Share to:

 

ประเทศฟินแลนด์

สาธารณรัฐฟินแลนด์

  • Suomen Tasavalta (ฟินแลนด์)
  • Republiken Finland (สวีเดน)
เพลงชาติ
มามเมะ (ฟินแลนด์)
โวร์ตลันด์ (สวีเดน)
ที่ตั้งของ ประเทศฟินแลนด์  (เขียวเข้ม)

– ในยุโรป  (เขียว & เทาเข้ม)
– ในสหภาพยุโรป  (เขียว)  —  [คำอธิบายสัญลักษณ์]

เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
เฮลซิงกิ
60°10′N 24°56′E / 60.167°N 24.933°E / 60.167; 24.933
ภาษาราชการ
ภาษาประจำชาติ
กลุ่มชาติพันธุ์
(2020)[1][2]
ศาสนา
(2020)[3]
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา[4]
Alexander Stubb
เป็ตเตรี โอร์โป
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เอกราช 
29 มีนาคม ค.ศ. 1809
6 ธันวาคม ค.ศ. 1917
มกราคม – พฤษภาคม ค.ศ. 1918
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1919
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 – 13 มีนาคม ค.ศ. 1940
25 มิถุนายน ค.ศ. 1941 – 19 กันยายน ค.ศ. 1944
1 มกราคม ค.ศ. 1995
• เข้าร่วมกับเนโท
4 เมษายน ค.ศ. 2023
พื้นที่
• รวม
338,455 ตารางกิโลเมตร (130,678 ตารางไมล์) (อันดับที่ 65)
9.71 (ใน ค.ศ. 2015)[5]
ประชากร
• 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 5,536,146[6] (อันดับที่ 116)
16 ต่อตารางกิโลเมตร (41.4 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 213)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2020 (ประมาณ)
• รวม
257 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 60)
49,334 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 19)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
277 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 43)
48,461 ดอลลาร์สหรัฐ[7] (อันดับที่ 14)
จีนี (2019)Negative increase 26.2[8]
ต่ำ · อันดับที่ 6
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.938[9]
สูงมาก · อันดับที่ 11
สกุลเงินยูโร () (EUR)
เขตเวลาUTC+2 (เวลายุโรปตะวันออก)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 (เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก)
รูปแบบวันที่ว.ด.ปปปป[10]
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+358
โดเมนบนสุด.fi, .axa
  1. มีการใช้ .eu ร่วมกับรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ ด้วย

ฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomi [suo̯mi] ( ฟังเสียง) ซูโวมี; สวีเดน: Finland [ˈfɪnland] ( ฟังเสียง) ฟินลันด์) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomen tasavalta; สวีเดน: Republiken Finland) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย มีพรมแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือเฮลซิงกิ และเมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ เอสโป วันตา ตัมเปเร โอวลุ และตุรกุ อาณาเขตของฟินแลนด์มีพื้นที่ทั้งหมด 338,145 ตารางกิโลเมตร (130,559 ตารางไมล์) รวมพื้นที่แผ่นดินใหญ่ 303,815 ตารางกิโลเมตร (117,304 ตารางไมล์) และมีประชากร 5.6 ล้านคน[11] ประชากรส่วนใหญ่คือชาวฟินแลนด์ ภาษาฟินแลนด์และภาษาสวีเดนมีสถานะเป็นภาษาราชการ โดยกว่าร้อยละ 84.9 ของประชากรพูดภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาแม่ และอีกร้อยละ 5.1 ใช้ภาษาสวีเดน[12] ฟินแลนด์มีภูมิอากาศหลากหลายโดยมีอากาศแบบทวีปชื้นทางตอนใต้ และแบบกึ่งอาร์กติกทางตอนเหนือ ฟินแลนด์ยังเต็มไปด้วยไทกา และทะเลสาบมากถึง 180,000 แห่ง ฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐด้วยระบบรัฐสภาอันประกอบด้วย 311 เทศบาล[13] และอีก 1 เขตปกครองตนเองคือหมู่เกาะโอลันด์ โดยมีประชากรมากกว่า 1.4 ล้านคนอาศัยอยู่ในปริมณฑลเกรเทอร์เฮลซิงกิ และคิดเป็น 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธศักราช ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไปได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า[14] ในพุทธศักราชที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7[15] ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 13 ฟินแลนด์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิสวีเดนอันเป็นผลมาจากสงครามครูเสดตอนเหนือ และใน พ.ศ. 2352 ดินแดนของฟินแลนด์ถูกยึดครองโดยสวีเดน และกลายเป็นราชรัฐอิสระภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย ในช่วงเวลานี้ ศิลปะและวัฒนธรรมของฟินแลนด์เจริญรุ่งเรืองไปทั่ว ตามมาด้วยการถือกำเนิดของขบวนการเรียกร้องเอกราช ฟินแลนด์กลายเป็นดินแดนแรกในยุโรปที่ให้สิทธิการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2449 และเป็นชาติแรกในโลกที่ให้สิทธิแก่ประชากรผู้ใหญ่ในการลงสมัครรับตำแหน่งสาธารณะ[16] ฟินแลนด์ประกาศเอกราชทางการภายหลังการปฏิวัติรัสเซียในปี 2460 ก่อนที่สงครามกลางเมืองจะอุบัติขึ้นในปีต่อมา นำมาซึ่งความวุ่นวายและแตกแยกทางสังคมและลงด้วยชัยชนะของฝ่ายขาว สถานะการเป็นสาธารณรัฐของประเทศได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2462

ฟินแลนด์มีส่วนร่วมในสงครามโลกครั้งที่สองโดยต่อสู้กับสหภาพโซดเวียตในสงครามฤดูหนาว และสงครามต่อเนื่องซึ่งนำไปสู่สนธิสัญญาสันติภาพมอสโก ตามด้วยการต่อสู้กับนาซีเยอรมันในสงครามแลปแลนด์ ผลของการทำสงครามคือการสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่จักรวรรดิรัสเซีย กระนั้น ฟินแลนด์ยังคงความเป็นเอกราชและรักษาระบอบประชาธิปไตยไว้ได้ ฟินแลนด์มีจุดเด่นในการเป็นประเทศเกษตรกรรมอีกหลายทศวรรษจนถึงปี 2493 ฟินแลนด์ได้พัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วโดยการสร้างรัฐสวัสดิการที่มีคุณภาพตามตัวแบบนอร์ดิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ส่งผลให้ความเจริญได้กระจายไปทั่วประเทศและกลายเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งสูงจนถึงปัจจุบัน

ฟินแลนด์เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหประชาชาติใน พ.ศ. 2538 ด้วยเจตนารมณ์ในการวางตัวเป็นกลางทางการเมืองซึ่งชัดเจนตั้งแต่สมัยสงครามเย็น[17] และยังเข้าร่วมองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา, กลุ่มประเทศความร่วมมือเพื่อสันติภาพของเนโท, สหภาพยุโรป, สภาความร่วมมือยูโร, คณะมนตรีนอร์ดิก, พื้นที่เชงเกน และเข้าเป็นสมาชิกเนโทในปี 2566 ฟินแลนด์ยังอยู่ในอันดับสูงตามดัชนีตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษา, เศรษฐกิจ, เสรีภาพพลเมือง, ประชาธิปไตย, ความซื่อสัตย์, คุณภาพชีวิต, ความสามารถทางการแข่งขัน และการพัฒนาประเทศ[18][19][20] และยังได้รับการจัดอันดับในฐานะหนึ่งในประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก[21][22]

ประวัติศาสตร์

ภายใต้การปกครองของสวีเดน

เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของความเกี่ยวพันระหว่างสวีเดนกับฟินแลนด์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 1698[23] ในสงครามเผยแผ่คริสต์ศาสนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการตั้งเมืองขึ้นในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศที่โอบู (Åbo) หรือตุรกุ(Turku) โดยตุรกุเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของราชอาณาจักรสวีเดนในยุคนั้น ในช่วงศตวรรษนี้ มีชาวสวีเดนจำนวนมากที่เข้ามาตั้งรกรากบริเวณชายฝั่งทางใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ บนหมู่เกาะโอลันด์ และหมู่เกาะอื่น ๆ ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ภาษาสวีเดนยังคงเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนี้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนได้กลายมาเป็นภาษาของชนชั้นสูงในภาคอื่น ๆ ของฟินแลนด์ในยุคนั้นด้วย

พ.ศ. 2093 กษัตริย์ของสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 1 ได้ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นในชื่อ "เฮลซิงฟอร์ส" (Helsingfors)[24] แต่เมืองนี้คงสภาพเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงกว่าสองร้อยปี ชื่อเฮลซิงฟอร์สยังคงเป็นชื่อเมืองเฮลซิงกิในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน

ดินแดนฟินแลนด์ถูกยึดครองโดยรัสเซียสองครั้งในพุทธศตวรรษที่ 23

การประชุมรัฐสภาครั้งแรก พ.ศ. 2449

ราชรัฐฟินแลนด์ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย

พ.ศ. 2352 ในช่วงสงครามระหว่างสวีเดนและรัสเซีย กองทัพของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ก็สามารถยึดดินแดนฟินแลนด์ได้อีกครั้ง ฟินแลนด์ดำรงสถานะเป็นดินแดนปกครองตนเอง ราชรัฐฟินแลนด์ ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย จนกระทั่งถึงการประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2460 ในยุคของราชรัฐฟินแลนด์ ภาษาฟินแลนด์ได้รับความสำคัญมากขึ้นในฟินแลนด์ อันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวของขบวนการชาตินิยม จนกระทั่งได้รับสถานะเดียวกับภาษาสวีเดนใน พ.ศ. 2435[25] ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 ฟินแลนด์เริ่มมีการให้สิทธิเลือกตั้งอย่างเท่าเทียม (ผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิกันเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือสถานะทางสังคม) โดยฟินแลนด์เป็นชาติแรกในโลก ที่ให้สิทธิทั้งการเลือกตั้งและการลงเลือกตั้งแก่สตรี[26]

ทหารเด็กวัยสิบสามปี ของฝ่ายขาวใน สงครามกลางเมือง

หลังการประกาศเอกราช

หลังจากการปฏิวัติบอลเชวิกในรัสเซียประสบความสำเร็จ รัฐสภาของฟินแลนด์ลงมติเห็นชอบในเรื่องการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2460 และรัฐบาลบอลเชวิกรัสเซีย ยอมรับการประกาศเอกราชในเกือบหนึ่งเดือนถัดมา ซึ่งเยอรมนีและชาติสแกนดิเนเวียอื่น ๆ ก็ยอมรับการประกาศเอกราชตามมาในทันที หลังจากการประกาศเอกราช ฟินแลนด์ก็ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง โดยเกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่าย"ขาว" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิเยอรมนี และฝ่าย"แดง" ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียบอลเชวิก ฝ่ายขาวนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี มีความเห็นทางการเมืองค่อนไปทางขวา ในขณะที่ฝ่ายแดงส่วนใหญ่ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นฝ่ายซ้ายจะเป็นกลุ่มแรงงาน ฝ่ายขาวชนะสงครามนี้ในเวลาต่อมา ก่อตั้งสาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นผลสำเร็จ

หลังจากสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง รัฐสภาของฟินแลนด์ ซึ่งไม่มีสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยซึ่งสนับสนุนสาธารณรัฐอยู่เลย ได้ประกาศตั้งราชอาณาจักรฟินแลนด์ขึ้น โดยเลือกเจ้าชายฟรีดริช คาร์ล แห่งเฮ็สเซินของเยอรมนี ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของฟินแลนด์ แต่เมื่อเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความคิดนี้จึงต้องยกเลิกไป และฟินแลนด์ก็ประกาศเป็นสาธารณรัฐ โดยมีคาร์โล ยุโฮ สโตห์ลเบิร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก[14]

คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮม

สงครามโลกครั้งที่สอง

ฟินแลนด์ต่อสู้กับสหภาพโซเวียตสองครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในสงครามฤดูหนาว ระหว่างปี พ.ศ. 2482-2483 และสงครามต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2484-2487 โดยร่วมมือกับนาซีเยอรมนี (อาณาจักรไรช์ที่สาม) ในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ทำให้สหราชอาณาจักรประกาศสงครามกับฟินแลนด์ และฟินแลนด์มีสถานะเป็นประเทศฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม ฟินแลนด์เปลี่ยนฝ่ายในปี พ.ศ. 2487 เมื่อต่อสู้ขับไล่นาซีเยอรมนีออกจากตอนเหนือของฟินแลนด์ในสงครามแลปแลนด์ หลังจากที่เซ็นสัญญาสงบศึกกับโซเวียต ชาวฟินแลนด์ประมาณ 86,000 คนเสียชีวิตในสงครามสองครั้งกับสหภาพโซเวียต ในขณะที่อีกห้าหมื่นคนได้รับบาดเจ็บและทุพพลภาพถาวร[27]

ยุคหลังสงคราม

จากสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฟินแลนด์ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลให้กับสหภาพโซเวียต รวมถึงเสียดินแดนถึงร้อยละ 12 ของดินแดนทั้งหมด ทำให้ต้องหาที่อยู่ใหม่ให้กับชาวฟินแลนด์ถึง 420,000 คน[27] อย่างไรก็ตาม ฟินแลนด์ไม่เคยถูกครอบครองเลยในช่วงสงคราม โดยเฮลซิงกิเป็นหนึ่งในสามเมืองหลวงของประเทศยุโรปที่เข้าร่วมสงครามที่ไม่ถูกยึดครองโดยฝ่ายศัตรู[27] (อีกสองเมืองคือลอนดอนและมอสโก)

ในยุคสงครามเย็น ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากโซเวียตอย่างมาก ฟินแลนด์จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามงวดสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เฮลซิงกิเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก ซึ่งช่วยฟื้นฟูกำลังใจของชาวฟินแลนด์หลังสงคราม[14] ปีเดียวกันนี้ ฟินแลนด์และประเทศในคณะมนตรีนอร์ดิกเข้าร่วมเปิดเสรีหนังสือเดินทางในปี โดยอนุญาตให้ประชาชนของชาติสมาชิกข้ามพรมแดนโดยไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง (ขณะนั้นฟินแลนด์ยังไม่ได้เข้าร่วมคณะมนตรี) โดยฟินแลนด์เข้าร่วมคณะมนตรีนอร์ดิกในปี พ.ศ. 2498

แม้ว่าฟินแลนด์จะได้อิทธิพลจากโซเวียตเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังคงรักษาประชาธิปไตยและเศรษฐกิจระบบตลาดเสรีไว้ได้ ซึ่งต่างจากประเทศส่วนใหญ่ที่อยู่ติดกับสหภาพโซเวียต ความเสียหายจากสงคราม การที่ต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามและผลิตสินค้าเพื่อจ่ายหนี้ให้กับสหภาพโซเวียต ทำให้ฟินแลนด์พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจากกสิกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม รวมถึงสร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ดีได้ในเวลาไม่กี่สิบปี

หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายลง ฟินแลนด์ก็ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจากการที่การค้าทวิภาคีจำนวนมหาศาลหายไปอย่างรวดเร็ว ฟินแลนด์ยื่นใบสมัครเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2535 หลังจากที่สวีเดนยื่นไปก่อนหน้านั้นและโซเวียตล่มสลายลง ฟินแลนด์เข้าร่วมสหภาพพร้อมกับสวีเดนและออสเตรียในปี พ.ศ. 2538

การเมืองการปกครอง

ฟินแลนด์ปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยใช้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน มีรัฐสภา และใช้ระบอบกึ่งประธานาธิบดี ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดีมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของนโยบายต่างประเทศ อำนาจบริหารส่วนใหญ่จะอยู่ที่คณะรัฐมนตรี นำโดยนายกรัฐมนตรี

รัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญของประเทศฟินแลนด์ ฉบับแรกมีใช้เมื่อ พ.ศ. 2462 ไม่นานหลังจากประกาศอิสรภาพจากรัสเซีย และไม่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญตลอด 50 ปีแรกของการใช้รัฐธรรมนูญ การปฏิรูปรัฐธรรมนูญครั้งสำคัญเริ่มในปี พ.ศ. 2526 หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง รวมถึงการเริ่มใช้ระบบเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง[28]

พ.ศ. 2538 ฟินแลนด์เริ่มตั้งคณะทำงานรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2543 เพื่อศึกษาการปรับปรุงรัฐธรรมนูญ และต่อมาก็ตั้งคณะกรรมการรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2543 เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คณะกรรมการเสร็จสิ้นการทำงานในปี พ.ศ. 2541 ในรูปของร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้น คณะกรรมการกฎหมายรัฐธรรมนูญก็ทำการพิจารณาร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาในผ่านการอนุมัติจากประธานาธิบดีของสาธารณรัฐ ในปี พ.ศ. 2542 เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2543 และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน[29]

ในฟินแลนด์ไม่มีศาลรัฐธรรมนูญและฝ่ายตุลาการไม่มีอำนาจในการประกาศว่ากฎหมายใดขัดรัฐธรรมนูญ อำนาจในการตีความว่ากฎหมายนั้นสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหรือไม่อยู่ในฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภาเท่านั้น[30]

ฝ่ายบริหาร

เซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของฟินแลนด์

อำนาจบริหารของฟินแลนด์อยู่ที่ประธานาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขของประเทศ ประธานาธิบดีได้รับเลือกโดยตรง ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 6 ปี มีหน้าที่รับผิดชอบนโยบายต่างประเทศ รับรองกฎหมาย แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นๆอย่างเป็นทางการ และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังของฟินแลนด์ด้วย อย่างไรก็ตาม กิจการภายในสหภาพยุโรปไม่รวมอยู่ในอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี แต่เป็นของคณะรัฐมนตรี

ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีนั้น จะต้องเป็นชาวฟินแลนด์โดยกำเนิด ในปัจจุบัน ประธานาธิบดีไม่สามารถดำรงตำแหน่งมากกว่าสองสมัย[31] ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือเซาลี นีนิสเตอ เริ่มดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ.2555

ในคณะรัฐมนตรีจะมีตำแหน่งผู้ตรวจการ (ฟินแลนด์: Oikeuskansleri; สวีเดน: Justitiekanslern) ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ เช่น ประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรี รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐการทั่วไป ผู้ตรวจการจะเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีในฐานะสมาชิกที่ไม่มีสิทธิออกเสียง ตำแหน่งนี้และผู้ช่วยแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี[32]

ฝ่ายนิติบัญญัติ

รัฐสภาแห่งฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Eduskunta; สวีเดน: Riksdag) เป็นระบบสภาเดี่ยว มีสมาชิก 200 คน ภายใต้รัฐธรรมนูญฟินแลนด์ รัฐสภามีอำนาจนิติบัญญัติสูงสุด รัฐสภามีหน้าที่ผ่านกฎหมาย กำหนดงบประมาณรัฐ ยอมรับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และดูแลการดำเนินงานของรัฐบาล รัฐสภาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถอดถอนคณะรัฐมนตรี และดำเนินการหลังการใช้สิทธิยับยั้ง (วีโต้) ของประธานาธิบดีได้ การตรากฎหมายสามารถเริ่มโดยคณะรัฐมนตรี หรือสมาชิกของรัฐสภา การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาสองครั้ง โดยสภาสองสมัยติดต่อกัน (หมายความว่า เห็นชอบโดยรัฐสภาชุดปัจจุบัน และชุดหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า)[33]

สมาชิกรัฐสภาดำรงตำแหน่งเป็นเวลาสี่ปี การเลือกตั้งในฟินแลนด์จะแบ่งออกเป็น 15 เขตเลือกตั้ง[34] โดยจำนวนสมาชิกสภาของแต่ละเขตขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในเขตนั้นๆ สมาชิกของแต่ละเขตได้รับเลือกโดยแบ่งตามอัตราส่วนตามระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อแบบเปิด หมู่เกาะโอลันด์จะมีตัวแทนในรัฐสภาหนึ่งที่เสมอ โดยทั่วไปการเลือกตั้งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่สามของเดือนมีนาคม[34]

สมาชิกรัฐสภาประชุมกันที่อาคารรัฐสภา (ฟินแลนด์: Eduskuntatalo; สวีเดน: Riksdagshuset) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเฮลซิงกิ

พรรคการเมือง

ในยุคแรกๆ พรรคการเมืองของฟินแลนด์นั้นแบ่งตามพื้นฐานทางภาษา และต่อมาตามทัศนคติที่มีต่อความพยายามรวมฟินแลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย[27] การปฏิรูปรัฐสภาในปี พ.ศ. 2449 สร้างระบบพรรคการเมืองสมัยใหม่ให้กับฟินแลนด์

ในฟินแลนด์พรรคฝ่ายซ้าย (สังคมนิยม) ค่อนข้างแข็งแกร่ง พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยแห่งฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomen Sosialidemokraattinen Puolue) ได้รับถึง 80 จาก 200 ที่นั่งในการเลือกตั้งครั้งแรก พรรคนี้ยังคงเป็นหนึ่งในสามพรรคใหญ่ในปัจจุบัน

อีกสองพรรคสำคัญของฟินแลนด์ได้แก่พรรคพันธมิตรแห่งชาติ (ฟินแลนด์: Kansallinen Kokoomus) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2461 โดยกลุ่มอนุรักษนิยม และพรรคกลาง (ฟินแลนด์: Keskusta) หรือในอดีตคือพรรคเกษตรกร (ฟินแลนด์: Maalaisliitto) สำหรับพรรคประชากรสวีเดน (สวีเดน: Svenska folkpartiet) เป็นพรรคเก่าแก่อีกพรรคหนึ่ง ได้รับเสียงสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอจากเขตประชากรที่พูดภาษาสวีเดน

ในช่วงทศวรรษ 2510 และ 2520 เสียงสนับสนุนของพรรคซ้ายจัด (เช่นพรรคคอมมิวนิสต์) เริ่มลดลง เช่นเดียวกับบรรดาพรรคเสรีนิยมหรือพรรคก้าวหน้า พรรคใหม่หลายพรรคเริ่มเข้ามามีบทบาท เช่นพรรคคริสเตียนเดโมแครต พรรคกรีน และพรรคพันธมิตรซ้าย

โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีพรรคใดได้เสียงพอที่จะจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว และจะต้องร่วมมือกับพรรคอื่นในการจัดตั้งรัฐบาลผสม พรรคการเมืองที่มีสมาชิกในรัฐสภาในปัจจุบัน จากการเลือกตั้งในเดือน เมษายน พ.ศ. 2554 ได้แก่[35]

ชื่อ ชื่อภาษาฟินแลนด์ ชื่อภาษาสวีเดน จำนวนสมาชิกในรัฐสภา ความเปลี่ยนแปลง
พรรคกลาง Keskusta Centern i Finland
35
-16
พรรคพันธมิตรแห่งชาติ Kansallinen Kokoomus Samlingspartiet
44
-6
พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยแห่งฟินแลนด์ Suomen Sosialidemokraattinen Puolue Finlands Socialdemokratiska Parti
42
-3
พรรคพันธมิตรซ้าย Vasemmistoliitto Vänsterförbundet
12
-5
พรรคกรีน Vihreä liitto Gröna förbundet
10
-5
พรรคประชากรสวีเดน Ruotsalainen kansanpuolue Svenska folkpartiet
10
+1
พรรคคริสเตียนเดโมแครต Kristillisdemokraatit Kristdemokraterna
6
-1
พรรคชาวฟินน์รากฐาน Perussuomalaiset Sannfinländarna
39
+34
พรรคกลุ่มซ้าย Vasenryhmä Vänstergruppen
2
+2

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

นโยบายการต่างประเทศของฟินแลนด์โดยหลักแล้วมีพื้นฐานอยู่ที่การเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ฟินแลนด์ยังเป็นสมาชิกของคณะมนตรีนอร์ดิก และมีความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่มนอร์ดิกมาอย่างยาวนาน ฟินแลนด์มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน สวีเดน นอร์เวย์ รัสเซีย และเอสโตเนีย และไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศหรือตามแนวชายแดน ฟินแลนด์วางสถานะเป็นกลางและไม่เข้าร่วมในพันธมิตรทางการทหารใด รวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ การค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อฟินแลนด์ โดยมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศถึงหนึ่งในสาม และฟินแลนด์ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศฟินแลนด์มีการแบ่งการปกครองออกเป็น 19 เขต (ฟินแลนด์: maakunta, สวีเดน: landskap) ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลฟินแลนด์ในปี ค.ศ. 2010 โดยเขตของฟินแลนด์ได้เข้ามาแทนที่ จังหวัดของฟินแลนด์ (lääni) ซึ่งถูกล้มเลิกไปเมื่อปี ค.ศ. 2009[36]

ในภาษาไทย ในภาษาฟินแลนด์ ในภาษาสวีเดน เมืองหลัก ภูมิภาค
แลปแลนด์ Lappi Lappland โรวานิเยมี แลปแลนด์
นอร์เทิร์นออสโตรบอทเนีย Pohjois-Pohjanmaa Norra Österbotten โอวลุ ฟินแลนด์เหนือ
ไกนู Kainuu Kajanaland กายานี ฟินแลนด์เหนือ
นอร์ทคาเรเลีย Pohjois-Karjala Norra Karelen โยเอ็นซู ฟินแลนด์ตะวันออก
นอร์เทิร์นซาโวเนีย Pohjois-Savo Norra Savolax โกเปียว ฟินแลนด์ตะวันออก
เซาเทิร์นซาโวเนีย Etelä-Savo Södra Savolax มิกเกลี ฟินแลนด์ตะวันออก
เซาเทิร์นออสโตรบอทเนีย Etelä-Pohjanmaa Södra Österbotten เซย์แนโยกี ฟินแลนด์ตะวันตกและกลาง
เซ็นทรัลออสโตรบอทเนีย Keski-Pohjanmaa Mellersta Österbotten โกกโกลา ฟินแลนด์ตะวันตกและกลาง
ออสโตรบอทเนีย Pohjanmaa Österbotten วาซา ฟินแลนด์ตะวันตกและกลาง
ปีร์กันมา Pirkanmaa Birkaland ตัมเปเร ฟินแลนด์ตะวันตกและกลาง
เซ็นทรัลฟินแลนด์ Keski-Suomi Mellersta Finland ยูแวสกูแล ฟินแลนด์ตะวันตกและกลาง
ซาตากุนตา Satakunta Satakunta โปรี ฟินแลนด์ตะวันตกเฉียงใต้
เซาท์เวสต์ฟินแลนด์ Varsinais-Suomi Egentliga Finland ตุรกุ ฟินแลนด์ตะวันตกเฉียงใต้
เซาท์คาเรเลีย Etelä-Karjala Södra Karelen ลัปเปนรันตา ฟินแลนด์ใต้
แปย์แย็ต-แฮเม Päijät-Häme Päijänne-Tavastland ลาห์ตี ฟินแลนด์ใต้
กันตา-แฮเม Kanta-Häme Egentliga Tavastland แฮเมนลินนา ฟินแลนด์ใต้
อูซิมา Uusimaa Nyland เฮลซิงกิ ฟินแลนด์ใต้
กือเม็นลากโซ Kymenlaakso Kymmenedalen โกว์โวลา ฟินแลนด์ใต้
หมู่เกาะโอลันด์[37] Ahvenanmaa Åland มารีเอฮัมน์ โอลันด์

เขตอีสเทิร์นอูซิมาได้รวมเข้ากับเขตอูซิมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554[38]

ภูมิศาสตร์

แผนที่ประเทศฟินแลนด์

ภูมิประเทศ

ทะเลสาบไซมา มีขนาดใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป

ฟินแลนด์เป็นประเทศที่มีทะเลสาบและเกาะเป็นจำนวนมาก โดยมีทะเลสาบถึง 187,888 แห่ง[39][23] (ที่มีเนื้อที่มากกว่า 500 ตารางเมตร) และมีเกาะถึง 179,584 เกาะ[23] โดยทะเลสาบไซมา ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในฟินแลนด์ เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าของยุโรป ภูมิประเทศทั่วไปของฟินแลนด์มีลักษณะเป็นที่ราบ ไม่มีภูเขามากนัก จุดสูงสุดของประเทศอยู่ที่ภูเขาฮัลติ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตแลปแลนด์ โดยมีความสูง 1,328 เมตร[40] นอกจากทะเลสาบแล้ว พื้นที่ส่วนใหญ่ของฟินแลนด์ปกคลุมด้วยป่าสน และมีพื้นที่เพาะปลูกไม่มากนัก ฟินแลนด์มีเกาะที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ บริเวณหมู่เกาะโอลันด์ และตลอดแนวชายฝั่งทางใต้ในอ่าวฟินแลนด์ ฟินแลนด์เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศของโลกที่ยังคงมีขนาดใหญ่ขึ้น จากการยกตัวของแผ่นดินที่มีผลมาตั้งแต่ยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย

ภูมิอากาศ

ภูมิอากาศทางตอนใต้ของฟินแลนด์เป็นแบบเขตอบอุ่น ทางตอนเหนือ โดยเฉพาะในเขตจังหวัดแลปแลนด์ มีภูมิอากาศแบบป่าสนหรือกึ่งอาร์กติก ซึ่งโดยทั่วไปจะหนาวเย็น มีฤดูหนาวที่รุนแรงในบางครั้ง และมีฤดูร้อนที่ค่อนข้างอบอุ่นโดยเปรียบเทียบ ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมเพราะอยู่ใกล้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้มีภูมิอากาศที่ค่อนข้างอบอุ่นเมื่อเปรียบเทียบกับละติจูดที่อยู่สูงมาก

เนื้อที่ราวหนึ่งในสี่ของประเทศฟินแลนด์ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล ทำให้เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้ ในจุดที่เหนือที่สุดของฟินแลนด์ พระอาทิตย์ไม่ตกดินเป็นเวลา 73 วันในช่วงฤดูร้อน และไม่ขึ้นเลยเป็นเวลา 51 วันในช่วงฤดูหนาว[23][41]

เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

ภาพรวม

สำนักงานใหญ่ของโนเกียในเมืองเอสโป (Espoo)

ในอดีต นโยบายการค้าขายของฟินแลนด์อยู่ในกรอบของการรักษาสัมพันธภาพกับเพื่อนบ้านมหาอำนาจจักรวรรดิรัสเซีย และต่อมา สหภาพโซเวียต ถึงกระนั้นก็ตาม ฟินแลนด์ได้กลายเป็นประเทศที่แผ่ขยายอำนาจทางเศรษฐกิจได้กว้างไกลที่สุดประเทศหนึ่งของโลกในเวลาต่อมา

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฟินแลนด์พัฒนาไปเป็นประเทศอุตสาหกรรมและเป็นตลาดเสรี ซึ่งมีผลผลิตต่อประชากรสูงไม่ต่างจากเศรษฐกิจในโลกตะวันตกอื่นๆ ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่การผลิตไม้ โลหะ วิศวกรรม โทรคมนาคม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การค้าระหว่างประเทศของฟินแลนด์มีส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ[42] นอกจากป่าไม้และแร่ธาตุบางอย่างแล้ว ฟินแลนด์ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและพลังงาน รวมถึงส่วนประกอบของสินค้าอุตสาหกรรมบางอย่าง ภาคเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของฟินแลนด์คือการบริการ ในขณะที่การผลิตปฐมภูมิมีส่วนเพียงร้อยละ 2.9 ของจีดีพี[43]

เหรียญมาร์กฟินแลนด์ ก่อนที่จะมีการใช้เงินยูโร

พ.ศ. 2534 ฟินแลนด์ประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการสิ้นสุดลงของการค้าขายแบบแลกเปลี่ยนกับสหภาพโซเวียต ก่อนปี 2534 การค้าขายมากกว่าหนึ่งในห้าของฟินแลนด์เกิดขึ้นกับสหภาพโซเวียต[44] ในปี 2534 ฟินแลนด์ลดค่าเงินมาร์กเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพมากขึ้น[45] ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดต่ำสุดในปี 2536 จากนั้นก็มีการเจริญเติบโตขึ้นจนถึงปี 2538 ตั้งแต่นั้นมา ฟินแลนด์ก็อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดในประเทศสมาชิก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี)[46]

เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำให้การทำเกษตรกรรมถูกจำกัดอยู่เพียงการผลิตเพื่อเพียงพอต่อการบริโภคเท่านั้น การทำป่าไม้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการส่งออก จึงเป็นอุตสาหกรรมอันดับสองของประเทศ[47] ฟินแลนด์เป็นหนึ่งใน 11 ประเทศที่ร่วมใช้ระบบเงินยูโรในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 แทนสกุลเงินมาร์กฟินแลนด์

ฟินแลนด์ได้รับการประกาศให้เป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลกสามปีติดต่อกัน คือระหว่าง 2546-2548 โดยเวิลด์อิโคโนมิกฟอรั่ม (World Economic Forum)[48][49] ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความสนใจไปที่การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ[50] กล่าวได้ว่าบริษัทโนเกียของฟินแลนด์เป็นส่วนประกอบสำคัญในสาขาสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ นั่นคือภาคโทรคมนาคม

การคมนาคม

ท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา

จากข้อมูลถึงปี พ.ศ. 2548 ถนนสาธารณะทั้งหมดของประเทศมีความยาว 78,189 กิโลเมตร[51] ทางรถไฟทั้งประเทศมีความยาว 5,741 กิโลเมตร[51] โดยในเฮลซิงกิมีระบบรถไฟในเมือง และในปัจจุบันกำลังมีโครงการสร้างไลท์เรลในเมืองตัมเปเร และตุรกุ ฟินแลนด์มีสนามบิน 148 แห่ง[52]โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดคือท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา

ระบบรถไฟในฟินแลนด์ให้บริการโดยรัฐวิสาหกิจ "เวแอร" (VR) โดยให้บริการรถไฟเชื่อมต่อเมืองต่างๆทั่วประเทศ เส้นทางรถไฟส่วนใหญ่จะเริ่มต้นหรือสิ้นสุดทางที่สถานีรถไฟกลางเฮลซิงกิ มีบริการรถไฟความเร็วสูงเพนโดลีโน เชื่อมต่อเมืองหลักของประเทศ โดยเฉพาะตัมเปเรและตุรกุ ท่าอากาศยานเฮลซิงกิ-วันตา เป็นประตูสู่เมืองหลักๆของโลกหลายแห่ง โดยมีเที่ยวบินตรงไปยังกรุงเทพฯ ปักกิ่ง เดลี กวางเจา นาโกย่า นิวยอร์ก โอซะกะ เซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง และโตเกียว

ประชากร

ฟินแลนด์มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน และมีความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ราว 17 คนต่อตารางกิโลเมตร ประชากรของฟินแลนด์กระจุกตัวอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ในจังหวัดอูซิมาซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมีความหนาแน่น 30 คนต่อตารางกิโลเมตร (ในส่วนของตัวเมืองเฮลซิงกิมีความหนาแน่นถึงสามพันคนต่อตารางกิโลเมตร) ในขณะที่ทางตอนเหนือในเขตแลปแลนด์ มีประชากรเพียงสองคนต่อตารางกิโลเมตรเท่านั้น[53] เมืองใหญ่อื่น ๆ นอกจากในเขตมหานครเฮลซิงกิ (ซึ่งรวมถึงเมืองวันตาและเอสโป) ได้แก่ตัมเปเร ตุรกุ และโอวลุ

ภาษา

ร้อยละ 92 ของประชากรฟินแลนด์พูดภาษาฟินแลนด์เป็นภาษาแม่ รองลงมาคือภาษาสวีเดน (ร้อยละ 5.5)[54] ซึ่งสองภาษานี้เป็นภาษาทางการของประเทศ ภาษาอื่นที่มีการพูดการในฟินแลนด์ได้แก่ภาษารัสเซีย และภาษากลุ่มซามิ ภาษาและวัฒนธรรมของชาวซามิ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในเขตแลปแลนด์ ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมาย[55]

ศาสนา

ภายในวัดไทยใน นุคาริ, นูร์มิยาร์วิ
มหาวิหารของเมืองมิกเกลิ

ชาวฟินแลนด์ประมาณร้อยละ 83 นับถือศาสนาคริสต์นิกายลูเธอรัน[54][56] และมีส่วนหนึ่ง (ร้อยละ 1.1) นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกส์ สองนิกายนี้เป็นศาสนาประจำชาติของฟินแลนด์ นอกจากนี้ ศาสนาอื่นๆที่มีนับถือในฟินแลนด์ได้แก่นิกายโปรเตสแทนท์อื่นๆ คาทอลิก อิสลาม และยูดาย นอกเหนือจากประชากรร้อยละ 14.7 ที่ไม่นับถือศาสนาใด ๆ อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา (เช่นการเข้าโบสถ์) นั้นน้อยกว่าที่เป็นตามตัวเลขนี้พอสมควร ชาวฟินแลนด์ส่วนใหญ่จะเคยเข้าโบสถ์น้อยครั้งมาก ส่วนใหญ่จะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่นการแต่งงาน[57]

การศึกษา

วิทยาเขตมหาวิทยาลัย โกเปียว

ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับความเสมอภาค โดยไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียนสำหรับนักเรียนเต็มเวลา ฟินแลนด์มีการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ตั้งแต่อายุ 7-16 ปี โรงเรียนทุกแห่งจะมีอาหารกลางวันบริการฟรี การเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายไม่บังคับ โดยมีทั้งการเรียนเตรียมอุดมศึกษาสายสามัญ และอาชีวศึกษา และในระดับอุดมศึกษาก็จะมีทั้งมหาวิทยาลัยและโรงเรียนอาชีวศึกษาขั้นสูง จากโครงการเพื่อประเมินศักยภาพเด็กนักเรียนสากลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา ประจำปี พ.ศ. 2549 นักเรียนอายุ 15 ปีของฟินแลนด์นั้นทำคะแนนสูงสุดในด้านความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์[58] เวิลด์อิโคโนมิกฟอรัมจัดอันดับการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้เป็นอันดับหนึ่งของโลก[59] ประชากรที่อายุเกิน 15 ปีมีความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ 100 เปอร์เซ็นต์[52]

วัฒนธรรม

วรรณกรรม

การจารึกตัวอักษรของชาวฟินแลนด์ปรากฏพบเห็นนับแต่ยุคที่มิคาเอล อกริโคลา แปลหนังสือพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ภาคพันธสัญญาใหม่ไปเป็นภาษาฟินแลนด์ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นยุคก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนต์ แต่กลับไม่พบเห็นงานเขียนอื่นๆ มากนักจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 19 เอเลียส เลินน์รูต ได้รวบรวมบทกวีพื้นบ้านของฟินแลนด์และคาเรเลีย เรียบเรียงเข้าด้วยกันและนำเสนอเป็นผลงานชื่อ กาเลวาลา อันเป็นมหากาพย์แห่งชาติของฟินแลนด์ หลังจากยุคนั้นจึงมีกวีและนักเขียนเพิ่มมากขึ้น ที่มีชื่อเสียงเช่น อะเลกซิส กิวิ และ เอย์โน เลย์โน นักเขียนชาวฟินแลนด์ชื่อ ฟรันส์ เอมิล ซิลลันแป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี พ.ศ. 2482 และเป็นชาวฟินแลนด์ผู้เดียวที่ได้รับรางวัลนี้นับถึงปัจจุบัน[60]

ซาวน่า

การซาวน่าแบบฟินแลนด์ เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมฟินแลนด์ ในปี 2555 ฟินแลนด์มีซาวน่าถึงกว่าสามล้านแห่ง[61] เทียบกับจำนวนประชากรห้าล้านคนของประเทศ โดยเฉลี่ยแล้วจะมีซาวน่าหนึ่งแห่งต่อครัวเรือน สำหรับชาวฟินแลนด์แล้ว ซาวน่าเป็นสถานที่สำหรับผ่อนคลายกับครอบครัวและเพื่อนฝูง และผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ

อาหาร

พายคาเรเลีย (karjalanpiirakka) เป็นอาหารพื้นบ้านของฟินแลนด์ มีต้นกำเนิดจากเขตคาเรเลียทางตะวันออกของฟินแลนด์

อาหารฟินแลนด์มักมีลักษณะเรียบง่าย และมักได้รับการกล่าวถึงในด้านความเป็นมิตรต่อสุขภาพ[62][63] ส่วนประกอบที่สำคัญคือปลา เนื้อสัตว์ เบอร์รี และผักต่างๆ ในขณะที่การใช้เครื่องเทศต่างๆมีไม่มากนัก ตัวอย่างอาหารที่สำคัญของฟินแลนด์ที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ได้แก่ ruisleipä (ขนมปังข้าวไรย์ เป็นขนมปังที่มีสีเข้มและมีรสเปรี้ยว[62]) และ karjalanpiirakka (พายคาเรเลีย แป้งกรอบสอดไส้ข้าว) เป็นต้น

ดนตรี

คอนเสิร์ตของวงลอร์ดิในกรุงเฮลซิงกิ หลังจากชนะการประกวดเพลงยูโรวิชัน‎

ดนตรีของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากดนตรีดั้งเดิมของคาเรเลีย วัฒนธรรมคาเรเลียเป็นสิ่งสื่อถึงการแสดงออกของตำนานเทพนิยายและความเชื่อของชาวฟินนิก ดนตรีพื้นบ้านของฟินแลนด์ ได้ถูกนำมาทำใหม่โดยวงดนตรีสมัยใหม่ และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของดนตรียอดนิยมในปัจจุบัน ชาวซามิในตอนเหนือของฟินแลนด์มีดนตรีดั้งเดิมของตนเอง

ส่วนหนึ่งของดนตรีฟินแลนด์สมัยใหม่ของฟินแลนด์ที่มีชื่อเสียงคือดนตรีเดธเมทัล เช่นเดียวกับวงดนตรีร็อก นักดนตรีแจ๊ซ และนักแสดงฮิปฮอป ดนตรีที่เป็นที่นิยมของฟินแลนด์ยังรวมไปถึงอุปรากร และดนตรีแดนซ์ วงดนตรีจากฟินแลนด์หลายวงประสบความสำเร็จในวงการดนตรีเฮฟวีเมทัลและดนตรีร็อกของยุโรปและญี่ปุ่น เช่น วงไนท์วิช อะมอร์ฟิส วัลตาริ เป็นต้น พ.ศ. 2549 วงดนตรีลอร์ดิ (Lordi) จากฟินแลนด์ ชนะการประกวดเพลงยูโรวิชัน 2006 โดยเป็นชัยชนะครั้งแรกของฟินแลนด์ตลอดยี่สิบปีที่ส่งประกวด เพลงที่ใช้ในการประกวดคือเพลง"ฮาร์ดร็อกฮัลเลลูยา" (Hard Rock Halleluja)[64]

กีฬา

การแข่งขันฟลอร์บอล ระหว่างทีมชาติฟินแลนด์และสวีเดน

ประชากรของฟินแลนด์มีความนิยมในกีฬาสูง กีฬาประจำชาติของฟินแลนด์คือ pesäpallo ซึ่งเป็นกีฬาที่มีลักษณะคล้ายเบสบอล[65][66] นอกจากนี้ กีฬาที่ได้รับความนิยมสูง โดยเฉพาะในแง่ของการชมทางโทรทัศน์ ได้แก่กีฬาฮอกกี้น้ำแข็ง และการแข่งรถสูตรหนึ่ง ในอดีต ฟินแลนด์เคยมีชื่อเสียงในเรื่องนักวิ่งระยะกลาง ในกีฬาโอลิมปิก 1924 (พ.ศ. 2467)ที่ปารีส ปาโว นุรมิ คว้าถึงสี่เหรียญทอง[14] ฟินแลนด์เป็นบ้านเกิดของนักกีฬาระดับโลกในปัจจุบันหลายคน เช่น มิกะ แฮกกิเนน กิมิ ไรก์เกอเนน (นักแข่งรถสูตรหนึ่ง) ซามิ ฮูเปีย ยาริ ลิตมาเนน (นักฟุตบอล) นอกจากนี้ยังมีนักกีฬาอีกหลายชนิดที่ประสบความสำเร็จในระดับโลก กีฬาหรือกิจกรรมนันทนาการที่เป็นที่นิยมในฟินแลนด์ได้แก่ ฟลอร์บอล สกี และ sauvakävely (การเดินด้วยแท่งไม้สกี) ฟินแลนด์เคยเป็นเจ้าภาพกีฬากีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนในปี พ.ศ. 2495

การจัดอันดับนานาชาติ

อ้างอิง

  1. "11rv -- Origin and background country by sex, by municipality, 1990-2020". Statistics Finland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-01. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.
  2. "United Nations Population Division | Department of Economic and Social Affairs". United Nations. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
  3. "Population". Statistics Finland. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021.
  4. Formerly a semi-presidential republic, it is now a parliamentary republic according to David Arter, First Chair of Politics at Aberdeen University. In his "Scandinavian Politics Today" (Manchester University Press, revised 2008 ISBN 978-0-7190-7853-8), he quotes Nousiainen, Jaakko (June 2001). "From semi-presidentialism to parliamentary government: political and constitutional developments in Finland". Scandinavian Political Studies. 24 (2): 95–109. doi:10.1111/1467-9477.00048. as follows: "There are hardly any grounds for the epithet 'semi-presidential'." Arter's own conclusions are only slightly more nuanced: "The adoption of a new constitution on 1 March 2000 meant that Finland was no longer a case of semi-presidential government other than in the minimalist sense of a situation where a popularly elected fixed-term president exists alongside a prime minister and cabinet who are responsible to parliament (Elgie 2004: 317)". According to the Finnish Constitution, the president has no possibility to rule the government without the ministerial approval, and does not have the power to dissolve the parliament under his or her own desire. Finland is actually represented by its prime minister, and not by its president, in the Council of the Heads of State and Government of the European Union. The 2012 constitutional amendments reduced the powers of the president even further.
  5. "Surface water and surface water change". Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 11 October 2020.
  6. "Birth rate showed a slight growth in 2020". Statistics Finland. สืบค้นเมื่อ 21 January 2021.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "Report for Selected Countries and Subjects". IMF. 17 October 2018.
  8. "Gini coefficient of equivalised disposable income - EU-SILC survey". European Commission. สืบค้นเมื่อ 27 March 2020.
  9. "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 15 December 2020. สืบค้นเมื่อ 15 December 2020.
  10. Ajanilmaukset เก็บถาวร 20 ตุลาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Kielikello 2/2006. Institute for the Languages of Finland. Retrieved 20 October 2017
  11. Tilastokeskus. "Population". www.tilastokeskus.fi (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
  12. "Språk i Finland - Institutet för de inhemska språken". Kotimaisten kielten keskus (ภาษาสวีเดน).
  13. "Kotisivu - Kuntaliiton Kunnat.net" (ภาษาฟินแลนด์). Suomen Kuntaliitto. สืบค้นเมื่อ 6 May 2015.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 Kirby, David (2006). A Concise History of Finland (ภาษาอังกฤษ). Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-53989-7.
  15. Kallio, Veikko (1994). Finland: A Cultural Outline (ภาษาอังกฤษ). Porvoo: WSOY. ISBN 951-0-19421-2.
  16. "History of the Finnish Parliament | Parliament of Finland". archive.wikiwix.com.
  17. NATO. "Relations with Finland". NATO (ภาษาอังกฤษ).
  18. "Finland: World Audit Democracy Profile". web.archive.org. 2013-10-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-30. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  19. "The 2009 Legatum Prosperity Index". web.archive.org. 2009-10-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-29. สืบค้นเมื่อ 2024-11-08.
  20. "Her er verdens mest konkurransedyktige land | Næringsliv | Makro og politkk | E24". web.archive.org. 2010-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-11.
  21. CNN, By Katia Hetter. "This is the world's happiest country in 2019". CNN (ภาษาอังกฤษ).
  22. https://happiness-report.s3.amazonaws.com/2020/WHR20.pdf
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 "Finland at a glance". Virtual Finland (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศ ฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  24. "Helsinki - History". Encyclopædia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  25. "Finnish (suomi)". Omniglot.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  26. "Finland's trailblazing path for women" (ภาษาอังกฤษ). บีบีซีนิวส์. 2006-06-01. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  27. 27.0 27.1 27.2 27.3 Zetterberg, Seppo; Malcolm Hicks (1991). Finland After 1917 (ภาษาอังกฤษ). Helsinki: Otava. ISBN 951-1-11724-6.
  28. "History of the Finnish Parliament" (ภาษาอังกฤษ). รัฐสภาฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-05-30.
  29. Tiitinen, Seppo (October 2000). "Reform of the constitution". Virtual Finland (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศ ฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-30.
  30. "Finland: Politics" (ภาษาอังกฤษ). K-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-08. สืบค้นเมื่อ 2007-05-30.
  31. "Election of the President" (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานประธานาธิบดีฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  32. "The Chancellor of Justice" (ภาษาอังกฤษ). Oikeuskanslerinvirasto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-19. สืบค้นเมื่อ 2007-05-30.
  33. "Legislative work of Parliament" (ภาษาอังกฤษ). รัฐสภาฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-23. สืบค้นเมื่อ 2007-05-30.
  34. 34.0 34.1 "Parliamentary Elections" (ภาษาอังกฤษ). รัฐสภาฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-20. สืบค้นเมื่อ 2007-05-30.
  35. "Finnish General Election 2007- Results by parties" (ภาษาอังกฤษ). YLE.fi. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-25. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  36. "Tervetuloa aluehallintoviraston verkkosivuille!" (ภาษาฟินแลนด์). State Provincial Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 March 2012. สืบค้นเมื่อ 9 June 2012.
  37. The role that the regional councils serve on Mainland Finland are on the Åland Islands handled by the autonomous Government of Åland.
  38. "Valtioneuvosto päätti Uudenmaan ja Itä-Uudenmaan maakuntien yhdistämisestä" (ภาษาฟินแลนด์). Ministry of Finance. 22 ตุลาคม 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 August 2011. สืบค้นเมื่อ 30 December 2010.
  39. "Lakes in Finland" (ภาษาอังกฤษ). สถาบันสิ่งแวดล้อมฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  40. "Environment and Natural Resources" (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานสถิติฟินแลนด์. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  41. Heino, Raino (November 2001). "Finland's climate". Virtual Finland (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศ ฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-28. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  42. "Finland in the World Economy" (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.[ลิงก์เสีย]
  43. "National Accounts" (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานสถิติฟินแลนด์. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  44. "Finland - International trade". National Economies Encyclopedia (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  45. "The growing years of Finland's industrial production" (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานสถิติฟินแลนนิด์. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  46. "Economic Survey of Finland 2004" (ภาษาอังกฤษ). OECD. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
  47. "Forest Finland" (ภาษาอังกฤษ). สถานทูตฟินแลนด์ ลอนดอน. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  48. 48.0 48.1 "Finland beats US competitiveness" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 2003-10-30. สืบค้นเมื่อ 2007-05-28.
  49. 49.0 49.1 "ความสามารถในการแข่งขัน". ผู้จัดการรายสัปดาห์. 2006-07-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-08. สืบค้นเมื่อ 2007-05-28.
  50. Sipilä, Kari (April 2004). "A country that innovates". Virtual Finland (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศ ฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-16. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  51. 51.0 51.1 "Transport and Tourism" (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานสถิติฟินแลนด์. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  52. 52.0 52.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ cia
  53. Peltonen, Arvo (November 2002). "The Population in Finland". Virtual Finland (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศ ฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  54. 54.0 54.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ statspop
  55. "Country Reports on Human Rights Practices in Finland" (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ. 2007-03-06. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  56. "Kirkon väestötilastot tarkentuneet - Suomalaisista 82,4 prosenttia kuuluu luterilaiseen kirkkoon". คริสตจักรเอวาเจลิคัลลูเธอรันแห่งฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-27. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31. (ฟินแลนด์)
  57. "Finland". International Religious Freedom Report 2004 (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  58. "โออีซีดีเผย เด็กฟินแลนด์เก่งที่สุดในโลก". โพสต์ทูเดย์. 2007-12-05.
  59. "Finland" (PDF). Country/Economy Profile (ภาษาอังกฤษ). World Economic Forum. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  60. "Frans Eemil Sillanpää : The Nobel Prize in Literature 1939" (ภาษาอังกฤษ). Nobelprize.org. สืบค้นเมื่อ 2008-02-27.
  61. "Finnish Sauna" (ภาษาอังกฤษ). A-Sauna.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-10-23. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  62. 62.0 62.1 "Finnish Food" (ภาษาอังกฤษ). SIFCO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-11. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  63. Tanttu, Anna-Maija (November 2001). "The gastronomy of Finland". Virtual Finland (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศ ฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-05. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  64. "Finland celebrates Eurovision win" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 2006-05-21. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  65. "Introduction to the game" (ภาษาอังกฤษ). Pesäpalloliitto. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-09. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  66. Brady, Joe (August 2004). "On sport in Finland". Virtual Finland (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศ ฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-05. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  67. "Human Development Report 2006" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-02. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  68. "Worldwide Press Freedom Index 2007" (ภาษาอังกฤษ). องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
  69. "Corruption Perceptions Index 2007" (ภาษาอังกฤษ). Transparency International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-28. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.
  70. "Finland". World Democracy Profile (ภาษาอังกฤษ). World Audit. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  71. "สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ และ สวีเดน ติด 3 อันดับแรกประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก". ThaiEurope.net. 2006-09-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-18. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31.
  72. "US loses top competitiveness spot" (ภาษาอังกฤษ). BBC News. 2006-09-26. สืบค้นเมื่อ 2007-05-28.
  73. "Index of Economic Freedom 2007" (ภาษาอังกฤษ). The Heritage Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  74. "2005 Environmental Sustainability Index" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2007-05-31.
  75. "Global Peace Index Rankings" (ภาษาอังกฤษ). The Economist Intelligence Unit. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-16. สืบค้นเมื่อ 2007-10-19.

อ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

รัฐบาล

แผนที่

การเดินทาง

64°N 26°E / 64°N 26°E / 64; 26

Kembali kehalaman sebelumnya