ศูนย์ประชุมศูนย์ประชุม หรือ ศูนย์การประชุม (อังกฤษ: Convention center (แบบอเมริกัน), Conference centre (แบบอังกฤษ))[1] เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการประชุม ซึ่งบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ มารวมตัวกันเพื่อส่งเสริมและแบ่งปันความสนใจร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วศูนย์ประชุมจะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับรองรับผู้เข้าร่วมประชุมได้หลายพันคน สถานที่ที่ขนาดใหญ่มาก เหมาะสำหรับงานแสดงสินค้าสำคัญ บางครั้งอาจเรียกว่า ศูนย์แสดงสินค้า (อังกฤษ: Exhibition center, Exhibition Hall) โดยทั่วไปแล้วศูนย์ประชุมจะมีหอประชุมอย่างน้อยหนึ่งแห่ง และอาจมีโถงคอนเสิร์ต ห้องบรรยาย ห้องประชุมเล็ก และห้องประชุมใหญ่อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีศูนย์การประชุมภายในโรงแรมในพื้นที่สถานพักตากอากาศขนาดใหญ่บางแห่ง ประเภท
ประวัติศูนย์ประชุมหรือห้องโถงนั้นเดิมตั้งอยู่ในปราสาทและพระราชวัง เดิมทีห้องโถงในปราสาทจะได้รับการออกแบบเพื่อให้กลุ่มขุนนาง อัศวิน และข้าราชการกลุ่มใหญ่เข้าร่วมการประชุมที่สำคัญกับกษัตริย์ ประเพณีเก่าแก่กว่าจะให้กษัตริย์หรือขุนนางตัดสินข้อพิพาทในหมู่ประชาชนของเขา การดำเนินการด้านการบริหารเหล่านี้จะทำในห้องโถงเอก และจะแสดงภูมิปัญญาของกษัตริย์ในฐานะผู้พิพากษาต่อประชาชนทั่วไป การพังทลายของศูนย์การประชุมที่มีชื่อเสียงที่สุดครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงคุมขังกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ "ฐานันดรที่สาม" และนำออกจากห้องประชุมเล็กในแวร์ซาย สิ่งนี้นำไปสู่เหตุการณ์ที่กลุ่มปฏิวัติจัดการประชุมในสนามเทนนิสในร่ม ถือเป็นศูนย์การประชุมประชาธิปไตยสมัยใหม่แหงแรกและนำไปสู่คำปฏิญาณสนามเทนนิส[3] และการปฏิวัติฝรั่งเศส ในประเทศไทยการประชุมต่าง ๆ ในประเทศไทยในอดีต ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมภายในโรงแรมหรูในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากประเทศไทยไม่มีศูนย์ประชุมอิสระหรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการในระดับเดียวกับโรงแรม จนกระทั่งคณะกรรมการบริหารธนาคารโลก ได้เลือกให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 รัฐบาลไทยจึงมีมติเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ให้ก่อสร้างสถานที่จัดงานประชุมแห่งชาติมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น เพื่อรองรับการประชุมครั้งสำคัญดังกล่าว เป็นที่มาของโครงการก่อสร้างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งถือเป็นศูนย์การประชุมอย่างเป็นทางการแห่งแรกของประเทศไทย การก่อสร้างและตกแต่งภายในแล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2534[4] จากนั้นพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อย่างเป็นทางการในวันที่ 29 สิงหาคมปีเดียวกัน[5] และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้พระนามเป็นชื่อของศูนย์การประชุม เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม 2535
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |