Share to:

 

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ระบบสุดท้ายสลายตัว28 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อเมอรันตี
 • ลมแรงสูงสุด220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด890 hPa (มิลลิบาร์)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด51 ลูก
พายุโซนร้อนทั้งหมด26 ลูก
พายุไต้ฝุ่น13 ลูก
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น1 ลูก (เป็นทางการ)
5 ลูก (ไม่เป็นทางการ)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด972 คน
ความเสียหายทั้งหมด1.89 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2016)
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก
2557, 2558, 2559, 2560, 2561

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2559 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยมีพายุโซนร้อน 26 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และในจำนวนนี้ 6 ลูกเป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูกาลนี้ชื่อ เนพาร์ตัก ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ส่วนพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกสุดท้ายชื่อ นกเตน สลายตัวเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม

การก่อตัวขึ้นของพายุเนพาร์ตัก ซึ่งเป็นพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูกาล ทำให้ช่วงเวลาที่แอ่งว่างเว้นจากการมีพายุที่ได้รับชื่อ (มีความรุนแรงมากกว่าพายุโซนร้อน) ถึง 199 วัน (17 ธันวาคม 2558 ถึง 3 กรกฎาคม 2559) สิ้นสุดลง ต่อมาพายุโซนร้อนมีรีแนพัฒนาขึ้นจนมีกำลังสูงสุด ขณะพัดขึ้นฝั่งบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง ทำให้เกิดความเสียหายรายแรงในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม ต่อมาในสิ้นเดือนสิงหาคม พายุสามลูกได้พัดเข้าเกาะฮกไกโด ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ในเดือนกันยายน พายุไต้ฝุ่นเมอรันตีพัฒนาขึ้นจนถึงจุดที่มีกำลังแรงที่สุด โดยมีความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลาง 890 hPa กลายเป็นหนึ่งในพายุที่มีความรุนแรงที่สุดในบันทึกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก ต่อมาพายุไต้ฝุ่นชบากลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลังแรงที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศเกาหลีใต้ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ขณะที่พายุโซนร้อนแอรีและพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งเลวร้ายในประเทศเวียดนาม นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ส่วนพายุลูกเกือบสุดท้ายของฤดูกาลอย่าง พายุไต้ฝุ่นนกเตน กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงที่สุดทั่วโลก ที่มีกำลังอยู่ในวันคริสมาสต์ (25 ธันวาคม) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 อย่างน้อยเป็นต้นมา ในแง่ของความเร็วลมต่อเนื่องใน 1 นาที

ขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

การพยากรณ์ฤดูกาล

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอี อ้างอิง
ค่าเฉลี่ย (2508–2558) 26 16 9 298 [1]
7 พฤษภาคม 2559 22 13 6 217 [1]
6 กรกฎาคม 2559 22 13 7 239 [2]
8 สิงหาคม 2559 22 13 7 231 [3]
วันที่พยากรณ์ ศูนย์พยากรณ์ ช่วงเวลา ระบบพายุ อ้างอิง
8 มกราคม 2559 PAGASA มกราคม — มีนาคม 1–2 ลูก [4]
PAGASA เมษายน — มิถุนายน 1–3 ลูก [4]
28 มิถุนายน 2559 CWB 1 มกราคม — 31 ธันวาคม พายุโซนร้อน 19–23 ลูก [5]
July 15, 2016 PAGASA กรกฎาคม — กันยายน 5–11 ลูก [6]
PAGASA ตุลาคม — ธันวาคม 4–9 ลูก [6]
ศูนย์พยากรณ์ พายุหมุนเขตร้อน พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่น อ้างอิง
เกิดขึ้นจริง: JMA 50 26 13
เกิดขึ้นจริง: JTWC 30 24 13
เกิดขึ้นจริง: PAGASA 14 13 9

ในระหว่างฤดูกาล หลายหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาและหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศจะมีการคาดการณ์ของพายุหมุนเขตร้อน, พายุโซนร้อนและพายุไต้ฝุ่น ที่จะก่อตัวในช่วงฤดู และ/หรือ จะมีพายุกี่ลูกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศนั้น หลายหน่วยงานนี้ได้รวมไปถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน, สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) และสำนักสภาพอากาศกลางของไต้หวันด้วย ซึ่งบางส่วนของการคาดการณ์ได้นำสิ่งที่เกิดขึ้นในฤดูกาลก่อนไปพิจารณาด้วย และยังมีการสังเกตการณ์ภาวะเอลนีโญในช่วงปีด้วย การพยากรณ์แรกเป็นของ PAGASA ซึ่งออกเผยแพร่ในช่วงเดือนมกราคม เป็นการคาดการณ์แนวโน้มสภาพภูมิอากาศในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน[4] โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 1–2 ลูก ก่อตัวในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม ในขณะที่อีก 1–3 ลูก จะก่อตัวหรือเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ ในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน[4]

ช่วงเดือนมีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกง พยากรณ์ว่าฤดูกาลพายุไต้ฝุ่นในฮ่องกงจะใกล้เคียงกับปกติ โดยมีพายุหมุนเขตร้อนกำลังแรงสี่ถึงเจ็ดลูกเคลื่อนผ่านในระยะ 500 กม. (310 ไมล์) เทียบกับค่าเฉลี่ยที่หกลูก[7] ในวันที่ 7 พฤษภาคม องต์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนออกการพยากรณ์ฉบับแรกของฤดูกาล และพยากรณ์ว่าฤดูกาลนี้เป็นฤดูกาลที่สงบเงียบ โดยจะมีพายุโซนร้อน 22 ลูก พายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และพายุไต้ฝุ่นรุนแรง 11 ลูกพัฒนาขึ้นในระหว่างปี ขณะที่ดัชนีเอซีอีถูกพยาการณ์ไว้ที่ 217[1]

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน สำนักสภาพอากาศกลางไต้หวันพยากรณ์ว่าจะมีพายุโซนร้อนระหว่าง 19–23 ลูกก่อตัวเหนือแอ่ง ขณะที่คาดว่า 2–4 ลูกจะส่งผลกระทบกับไต้หวัน[5] วันที่ 6 กรกฎาคม TSR ออกการพยากรณ์ซึ่งตัวเลขเหมือนกับก่อนหน้า เว้นแต่ตัวเลขของพายุไต้ฝุ่นรุนแรงถูกปรับเพิ่มเป็น 7[2] ต่อมา PAGASA ได้ประกาศการคาดการณ์ฉบับที่สองและฉบับสุดท้ายของปีในวันที่ 15 กรกฎาคม ภายในการคาดหมายภูมิอากาศฤดูกาลช่วงกรกฎาคม – ธันวาคม[6] ในการคาดหมายบันทึกไว้ว่าพายุหมุนเขตร้อน 5–11 ลูก คาดว่าจะก่อตัวหรือเคลื่อนเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ในระหว่างเดือนกรกฎาคมและกันยายน ขณะที่อีก 4–9 ลูก คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างเดือนตุลาคมและธันวาคม[6] ต่อมา TSR ได้ออกการคาดการณ์สุดท้ายสำหรับฤดูกาลเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม โดยคงจำนวนตัวเลขพายุหมุนเขตร้อนไว้ แต่ลดปริมาณของ ACE ลงกว่าฉบับที่แล้ว[3]

กรมอุตุนิยมวิทยาไทย

เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2559 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย 2 ลูก โดยมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน 1 ลูก และอีก 1 ลูกจะเคลื่อนผ่านภาคใต้ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน[8]

ภาพรวมฤดูกาล

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก (คณะกรรมการไต้ฝุ่น)
  พายุดีเปรสชัน (≤61 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (118–156 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (62–88 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (157–193 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อนกำลังแรง (89–117 กม./ชม.)   พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (≥194 กม./ชม.)

พายุ

พายุไต้ฝุ่นเนพาร์ตัก

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 10 กรกฎาคม
ความรุนแรง 205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: บุตโชย
  • วันที่ 30 มิถุนายน ช่วงเย็นของวัน JMA เริ่มเฝ้าระวังหย่อมความกดอากาศต่ำที่อยู่ทางตะวันออกของหมู่เกาะแคโรไลน์[9] และหย่อมของอากาศแปรปรวนเริ่มจัดระบบขึ้น
  • วันที่ 1 กรกฎาคม ระบบมีการพัฒนาการไหลเวียนแบบปิด[10]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[11] ภายใต้อิทธิพลของการเลี้ยวกระแสน้ำกำลังอ่อนและน้ำอุ่น ระบบจึงเคลื่อนตัวไปตามแนวทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างช้า ๆ
  • วันที่ 3 กรกฎาคม JMA วิเคราะห์แล้วว่าพายุดีเปรสชันเขตร้อนกลายเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ เนพาร์ตัก (Nepartak)[12] ในระหว่างวัน ร่องโทรโพสเฟียร์ส่วนบนเขตร้อน (Tropical upper tropospheric trough หรือ TUTT) ที่อยู่ทางเหนือของระบบเคลื่อนไปทางตะวันตก ยอมให้ปัจจัยแวดล้อมในพื้นที่โดยตรงของเนพาร์ตัก กลายเป็นพื้นที่ที่เอื้ออำนวย กระตุ้นให้การทวีกำลังแรงนั้นมั่นคง[13]
  • วันที่ 4 กรกฎาคม ภาพถ่ายในช่วงคลื่นไมโครเวฟแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาขึ้นของตาพายุ ภายในการพาความร้อนที่ลึก
  • วันที่ 5 กรกฎาคม นำให้ทั้ง JMA และ JTWC เพิ่มความรุนแรงของเนพาร์ตักเป็นพายุไต้ฝุ่นในไม่ช้าหลังจากนั้น[14][15] ในวันเดียวกันนี้ PAGASA ได้รายงานว่าเนพาร์ตักเคลื่อนตัวเข้ามาในพื้นที่รับผิดชอบ และกำหนดชื่อท้องถิ่นว่า บุตโชย (Butchoy)[16][17]

วันที่ 7 กรกฎาคม มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 2 คน หลังจากที่ถูกพัดออกสู่ทะเลโดยลมที่รุนแรงในไต้หวัน[18]

พายุโซนร้อนลูปิต

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 24 กรกฎาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำพัฒนาขึ้นที่ส่วนท้ายของร่องความกดอากาศต่ำละติจูดกลาง ห่างจากเกาะอิโอะจิมะไปทางทิศตะวันออก 775 กม. (480 ไมล์)[19]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม การหมุนเวียนบรรยากาศลึกพัฒนาขึ้นเหนือระบบพายุ ซึ่งยืดออกไปถึงการไหลเวียนระดับต่ำ ก่อนที่มันจะมีความรุนแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[19][20]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม ขณะที่พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเฉเหนือ ใกล้ ๆ กับแนวร่องกึ่งเขตร้อนของความกดอากาศสูง มันมีองค์ประกอบที่ดีขึ้นตามการพัฒนาขึ้นของแกนอบอุ่นและรวมกัน[21] ระบบผสมมีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ เป็นพายุโซนร้อน 04W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม ก่อนที่จะได้รับชื่อ ลูปิต จากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[21]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม ลูปิตมีความรุนแรงสูงสุดที่ความเร็วลม 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) ขณะที่มันผ่านไปยังการเปลี่ยนผ่านเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[22]

พายุโซนร้อนกำลังแรงมีรีแน

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 25 – 29 กรกฎาคม
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 25 กรกฎาคม มีรีแนถูกบันทึกครั้งแรกเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน มันเคลื่อนตัวไปประชิดชายฝั่งด้านตะวันตกของเกาะลูซอน และลงสู่ทะเลจีนใต้ ห่างจากหมู่เกาะพาราเซลไปทางทิศตะวันออก 300 กม. (185 ไมล์)[23][24] ต่อมาระบบมีการไหลเวียนระดับต่ำที่ศูนย์กลางดีขึ้น เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เอื้ออำนวยอย่างมากสำหรับการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น ทั้งมีลมเฉือนแนวตั้งต่ำ และอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่น[24][25]
  • วันที่ 26 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมเริ่มออกคำแนะนำกับระบบ และจัดความรุนแรงของระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 05W ขณะที่มันเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวขอบของแนวกึ่งเขตร้อนของความกดอากาศสูง[25]
  • วันที่ 27 กรกฎาคม ขณะที่ระบบเคลื่อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเฉเหนือ มันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ มีรีแน[23][26] ต่อมามีรีแนเริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อยตามลำดับ ขณะที่มันเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งใกล้กับว่านหนิงและเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ ก่อนที่จะทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งเมื่อมันเคลื่อนตัวลงสู่อ่าวตังเกี๋ย[23][27] โดยมีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ซึ่งมีการประมาณว่ามีรีแนมีความรุนแรงสูงสุดที่ความเร็วลมต่อเนื่อง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.)[28] ระบบเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งทางใต้ของฮานอย ที่ระยะทาง 110 กม. (70 ไมล์) ในภาคเหนือของเวียดนาม
  • วันที่ 28 กรกฎาคม มันถูกบันทึกครั้งสุดท้าย ขณะที่มันกำลังสลายตัวอยู่ทางเหนือของฮานอย[23][28]

ในวันที่ 29 กรกฎาคม พายุทำให้มีผู้เสียชีวิตห้าคน และผู้สูญหายอีกห้าคน มีความเสียหายกับโครงสร้างพื้นฐานอย่างรุนแรงในภาคเหนือของเวียดนาม โดยมีผลกระทบกับสายไฟฟ้า ทำให้มีกระแสไฟฟ้าดับและมีการตัดกระแสไฟฟ้าในบางพื้นที่ มีรีแนทำให้เรือ 12 ลำล่มลง ทำลายหลังคาบ้าน 1,425 หลัง และถอนทำลายต้นไม้ประมาณ 5,000 ต้น[29]

พายุโซนร้อนกำลังแรงนิดา

1604 (JMA)・06W (JTWC)・การีนา (PAGASA)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 28 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงโอไมส์

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนโกนเซิน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 15 สิงหาคม
ความรุนแรง 85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงจันทู

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 17 สิงหาคม
ความรุนแรง 100 กม./ชม. (65 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
980 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.94 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 สิงหาคม – 20 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
985 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.09 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นไลออนร็อก

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 30 สิงหาคม
ความรุนแรง 165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นมินดุลเล

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 23 สิงหาคม
ความรุนแรง 120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนคมปาซุ

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 21 สิงหาคม
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นน้ำเทิน

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 31 สิงหาคม – 5 กันยายน
ความรุนแรง 140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เอนเตง

พายุโซนร้อนหมาเหล่า

พายุโซนร้อน (JMA)
ระยะเวลา 5 – 7 กันยายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นเมอรันตี

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 16 กันยายน
ความรุนแรง 220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
890 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.28 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฟร์ดี

พายุโซนร้อนราอี

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 14 กันยายน
ความรุนแรง 65 กม./ชม. (40 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุไต้ฝุ่นมาลากัส

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 20 กันยายน
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮเนร์

พายุไต้ฝุ่นเมกี

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 20 กันยายน
ความรุนแรง 155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
940 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.76 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: เฮเลน

พายุไต้ฝุ่นชบา

1618 (JMA)・21W (JTWC)・อิกเม (PAGASA)
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 กันยายน – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วปรอท)
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นชบา
  • วันที่ 26 กันยายน บริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนตะวันออกทำให้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน
  • วันที่ 27 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ก่อตัวขึ้นประมาณ 1,445 กิโลเมตร (898 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกวม แม้จะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยเพียงเล็กน้อย และพายุกำลังก่อตัวอย่างช้า ๆ หลังจากนั้นการพาความร้อนเริ่มสร้างต้นแบบของพายุดีเปรสชันเขตร้อน นอกจากนี้ ลมเฉือนที่อยู่ใกล้เคียงไม่แรงเกินไป ซึ่งเอื้อต่อการพัฒนา ขณะที่พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
  • วันที่ 28 กันยายน ดาวเทียมของนาซาได้เคลื่อนตัวผ่านใกล้กวมในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และเห็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่กำลังพัฒนาทางตะวันออกของกวม ซึ่งจะทำให้พายุกลายเป็นพายุโซนร้อนอย่างรวดเร็ว เครื่องวัดสเปกตรัมการถ่ายภาพความละเอียดปานกลางแสดงให้เห็นว่ามีพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงล้อมรอบศูนย์กลางของพายุ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดรหัสให้พายุว่า 21W และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดให้ชื่อว่า ชบา
  • วันที่ 29 กันยายน การวิจัยของนาซาแสดงให้เห็นว่าพายุที่มีอุณหภูมิสูงสุดของเมฆที่อากาศเย็นจัด ทำให้เกิดฝนตกหนักได้ ศูนย์กลางของพายุโซนร้อนชบาอยู่ห่างจากจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่นไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 1,627 กิโลเมตร (1,011 ไมล์) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) กล่าวว่าพายุกำลังจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในขณะที่เป็นสถานะพายุโซนร้อน ด้วยความเร็วลมต่อเนื่อง 1 นาทีที่ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (45 ไมล์ต่อชั่วโมง) และคาดการณ์ว่าพายุจะมีกำลังแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น
  • วันที่ 30 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อเวลา 08:00 น. (01:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ในเวลานี้ การพาความร้อนได้ปะทุขึ้นในพายุโซนร้อนชบาก่อตัวเป็นเมฆหนาแน่นตรงกลาง แต่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลต่ำในมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกเฉียงเหนือประกอบกับพายุครั้งก่อนได้ทำให้พลังงานส่วนใหญ่หมดไป ทำให้พายุโซนร้อนชบาพัฒนาความรุนแรงอย่างช้า ๆ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (60 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเวลา 22:00 น. (15:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ตั้งอยู่ประมาณ 1,503 กิโลเมตร (934 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และคาดว่าพายุโซนร้อนชบาจะเคลื่อนตัวเข้าจังหวัดโอกินาวะในอีก 3 วันข้างหน้า สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยจะส่งเสริมให้พายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • วันที่ 1 ตุลาคม พายุโซนร้อนชบาเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ และปากาซาได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า อิกเม ขณะที่มันเริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลายชั่วโมงต่อมา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น หลังจากที่โครงสร้างของพายุได้รับการพัฒนาอย่างมากมาย และต่อมาพายุไต้ฝุ่นชบาได้ประโยชน์จากกระแสน้ำที่พุ่งสูง แต่ความเร็วลมมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ตาพายุเริ่มขยายออก และเห็นได้ชัด ความกดอากาศของพายุต่ำลงเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นพยากรณ์ความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นชบาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
  • วันที่ 2 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบามีความสมมาตรมากขึ้นเมื่อแถบห่อหุ้มด้วยการพาความร้อนจากศูนย์กลาง ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการเพิ่มความเข้มข้นของการระเบิด สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 10 นาทีที่ 175 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (110 ไมล์ต่อชั่วโมง) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4
  • วันที่ 3 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบายังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้น และตาพายุก็ชัดเจนเช่นกัน กลุ่มเมฆหมุนเวียนมีความหนาแน่น และมีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การหมุนเวียนเริ่มส่งผลกระทบต่อชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศจีน ประเทศไต้หวัน เกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น และที่อื่น ๆ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) ทำให้พายุไต้ฝุ่นชบามีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 เมื่อเวลา 16:00 น. (09:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ลมแรงจากพายุแผ่ขยายออกไป 170 กิโลเมตร (105 ไมล์) จากศูนย์กลาง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) คาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นชบาจะเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนตะวันออก และทำการปรับระดับความรุนแรงต่อไป นอกจากนี้ ความเร็วลมสูงสุดของพายุอยู่ 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศต่ำสุดกลางของ 905 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.72 นิ้วของปรอท) หลังจากถึงระดับความรุนแรงสูงสุดแล้ว พายุยังคงความรุนแรง และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงเมื่อแกนกลางอสมมาตร
  • วันที่ 4 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเริ่มเคลื่อนตัวจากทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศเหนือ และค่อย ๆ อ่อนกำลังลงจากพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในเวลาต่อมา การอ่อนตัวลงของพายุอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ลดระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 อันเนื่องมาจากปฏิสัมพันธ์กับลมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) ศูนย์กลางของพายุอยู่ห่างประมาณ 420 กิโลเมตร (260 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซาเซโบะ ประเทศญี่ปุ่น และสร้างคลื่นทะเลที่สูงมาก ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมตั้งข้อสังเกตว่าความสูงของคลื่นที่มีนัยสำคัญสูงสุด 11 เมตร และตาพายุของพายุไต้ฝุ่นชบาก็จะมองไม่เห็นอีกต่อไป แรงลมเฉือนในแนวดิ่งทางตะวันตกเฉียงใต้เริ่มเพิ่มขึ้นเมื่อพายุเข้าใกล้กระแสลมพัดทางทิศตะวันตกมากขึ้นจะทำให้พายุอ่อนกำลังลง และได้คาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นชบาจะเคลื่อนตัวหันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และเคลื่อนตัวข้ามทะเลญี่ปุ่นไปพร้อมกับอากาศที่ร้อนจัด
  • วันที่ 5 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นชบาเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งปูซานด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (75 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลา 08:00 น. (01:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำเตือนเป็นครั้งสุดท้าย และลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และออกคำเตือนเป็นครั้งสุดท้ายเช่นกัน พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (55 ไมล์ต่อชั่วโมง) และตั้งอยู่ประมาณ 225 กิโลเมตร (140 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิวากูนิ จังหวัดยามางูจิ ประเทศญี่ปุ่น และทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะฮนชูเมื่อเวลา 16:00 น. (09:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์หมุนเวียนระดับต่ำได้รับลมภายนอก และไม่มีแถบพายุฝนฟ้าคะนองที่รอบศูนย์กลางอีกต่อไป ขณะที่พายุกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน

พายุไต้ฝุ่นชบาได้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างทั่วภาคใต้ของประเทศเกาหลีใต้ จึงทําให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย และมีผู้สูญหายอีก 4 ราย การคมนาคมขนส่งหยุดชะงัก และมีการยกเลิกเที่ยวบิน 100 เที่ยวบิน บ้านเรือนประสบปัญหาไฟฟ้าดับกว่า 200,000 หลัง[30] และความเสียหายโดยรวมประมาณ 129 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

พายุไต้ฝุ่นซงด่า

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 13 ตุลาคม
ความรุนแรง 185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
925 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.32 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกำลังแรงแอรี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 14 ตุลาคม
ความรุนแรง 110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
975 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.79 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ฮูเลียน

พายุไต้ฝุ่นซาเระกา

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมาก (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 19 ตุลาคม
ความรุนแรง 175 กม./ชม. (110 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
935 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.61 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: กาเรน
  • วันที่ 11 ตุลาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มออกประกาศคำแนะนำเกี่ยวกับพายุดีเปรสชัน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เฉตะวันออก (ESE) ของมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ระยะทาง 1,200 กม. (750 ไมล์)[31][32]
  • วันที่ 12 ตุลาคม การจัดระเบียบดำเนินไปต่อเนื่อง และต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ปรับเพิ่มระบบเป็นพายุดีเปรสชัน พร้อมกำหนดรหัสเรียกขานว่า 24W ตามลำดับ[33] โดย PAGASA เปิดเผยในภายหลังว่า 24W เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ และกำหนดชื่อพายุท้องถิ่นว่า กาเรน (Karen)[34]
  • วันที่ 13 ตุลาคม ภาพได้แสดงให้เห็นว่ามันมีเมฆศูนย์กลางระดับต่ำ (LLCC) และอธิบายว่ามัน "กว้างออก", และกาเรนยังตั้งอยู่ในพื้นที่ของอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลสูงที่ 31°ซ (88°ฟ)[35] ชั่วโมงถัดมา ทั้งสองหน่วยงานได้ปรับเพิ่มกาเรนเป็นพายุโซนร้อน โดย JMA ได้กำหนดชื่อพายุว่า ซาเระกา[36][37] ถึงอย่างไรก็ตาม ระบบมีการรักษาไว้ซึ่งการทวีกำลังแรงในเวลานั้น การพาความร้อนลึกมีการเพิ่มขึ้นและจัดรูปแบบเป็นแถบ เริ่มโอบรอบเข้าสู่ศูนย์กลางของมัน[38]
  • วันที่ 14 ตุลาคม สามชั่วโมงถัดมา ซาเระกาได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดย JMA[39] อีกไม่กี่ชั่วโมงถัดมา ซาเระกาเริ่มจัดรูปเค้าโครงตาพายุ และ JMA ได้ปรับเพิ่มความรุนแรงของซาเระกาเป็นพายุไต้ฝุ่น[40][41] หลังจากการอุปมาอุปมัยได้บรรยายให้เห็นภาพว่าการจัดระเบียบอย่างนัยสำคัญของการพาความร้อนรอบ ๆ ระบบ JTWC จึงได้ปรับเพิ่มความรุนแรงระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1[42]
  • วันที่ 15 ตุลาคม JTWC กล่าวว่า ซาเระกามีการขยายตัวขึ้นและมากขึ้น ด้วยการปรากฏของตาพายุที่รุ่งริ่งขนาดกว้าง 15 ไมล์ทะเล (28 กม. หรือ 17 ไมล์) พร้อมกับปรับเพิ่มความรุนแรงระบบเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2[43] ภายในคำแนะนำฉบับถัดไปของศูนย์ฯ ได้รายงานว่าซาเระกามีความรุนแรงมากเพิ่มขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3[44] ในระหว่างเวลาที่ JTWC จะออกประกาศฉบับถัดไป ซาเระกาได้ทวีกำลังแรงขึ้นสูงสุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 เป็นเวลาสั้น ๆ ด้วยความเร็วลมยั่งยืนใน 1 นาทีที่ 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) และความกดอากาศต่ำสุดที่ 935 มิลลิบาร์[45][46]
  • วันที่ 16 ตุลาคม ในช่วงแรกของวัน PAGASA แถลงว่าซาเระกาได้พัดขึ้นฝั่งที่บาเลร์ จังหวัดออโรรา[47] ทำให้มันเกิดการอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วขณะที่ซาเระกาเคลื่อนไปบนหมู่เกาะ ต่อมาพายุได้เข้าสู่ทะเลจีนใต้เพียงสิบสองชั่วโมงหลังจากนั้น ซาเระกาอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[48] ปัจจัยแวดล้อมซึ่งไม่ปรารถนา ทำให้ซาเระกาอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนขั้นน้อยสุด ในขณะที่พายุเริ่มเคลื่อนที่เบนออกจากเส้นทาง (ดริฟท์) ไปตามแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มุ่งไปยังประเทศเวียดนาม[49]

พายุไต้ฝุ่นไหหม่า

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 21 ตุลาคม
ความรุนแรง 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: ลาวิน
  • วันที่ 13 ตุลาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มติดตามเส้นทางเดินของพายุดีเปรสชันกำลังอ่อน ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะกวมไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เฉใต้ (SSE) ที่ระยะทาง 704 กม. (437 ไมล์)[50]
  • วันที่ 14 ตุลาคม ต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้กำหนดรหัสเรียกขานว่า 25W[51]
  • วันที่ 15 ตุลาคม อีกสามชั่วโมงถัดมา ในช่วงแรกของวัน JMA ระบุว่า 25W ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้กำหนดชื่อพายุว่า ไหหม่า[52] ในขณะเวลานั้น ไหหม่าได้ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งปรารถนา ด้วยปริมาณความจุความร้อนระดับสูงมากของผืนมหาสมุทร, ปริมาณลมเฉือนที่ต่ำมาก และอุณหภูมิพื้นผิวทะเล (SST) ที่อบอุ่น[53]
  • วันที่ 16 ตุลาคม สามชั่วโมงถัดมา ไหหม่า ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[54] ด้วยกระแสไหลออกแผ่รัศมีได้ดีมาก และยังคงตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมซึ่งปรารถนาอย่างสุดขีด ไหหม่า จึงได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 อย่างรวดเร็ว โดยในสุดท้าย PAGASA ได้ประกาศว่าไหหม่าเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ แล้ว และกำหนดชื่อให้กับพายุว่า ลาวิน (Lawin)
  • วันที่ 18 ตุลาคม ไหหม่ายังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้ทวีกำลังแรงที่สุดเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ในช่วงท้ายของวัน

พายุไต้ฝุ่นเมอารี

พายุไต้ฝุ่นกำลังแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 31 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.2 นิ้วปรอท)


พายุโซนร้อนหมาอ๊อน

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 8 – 13 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)


พายุโซนร้อนกำลังแรงโทกาเงะ

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 28 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
994 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.35 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: มาร์เซ


พายุไต้ฝุ่นนกเต็น

พายุไต้ฝุ่นรุนแรง (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 28 ธันวาคม
ความรุนแรง 195 กม./ชม. (120 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วปรอท)
ชื่อของ PAGASA: นีนา

พายุดีเปรสชันเขตร้อน

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 26 – 28 พฤษภาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 26 พฤษภาคม หลังจากเกือบหกเดือนที่แอ่งไม่มีพายุเลย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มเฝ้าสังเกตพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อน ซึ่งอยู่ถัดจากมรสุมภายในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 27 พฤษภาคม การหมุนเวียนมีเพิ่มขึ้น และพายุดีเปรสชันเขตร้อนบรรลุความรุนแรงที่ความกดอากาศต่ำสุด 998 มิลลิบาร์ ขณะที่มันกำลังพัดขึ้นฝั่งในเขตเยี่ยนเจียง ประเทศจีน
  • วันที่ 28 พฤษภาคม JMA ไม่ติดตามเส้นทางเดินพายุต่อ เนื่องจากมันถูกดูดกลืนเข้ากับแนวปะทะอากาศ

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 2

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 23 – 25 มิถุนายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 23 มิถุนายน สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มติดตามพายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้กึ่งตะวันตกของมะนิลา ฟิลิปปินส์ พายุดีเปรสชันเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกในช่วงเวลาสั้น ๆ จนกระทั่งหยุดนิ่งเหนือทะเลจีนใต้
  • วันที่ 25 มิถุนายน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม JMA จึงหยุดติดตามพายุดีเปรสชัน

อย่างไรก็ตาม เศษที่เหลือของพายุทำให้เกิดฝนตกหนักในภาคกลางของเวียดนาม

พายุดีเปรสชันเขตร้อนอัมโบ

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 26 – 28 มิถุนายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นเหนือทะเลฟิลิปปิน หลังจากนั้นไม่นาน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ในขณะนั้น PAGASA ได้เริ่มต้นติดตามระบบพายุ และใช้ชื่อกับดีเปรสชันว่า อัมโบ (Ambo)[55] ชั่วโมงถัดมา อัมโบได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่จังหวัดออโรรา ของฟิลิปปินส์ ซึ่ง PAGASA ได้ชี้ว่าอัมโบได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[56] ภายหลังที่พายุขึ้นฝั่ง JTWC ได้ยกเลิกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ในช่วงวันถัดไป ระบบได้ปรากฏในทะเลจีนใต้ พร้อมกับระดับความรุนแรงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้หยุดการเฝ้าระวังพายุลงหลังจากวันนั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 03W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 15 – 20 กรกฎาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 14 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำพัฒนาขึ้นใกล้กับทางตะวันตกเฉียงเหนือกึ่งตะวันตกของเกาะกวมที่ระยะ 400 กม. ณ เวลาที่การหมุนเวียนในชั้นแอทโมสเฟียร์รอบ ๆ ระบบขยายออก เหนือระบบกำลังอ่อนแต่การพัฒนาเกิดขึ้นในศูนย์กลางการไหลเวียนระดับต่ำ อย่างไรก็ตามที่แนวสันกึ่งเขตร้อนของความกดอากาศสูงกว้างออกไปมีผลนัยสำคัญให้อากาศแห้งปกคลุมเหนือความกดอากาศต่ำ ปัจจัยแวดล้อมถูกประเมินว่ามีขอบเขตที่สนับสนุนการพัฒนาของระบบ
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ระบบพัฒนามากขึ้นทีละน้อยในขณะที่มันเคลื่อนที่ไปในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ และได้รับการจัดเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)
  • วันที่ 17 กรกฎาคม หลังจากที่ระบบมีการรวมกันมากขึ้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้จัดระดับระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน 03W อย่างไรก็ตาม ระบบได้อ่อนกำลังลงขณะที่มันกำลังเคลื่อนตัวไปในแนวขั้วโลก ตลอดขอบตะวันตกของแนวสันกึ่งเขตร้อนของความกดอากาศสูง เข้าสู่พื้นที่ของลมเฉือนแนวตั้งที่เพิ่มขึ้น เป็นผลให้ JTWC คาดว่าระบบจะสลายตัวไปอย่างรวดเร็วและออกคำเตือนสุดท้ายในวันเดียวกันนั้นเลย

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 10

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 27 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 27 กรกฎาคม JMA ตรวจพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อนทางใต้ของญี่ปุ่น เป็นเวลาสั้น ๆ[57]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 12

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 28 – 29 กรกฎาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)
  • วันที่ 28 กรกฎาคม JMA ตรวจพบพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นในช่วงบ่ายของวัน[58]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม ต่อมา JMA ลดระดับความรุนแรงลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ[59]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 13

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 6 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
998 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.47 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 15

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 10 – 12 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 17

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 12 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 21

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 16 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 14W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 24 สิงหาคม
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 23

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 24 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 24

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 24 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1002 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.59 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 25

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 25 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 28

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา 27 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1006 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.71 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 30

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 30 – 31 สิงหาคม
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 17W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 12 กันยายน
ความรุนแรง <55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (1 นาที)
1012 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.88 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 39

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
Counterclockwise vortex
ระยะเวลา 15 – 16 ตุลาคม
ความรุนแรง 45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 41

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 1 – 4 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1000 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.53 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 42

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา 3 – 6 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1004 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.65 นิ้วปรอท)


พายุดีเปรสชันเขตร้อน 28W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 3 – 6 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (10 นาที)
1008 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.77 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

ภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ต่างทำหน้าที่กำหนดชื่อของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งก่อตัวภายในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นผลให้พายุหมุนเขตร้อนอาจมีสองชื่อ[60] RSMC โตเกียวโดยกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น — ศูนย์ไต้ฝุ่นจะกำหนดชื่อสากลให้กับพายุหมุนเขตร้อนในนามของคณะกรรมการไต้ฝุ่นขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งพวกเขาจะประมาณความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาทีของพายุหมุนเขตร้อน หากมีความเร็วลมถึง 65 km/h (40 mph) พายุหมุนเขตร้อนดังกล่าวจะได้รับชื่อ[61] ส่วน PAGASA จะกำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าหรือก่อตัวขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนภายในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ มีขอบเขตอยู่ระหว่างเส้นเมริเดียนที่ 135°ดะวันออก ถึง 115°ตะวันออก และระหว่างเส้นขนานที่ 5°เหนือ ถึง 25°เหนือ แม้ว่าพายุหมุนเขตร้อนลูกนั้นจะได้รับชื่อสากลแล้วก็ตาม[60] โดยชื่อของพายุหมุนเขตร้อนที่มีนัยสำคัญจะถูกถอนโดยทั้ง PAGASA และ คณะกรรมการไต้ฝุ่น[61] ในระหว่างฤดูกาล หากรายชื่อของภูมิภาคฟิลิปปินส์ที่เตรียมไว้ถูกใช้จนหมด PAGASA จะใช้ชื่อจากรายชื่อเพิ่มเติม ซึ่งถูกกำหนดขึ้นไว้ในแต่ละฤดูกาลมาใช้กับพายุหมุนเขตร้อนแทนชื่อที่หมดไป

ชื่อสากล

กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะเป็นหน่วยงานที่กำหนดชื่อให้กับพายุหมุนเขตร้อน เมื่อระบบได้รับการประมาณว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยภายใน 10 นาที ที่ 65 km/h (40 mph)[62] โดย JMA จะคัดเลือกชื่อจากรายการ 140 ชื่อ ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดย 14 ประเทศสมาชิกและดินแดนของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP)/WMO คณะกรรมการไต้ฝุ่น[63] โดยรายชื่อด้านล่างจะเป็นรายชื่อ พร้อมเลขรหัสพายุ ชื่อที่ใช้เป็นชื่อแรกของฤดูกาล 2559 คือ เนพาร์ตัก จากชุดที่ 4 และชื่อที่ใช้เป็นชื่อสุดท้ายคือ นกเต็น จากชุดที่ 5 รวมมีชื่อจากชุดรายชื่อถูกใช้ 26 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนสากลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในฤดูกาล 2559
ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ ชุด รหัสพายุ ชื่อพายุ
ชุดที่ 4 1601 เนพาร์ตัก
(Nepartak)
ชุดที่ 4 1608 เตี้ยนหมู่
(Dianmu)
ชุดที่ 4 1615 ราอี
(Rai)
ชุดที่ 5 1622 ไหหม่า
(Haima)
1602 ลูปิต
(Lupit)
1609 มินดุลเล
(Mindulle)
1616 มาลากัส
(Malakas)
1623 เมอารี
(Meari)
1603 มีรีแน
(Mirinae)
1610 ไลออนร็อก
(Lionrock)
1617 เมกี
(Megi)
1624 หมาอ๊อน
(Ma-on)
1604 นิดา
(Nida)
1611 คมปาซุ
(Kompasu)
1618 ชบา
(Chaba)
1625 โทกาเงะ
(Tokage)
1605 โอไมส์
(Omais)
1612 น้ำเทิน
(Namtheun)
1619 แอรี
(Aere)
1626 นกเต็น
(Nock-ten)
1606 โกนเซิน
(Conson)
1613 หมาเหล่า
(Malou)
1620 ซงด่า
(Songda)
1607 จันทู
(Chanthu)
1614 เมอรันตี
(Meranti)
ชุดที่ 5 1621 ซาเระกา
(Sarika)

ฟิลิปปินส์

สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) จะใช้ชื่อของตัวเองหากมีพายุใดก่อตัวหรือเคลื่อนผ่านพื้นที่รับผิดชอบของตน[64][65] โดยชื่อที่ใช้ถูกนำมาจากรายชื่อ เป็นรายชื่อเดียวกับที่ถูกใช้ไปในฤดูกาล ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) และมีกำหนดจะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ด้วย[64] ซึ่งรายชื่อทั้งหมดเหมือนเดิมกับครั้งก่อน เว้น เปปีโต (Pepito) ที่ถูกนำมาแทน ปาโบล (Pablo) ที่ถูกถอนไป[64] ส่วนชื่อที่ไม่ถูกใช้จะทำเป็น อักษรสีเทา

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนท้องถิ่นฟิลิปปินส์ในฤดูกาล 2559
อัมโบ (Ambo) เฟร์ดี (Ferdie) (1614) กาเรน (Karen) (1621) เปปีโต (Pepito) (ไม่ถูกใช้) ยูลิสซีส (Ulysses) (ไม่ถูกใช้)
บุตโชย (Butchoy) (1601) เฮเนร์ (Gener) (1616) ลาวิน (Lawin) (1622) กินตา (Quinta) (ไม่ถูกใช้) บิกกี (Vicky) (ไม่ถูกใช้)
การีนา (Carina) (1604) เฮเลน (Helen) (1617) มาร์เซ (Marce) (1625) รอลลี (Rolly) (ไม่ถูกใช้) วอร์เรน (Warren) (ไม่ถูกใช้)
ดินโด (Dindo) (1610) อินเม (Igme) (1618) นีนา (Nina) (1626) โชนี (Siony) (ไม่ถูกใช้) โยโยง (Yoyong) (ไม่ถูกใช้)
เอนเตง (Enteng) (1612) ฮูเลียน (Julian) (1619) โอเฟล (Ofel) (ไม่ถูกใช้) โตนโย (Tonyo) (ไม่ถูกใช้) โซซีโม (Zosimo) (ไม่ถูกใช้)
รายชื่อเพิ่มเติม
อาลักดัน (Alakdan) (ไม่ถูกใช้) กลารา (Clara) (ไม่ถูกใช้) เอสโตง (Estong) (ไม่ถูกใช้) การ์โด (Gardo) (ไม่ถูกใช้) อิสมาเอล (Ismael) (ไม่ถูกใช้)
บัลโด (Baldo) (ไม่ถูกใช้) เดนซีโย (Dencio) (ไม่ถูกใช้) เฟลีเป (Felipe) (ไม่ถูกใช้) เฮลิง (Heling) (ไม่ถูกใช้) ฮูลีโย (Julio) (ไม่ถูกใช้)

การถอนชื่อ

ภายหลังจากฤดูกาล คณะกรรมการไต้ฝุ่นได้ถอนชื่อ เมอรันตี, ซาเระกา, ไหหม่า และ นกเต็น ออกจากชุดรายชื่อ และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ได้มีการคัดเลือกชื่อ ญาโตะฮ์, ตรอเสะ, มู่หลัน และ หีนหนามหน่อ มาทดแทนชื่อดังกล่าวที่ถูกถอนไปตามลำดับ[66] ส่วนรายชื่อของฟิลิปปินส์ ภายหลังจากฤดูกาล PAGASA ได้ถอนชื่อ กาเรน (Karen), ลาวิน (Lawin) และ นีนา (Nina) ออกจากชุดรายชื่อ เนื่องจากสร้างความเสียหายรวมมากกว่า 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ โดยเลือกชื่อ กริสตีน (Kristine), เลโอน (Leon) และ นีกา (Nika) ขึ้นมาแทนที่ชื่อที่ถูกถอนไปตามลำดับ[67]

ผลกระทบ

ตารางนี้แสดงรายการพายุทั้งหมดที่ก่อตัวหรือพัฒนาขึ้นทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกไปถึงเส้นแบ่งเขตวันสากล และด้านเหนือของเส้นศูนย์สูตร ในช่วงปี พ.ศ. 2559 มันจะรวมความรุนแรง ระยะเวลา ชื่อ พื้นที่ได้รับผลกระทบ ผู้เสียชีวิต และ ความเสียหายของพายุ ส่วนระดับความรุนแรง จะยึดตามการประมาณของสำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ความเสียหายทั้งหมดจะแสดงเป็นตัวเลขในหน่วยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นค่าเงินปี ค.ศ. 2016 (พ.ศ. 2559) ความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิตจากพายุ จะนับรวมตั้งแต่พายุอยู่ในขั้นเริ่มต้น หรือ แม้จะกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนไปแล้ว

ชื่อพายุ ช่วงวันที่ ระดับความรุนแรง
ขณะมีกำลังสูงสุด
ความเร็วลมต่อเนื่อง
(เฉลี่ย 10 นาที)
ความกดอากาศ พื้นที่ผลกระทบ ความเสียหาย
(USD)
ผู้เสียชีวิต อ้างอิง
01W 26 – 28 พฤษภาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 45 กม./ชม.[# 1] 998 hPa จีน จีน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 2 23 – 25 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1006 hPa ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม เวียดนาม
&0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
อัมโบ 26 – 28 มิถุนายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีน
&0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เนพาร์ตัก
(บุตโชย)
2 – 10 กรกฎาคม พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 900 hPa ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
จีน จีน
&00000015154000000000001.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 86 [68][69][70]
03W 15 – 20 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม.[# 1] 1006 hPa ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ลูปิต 22 – 24 กรกฎาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 1000 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
มีรีแน 25 – 29 กรกฎาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 990 hPa จีน จีน
เวียดนาม เวียดนาม
ลาว ลาว
ไทย ไทย
&0000000289000000000000289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 5 [71]
ดีเปรสชัน 8 27 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
นิดา
(การีนา)
28 กรกฎาคม – ปัจจุบัน พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 970 hPa ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
&000000008900000000000089 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 4 [71]
ดีเปรสชัน 10 28 – 29 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โอไมส์ 3 – 9 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 975 hPa หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
รัสเซีย รัสเซียตะวันออกไกล
&0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 12 6 – 9 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 998 hPa ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
จีน จีนตะวันออก
&0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
โกนเซิน 7 – 15 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 985 hPa ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
รัสเซีย รัสเซียตะวันออกไกล
&0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 14 10 – 12 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1000 hPa ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตะวันออก
&0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
จันทู 11 – 17 สิงหาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 100 กม./ชม. 980 hPa ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
รัสเซีย รัสเซียตะวันออกไกล
&0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 16 12 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เตี้ยนหมู่ 15 – 19 สิงหาคม พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 985 hPa จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
ลาว ลาว
ประเทศพม่า พม่า
บังกลาเทศ บังกลาเทศ
&00000000069000000000006.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 9 [72]
ดีเปรสชัน 18 16 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 996 hPa จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
&0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ไลออนร็อก
(ดินโด)
16 – 30 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 165 กม./ชม. 940 hPa ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
รัสเซีย รัสเซีย
จีน จีน
เกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ
&0000000263400000000000263 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 158 [73]
มินดุลเล 17 – 23 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่น 120 กม./ชม. 975 hPa หมู่เกาะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&0000000000000000000000 ไม่ทราบ 2 [74]
ดีเปรสชัน 17 – 18 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
คมปาซุ 18 – 21 สิงหาคม พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 994 hPa ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
รัสเซีย รัสเซียตะวันออกไกล
&0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000
14W 23 – 24 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1000 hPa หมู่เกาะมาเรียนา &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 23 24 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 24 24 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 25 25 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1002 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 26 27 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1006 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ดีเปรสชัน 27 30 – 31 สิงหาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
น้ำเทิน
(เอนเตง)
31 สิงหาคม – 5 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 955 hPa ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
หมาเหล่า 5 – 7 กันยายน พายุโซนร้อน 75 กม./ชม. 1000 hPa ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
เมอรันตี
(เฟอร์ดี)
8 – 16 กันยายน Typhoon 220 กม./ชม. 890 hPa หมู่เกาะมาเรียนา
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีนตะวันออก
&00000026086300000000002.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 30 [75][76]
17W 11 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม.[# 1] 1000 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี
ราอี 11 – 14 กันยายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 996 hPa เวียดนาม เวียดนาม
กัมพูชา กัมพูชา
ลาว ลาว
ไทย ไทย
&00000000053800000000005.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 14 [77][78][79][80]
[81][82][83][84]
มาลากัส
(เฮเนร์)
12 – 20 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 930 hPa หมู่เกาะมาเรียนา
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&0000000000000000000000 ไม่ทราบ &0000000000000000000000 ไม่มี
เมกี (เฮเลน) 22 – 29 กันยายน พายุไต้ฝุ่น 155 กม./ชม. 945 hPa หมู่เกาะแคโรไลน์
ญี่ปุ่น หมู่เกาะรีวกีว
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
&0000000944700000000000945 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 24 [85][86]
ชบา (อิกเม) 24 กันยายน – 5 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 905 hPa หมู่เกะมาเรียนา
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
&000000001830000000000018.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 7 [30]
ซงด่า 4 – 13 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 925 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
แอรี
(ฮูเลียน)
4 – 10 ตุลาคม พายุโซนร้อนกำลังแรง 110 กม./ชม. 975 hPa ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
&0000000112000000000000112 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 35 [87]
ดีเปรสชัน 12 – 14 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1000 hPa จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
ลาว ลาว
กัมพูชา กัมพูชา
ไทย ไทย
ซาเระกา
(กาเรน)
13 – 19 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 175 กม./ชม. 935 hPa ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
จีน จีนตอนใต้
เวียดนาม เวียดนาม
&0000000756700000000000757 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 34 [88][89][90]
ไหหม่า
(ลาวิน)
14 – 21 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่น 215 กม./ชม. 900 hPa หมู่เกาะแคโรไลน์
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
สาธารณรัฐจีน ไต้หวัน
จีน จีน
ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
&00000019272900000000001.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 19 [90][91][92][93]
[94][95]
ดีเปรสชัน 15 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
เมอารี 30 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน พายุไต้ฝุ่น 140 กม./ชม. 960 hPa หมู่เกาะมาเรียนา &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ดีเปรสชัน 1 – 5 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 998 hPa หมู่เกาะมาเรียนา &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
ดีเปรสชัน 3 – 6 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa เกาะบอร์เนียว
เวียดนาม เวียดนาม
กัมพูชา กัมพูชา
&000000004800000000000048 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 15 [96][97]
หมาอ๊อน 8 – 13 พฤศจิกายน พายุโซนร้อน 65 กม./ชม. 1002 hPa ไม่มี ไม่มี ไม่มี
28W 9 – 12 พฤศจิกายน พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1008 hPa หมู่เกาะมาร์แชลล์ &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
โทกาเงะ
(มาร์เซ)
24 – 28 พฤศจิกายน พายุโซนร้อนกำลังแรง 95 กม./ชม. 992 hPa ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ &000000000003020000000030.2 พันดอลลาร์สหรัฐ 1 [98]
ดีเปรสชัน 10 – 13 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน 55 กม./ชม. 1004 hPa เวียดนาม เวียดนาม &000000005320000000000053.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 30 [99][100]
นกเต็น
(นีนา)
21 – 28 ธันวาคม พายุไต้ฝุ่น 185 กม./ชม. 915 hPa หมู่เกาะแคโรไลน
ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
&0000000103600000000000104 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 3 [101]
ดีเปรสชัน 27 ธันวาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อน ไม่ได้ระบุ 1004 hPa ไม่มี &0000000000000000000000 ไม่มี ไม่มี
สรุปฤดูกาล
50 ลูก 26 พฤษภาคม – 28 ธันวาคม   220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.) 890 hPa (26.28) นิ้วปรอท)   &00000096406500000000009.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ประมาณ &0000345328083000000000345 พันล้านบาท)[# 2]
873
  1. 1.0 1.1 1.2 ความเร็วลมเฉลี่ยใน 1 นาที
  2. อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยนที่นำมาใช้จากอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทยวันที่ 30 ธันวาคม 2559

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Saunders, Mark; Lea, Adam (May 6, 2015). Extended Range Forecast for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2016 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2559. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (July 6, 2015). July Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2016 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ July 6, 2016.
  3. 3.0 3.1 Saunders, Mark; Lea, Adam (August 8, 2015). July Forecast Update for Northwest Pacific Typhoon Activity in 2016 (PDF) (Report). Tropical Storm Risk Consortium. สืบค้นเมื่อ August 8, 2016.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Malano, Vicente B (January 8, 2016). January — June 2015 (Seasonal Climate Outlook). สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-03. สืบค้นเมื่อ 2016-01-17.
  5. 5.0 5.1 Cheng, Ming-Dean (June 28, 2016). "Less Typhoons due to La Niña, While Two to Four Expected to Hit Taiwan in 2016" (Press release). Taiwan Central Weather Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (doc)เมื่อ 2016-08-14. สืบค้นเมื่อ June 28, 2016.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Malano, Vicente B (July 15, 2016). July — December 2016 (Seasonal Climate Outlook). สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-04. สืบค้นเมื่อ 2016-01-17.
  7. Chi-ming, Shun (March 15, 2016). "Speech by Mr Shun Chi-ming, Director of the Hong Kong Observatory March 15, 2016" (PDF). Hong Kong Observatory. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-03. สืบค้นเมื่อ April 3, 2016.
  8. "การคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2559". กรมอุตุนิยมวิทยา. April 25, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 12, 2016. สืบค้นเมื่อ May 12, 2016.
  9. "WARNING AND SUMMARY 2016-06-30 12:00:00Z". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  10. "Tropical Weather Advisory 2 July 2016 06Z". ศูนย์ร่วมการเตือนไต้ฝุ่น. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  11. "WARNING AND SUMMARY 2016-07-02 00:00:00Z". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  12. "WARNING AND SUMMARY 2016-07-03 00:00:00Z". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  13. "Tropical Storm Nepartak, # 3". ศูนย์ร่วมเตือนไต้ฝุ่น. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  14. "Tropical Storm Nepartak, # 8". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  15. "RSMC TROPICAL CYCLONE ADVISORY 2016-07-05 00:00:00Z". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-05. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
  16. "'Typhoon Butchoy' enters Philippines". ซีเอ็นเอ็น ฟิลิปปินส์ (CNN Philippines). July 5, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-09. สืบค้นเมื่อ 2016-07-09.
  17. "Typhoon 'Butchoy' enters PAR". Philstar.com. July 5, 2016.
  18. "69 injured in Taitung as Typhoon Nepartak batters Taiwan". Focus Taiwan. July 8, 2016. สืบค้นเมื่อ July 8, 2016.
  19. 19.0 19.1 "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans July 22, 2016 06z". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐอเมริกา. July 22, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ 2016-08-20.
  20. "JMA WWJP25 Warning and Summary July 22, 2016 12z". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. July 22, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
  21. 21.0 21.1 "JTWC Prognostic Reasoning For Tropical Depression 04W July 23, 2016 15z". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐอเมริกา. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  22. "JTWC Prognostic Reasoning For Tropical Depression 04W July 24, 2016 03z". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐอเมริกา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ August 6, 2016.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 "Severe Tropical Storm Mirinae (1603) July 25-28, 2016". หอสังเกตการณ์ฮ่องกง. August 12, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-17. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
  24. 24.0 24.1 "Significant Tropical Weather Advisory for the Western and South Pacific Oceans July 25, 2016 02z". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐอเมริกา. July 25, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ 2016-08-20.
  25. 25.0 25.1 "JTWC Prognostic Reasoning For Tropical Depression 05W July 25, 2016 15z". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐอเมริกา. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-25. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
  26. "JTWC Prognostic Reasoning For Tropical Storm 05W July 26, 2016 09z". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐอเมริกา. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-27. สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.
  27. "台风公报" (ภาษาจีน). ศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติจีน. July 26, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2016. สืบค้นเมื่อ July 26, 2016.
  28. 28.0 28.1 ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมสหรัฐอเมริกา. "Tropical Storm 05W (Mirinae) Running Best Track Analysis". สืบค้นเมื่อ August 17, 2016.[ลิงก์เสีย]
  29. "Ten killed, missing as storm Mirinae pounds northern Vietnam". Tuoi Tre News. Tuoi Tre. สืบค้นเมื่อ July 31, 2016.
  30. 30.0 30.1 "Typhoon claims six lives in South Korea" (ภาษาอังกฤษ). Financial Times Bangladesh. 2016-10-06. สืบค้นเมื่อ 6 October 2016.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-12.
  32. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-12.
  33. "Tropical Depression 24W (Twenty-four) Warning Nr 001". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 12, 2016.[ลิงก์เสีย]
  34. "Severe Weather Bulletin #1: TROPICAL DEPRESSION "KAREN"". PAGASA. October 12, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  35. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 24W (Twenty-four) Warning Nr 04". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 13, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  36. "Tropical Storm 24W (Twenty-four) Warning Nr 005". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 13, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  37. "TS 1621 SARIKA (1621) UPGRADED FROM TD". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. October 13, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  38. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 24W (Sarika) Warning Nr 06". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 13, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  39. "STS 1621 SARIKA (1621) UPGRADED FROM TS". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. October 14, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  40. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 24W (Sarika) Warning Nr 09". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 14, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  41. "TY 1621 SARIKA (1621) UPGRADED FROM STS". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. October 14, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  42. "Prognostic Reasoning for Typhoon 24W (Sarika) Warning Nr 10". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 14, 2016.[ลิงก์เสีย]
  43. "Prognostic Reasoning for Typhoon 24W (Sarika) Warning Nr 12". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 15, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  44. "Prognostic Reasoning for Typhoon 24W (Sarika) Warning Nr 13". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 15, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  45. "Typhoon 24W (Sarika) Warning Nr 014". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 15, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  46. "TY 1621 SARIKA (1621)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. October 15, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  47. "Typhoon Karen makes landfall in Aurora". Rappler. October 16, 2016.
  48. "Prognostic Reasoning for Typhoon 24W (Sarika) Warning Nr 16". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 16, 2016.[ลิงก์เสีย]
  49. "Prognostic Reasoning for Typhoon 24W (Sarika) Warning Nr 17". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 16, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-18. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  50. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-13. สืบค้นเมื่อ 2016-10-13.
  51. "Tropical Depression 25W (Twenty-five) Warning Nr 001". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 14, 2016.[ลิงก์เสีย]
  52. "TS 1622 HAIMA (1622) UPGRADED FROM TD". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. October 15, 2016.[ลิงก์เสีย]
  53. "Prognostic Reasoning for Tropical Storm 25W (Haima) Warning Nr 02". ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม. October 15, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  54. "STS 1622 HAIMA (1622) UPGRADED FROM TS". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. October 16, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-09. สืบค้นเมื่อ 2016-10-20.
  55. "LPA becomes tropical depression; Signal No. 1 up over 7 areas". Inquirer. June 26, 2016.
  56. "TD Ambo makes landfall, weakens into LPA". GMA. June 27, 2016.
  57. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2016-07-27T18:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. Japan Meteorological Agency. July 27, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-28. สืบค้นเมื่อ July 28, 2016.
  58. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ gisc28jul
  59. "Marine Weather Warning for GMDSS Metarea XI 2016-07-29T00:00:00Z". WIS Portal – GISC Tokyo. สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น. July 29, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-28. สืบค้นเมื่อ July 29, 2016.
  60. 60.0 60.1 Padgett, Gary. "Monthly Tropical Cyclone Summary December 1999". Australian Severe Weather. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  61. 61.0 61.1 The Typhoon Committee (February 21, 2013). "Typhoon Committee Operational Manual 2013" (PDF). World Meteorological Organization. pp. 37–38. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-28. สืบค้นเมื่อ October 1, 2013.
  62. http://www.typhooncommittee.org/48th/docs/item%204%20technical%20presentations/4.1.Review2015TyphoonSeason.pdf
  63. Zhou, Xiao; Lei, Xiaotu (2012). "Summary of retired typhoons within the Western North Pacific Ocean". Tropical Cyclone Research and Review. The Economic and Social Commission for Asia and the Pacific/World Meteorological Organization's Typhoon Committee. 1 (1): 23–32. doi:10.6057/2012TCRR01.03. ISSN 2225-6032. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-12. สืบค้นเมื่อ December 21, 2014.
  64. 64.0 64.1 64.2 "Philippine Tropical Cyclone Names". Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ April 18, 2015.
  65. Patricia Lourdes Viray. "PHL ends 2015 with less typhoons; to decommission 2 killer cyclones". The Philippine Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-17. สืบค้นเมื่อ December 22, 2015.
  66. "List of Retired Tropical Cyclone Names | Typhoon Committee". www.typhooncommittee.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-09. สืบค้นเมื่อ 2018-03-04.
  67. "Philippine Tropical Cyclone Names". PAGASA. January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-28. สืบค้นเมื่อ January 17, 2017.
  68. "尼伯特颱風災害應變處置報告第 7 報(結報)" (PDF) (ภาษาจีน). ศูนย์ดำเนินการภาวะฉุกเฉินกลาง. July 9, 2016. สืบค้นเมื่อ July 15, 2016.[ลิงก์เสีย]
  69. ""尼伯特"重创福建福州 已致83人死亡19人失踪" (ภาษาจีน). ไชน่านิวส์เซอร์วิส. July 17, 2016. สืบค้นเมื่อ July 18, 2016.
  70. ""尼伯特"致福建69死6失踪 直接经济损失近百亿" (ภาษาจีน). ไชน่านิวส์เซอร์วิส. July 15, 2016. สืบค้นเมื่อ July 15, 2016.
  71. 71.0 71.1 "Phó Thủ tướng chỉ đạo ứng phó thiên tai, bão lũ" (ภาษาเวียดนาม). รัฐบาลเวียดนาม. August 8, 2016. สืบค้นเมื่อ August 8, 2016.
  72. "Tình hình kinh tế — xã hội 8 tháng năm 2016" (ภาษาเวียดนาม). General Statistics of Vietnam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2016. สืบค้นเมื่อ September 3, 2016.
  73. Talmadge, Eric. "Flooding caused by Typhoon Lionrock leaves more than 130 dead in North Korea". Global News. The Associated Press. สืบค้นเมื่อ 12 September 2016.[ลิงก์เสีย]
  74. "2 dead, 29 injured as Typhoon Mindulle hits Tokyo". Upi. August 23, 2016.
  75. "Death toll rises to 15 after typhoon batters China, Taiwan". CTVNews. September 17, 2016.
  76. "SitRep No. 9 re Preparedness Measures and Effects of Typhoon FERDIE (MERANTI)" (PDF). NDRRMC. September 21, 2016.
  77. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-24. สืบค้นเมื่อ 2016-09-21.
  78. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-19. สืบค้นเมื่อ 2016-09-21.
  79. http://www.quangtritv.vn/index.php/vi/news/THOI-SU/Trieu-Phong-Bao-so-4-gay-thiet-hai-tren-2-2-ty-dong-5645/[ลิงก์เสีย]
  80. http://baohatinh.vn/kinh-te/ha-tinh-uoc-thiet-hai-hon-47-ty-do-anh-huong-con-bao-so-4/120937.htm
  81. http://truyenhinhnghean.vn/kinh-te/201609/tan-ky-thiet-hai-hon-30-ty-dong-do-hoan-luu-cua-bao-so-4-682654.html[ลิงก์เสีย]
  82. http://vtv.vn/trong-nuoc/tich-cuc-khac-phuc-thiet-hai-do-su-co-thuy-dien-song-bung-2-20160917185051006.htm
  83. http://www.baoquangbinh.vn/tin-tuc-su-kien/201609/dong-chi-pho-chu-tich-ubnd-tinh-kiem-tra-cong-tac-khac-phuc-anh-huong-hoan-luu-bao-so-4-tai-bo-trach-2138437/
  84. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-24. สืบค้นเมื่อ 2016-09-21.
  85. "台风"鲇鱼"致3省200余万人受灾". 中华人民共和国民政部. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-31. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.
  86. "颱風梅姬農損逾25億 嘉義雲林最慘重". 中央社. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.แม่แบบ:Zh-tw
  87. "Tình hình kinh tế — xã hội 10 tháng đầu năm 2016" (ภาษาเวียดนาม). General Statistics of Vietnam. October 29, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-13. สืบค้นเมื่อ November 13, 2016.
  88. "Sitrep No. 08 re Preparedness Measures for Typhoon KAREN (SARIKA)" (PDF). NDRRMC. สืบค้นเมื่อ October 20, 2016.
  89. ""莎莉嘉"致海南广东广西300余万人受灾". 中华人民共和国民政部. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-10-24.
  90. 90.0 90.1 "Typhoons impact industries in southern China". Global Times. October 24, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-12-31.
  91. "SitRep No.9 re Preparedness Measures & Effects of Super TY LAWIN (I.N. HAIMA)" (PDF). NDRRMC. สืบค้นเมื่อ October 25, 2016.
  92. "13 dead, P3b lost in Lawin's wake". The Standard PH. October 21, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-12-31.
  93. "Typhoon Haima leaves one dead in Hong Kong as city counts the cost". South China Morning Post. October 21, 2016.
  94. "'Lawin': 18 dead, 40 thousand people still in shelters". Inquirer. October 22, 2016.
  95. ""海马"造成直接经济损失近50亿元". 中华人民共和国民政部. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-10-29.
  96. "Death Toll From Floods in Central Coastal Vietnam Reaches 15". Radio Free Asia. November 9, 2016.
  97. http://thanhnien.vn/thoi-su/mua-lu-cuon-troi-hon-1000-ti-dong-763151.html
  98. "Sitrep No. 04 re Preparedness Measures and Effects for TS MARCE (TOKAGE)" (PDF). NDRRMC. November 27, 2016.
  99. http://vnexpress.net/tin-tuc/thoi-su/24-nguoi-chet-do-mua-lu-mien-trung-tuan-qua-3515652.html
  100. http://phongchongthientai.vn/resources/files/ccsfc21121610404501--bao-cao-nhanh-ngay-20-12-2016.doc/[ลิงก์เสีย]
  101. "SitRep No.09 re Preparedness Measures for TY NINA (NOCK-TEN)" (PDF). NDRRMC. สืบค้นเมื่อ December 30, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya