ศาสนาในประเทศโซมาเลียศาสนาหลักในประเทศโซมาเลียคือศาสนาอิสลาม[2] และมีชนกลุ่มน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ พื้นเมืองแอฟริกา และอื่น ๆ ศาสนาประจำชาติอิสลามพลเมืองส่วนใหญ่ในประเทศโซมาเลียเป็นมุสลิม[3] บางข้อมูลระบุว่ามีผู้นับถือนิกายซุนนีถึงร้อยละ 99 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งดำเนินตามสำนัก[[ชาฟิอี][4] อย่างไรก็ตาม การสำรวจของสำนักวิจัยพิวในประเทศจิบูตี ประเทศเพื่อนบ้านทางตะวันตกเฉียงเหนือที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวโซมาลี พบว่ามีรายงานมุสลิมในบริเวณนั้นนับถือนิกายซุนนีร้อยละ 77 ไม่อิงนิกายร้อยละ 8 ชีอะฮ์ร้อยละ 2 ไม่ระบุคำตอบร้อยละ 13 และรายงานเพิ่มเติมในภูมิภาคโซมาลีระบุว่ามีผู้นับถือร้อยละ 2 ที่นับถือนิกายส่วนน้อย (เช่น อิบาฎียะฮ์, คอรานิซึม ฯลฯ)[5][6][7] ลัทธิศูฟี รหัสยลัทธิของศาสนาอิสลาม ยังเป็นที่ยอมรับอย่างดี โดยมี jama'a ท้องถิ่น (zawiya) จากสำนักศูฟี tariiqa หลายกลุ่ม[8] รัฐธรรมนูญโซมาเลีย มาตราที่ 3 ระบุให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และชะรีอะฮ์เป็นแหล่งที่มาพื้นฐานสำหรับกฎหมายระดับชาติ นอกจากนี้ยังกำหนดว่าจะต้องไม่มีกฎหมายใดที่ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของชะรีอะฮ์ที่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ มาตราที่ 11 รับรองสิทธิและเสรีภาพที่เท่าเทียมกันจากการกดขี่ข่มเหงพลเมืองทุกคนก่อนกฎหมายโดยไม่คำนึงถึงศาสนา นอกจากนี้ มาตรา 17 คุ้มครองเสรีภาพในการนับถือศาสนา[9] ประวัติ
ชนกลุ่มน้อยคริสต์ศาสนาคริสต์เข้ามายังพื้นที่ชายฝั่งโซมาเลียในคริสต์ศตวรรษที่ 7[10] ณ ค.ศ. 2021 มีชาวคริสต์ท้องถิ่นอย่างน้อยไม่กี่คนในโซมาลีแลนด์[11] มุขมณฑลโมกาดิชูรายงานว่ามีผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกอย่างเป็นทางการประมาณ 100 คนในโซมาเลียเมื่อ ค.ศ. 2004[12] ความเชื่อพื้นเมืองสำนักวิจัยพิวรายงานว่า ประชากรโซมาเลียน้อยกว่าร้อยละ 0.01 ใน ค.ศ. 2010 นับถือศาสนาพื้นเมืองหรือศาสนาพื้นเมืองแอฟริกา[13] อื่น ๆสำนักวิจัยพิวรายงานว่ามีประชากรโซมาเลียน้อยกว่าร้อยละ 0.01 ใน ค.ศ. 2010 นับถือศาสนาฮินดู พุทธ หรือไม่มีศาสนา[13] เสรีภาพในการนับถือศาสนารัฐธรรมนูญโซมาเลียให้สิทธิของบุคคลในการนับถือศาสนาของตน ทำให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ห้ามเผยแพร่ศาสนาอื่นใดนอกจากศาสนาอิสลาม (แม้ว่าไม่ได้ห้ามการเปลี่ยนศาสนาโดยตรง) และกำหนดกฎหมายทั้งหมดต้องเป็นไปตามหลักการทั่วไปของกฎหมายศาสนาอิสลาม โดยไม่มีการยกเว้นสำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม รัฐบาลกลางโซมาเลียมีความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายจำกัดเพียงเกรตเตอร์โมกาดิชู พื้นที่อื่นในโซมาเลียส่วนใหญ่อยู่นอกเขตควบคุม[14] รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้ประธานาธิบดีต้องเป็นมุสลิม (แต่ไม่ใช่ผู้ดำรงตำแหน่งคนอื่น ๆ) ไม่มีสถานที่สักการะสาธารณะสำหรับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในประเทศ นอกจากท่าอากาศยานนานาชาติ[14] เนื่องจากสงครามกลางเมืองโซมาเลีย การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยรัฐบาลปกครองตนเองหลายแห่งในภูมิภาคนั้นไม่สอดคล้องกัน โดยทั่วไป ฝ่ายตุลาการในพื้นที่ส่วนใหญ่จะอาศัย xeer (กฎหมายจารีตประเพณี) ชะรีอะฮ์ และประมวลกฎหมายอาญา[14] ใน ค.ศ. 2023 ประเทศนี้ได้คะแนนเสรีภาพทางศาสนาในระดับศูนย์จาก 4[15] และในปีเดียวกัน ประเทศนี้ได้รับการจัดอันดับเป็นสถานที่ที่เลวร้ายที่สุดสำหรับชาวคริสต์เป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงเกาหลีเหนือ[16] มุมมองสังคม
อ้างอิง
|