Share to:

 

ลิงวอก

ลิงวอก
เพศผู้, ป่า Gokarna, ประเทศเนปาล
เพศเมียกับลูกที่Galtaji, ชัยปุระ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: อันดับวานร
อันดับย่อย: ฮาพลอไรนิ
Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
วงศ์: Cercopithecidae
สกุล: Macaca

(Zimmermann, 1780)[2]
สปีชีส์: Macaca mulatta
ชื่อทวินาม
Macaca mulatta
(Zimmermann, 1780)[2]
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[3]
ชื่อพ้องชนิด
  • Simia fulvus (Kerr, 1792)
  • Simia rhesus Audebert, 1798
  • Simia erythraea Shaw, 1800
  • Macaca nipalensis Hodgson, 1840
  • Macaca oinops Hodgson, 1840
  • Inuus sanctijohannis R. Swinhoe, 1866
  • Inuus sancti-johannis R. Swinhoe, 1866
  • Macacus lasiotus Gray, 1868
  • Macacus tcheliensis A. Milne-Edwards, 1872
  • Macacus vestitus A. Milne-Edwards, 1892
  • Macacus rhesus villosus True, 1894
  • Pithecus littoralis Elliot, 1909
  • Macaca siamica Kloss, 1917
  • Macaca mulatta mcmahoni Pocock, 1932

ลิงวอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Macaca mulatta) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับวานร (Primates) เป็นลิงที่มีร่างกายอ้วนสั้น บริเวณหลัง หัวไหล่ และตะโพกมีสีน้ำตาลปนเทา ส่วนบริเวณใต้ท้องและสีข้างมีสีอ่อนกว่า หางยาวประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ขนหางค่อนข้างยาวและฟู มีการผลัดขนประมาณช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมของทุกปี โดยจะเริ่มที่บริเวณปากก่อน หลังจากนั้นจึงจะเริ่มผลัดขนที่หลัง ตัวเมียอาจมีขนสีแดงในฤดูผสมพันธุ์ ขนที่หัวของลิงวอกจะชี้ตรงไปด้านหลัง ลิงตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย

มีความยาวลำตัวและหัว 47–58.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 20.5–28 เซนติเมตร น้ำหนัก 3–6 กิโลกรัม

มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่อัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของอินเดีย, เนปาล, พม่า, ภาคใต้ของจีน, ลาว, เวียดนาม และภาคตะวันตกของไทย โดยในประเทศ ปัจจุบันเชื่อว่า เหลืออยู่เพียงฝูงสุดท้ายแล้วที่วัดถ้ำผาหมากฮ่อ ในพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย[4] แต่จากข้อมูลล่าสุด ยังพบเห็นฝูงลิงวอกได้อีกที่บริเวณสะพานข้ามน้ำ หน่วยพิทักษ์ป่าศาลาพรม ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

มีพฤติกรรมชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป สมาชิกส่วนใหญ่ในฝูงประกอบไปด้วยลิงตัวเมียและลูก ๆ ตัวเมียในฝูงจะมีบทบาทสำคัญมากกว่าตัวผู้ แต่ลิงตัวผู้จะมีบทบาทในการปกป้องฝูง ลิงวอกเริ่มผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ 3–4 ปี ระยะตั้งท้องนาน 5–7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลิงตัวเมียจะอยู่กับฝูงไปจนตาย แต่ตัวผู้เมื่อโตขึ้น มักจะถูกขับไล่ให้ออกจากฝูง จากการศึกษาพบว่า ลิงวอกมีความสัมพันธ์กับชุมชนมนุษย์มาเป็นเวลานาน แต่การที่ลิงวอกมักเข้ามาอาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้ไม่กลัวคน ในบางครั้งจึงถูกจับฆ่าเพื่อนำมาทำเป็นอาหารและฆ่าเพื่อลดความรำคาญ

ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่ประชาชนทั่วไป สามารถ ขออนุญาตเลี้ยงได้ ตามกฎกระทรวงกำหนดชนิดของสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ. 2546 ส่วนใหญ่จะเลี้ยงไว้ใช้งาน เป็นลิงเก็บมะพร้าว ซึ่งเป็นอาชีพดังเดิมของคนไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้

อ้างอิง

  1. Singh, M.; Kumar, A.; Kumara, H.N. (2020). "Macaca mulatta". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T12554A17950825. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-2.RLTS.T12554A17950825.en. สืบค้นเมื่อ 10 January 2022.
  2. Groves, C. (2005-11-16). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 163. ISBN 0-801-88221-4.
  3. "Macaca mulatta". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  4. "บันทึกนักเดินทาง : ลิงวอกฝูงสุดท้ายในป่าเมืองไทย ?". สารคดี.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya