Share to:

 

ประโนตย์ วิเศษแพทย์ และสมชาย แก้วจินดา

การเสียชีวิตของ ประโนตย์ วิเศษแพทย์ และสมชาย แก้วจินดา
วันที่ประโนตย์ เสียชีวิต 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510, สมชาย เสียชีวิต 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2510
เวลาประโนตย์ ไม่ทราบเวลาเสียชีวิตอย่างแน่ชัด, สมชาย เสียชีวิต ประมาณ 12.00 (GMT+7)
ที่ตั้งบ้านพักส่วนตัวของทั้งคู่ ย่านซอยสวนพลู กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ประเภทการอัตวินิบาตกรรม
สาเหตุสันนิษฐานว่าเป็นความหึงหวง และความหวาดระแวง
เหตุจูงใจสันนิษฐานว่าคนรักมีคนอื่น
เป้าหมายดูในบทความ
ผู้รายงานคนแรกบุคคลภายในครอบครัว และเพื่อนบ้าน
ผลตำนานโลงคู่ วัดหัวลำโพง
เสียชีวิต
  • ประโนตย์ วิเศษแพทย์
  • สมชาย แก้วจินดา
ฝังศพฌาปนกิจทั้งคู่ ณ วัดหัวลำโพง ถนนพระรามที่ 4 แขวง สี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ไต่สวนบ้านพักของทั้งคู่
ชันสูตรเสียชีวิตจากการอัตวินิบาตกรรม
จนท. ชันสูตรคณะแพทย์ มากกว่า 1 - 5 คน
ต้องสงสัยเรื่องคู่รัก หรือมือที่สาม

ประโนตย์ วิเศษแพทย์ และสมชาย แก้วจินดา หรือที่รู้จักในชื่อ ตำนานโลงคู่วัดหัวลำโพง ประโนตย์-สีดา โดยทั้งคู่เป็นคู่รักกันที่เป็น เพศเดียวกัน ซึ่งนับเป็นกลุ่มคู่รักเพศเดียวกันที่พูดถึงวงกว้างในสังคมไทยในช่วงปี 2510 [1] และภายหลังยังถูกนำมาถ่ายทอดเรื่องราวของทั้งคู่ผ่านบทเพลง รวมถึงนวนิยาย และภาพยนตร์อยู่บ่อยครั้ง อาทิ "สีดา" (2532) ดนุพล แก้วกาญจน์ โดยมีครูน้อย - สุรพล โทณะวณิก ศิลปินแห่งชาติประจำปี 2540 เป็นผู้แต่งเนื้อร้อง[2] รวมถึงนวนิยาย ม่านนางรำ (2547)[3] และภาพยนตร์ สีดา ตำนานรักโลงคู่ (2563)

ประโนตย์ วิเศษแพทย์

ประโนตย์ วิเศษแพทย์ ชื่อเล่น โนตย์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 และเสียชีวิตวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 (28 ปี) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เป็นบุตรชาย ของนายยงค์ และหม่อมหลวงหญิงบุญนาค วิเศษแพทย์ ซึ่งครอบครัวมีฐานะดี ประโนตย์มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน และประโนตย์เป็นเพียงบุตรชายเพียงคนเดียวของครอบครัววิเศษแพทย์ โดยประโนตย์ มีลักษณะเหมือนกับผู้หญิงตั้งแต่เด็ก จนเป็นผู้ใหญ่[4]

การศึกษา

ประโนตย์ เริ่มเข้าศึกษาในระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนใกล้บ้าน ย่านซอยสวนพลู ประมาณปี พ.ศ. 2492 ประโนตย์ มีความสนใจในการแสดงตั้งแต่เด็ก ประโนตย์ตัดสินใจสอบเข้าเรียนต่อที่ โรงเรียนนาฏศิลป กรมศิลปากร (วิทยาลัยนาฏศิลปในปัจจุบัน) โดยทางครอบครัวสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไม่เคยว่ากล่าวประโนตย์ในทางที่ไม่ดี

การแสดง และการสวมบทบาทสตรีเพศ

ประโนตย์ ได้ฝึกรำเป็นนางสีดา อยู่นาน จนประโนตย์ ได้คัดเลือกให้เป็นนางสีดา และประโนตย์ได้ทำการแสดงให้ผู้ชมได้ดู โดยนางสีดา ที่ประโนตย์ ได้ทำการแสดงนั้นเหมือนกับผู้หญิงจริงๆ มีความเป็นผู้หญิงมาก โดยในช่วงนั้น สังคมไทย ยังไม่ยอมรับในตัวกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ ประโนตย์ได้แอบไปแสดงโขน ในสถานที่ข้างนอก โดยทางโรงเรียนไม่ได้อนุญาตให้นำโขนไปเล่นในสถานที่ข้างนอก การแสดงของประโนตย์ ได้ยุติลง เพียงเวลา 3 ปี

มูลเหตุ

ประโนตย์ได้รู้สึกหวาดระแวง และหึงหวง กลัวว่าสมชายจะไปมีคนอื่น ประโนตย์ จึงตัดสินใจพาสมชาย ไปสาบานต่อต่อกันที่ วัดพระแก้ว และศาลหลักเมือง[5] ต่อมาหลังจากทั้งคู่ทะเลาะกัน สุดท้ายทั้งคู่จึงตัดสินใจแยกกันอาศัย

การฆ่าตัวตาย

ประโนตย์ พยายามฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนในคืนวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ประโนตย์ได้ดื่มยาพิษฆ่าตัวตายที่บ้านพักของเธอ[6] ศพของประโนตย์ตั้งไว้ ณ วัดหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร

หลังจากสมชายทราบข่าว จึงเศร้าเสียใจเป็นอย่างมาก เขาตัดสินใจดื่มยาฆ่าแมลงฆ่าตัวตายตามประโนตย์ในเดือนเดียวกัน จากนั้นญาตินำศพของสมชาย มาตั้งเคียงคู่กับประโนตย์ และฌาปนกิจศพทั้งคู่พร้อมกัน ณ วัดหัวลำโพง

สิ่งสืบเนื่อง

เพลง

ภาพยนตร์

อ้างอิง

  1. "เทียบตัวจริง Vs ในหนัง ถ่ายทอดเรื่องราว สีดา ตำนานรักโลงคู่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-10. สืบค้นเมื่อ 2022-02-10.
  2. [พ.ศ. 2498-2510 โศกนาฎกรรมความรักชายรักชาย สู่ตำนานโลงคู่ ณ วัดหัวลำโพง]
  3. เรืองจริงในนิยาย สีดา นางรำสาวประเภทสอง ในนวนิยาย ม่านนางรำ
  4. "ตำนานรัก "โลงคู่" วัดหัวลำโพง". www.sanook.com/horoscope.
  5. ตำนานรัก "โลงคู่" วัดหัวลำโพง
  6. สีดารักโลงคู่ : ความจริงไม่ตาย (2 ม.ค. 61), สืบค้นเมื่อ 2021-10-01
  7. สีดา - แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ [Official Music Video], สืบค้นเมื่อ 2021-10-01
  8. สิงโต นำโชค - สีดา OST. สีดา ตำนานรักโลงคู่ [Official Lyrics Video], สืบค้นเมื่อ 2021-10-01
  9. สีดา ตำนานรักโลงคู่ | Seeda - Official Trailer [ซับไทย], สืบค้นเมื่อ 2021-10-01
Kembali kehalaman sebelumnya