merbok". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-03. สืบค้นเมื่อ 3 August 2011.
  25. "JTWC Tropical Cyclone Warning 192100 - Tropical Depression 23". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2011-08-22.
  26. "Tropical Depression 23 - Low Level Circulation Center". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 2011-08-22.
  27. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 211200 - Tropical Depression 23". JMA Tropical Cyclone Advisories. Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 2011-08-21.
  28. "JTWC - Tropical Cyclone Warning 01 - Tropical Depression 14W". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23. สืบค้นเมื่อ 2011-08-23.
  29. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 231200 - Tropical Storm Nanmadol". JMA Tropical Cyclone Advisories. Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23. สืบค้นเมื่อ 23 August 2011.
  30. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 240600 - Severe Tropical Storm Nanmadol". JMA Tropical Cyclone Advisories. Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 24 August 2011.
  31. "JTWC - Tropical Cyclone Advisory 07 - Tropical Storm Nanmadol". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 24 August 2011.
  32. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 250000 - Typhoon Nanmadol". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-25. สืบค้นเมื่อ 25 August 2011.
  33. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 270300 - Typhoon Nanmadol". JMA Tropical Cyclone Advisories. Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 27 August 2011.
  34. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 310600 - TD Downgraded From TS 1111 Nanmadol (1111)". JMA Tropical Cyclone Advisories. Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-18. สืบค้นเมื่อ 2011-08-31.
  35. "Tropical Depression 14W (Nanmadol) Warning #34 Final Warning". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2011-08-31.
  36. "JTWC - Tropical Cyclone Outlook 222300 - Tropical Depression 24". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23. สืบค้นเมื่อ 23 August 2011.
  37. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 250000 - Tropical Storm Talas". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-25. สืบค้นเมื่อ 25 August 2011.
  38. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 291800 - Typhoon Talas". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-23. สืบค้นเมื่อ 2011-08-29.
  39. "台風12号が温帯低気圧に". NHK. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.[ลิงก์เสีย]
  40. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 050600 - Ex-Tropical Storm Talas". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  41. "JTWC - Tropical Cyclone Warning 011500 - Tropical Depression 25". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  42. "JMA - Tropical Cyclone Warning 020000 - Tropical Depression 25". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  43. "JTWC - Tropical Cyclone Formation Alert - Tropical Depression 25". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.
  44. "JTWC - Tropical Cyclone Advisory 01 - Tropical Depression 16W". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ 3 September 2011.
  45. "JTWC - Prognostic Reasoning for Tropical Cyclone Advisory 02 - Tropical Storm 16W". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ 3 September 2011.
  46. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 040600 - Tropical Storm Noru". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 4 September 2011.
  47. "JTWC - Tropical Cyclone Advisory 13 - Tropical Depression Noru". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ 6 September 2011.
  48. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 061200 - Tropical Storm Noru". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 6 September 2011.
  49. "JTWC - Tropical Cyclone Warning 042200 - Tropical Depression 26". Joint Typhoon Warning Center. สืบค้นเมื่อ 6 September 2011.
  50. "JMA - Tropical Cyclone Warning 060600 - Tropical Depression 26". Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ 6 September 2011.
  51. "PAGASA - Severe Weather Bulletin Number ONE - Tropical Storm "NONOY" (KULAP)". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. สืบค้นเมื่อ 8 September 2011.
  52. 52.0 52.1 "JTWC - Tropical Cyclone Warning 211500 - Tropical Storm Nesat and Tropical Depression 31". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-23. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
  53. "JTWC - Tropical Cyclone Formation Alert - Tropical Storm Nesat". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-21. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
  54. "JMA - Tropical Cyclone Warning 230000 - Tropical Storm Nesat". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-23. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
  55. "JTWC - Tropical Cyclone Advisory 01 - Tropical Storm Nesat". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-15. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
  56. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 240000 - Tropical Storm Nesat". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-24. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
  57. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 250000 - Typhoon Nesat". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-25. สืบค้นเมื่อ 26 September 2011.
  58. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 252100 - Typhoon Nesat". Japan Meteorological Agency]]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-26. สืบค้นเมื่อ 26 September 2011.
  59. "JTWC - Tropical Cyclone Advisory 14 - Typhoon Nesat". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-21. สืบค้นเมื่อ 27 September 2011.
  60. "JMA - Tropical Cyclone Warning 240000 - Tropical Depressions 31". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
  61. "JTWC - Tropical Cyclone Formation Alert - Tropical Depression 31". Joint Typhoon Warning Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-21. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
  62. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 271800 - Typhoon Nalgae". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 29 September 2011.
  63. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 281800 - Typhoon Nalgae". Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 September 2011.
  64. "Severe Weather Bulletin Number ONE - Tropical Storm "QUIEL"". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 September 2011.
  65. "Significant Tropical Weather Outlook for the Western and South Pacific Oceans". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. April 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-23. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  66. "JMA High Seas Forecast for 0600 UTC on April 1, 2011". Japan Meteorological Agency. April 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-01. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  67. "Significant Tropical Weather Outlook for the Western and South Pacific Oceans". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. April 1, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  68. "Tropical Cyclone Formation Alert". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. April 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-21. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  69. "Tropical Depression 01W Advisory One". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. April 2, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-21. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  70. "Tropical Depression 01W Advisory Two". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. April 2, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  71. "Tropical Depression 01W Advisory Six (Final)". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. April 3, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-21. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  72. "JMA High Seas Forecast for 0600 UTC on April 4, 2011". Japan Meteorological Agency. April 4, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ May 7, 2011.
  73. "JMA High Seas Forecast for 1800 UTC on March 30, 2011". Japan Meteorological Agency. March 30, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 31, 2011. สืบค้นเมื่อ May 8, 2011.
  74. Joint Typhoon Warning Center (April 2, 2011). "Significant Tropical Weather Outlook for the Western and South Pacific Oceans". United States Navy, United States Air Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2007. สืบค้นเมื่อ May 8, 2011.
  75. "Tropical Depression "Amang" Severe Weather Bulletin One". Philippine Atmospheric Geophysical and Astronomical Services Administration. April 3, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2009. สืบค้นเมื่อ May 8, 2011.
  76. Joint Typhoon Warning Center (April 5, 2011). "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 02W Advisory Three". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 31, 2003. สืบค้นเมื่อ May 8, 2011.
  77. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 081800 - Tropical Depression 21". JMA Tropical Cyclone Advisories. Japan Meteorological Agency. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  78. "JMA - Tropical Cyclone Advisory 101800 - Tropical Depression 21". JMA Tropical Cyclone Advisories. Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 12 August 2011.
  79. "JTWC Tropical Cyclone Warning 190030 - Pre-Tropical Depression 22". Joint Typhoon Warning Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-20. สืบค้นเมื่อ 21 August 2011.
  80. "JMA - Tropical Cyclone Warning 160000 - Tropical Depressions 29". Japan Meteorological Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-19. สืบค้นเมื่อ 16 September 2011.
  81. 81.0 81.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 9, 2002. สืบค้นเมื่อ August 28, 2012.
  82. 82.0 82.1 the Typhoon Committee (February 21, 2012). "Typhoon Committee Operational Manual 2012" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2013.
  83. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  84. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2014.
  85. 85.0 85.1 85.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2016. สืบค้นเมื่อ January 20, 2016.
  86. Ramos, Benito T. (May 16, 2011). Situation Report No. 14 on Tropical Storm "Bebeng" (Aere) (PDF) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 2, 2012. สืบค้นเมื่อ December 31, 2011.
  87. Unattributed (June 23, 2011). 保険支払い20億円に 台風2号 (ภาษาญี่ปุ่น). Okinawa Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2011. สืบค้นเมื่อ July 2, 2011.
  88. Unattributed (June 3, 2011). "Typhoon Songda Floods Strike Japan Disaster Zone". Earthweek. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2011. สืบค้นเมื่อ July 5, 2011.
  89. "NDRRMC Update SitRep No. 5 on Tropical Storm "Dodong"" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. National Disaster Coordinating Council. June 10, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 7, 2011. สืบค้นเมื่อ June 10, 2011.
  90. National Weather Service Forecast Office Guam; National Climatic Data Center (2012). "Storm Events Database: Guam: Tropical Storm Sanvu". National Oceanic and Atmospheric Administration. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2014.
  91. "Final Report re Effects of Southwest Monsoon and Typhoon "Butchoy" (Guchol)" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. June 26, 2012. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.[ลิงก์เสีย]
  92. "June 2012 Global Catastrophe Recap" (PDF). AON Benfield. July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-05. สืบค้นเมื่อ August 7, 2012.
  93. "Global storm activity increases in July as the Atlantic hurricane season approaches peak period, According to Aon Benfield Study". CPI Financial. August 23, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2013. สืบค้นเมื่อ February 25, 2012.
  94. "NDRRMC Update SitRep No. 7 on Tropical Storm "Juaning"" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. National Disaster Coordinating Council. July 28, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 7, 2011. สืบค้นเมื่อ July 28, 2011.
  95. "NDRRMC Update SitRep No. 12 on Typhoon "Kabayan" (Muifa)" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. National Disaster Coordinating Council. August 4, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 7, 2011. สืบค้นเมื่อ August 4, 2011.
  96. "Severe Weather Bulletin number three, Tropical Cyclone Alert: Tropical Depression "Lando" issued at 11 am, 2011-08-01". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. August 1, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 1, 2011. สืบค้นเมื่อ December 27, 2011.
  97. "2011 Top 10 Philippine Destructive Tropical Cyclones (PDF)(Report)" (PDF). National Disaster Risk Reduction and Management Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-22. สืบค้นเมื่อ 31 December 2011.
  98. "Nanmadol causes est. $200 TO $500 million in ไต้หวัน". EQECAT. สืบค้นเมื่อ 2 September 2011.[ลิงก์เสีย]
  99. ""南玛都"致福建经济损失5.32亿元 无人员伤亡". จีน Press. สืบค้นเมื่อ 1 September 2011.
  100. "台風12号による被害状況及び消防機関の活動状況等について(第14報)" (PDF). Fire and Disaster Management Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-09-18. สืบค้นเมื่อ October 3, 2011.
  101. Lai, Iris (December 15, 2011). "ญี่ปุ่นese Nonlife Insurers Report 1.3 Trillion Yen in Claims Related to Quake, Typhoons". Insurance News. สืบค้นเมื่อ December 18, 2011.
  102. Ramos, Benito T. (2011-10-11). Situational Report No.26 re Typhoon "Pedring" (Nesat) (PDF) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 26, 2012. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  103. Ramos, Benito T. (2011-12-30). 2011 Top 10 Philippine Destructive Tropical Cyclones (PDF) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Center. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-17. สืบค้นเมื่อ 2011-12-31.
  104. ""纳沙"致广东省直接经济损失增至28.6亿元". China Press. สืบค้นเมื่อ October 1, 2011.
  105. "台风给海南造成严重经济损失 全省转移45万余人". China Press. สืบค้นเมื่อ September 30, 2011.
  106. ""纳沙"致广西306万人受灾 4人死亡1人失踪". China Press. สืบค้นเมื่อ October 3, 2011.
  107. "Nalgae leaves 18 dead in the Philippines". Protect the Environment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 16, 2012. สืบค้นเมื่อ June 4, 2012.
  108. "SitRep No.11 re Effects of Tropical Storm "SENDONG" (WASHI)" (PDF). Philippines: National Disaster Risk Reduction and management council. December 20, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 19, 2012. สืบค้นเมื่อ December 20, 2011.
  109. Padua, David M (2011). "Tropical Cyclone Logs: Sendong (Washi) 2011". Typhoon 2000. สืบค้นเมื่อ December 31, 2011.
  110. Ramos, Benito T. Final Report on the Effects and Emergency Management re Tropical Storm "Sendong" (Washi) (PDF) (Report). National Disaster Risk Reduction and Management Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 16, 2013. สืบค้นเมื่อ February 24, 2012.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya