สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า ส่วนหนึ่งของ สงครามนโปเลียน วันที่ 10 เมษายน – 14 ตุลาคม ค.ศ. 1809 สถานที่ ยุโรปตอนกลาง, อิตาลี และ เนเธอร์แลนด์
ผล
ชัยชนะของฝรั่งเศส เกิดสนธิสัญญาเชินบรุนน์
คู่สงคราม
ฝ่ายสหสัมพันธมิตร:
จักรวรรดิออสเตรีย สหราชอาณาจักร
ซิซิลี
ซาร์ดิเนีย
จักรวรรดิฝรั่งเศส
รัฐบริวารของฝรั่งเศส :
สมาพันธรัฐแม่น้ำไรน์ :
อิตาลี
สเปนบูร์บง
กองทหารโปแลนด์
เนเปิลส์
สวิตเซอร์แลนด์
ฮอลแลนด์ ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย
อาร์ชดยุกคาร์ล
อาร์ชดยุกจอห์นแห่งออสเตรีย
ดยุกเฟรเดอริก วิลเลียม
ดยุกแห่งพอร์ตแลนด์
สเปนเซอร์ เพอร์ชีวัล
จอห์น พิตต์,เอิร์ลแห่งคัทแธมที่ 2
อัสเดรีย ฮอเฟอร์
นโปเลียนที่ 1
มักซีมีเลียนที่ 1
เออแฌน เดอ โบอาร์แน
โจเซฟ โปเนียทอวัสกี
เฟรเดอริก ออกัสตัสที่ 1
อองตวน ชาร์ล หลุยส์ เดอ ลาแซล † กำลัง
ทหารออสเตรีย 340,000[ 1] ทหารอังกฤษ 85,000 [ 2]
275,000[ 3] ความสูญเสีย
170,000 90,000 ถูกสังหารและบาดเจ็บ 80,000 ถูกจับ
140,000 30,000 ถูกสังหาร 90,000 บาดเจ็บ 20,000 ถูกจับ
สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า [ 4] (อังกฤษ : War of the Fifth Coalition ) เป็นสงครามในปีค.ศ. 1809 ระหว่างฝ่ายสหสัมพันธมิตรจักรวรรดิออสเตรีย ร่วมกับสหราชอาณาจักร เพื่อต่อต้านการแผ่อำนาจของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง และรัฐบริวารซึ่งนำโดยจักรพรรดินโปเลียน ซึ่งการปะทะส่วนใหญ่ในสงครามนี้เป็นการปะทะระหว่างกองกำลังออสเตรียกับฝรั่งเศส ซึ่งการปะทะเกิดขึ้นทั้งทวีปยุโรปตอนกลางตั้งแต่เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งในขณะเดียวกัน อังกฤษก็เข้ามามีส่วนร่วมในความขัดแย้งครั้งนี้ด้วยในการรบทางทะเลที่เรียกว่าสงครามคาบสมุทร สงครามครั้งนี้จบลงโดยพฤตินัยด้วยชัยชนะของฝรั่งเศสในยุทธการวาแกรม ในต้นเดือนกรกฎาคม
หลังการต่อสู้จบลง มีการทำสนธิสัญญาเชินบรุนน์ ณ กรุงเวียนนา จักรวรรดิออสเตรียจำยอมต้องเสียดินแดนจำนวนมากแก่รัฐบริวารของฝรั่งเศส และเสียเขตเทร์โนพิลแก่จักรวรรดิรัสเซีย ในดินแดนที่ต้องเสียไปนั้นมีประชากรอาศัยอยู่กว่าสามล้านคน ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในห้าของประชากรทั้งหมดของจักรวรรดิออสเตรียก่อนเสียดินแดน[ 5] ซึ่งระหว่างที่นโปเลียนพำนักอยู่ในเวียนนานั้นเอง มีความพยายามจะลอบสังหาร นโปเลียนแต่ไม่สำเร็จ การลงนามในสนธิสัญญานี้ทำให้สงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่ห้ายุติลงอย่างเป็นทางการ ในขณะที่สงครามคาบสมุทรยังดำเนินต่อไป
อ้างอิง
↑ Chandler p. 673. Austria sent about 100,000 troops to attack Italy, 40,000 to protect Galicia , and held 200,000 men and 500 guns, organized into six line and two reserve corps, around the Danube valley for the main operations.
↑ The British Expeditionary Force to Walcheren: 1809 The Napoleon Series , Retrieved 5 September 2006.
↑ David G. Chandler, The Campaigns of Napoleon. p. 670.
↑ ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๕ อักษร L-O ฉบับราชบัณฑิตยสถาน . กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2551. 896 หน้า. หน้า 591. ISBN 978-974-287-672-2
↑ David G. Chandler, The Campaigns of Napoleon. p. 732.
คู่สงคราม
ฝรั่งเศสรวมถึง รัฐบริวารและพันธมิตร กองทัพประสานมิตร
ผู้นำทางการเมือง และการทหาร
ฝรั่งเศสรวมถึง รัฐบริวาร และพันธมิตร กองทัพฝ่ายประสานมิตร