Share to:

 

ศิลปะคนนอก

Adolf Wölfli's Irren-Anstalt Band-Hain, 1910

ศิลปะคนนอก (อังกฤษ: Outsider art) คำว่า “Outsider art” เป็นคำที่คิดขึ้นโดยนักวิพากษ์ศิลป์โรเจอร์ คาร์ดินัลในปี ค.ศ. 1972 ที่พ้องกับคำในภาษาอังกฤษว่า “art brut” (ศิลปะดิบ หรือ ศิลปะหยาบ) ซึ่งเป็นคำที่คิดขึ้นโดยศิลปินฝรั่งเศสฌอง ดูบูฟเฟต์ในการบรรยายศิลปะที่สร้างนอกกรอบของวัฒนธรรมที่เป็นทางการโดยทั่วไป ดูบูฟเฟต์เน้นโดยเฉพาะศิลปะที่สร้างโดยคนไข้ในโรงพยาบาลโรคจิต[1]

ขณะที่คำที่ใช้โดยดูบูฟเฟต์มีความหมายค่อนข้างเฉพาะเจาะจง แต่คำว่า “Outsider art” หรือ “ศิลปะคนนอก” เป็นคำที่มีความหมายกว้างกว่า และรวมงานศิลปะที่สร้างโดยผู้ที่ศึกษาศิลปะด้วยตนเอง หรือผู้สร้างงานศิลปะแบบที่เรียกว่าศิลปะไร้มายา (Naïve art) โดยทั่วไปแล้วศิลปินคนนอกแทบจะไม่มีหรือไม่มีการติดต่อกับโลกศิลปะหรือสถาบันศิลปะ และในหลายกรณีงานศิลปะของศิลปินเหล่านี้มาพบเองเมื่อตัวศิลปินเสียชีวิตไปแล้ว ส่วนใหญ่แล้วศิลปะคนนอกจะเป็นศิลปะที่แสดงถึงความกดดันทางจิตใจอย่างสูง, ความคิดที่นอกแนว หรือเป็นโลกของแฟนตาซีอันซับซ้อน

ศิลปะคนนอกเริ่มเป็นประเภทของศิลปะที่ประสบความสำเร็จในตลาด ถึงกับมีงานแสดงประจำปีเช่นงานแสดงประจำปีของศิลปะคนนอกที่จัดขึ้นที่นิวยอร์กมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 คำนี้บางครั้งก็นำมาใช้เพื่อการตลาดที่หมายถึงศิลปะที่สร้างขึ้นโดยผู้ที่ไม่ได้อยู่ในวงการศิลปะไม่ว่าจะเป็นลักษณะใดหรือเนื้อหาใด

ในปี ค.ศ. 1991 ก็ได้มีการตั้งองค์การที่อุทิศให้กับการศึกษา, การจัดนิทรรศการ และการเผยแพร่งานศิลปะคนนอกในชิคาโก อินทิวอิท: ศูนย์เพื่อศิลปะริเริ่มและศิลปะคนนอก (Intuit: The Center for Intuitive and Outsider Art) เป็นศูนย์ที่ยอมรับกันว่าเป็นศูนย์สำหรับศิลปินคนนอกผู้สอนตนเองเช่น -- เฮนรี ดาร์เจอร์, โจเซฟ โยคัม, ลี โกดี, วิลเลียม ดอว์สัน, เดวิด ฟิลพ็อต, และ เวสลีย์ วิลลิส ศูนย์มีพิพิธภัณฑ์ที่จัดการแสดงภาพของศิลปินคนนอก และผู้สอนตนเองในการสร้างงานศิลปะ

อ้างอิง

  1. Roger Cardinal, Outsider Art, London, 1972
  • Intuit: The Center for Intuitive and Outsider Art; Chicago; presents exhibitions of outsider art

ดูเพิ่ม

  • Bandyopadhyay, S. and I. Jackson, The Collection, the Ruin and the Theatre: architecture, sculpture and landscape in Nek Chand's Rock Garden, Chandigarh Liverpool, Liverpool University Press, 2007.
  • Greg Bottoms, I Colori dell'Apocalisse - Viaggi nell'outsider art, Odoya, Bologna 2009 ISBN 978-88-628-8026-8
  • Roger Cardinal, Outsider Art, London, 1972.
  • Roger Cardinal, Art Brut. In: Dictionary of Art, Vol. 2, London, 1996, p. 515-516.
  • Marc Decimo, Les Jardins de l'art brut, Les presses du réel, Dijon (France), 2007.
  • Turhan Demirel, "Outsider Bilderwelten", Bettina Peters Verlag, 2006, ISBN 3-939691-44-5
  • Jean Dubuffet: L’Art brut préféré aux arts culturels [1949](=engl in: Art brut. Madness and Marginalia, special issue of Art & Text, No. 27, 1987, p. 31-33).
  • Hal Foster, Blinded Insight: On the Modernist Reception of the Art of The Mentally Ill. In: October, No. 97, Summer 2001, pp. 3–30.
  • Deborah Klochko and John Turner, eds., Create and Be Recognized: Photography on the Edge, San Francisco: Chronicle Books, 2004.
  • John M. MacGregor, The Discovery of the Art of the Insane. Princeton, Oxford, 1989.
  • John Maizels, Raw Creation art and beyond, Phaidon Press Limited, London, 1996.
  • Lucienne Peiry, Art brut: The Origins of Outsider Art, Paris: Flammarion, 2001.
  • Lyle Rexer, How to Look at Outsider Art, New York:Abrams, 2005.
  • Colin Rhodes, Outsider Art: Spontaneous Alternatives, London: Thames and Hudson, 2000.
  • Rubin, Susan Goldman. (March 9, 2004). Art Against the Odds: From Slave Quilts to Prison Paintings. Publisher: Crown Books for Young Readers. ISBN 0-375-82406-5
  • Michel Thévoz, Art brut, New York, 1975.
  • Maurice Tuchman and Carol Eliel, eds. Parallel Visions. Modern Artists and Outsider Art. Exhb. cat. Los Angeles County Museum of Art, Los Angeles, 1992.
  • Allen S. Weiss, Shattered Forms, Art Brut, Phantasms, Modernism, State University of New York, Albany, 1992.
  • Self Taught Artists of the 20th Century: An American Anthology San Francisco: Chronicle Books, 1998
Kembali kehalaman sebelumnya