ลินุกซ์มินต์ เป็นการแจกจ่ายลินุกซ์ ที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนโดยใช้ฐานของอูบุนตู (ซึ่งอูบุนตูเองนั้นก็ใช้ฐานมาจากเดเบียน ) ลินุกซ์มินต์มาพร้อม กับซอฟต์แวร์เสรีและเปิดเผยต้นทาง มากมาย[ 5] [ 6] ลินุกซ์มินต์รองรับมัลติมีเดีย ถ้าเลือกที่จะติดตั้งซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ เช่น โคเดก มัลติมีเดีย [ 7] เมื่อเปรียบเทียบกับอูบุนตู จะใช้อินเทอร์เฟซซินนามอน โดยปริยาย[ 8] โดยใช้เค้าโครงแบบดั้งเดิมที่แตกต่างออกไปซึ่งสามารถปรับแต่งได้โดยการลากแอปเพล็ตและสร้างพาเนล และสามารถดาวน์โหลดแอปเพล็ตเพิ่มเติมได้ [ 9]
Clément Lefèbvre เป็นผู้ก่อสร้างโครงการลินุกซ์มินต์ สร้างขึ้นโดย และยังได้รับการดูแลอย่างแข็งขันโดยทีมลินุกซ์มินต์ และชุมชน [ 10]
ความเป็นมา
การเปิดตัว
ลินุกซ์มินต์ทุกเวอร์ชันจะได้รับหมายเลขเวอร์ชันและชื่อรหัสด้วยชื่อผู้หญิงที่ลงท้ายด้วยอักษร 'a' และขึ้นต้นด้วยตัวอักษรตัวถัดไปทุกครั้งที่มีการแก้ไขครั้งสำคัญ [ 11] เวอร์ชัน 18 แตกต่างจากรูปแบบที่มีชื่อ 'ซาราห์' [ 12] แม้ว่าในภาษาอังกฤษจะยังคงใช้สระเสียงสุดท้ายเป็นเสียง 'a' เหมือนกับเวอร์ชันอื่น ๆ ทั้งหมด
เดิมทีนั้น ลินุกซ์มินต์ออกมาสองรุ่นต่อปี หลังจากการเปิดตัวลินุกซ์มินต์ 5 ในปี พ.ศ. 2551 ทุก ๆ รุ่นที่สี่จะมีป้ายกำกับว่าเป็นเวอร์ชันสนับสนุนระยะยาว (long-term support หรือ LTS) [ 13] เพื่อระบุว่าได้รับการสนับสนุน (พร้อมการอัปเดต) นานกว่าเวอร์ชันดั้งเดิม เวอร์ชัน 5 และ 9 มีการสนับสนุนสามปี และเวอร์ชัน LTS ทั้งหมดต่อไปนี้ได้รับการสนับสนุนห้าปี [ 14]
เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 มีการเปิดตัว ลินุกซ์มินต์17 [ 15] และทีมงานลินุกซ์มินต์ได้นำกลยุทธ์การเปิดตัวใหม่มาใช้ ตั้งแต่การเปิดตัวลินุกซ์มินต์ 17 เวอร์ชันในอนาคตทั้งหมดจะได้รับการวางแผนที่จะใช้อูบุนตู เวอร์ชัน LTS เป็นฐาน จนถึงปี พ.ศ. 2559 [ 16] ภายใต้กลยุทธ์นี้ ลินุกซ์มินต์ 17.1 เปิดตัวเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 [ 17] ลินุกซ์มินต์ 17.2 เปิดตัวเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 [ 18] และ ลินุกซ์มินต์ 17.3 เปิดตัวเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2558 [ 19] รุ่น 17.x มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อัปเกรดได้ง่ายและเป็นทางเลือก [ 20] ทั้งสามเวอร์ชันรวมการอัพเกรดสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อปซินนามอน และ มาเตและเครื่องมือลินุกซ์มินต์ต่างๆ นอกจากนี้ลินุกซ์มินต์ 17.2 และ 17.3 ยังรวมการอัปเกรดชุด LibreOffice [ 21] [ 22] ซีรีส์ 18.x เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนดโดยซีรีส์ 17.x โดยใช้ Ubuntu 16.04 LTS เป็นฐาน [ 12]
ลินุกซ์มินต์ไม่แจ้งวันที่เผยแพร่เวอร์ชันใหม่อย่างเจาะจง แต่จะเผยแพร่ 'เมื่อพร้อม' ซึ่งหมายความว่าสามารถเผยแพร่ได้ก่อนกำหนดการ หรือหลังกำหนดการเมื่อพบจุดบกพร่องที่สำคัญ [ 23] การประกาศเปิดตัวเวอร์ชันใหม่พร้อมเนื้อหาอื่นๆ อีกมากมายจะกระทำบนบนบล็อกลินุกซ์มินต์ [ 24]
เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2561 ทีมลินุกซ์มินต์ได้เผยแพร่ข่าวของลินุกซ์มินต์ 19 'ทารา' ทีมงานระบุว่ารุ่น 19.x จะใช้ GTK 3.22 และใช้อูบุนตู 18.04 LTS โดยจะรองรับจนถึงปี 2566 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2561 มีการเปิดตัวลินุกซ์มินต์ 19 'ทารา' ฉบับสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อปซินนามอน [ 25] จากนั้นในวันที่ 24 ธันวาคม 2562 มีการเปิดตัวลินุกซ์มินต์ 19.3 'ทริเซีย' โดยรับประกันการอัปเดตความปลอดภัยจนถึงปี 2023 [ 26]
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 มีการเปิดตัวลินุกซ์มินต์ 20 'อุลญานา' เป็นเวอร์ชัน LTS ที่รองรับจนถึงปี 568 [ 27] เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 มีการเปิดตัวลินุกซ์มินต์ 20.1 'อุลญานา' [ 28] ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2564 มีการเปิดตัวลินุกซ์มินต์ 20.2 'อูมา' [ 29] เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2022 มีการเปิดตัวลินุกซ์มินต์ 20.3 "อูมา"[ 30]
จนถึงปี 2557 มีการเปิดตัวลินุกซ์มินต์สองครั้งต่อปี ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากอูบุนตูได้เปิดตัวไป แต่ละรุ่นจะได้รับหมายเลขเวอร์ชันใหม่และรหัสชื่อ โดยใช้ชื่อผู้หญิงที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรที่มีดัชนีตัวอักษรตรงกับหมายเลขเวอร์ชันและลงท้ายด้วยตัวอักษร "a" (เช่น "เอลีซ่า" สำหรับเวอร์ชัน 5, "เฟลิเซีย" สำหรับเวอร์ชัน 6) นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชัน OEM เพื่อความสะดวกในการติดตั้งสำหรับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ [ 31]
อ้างอิง
↑ "Teams" . Linux Mint . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-07. สืบค้นเมื่อ 2013-04-19 .
↑ "Linux Mint 21.2 "Victoria" Cinnamon released! – The Linux Mint Blog" . 16 July 2023. สืบค้นเมื่อ 18 July 2023 .
↑ "Official Documentation" . Linux Mint . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2015. สืบค้นเมื่อ May 19, 2013 .
↑ "Downloads" . Linux Mint . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2013 .
↑ "FAQ" . Linux Mint . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ November 22, 2015. สืบค้นเมื่อ December 24, 2015 .
↑ Khamlichi, M.el. "Linux Mint History and Development" . Unixmen . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2015. สืบค้นเมื่อ December 24, 2015 .
↑ "Install Linux Mint" . Linux Mint Installation Guide . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-15. สืบค้นเมื่อ 2019-10-15 .
↑ "Download Linux Mint 21.1 - Linux Mint" . linuxmint.com . สืบค้นเมื่อ 2023-05-30 .
↑ "Applets" . Cinnamon Spices . สืบค้นเมื่อ 2023-05-30 .
↑ von Eitzen, Christopher (21 October 2013). "Q&A: Clement Lefèbvre: The man behind Linux Mint" . Network World . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2015. สืบค้นเมื่อ December 24, 2015 .
↑ "Linux Mint Releases" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ July 15, 2014. สืบค้นเมื่อ July 17, 2014 .
↑ 12.0 12.1 Lefèbvre, Clement (January 7, 2016). "Linux Mint 18 codenamed "Sarah" " . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2016. สืบค้นเมื่อ January 7, 2016 . อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":0" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
↑ "Full focus on Linux Mint 5 – The Linux Mint Blog" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 9 January 2008. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-12. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25 .
↑ "All Versions - Linux Mint" . www.linuxmint.com . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-29. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25 .
↑ Lefèbvre, Clement (May 31, 2014). "Linux Mint 17 "Qiana" Cinnamon released!" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 1, 2015. สืบค้นเมื่อ May 31, 2014 .
↑ "Mint 17 is the perfect place for Linux-ers to wait out Ubuntu uncertainty" . Ars Technica . 24 June 2014. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2014. สืบค้นเมื่อ 14 June 2017 .
↑ Lefèbvre, Clement (November 29, 2014). "Linux Mint 17.1 "Rebecca" Cinnamon released!" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2016. สืบค้นเมื่อ November 29, 2014 .
↑ Lefèbvre, Clement (June 30, 2015). "Linux Mint 17.2 "Rafaela" Cinnamon released!" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 14, 2015. สืบค้นเมื่อ September 21, 2015 .
↑ Lefèbvre, Clement (December 4, 2015). "Linux Mint 17.3 "Rosa" MATE released!" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 12, 2017. สืบค้นเมื่อ December 24, 2015 .
↑ "New features in Linux Mint 17 Cinnamon" . Linux Mint . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2015-09-12. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21 .
↑ "New features in Linux Mint 17.2 Cinnamon" . Linux Mint . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-12-24. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21 .
↑ "New features in Linux Mint 17.3 Cinnamon" . Linux Mint . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2015-12-24 .
↑ Jelic, Ivan (June 10, 2009). "Linux Mint 7 "Gloria" " . LWN.net . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2013. สืบค้นเมื่อ June 2, 2013 .
↑ "News from the Mint Team" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-05 .
↑ Lefèbvre, Clement (June 29, 2018). "Linux Mint 19 "Tara" Cinnamon released!" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ August 3, 2020. สืบค้นเมื่อ September 20, 2018 .
↑ Lefèbvre, Clement (December 18, 2019). "Linux Mint 19.3 "Tricia" Cinnamon released!" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ December 25, 2020. สืบค้นเมื่อ December 18, 2019 .
↑ "Linux Mint 20 "Ulyana" Cinnamon released!" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-25. สืบค้นเมื่อ 2020-06-27 .
↑ Lefèbvre, Clement (January 8, 2021). "Linux Mint 20.1 "Ulyssa" Cinnamon released!" . The Linux Mint Blog . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ January 8, 2021. สืบค้นเมื่อ January 13, 2021 .
↑ "Linux Mint 20.2 "Uma" Cinnamon released! – The Linux Mint Blog" . blog.linuxmint.com . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-20. สืบค้นเมื่อ 2021-07-11 .
↑ Gloor, Jordan. "What's New in Linux Mint 20.3 "Una," Available Now" . How-To Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-30. สืบค้นเมื่อ 2022-03-25 .
↑ "Download – Linux Mint" . linuxmint.com. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2007. สืบค้นเมื่อ 10 May 2016 .