อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต (อังกฤษ : primate ) เป็นอันดับ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม อันได้แก่ สัตว์จำพวกลีเมอร์ , ลิง และลิงไม่มีหาง ซึ่งรวมถึงมนุษย์ ด้วย มีชื่อสามัญ เรียกกันโดยทั่วไปว่า ไพรเมต จึงกล่าวได้ว่าสามารถพบไพรเมตได้ทั่วโลก โดยไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในแอฟริกา , ตอนล่างของทวีปเอเชีย , อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่จะพบไพรเมตอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ในแถบตอนเหนือของทวีปเอเชีย จนถึงตอนเหนือของญี่ปุ่น หรือตอนเหนือของอเมริกา และเม็กซิโก โดยที่ไม่พบในทวีปยุโรป และทวีปโอเชียเนีย โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Primates
นิรุกติศาสตร์
คำว่า Primate มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน คำว่า "Primus" ซึ่งแปลว่า "ปฐม" หรือ"ที่หนึ่ง" หรือ"ผู้นำ" ซึ่งมีนัยว่าสัตว์ที่อยู่ในอันดับนี้ เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่เหนือสัตว์ทั้งมวล[ 1]
ลักษณะสำคัญ
มีนิ้ว มีเล็บ มือแบน แทนอุ้งเล็บหรือกีบ เช่น สัตว์อันดับอื่น ๆ
มีสูตรของฟัน เป็น 4 ประเภท คือ ฟันตัด , ฟันเขี้ยว , ฟันกรามหน้า และฟันกราม โดยฟันกรามหน้ามี 2 ยอด ฟันกรามมี 4 ยอด
มีนิ้วแรก ของมือ (เท้าหน้า) และเท้า สามารถเคลื่อนที่ตรงกันข้ามกับนิ้วอื่น ๆ ทำให้หยิบจับได้มั่นคงมากขึ้น
มีกระบอกตา และเบ้าตาล้อมรอบทางด้านหลังของกระดูก ทำให้แยกเบ้าตาออกจากกล่องสมองและตาอยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้างเห็นภาพลึกชัดและแยกแยะสี ต่าง ๆ ได้
เต้านม ลดจำนวนลงเหลือเพียง 1 คู่ บนหน้าอก ยกเว้นไพรเมตบางชนิดอาจมีเต้านมบนหน้าท้องด้วย
มีประสาทการดมกลิ่นไม่ดี มีการพัฒนาการลดลงมากกว่าสัตว์อื่น แต่จะไปพัฒนาประสาทการมองเห็นได้ดีกว่า
มีกระดูกไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แข็งแรง ทำให้ขาคู่หน้าสามารถหมุนได้จึงเคลื่อนที่ได้หลายแบบ
ระบบสืบพันธุ์เพศเมียมีวิวัฒนาการสูงประกอบด้วยการมีรอบเดือน ซึ่งพบทั้งลิงโลกเก่า , ลิงไม่มีหาง และมนุษย์
ต่อมเหงื่อ ปรากฏบนผิวหนัง ทั่วไป ต่างจากสัตว์อื่น ๆ ที่มักมีต่อมเหงื่อที่อุ้งมือ หรืออุ้งเท้า
มีขน เป็นหย่อม ๆ บนตัว เช่น ที่หัว, รักแร้ ไม่ได้กระจายตัวสม่ำเสมอเหมือนสัตว์อื่น ๆ
กล่องสมองค่อนข้างกลมและมีขนาดใหญ่ ช่องเปิดฟอราเมน แมกนัม มาอยู่ข้างล่างของกะโหลกทำให้กะโหลกและกระดูกสันหลังต่อกันในแนวยืนมากขึ้น[ 2]
การจำแนก
อันดับวานร หรือ อันดับไพรเมต
prosimians
ลิง
ลิงใหญ่
มนุษย์
ชะนี
หมายเหตุ ในอดีต กระแต ก็ถูกจัดให้อยู่ในอันดับนี้ด้วย ด้วยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีวิวัฒนาการร่วมกันมา[ 6]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
↑ "ตีแผ่ชีวิตชะนี" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-04-02. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19 .
↑ "ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2014-08-19. สืบค้นเมื่อ 2012-10-19 .
↑ Rylands, A. B. & Mittermeier, R. A. (2009). "The Diversity of the New World Primates (Platyrrhini)". In Garber, P. A., Estrada, A., Bicca-Marques, J. C., Heymann, E. W. & Strier, K. B.. South American Primates: Comparative Perspectives in the Study of Behavior, Ecology, and Conservation. Springer. ISBN 978-0-387-78704-6 .
↑ Mittermeier, R., Ganzhorn, J., Konstant, W., Glander, K., Tattersall, I., Groves, C., Rylands, A., Hapke, A., Ratsimbazafy, J., Mayor, M., Louis, E., Rumpler, Y., Schwitzer, C. & Rasoloarison, R. (December 2008). "Lemur Diversity in Madagascar". International Journal of Primatology 29 (6): 1607–1656.
↑ Groves, C. (2005). Wilson, D. E.; Reeder, D. M. eds. Mammal Species of the World (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press. pp. 111–184. OCLC 62265494. ISBN 0-801-88221-4 .
↑ หน้า 196, สัตว์สวยป่างาม (สิงหาคม, 2518) โดย ชมรมนิเวศวิทยามหาวิทยาลัยมหิดล
แหล่งข้อมูลอื่น
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน