วัดหัวลำโพง
วัดหัวลำโพง พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อ "วัดวัวลำพอง" สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์[1] เป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดหัวลำโพงและมูลนิธิร่วมกตัญญู วัดหัวลำโพงตั้งอยู่ติดกับสถานีสามย่าน รถไฟฟ้ามหานคร ติดกับโค-เวิร์กกิงสเปซ Too Fast To Sleep ตรงกันข้ามฝั่งถนนกับ สามย่านมิตรทาวน์ จตุรัสจามจุรี และ คริสตจักรสามย่าน ประวัติวัดหัวลำโพง เดิมชื่อ "วัดวัวลำพอง" เป็นวัดราษฎร์ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างวัด แต่คาดว่าคงสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์จากการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเก่าและเจดีย์ดั้งเดิมของวัด เชื่อกันว่าหลังจากในปี พ.ศ. 2310 อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงและถูกทำลาย ชาวบ้านบางส่วนที่หนีตายออกมาได้อพยพครอบครัวลงมาทางใต้และตั้งถิ่นฐานที่บริเวณวัดหัวลำโพงในปัจจุบัน เนื่องด้วยเห็นว่าเป็นทำเลที่ยังไม่มีเจ้าของ มีลำคลองเชื่อมโยงสะดวกต่อการสัญจร ต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัวจึงได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นสำหรับชุมชนชื่อ วัดวัวลำพอง ตามความนิยมที่ชื่อของวัดจะพ้องกับชื่อหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างทางรถไฟขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และพระราชทานนามแด่สถานีกรุงเทพฯ ว่า สถานีหัวลำโพง ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดวัวลำพอง ประมาณ 2 กิโลเมตร ราวปีพ.ศ. 2447 จากหลักฐานและคำบอกเล่ากล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯไปทอดพระกฐิน ณ วัดต่าง ๆ สามแห่ง ตามลำดับคือ วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) วัดตะเคียน (วัดมหาพฤฒาราม) และวัดวัวลำพอง (วัดหัวลำโพง) ในการเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐิน ที่วัดวัวลำพองนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดเสียใหม่ พระราชทานนามว่า วัดหัวลำโพง และทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์เจ้าอาวาสคือ พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาธุระที่มีชื่อเสียงองค์หนึ่งในครั้งนั้น วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะวัดขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[2] ตำนานเรื่องนี้เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2510 เป็นเรื่องราวของคู่รักที่เป็นเพศเดียวกัน ก็คือ ประโนตย์ วิเศษแพทย์ และสมชาย แก้วจินดา โดยนำศพทั้งคู่ตั้งไว้เคียงกัน ณ วัดหัวลำโพง อ้างอิง
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ วัดหัวลำโพง |