สนธิสัญญาทิลซิท55°05′N 21°53′E / 55.083°N 21.883°E
สนธิสัญญาทิลซิท (ฝรั่งเศส: traités de Tilsit; เยอรมัน: Friede von Tilsit; รัสเซีย: Тильзитский мир, อักษรโรมัน: Tilsitski mir) เป็นข้อตกลงทั้งสองฉบับ ที่ลงนามโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ในเมืองทิลซิทในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1807 ภายหลังชัยชนะของพระองค์ที่ฟรีดลันท์ การลงนามครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ระหว่างจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย และจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส เมื่อพวกพระองค์ได้พบกันบนแพ กลางแม่น้ำเนมาน และครั้งที่สอง ถูกลงนามกับปรัสเซีย เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม สนธิสัญญานี้ทำขึ้น โดยความปราชัยของพระมหากษัตริย์ปรัสเซีย ผู้ซึ่งได้ตกลงที่จะสงบศึกในวันที่ 25 มิถุนายน หลังจากที่กองทัพใหญ่เข้ายึดครองกรุงเบอร์ลิน และไล่ตามพระองค์ ไปยังพรมแดนด้านตะวันออกสุดของราชอาณาจักร ในทิลซิท พระองค์ยอมยกดินแดนประมาณกึ่งหนึ่ง ของช่วงก่อนสงคราม[1][2][3] จากดินแดนเหล่านั้น นโปเลียนได้ก่อตั้งสาธารณรัฐพี่น้องของฝรั่งเศส ซึ่งถูกให้เป็นระเบียบแบบแผน และเป็นที่ยอมรับในทิลซิท ได้แก่ ราชอาณาจักรเว็สท์ฟาเลิน ดัชชีวอร์ซอ และเสรีนครดันท์ซิช ดินแดนที่ถูกยกให้อื่น ๆ ได้มอบให้รัฐบริวารของฝรั่งเศส และรัสเซีย ที่ยังดำรงอยู่ นโปเลียนไม่เพียงแค่ประสานการควบคุมยุโรปกลาง ของพระองค์เท่านั้น แต่ยังมีรัสเซีย และปรัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรที่ถูกบั่นทอนอยู่กับพระองค์ เพื่อต่อสู้กับศัตรูอีกสองรัฐ ที่ยังเหลืออยู่ของพระองค์ คือสหราชอาณาจักร และสวีเดน กระตุ้นให้เกิดเป็นสงครามอังกฤษ–รัสเซีย และสงครามฟินแลนด์ ทิลซิทยังได้ปลดปล่อยกองกำลังฝรั่งเศสสำหรับสงครามคาบสมุทร ยุโรปกลางกลายเป็นสมรภูมิอีกครั้งใน ค.ศ. 1809 เมื่อออสเตรียและสหราชอาณาจักร ต่อสู้กับฝรั่งเศส ในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า ภายหลังสิ้นสุดสงครามนโปเลียน ใน ค.ศ. 1815 การประชุมใหญ่แห่งเวียนนา มีความต้องการที่จะฟื้นฟูดินแดนปรัสเซียในหลายแห่ง สนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซียสนธิสัญญาได้สงบศึกระหว่างจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิฝรั่งเศส และเริ่มเป็นพันธมิตรระหว่างสองจักรวรรดิ ที่ทำให้ส่วนที่เหลือของยุโรปแทบจะไร้ซึ่งอำนาจ ทั้งสองรัฐตกลงที่จะช่วยเหลือกันในเรื่องข้อพิพาทอย่างลับๆ ฝรั่งเศสได้ให้คำมั่นสัญญา ว่าจะช่วยเหลือรัสเซียในการต่อต้านจักรวรรดิออตโตมัน ในขณะที่รัสเซียตกลงที่จะเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป เพื่อต่อต้านจักรวรรดิบริติช นโปเลียนยังโน้มน้าว ให้อเล็กซานเดอร์เข้าสู่สงครามอังกฤษ–รัสเซีย และปลุกปั่นให้เกิดสงครามฟินแลนด์ กับสวีเดนเพื่อบังคับให้สวีเดนเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซาร์ตกลงที่จะขจัดวัลเลเซีย และมอลดาเวีย ซึ่งถูกกองกำลังรัสเซียยึดครอง โดยเป็นส่วนหนึ่งของสงครามรัสเซีย-ตุรกี หมู่เกาะไอโอเนียน และ คาร์ตาโร (คาตัวร์) ซึ่งถูกยึดครองโดยนายพลเรือชาวรัสเซียอย่าง กูคาคอฟ และเซนยาวิน จะถูกส่งมอบให้กับฝรั่งเศส เพื่อเป็นการตอบแทน นโปเลียนรับรองอำนาจอธิปไตยของดัชชีแห่งโอลเดนบูร์ก และรัฐเล็กๆ อีกหลายแห่งที่ปกครองโดยเครือญาติชาวเยอรมันของซาร์ สนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซียสนธิสัญญากับปรัสเซียได้ขจัดอาณาเขตรัฐประมาณกึ่งหนึ่ง ค็อทบุสยกให้ซัคเซิน ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเอลเบมอบให้ราชอาณาจักรเว็สท์ฟาเลิน ที่ก่อขึ้นมาใหม่ เบียวิสตอคมอบให้รัสเซีย (ซึ่งนำไปสู่ก่อตั้งเบลอสตอคโอบลาสต์) และดินแดนส่วนใหญ่ของโปแลนด์ในดินแดนปรัสเซีย ตั้งแต่การแบ่งโปแลนด์ครั้งที่สองและสาม กลายเป็นดัชชีวอร์ซอที่กึ่งอิสระ ปรัสเซียต้องลดกองทหารเหลือเพียงแค่ 43,000 นาย[4] และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1808 ฝรั่งเศสได้กำหนดให้มีการเรียกเก็บภาษีจากปรัสเซีย อยู่ที่ 154,500,000 ฟรังก์ (41.73 ล้านเทาเลอร์ปรัสเซีย),[5] และหักออก 53,500,000 ฟรังก์ ซึ่งได้รวบรวมเงินมากขึ้น ในระหว่างการยึดครองฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง จำนวนรวมได้ลดลงในสองขั้น เป็น 120 ล้านฟรังก์ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1808 ตาแลร็องแนะนำให้นโปเลียนปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อ่อนโยนกว่า สนธิสัญญาถือเป็นขั้นตอนสำคัญในความบาดหมางจากจักรพรรดิ จนถึง ค.ศ. 1812 ฝรั่งเศสได้รับเงินและเงินช่วยเหลือ จากจำพวกบริษัทและบุคคลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากทหารรับจ้างในเมือง เงินสมทบเพิ่มเติมนี้ ตีเป็นจำนวนเงินระหว่าง 146 ถึง 309 ล้านฟรังก์ ตามการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป[5] หนี้ของรัฐบาลปรัสเซียเพิ่มสูงขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1806 ถึง ค.ศ. 1815 โดยเป็นเงิน 200 ล้านเทาเลอร์ เป็นหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ยรวมทั้งสิ้น 180.09 ล้านเทาเลอร์, พันธบัตรที่ไม่มีดอกเบี้ยรวม 11.24 ล้านเทาเลอร์ และหนี้เดิมของมณฑลอีก 25.9 ล้านเทาเลอร์ ตามที่รัฐบาลหลวงได้สันนิษฐานไว้[6] หนี้สินของเมืองต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเบอร์ลินที่จะถูกเรียกเก็บภาษีเป็นประจำ รัฐบาลปรัสเซียไม่ได้สันนิษฐานไว้ เนื่องจากเจ้าหนี้เข้าใจว่าปรัสเซียเป็นหนี้มากเกินไปใน ค.ศ. 1817 พันธบัตรของรัฐร้อยละ 4 ถูกซื้อขายที่ตลาดหุ้น โดยมีค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นร้อยละ 27 ถึง 29 ใน ค.ศ. 1818 แม้จะลดส่วนเป็นร้อยละ 35 แต่ทำให้ดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 6.15[7] ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหนี้ใหม่ เป็นบางส่วนใน ค.ศ. 1818 ด้วยเงินกู้ 5 ล้านปอนด์ (30 ล้านเทาเลอร์ปรัสเซีย) จากร้อยละ 5 ของตลาดการเงินของลอนดอน รัฐบาลปรัสเซียต้องยอมรับค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนเงินตราที่ร้อยละ 28⅓ ด้วยเหตุนี้ จึงจ่ายในอัตราที่แท้จริงต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 6.98[7] เมื่อมีการกำหนดสนธิสัญญา ผู้สังเกตการณ์ได้สังเกตเห็นว่า พระมหากษัตริย์ปรัสเซียกำลังก้าวเดินไปที่ริมฝั่งแม่น้ำเนมาน นโปเลียนกล่าวว่า "เพียงแค่ยกมือขึ้น และปรัสเซียก็จะไม่ดำรงอยู่" (แมคเคย์)[ต้องการอ้างอิง] ดังนั้น ผู้สังเกตการณ์หลายคนในปรัสเซีย และรัสเซีย จึงมองว่าสนธิสัญญานี้ไม่เท่าเทียมกัน และถือเป็นความอัปยศของประเทศชาติ ทหารรัสเซียจึงปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของนโปเลียน ดังที่เหตุการณ์ในลิสบอน ได้แสดงให้เห็นทั่วยุโรป แผนการของนโปเลียนที่จะแต่งงานกับพระกนิษฐาของซาร์ ถูกขัดขวางโดยบุคคลในราชวงศ์ของรัสเซีย ในที่สุด ความร่วมมือระหว่างรัสเซียและฝรั่งเศสได้สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1810 เมื่อซาร์เริ่มอนุญาตให้เรือพาณิชย์ที่เป็นกลาง เทียบท่าในท่าเรือของรัสเซีย[ต้องการอ้างอิง] ใน ค.ศ. 1812 นโปเลียนได้ข้ามแม่น้ำเนมาน และรุกรานรัสเซีย เป็นการยุติร่องรอยแห่งพันธไมตรี การสูญเสียดินแดนและประชากรของปรัสเซียอาณาเขตของรัฐปรัสเซียถูกลดลงเกือบกึ่งหนึ่ง ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาทิลซิท จาก 5,700 ตารางไมล์ปรัสเซีย เป็น 2,800 ตารางไมล์ปรัสเซีย (323,408.4 ถึง 158,867.28 km2 (124,868.68 ถึง 61,339.00 sq mi))[5] และแทนที่ประชากรจะเป็น 9.75 ล้านคน กลับเป็นไม่เกิน 4.5 ล้านคน ที่ยังคงอาศัยภายในอาณาเขตใหม่ของปรัสเซีย [5] รายได้ของรัฐ ซึ่งก่อนหน้านี้ มีมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ต่อปี ลดลงในอัตราส่วนที่มากขึ้น เนื่องจากมณฑลที่ยกให้นั้น ค่อนข้างมีความมั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์ และมีการใช้จ่ายไปหลายล้านดอลลาร์ เพื่อการพัฒนามณฑล มณฑลเกือบทั้งหมดที่ปรัสเซียได้รับจากการแบ่งโปแลนด์ (ค.ศ. 1772–1795) ถูกยึดไปจากดินแดนดังกล่าว ซัคเซิน ในฐานะอดีตสมาพันธ์ของปรัสเซีย เป็นผู้รับมณฑลต่างๆ และรัสเซีย ซึ่งเป็นพันธมิตรที่มีอิทธิพลในสมัยก่อน ได้รับดินแดน พร้อมกับประชากร 200,000 คน และต่อไปนี้คือตารางของการสูญเสียดินแดนและจำนวนประชากร (โดยปราศจากการครอบครองของปรัสเซีย ตั้งแต่ ค.ศ. 1772) ภายใต้เงื่อนไขของสนธิสัญญาทิลซิท:[8]
เชิงอรรถ
อ้างอิง
ดูเพิ่มแหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สนธิสัญญาทิลซิท |