ภาษาสลาฟตะวันออก
ภาษารัสเซีย (รัสเซีย: русский язык , อักษรโรมัน : russkiy yazyk ) เป็นภาษากลุ่มสลาฟตะวันออก ที่ชาวรัสเซีย ใช้พูดในยุโรปตะวันออก โดยเป็นภาษาทางการ ในประเทศรัสเซีย , เบลารุส , คาซัคสถาน , คีร์กีซสถาน และใช้เป็นภาษากลางอย่างแพร่หลายทั่วประเทศยูเครน , ภูมิภาคคอเคซัส , เอเชียกลาง และบางส่วนของรัฐบอลติก [ 26] [ 27] ภาษารัสเซียเป็นภาษาทางการโดยพฤตินัยของสหภาพโซเวียต จนกระทั่งสหภาพฯ ล่มสลาย ในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991[ 28]
ภาษารัสเซียเป็นภาษาแม่ ที่มีผู้พูดมากที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นภาษาที่กระจายตัวตามเขตภูมิศาสตร์มากที่สุดในยูเรเชีย [ 29] โดยมีผู้พูดมากกว่า 258 ล้านคนทั่วโลก จึงถือเป็นภาษากลุ่มสลาฟ ที่มีผู้พูดมากที่สุด[ 30] ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 7 ของโลกหากเรียงตามจำนวนผู้พูดภาษาแม่ และเป็นภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ของโลกหากเรียงตามจำนวนผู้พูดทั้งหมด [ 31] ภาษานี้เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 6 ภาษา ของสหประชาชาติ และยังเป็นภาษาที่แพร่หลายในอินเทอร์เน็ต มากที่สุดเป็นอันดับที่ 2 โดยเป็นรองเพียงภาษาอังกฤษ [ 32]
ภาษารัสเซียเขียนด้วยอักษรซีริลลิก ซึ่งจำแนกความต่างระหว่างหน่วยเสียง พยัญชนะ ที่มีการออกเสียงรอง เป็นเสียงเพดานแข็ง กับหน่วยเสียงพยัญชนะที่ไม่มี (ซึ่งเรียกกันว่าเสียง อ่อน และเสียง แข็ง ) เสียงพยัญชนะเกือบทุกเสียงมีคู่เสียงอ่อน-แข็ง ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการกร่อน เสียงสระ ที่ไม่ได้เน้นหนัก ในอักขรวิธี โดยปกติไม่มีการระบุว่าสระใดเป็นสระที่เน้นเสียงหนัก แต่บางครั้งก็มีการใช้เครื่องหมายอะคิวต์แอกเซนต์ แสดงการเน้นหนักเพื่อจำแนกความต่างระหว่างคำพ้องรูป เช่น замо́к (zamók – "แม่กุญแจ") กับ за́мок (zámok – "ปราสาท") หรือเพื่อแสดงการออกเสียงที่ถูกต้องของคำหรือชื่อที่พบไม่บ่อยนัก
การจัดจำแนก
ภาษารัสเซียเป็นภาษากลุ่มสลาฟในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน ในแง่ของภาษาพูดมีความใกล้เคียงกับภาษาไบโลรัสเซีย และภาษายูเครน ที่อยู่ในภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกและเป็นลูกหลานของภาษาสลาฟตะวันออกโบราณเช่นเดียวกัน หลายแห่งในไบโลรัสเซียและยูเครน มีผู้พูดภาษาเหล่านี้ได้สองภาษาซึ่งเป็นผลมาจากการปะปนกัน
ลักษณะของศัพท์ในภาษาเขียน หลักการสร้างคำ และการผันคำในภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักร ที่พัฒนามาจากภาษากลุ่มสลาฟใต้ ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณ ซึ่งใช้ในทางศาสนาของคริสต์ศาสนา นิกายรัสเซียนออร์โธดอกซ์ สัทวิทยาและการเรียงประโยคของภาษารัสเซีย (โดยเฉพาะสำเนียงทางเหนือ) ได้รับอิทธิพลจากภาษากลุ่มฟินน์ของภาษาตระกูลฟินโน-ยูกริก เช่นภาษาเมอร์ยา ภาษามอกซา ภาษามูโรเมีย ด้วย ภาษาเหล่านี้มักเป็นภาษาที่ตายแล้ว แต่เคยใช้พูดในบริเวณภาคกลางและภาคเหนือของรัสเซียในยุโรป
การแพร่กระจายในทางภูมิศาสตร์
ภาษารัสเซียใช้พูดในรัสเซียเป็นหลัก ประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษารัสเซียมักเป็นประเทศที่เคยรวมอยู่ในสหภาพโซเวียต ซึ่งใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษากลางตั้งแต่ พ.ศ. 2460 จนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลายไปเมื่อ พ.ศ. 2534 ประเทศเหล่านั้นจึงกลับไปใช้ภาษาของตนเอง
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 25 ประเทศในกลุ่มกติกาสัญญาวอร์ซอ และประเทศที่อยู่ในสหภาพโซเวียต ใช้ภาษารัสเซียเป็นภาษาในโรงเรียน เช่นในโปแลนด์ บัลแกเรีย เช็กเกีย สโลวาเกีย ฮังการี โรมาเนีย แอลเบเนีย และคิวบา แต่คนรุ่นต่อมาเริ่มใช้ภาษารัสเซียน้อยลง นอกจากนั้นมีชาวยิวในอิสราเอล ที่พูดภาษารัสเซียอีกราว 750,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่อพยพไปจากรัสเซีย ในอเมริกาเหนือ พบผู้พูดภาษารัสเซียแพร่กระจายทั่วไปในช่วงก่อนการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ผู้พูดเหล่านี้ส่วนมากเป็นชาวยิวที่อพยพมาจากรัสเซีย ในยุโรปตะวันตกมีผู้พูดภาษารัสเซียซึ่งอพยพออกจากรัสเซียในพุทธศตวรรษที่ 25
สถานะการเป็นภาษาราชการ
ภาษารัสเซียเป็นภาษาราชการของรัสเซีย และเป็นภาษาราชการร่วมในเบลารุส คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน เป็น 1 ใน 6 ภาษาราชการของสหประชาชาติ มีการเรียนการสอนเป็นภาษารัสเซียในฐานะภาษาที่สองในหลายประเทศ โดยมากเป็นประเทศที่เคยอยู่ในสหภาพโซเวียตมาก่อน
สำเนียง
นักภาษาศาสตร์แบ่งภาษารัสเซียเป็นสองกลุ่มหลักคือกลุ่มเหนือและกลุ่มใต้ โดยสำเนียงมอสโกอยู่ระหว่างกลางทั้งสองกลุ่ม (ถือเป็นกลุ่มกลาง) และเป็นสำเนียงมาตรฐาน
ประวัติ
เมื่อประมาณ พ.ศ. 1543 กลุ่มชนส่วนใหญ่ในบริเวณที่เป็นประเทศรัสเซีย ยูเครน และไบโลรัสเซีย เป็นชาวสลาฟกลุ่มตะวันออกที่พูดภาษาใกล้เคียงกัน การรวมตัวทางการเมืองบริเวณนี้เป็นเคียวาน รุสเมื่อ พ.ศ. 1423 ทำให้เกิดภาษาสลาฟตะวันออกโบราณ ที่กลายเป็นภาษาทางวรรณคดีและการค้า ตามมาด้วยการรับอิทธิพลของศาสนาคริสต์ เมื่อ พ.ศ. 1531 และการเข้ามาของภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณที่เป็นภาษากลุ่มสลาฟใต้ และเป็นภาษาราชการและภาษาทางศาสนาในยุคนั้น เริ่มมีการยืมคำจากภาษากรีก ยุคไบแซนไทน์ ทำให้ภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณเริ่มถูกเปลี่ยนแปลง
เมื่อเคียวาน รุสแตกสลายเมื่อราว พ.ศ. 1643 จึงมีการพัฒนาสำเนียงที่แตกต่างกัน ความแตกต่างอย่างชัดเจนเกิดขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการตั้งเขตของดยุกแห่งลิทัวเนีย ทางตะวันตกและดินแดนอิสระของสาธารณรัฐฟิวดัลโนฟโกรอดและดินแดนของตาตาร์ทางตะวันออก ภาษาราชการในโนฟโกรอด มอสโก และตาตาร์เป็นภาษาสลาโวนิกคริสตจักร ที่พัฒนามาจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรโบราณ ภาษารัสเซียได้รับอิทธิพลจากภาษาสลาโวนิกคริสตจักรจนถึงพุทธศตวรรษที่ 22 มีการจัดมาตรฐานโดยเมเลเตียส สโมเตรียสกีเมื่อ พ.ศ. 2163 และมีการปรับตัวอักษรในพระเจ้าปีเตอร์มหาราช ได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะภาษาฝรั่งเศสกับภาษาเยอรมัน
ภาษารัสเซียสมัยใหม่มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2461 อิทธิพลในยุคของสหภาพโซเวียตทำให้ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีผู้ใช้แพร่หลายมากภาษาหนึ่ง
ภาษาลูกหลาน
ภาษาที่มีพัฒนาการไปจากภาษารัสเซียได้แก่
ภาษาเฟนยา ไวยากรณ์มีจุดกำเนิดเดียวกับภาษารัสเซียแต่ใช้คำศัพท์ต่างไป
ภาษาซุรเซียก เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษายูเครน ใช้พูดในบางบริเวณของประเทศยูเครน
ภาษาทราเซียนกา เป็นภาษาที่มีลักษณะของภาษารัสเซียและภาษาไบโลรัสเซีย ใช้พูดในเบลารุส
สำเนียงบาลัชกา ใช้พูดโดยชาวคอสซักก์ในบริเวณดอน คูบันและเตเรก
ภาษากวูเอเลีย เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาเยอรมัน
ภาษารุสเซนอร์ส เป็นภาษาผสมที่ตายแล้วใช้คำศัพท์จากภาษารัสเซียและไวยากรณ์ของภาษานอร์เวย์ ใช้ในการติดต่อทางการค้าระหว่างชาวรัสเซียและนอร์เวย์ในอดีต
ภาษารุงลิซ เป็นภาษาผสมระหว่างภาษารัสเซียกับภาษาอังกฤษ ใช้เรียกการพูดภาษาอังกฤษของชาวรัสเซียที่ใช้ลักษณะและการเรียงประโยคแบบภาษารัสเซีย
ภาษานักซัต เป็นภาษาในนิยายพูดโดย “A Clockwork Orange” ใช้คำและคำแสลงจากภาษารัสเซียมาก
ระบบการเขียน
เมเลเตียส สโมเตรียสกี นำอักษรซีริลลิกมาใช้เขียนภาษารัสเซียเมื่อราว พ.ศ. 2162 ใช้ตัวอักษร 33 ตัว มีการปรับปรุงตัวสะกดในภาษารัสเซียหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2423, 2461, และครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2533
อักษรที่ใช้เขียนภาษารัสเซียเรียกว่าอักษรซีริลลิก มีอยู่ทั้งหมด 33 ตัวด้วยกัน ดังต่อไปนี้
Аа Бб Вв Гг Дд Ее Ёё Жж Зз Ии Йй
Кк Лл Мм Нн Оо Пп Рр Сс Тт Уу Фф
Хх Цц Чч Шш Щщ Ъъ Ыы Ьь Ээ Юю Яя
ในภาษาอื่นที่ใช้อักษรซีริลลิก เช่น ภาษายูเครน ภาษามองโกเลีย ฯลฯ จะมีอักขระพิเศษเพิ่มขึ้นมาตามแต่ละภาษาในประเทศรัสเซีย อักษรซีริลลิก นอกจากจะใช้เขียนภาษารัสเซีย ปัจจุบันยังใช้เขียนภาษาของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศด้วย
ระบบเสียง
เสียงพยัญชนะ
ไวยากรณ์
ภาษารัสเซียมีลักษณะคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน คือมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อแสดงเพศ พจน์ กาล การก แม้ว่าในหลายภาษาในตระกูลเดียวกันกฎเกณฑ์เหล่านี้ได้หายไปบ้าง แต่ในภาษารัสเซียรวมทั้งภาษาสลาฟอื่น ๆ ยังคงมีกฎเหล่านี้อยู่ มีการเปลี่ยนรูปคำมาก การเรียงประโยคเป็นการผสมอิทธิพลระหว่างภาษาสลาโวนิกคริสตจักรกับภาษาในยุโรปตะวันตก
infinitive
работать ทำงาน
รูปปัจจุบัน
รูปอดีต
Я (สรรพนามบุรุษที่ 1 เอกพจน์)
работаю
ช работал ญ работала
Ты (สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์)
работаешь
ช работал ญ работала
Он (สรรพนามเพศชายบุรุษที่ 3 เอกพจน์)
работает
работал
Она (สรรพนามเพศหญิงบุรุษที่ 3 เอกพจน์)
работает
работала
Оно (สรรพนามเพศกลางบุรุษที่ 3 เอกพจน์)
работает
работало
Мы (สรรพนามบุรุษที่ 1 พหูพจน์)
работаем
работали
Вы (สรรพนามบุรุษที่ 2 พหูพจน์)
работаете
работали
Они (สรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์)
работают
работали
นอกจากนี้แล้ว กริยาภาษารัสเซีย ยังมีรูปสมบูรณ์ และ ไม่สมบูรณ์ โดยกริยาสมบูรณ์เน้นที่ผลของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ прочитать หมายถึง อ่าน (จบแล้ว)
ประโยคตัวอย่าง
Я прочитал эту книгу. (ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว)
ส่วนกริยาไม่สมบูรณ์เน้นที่ขั้นตอนของการกระทำกริยาตัวนั้นๆ ได้แก่ читать หมายถึง อ่าน
ประโยคตัวอย่าง
Я читаю эту книгу. ฉันกำลังอ่านหนังสือเล่มนี้อยู่ (เริ่มอ่านแล้ว และ ยังอ่านไม่จบเล่ม)
อนึ่ง กาลของกริยาสมบูรณ์มีเพียง 2 กาล คือ อดีต และ อนาคต ต่างจากกริยาไม่สมบูรณ์ ที่มี อดีต ปัจจุบัน และ อนาคต (กาลอนาคตใช้ กริยา быть มาขยายข้างหน้ากริยารูป infinitive โดยผันกริยา быть ตามประธาน กาลปัจจุบัน (เช่น Я буду , ты будешь ...они будут )
การก
ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการผันคำนามและคุณศัพท์ตามการก หรือหน้าที่ของคำในประโยคนั้นๆ ภาษารัสเซียมีหกการก ดังนี้
กรรตุการก (Именительный падеж: Nominative case)ใช้เป็นประธาน หรือผู้กระทำ
สัมพันธการก (Родительный падеж: Genitive case)ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนหรือสิ่งของกับคน
สัมปทานการก (Дательный падеж: Dative case)ใช้เป็นกรรมรอง เช่นได้รับของ ได้รับความช่วยเหลือ ได้รับคำแนะนำ
กรรมการก (Винительный падеж: Accusative case)ใช้เป็นกรรมตรง หรือผู้ถูกกระทำ
กรณการก (Творительный падеж: Instrumental case)ใช้เป็นตัวช่วย เป็นเครื่องมือ
อธิกรณการก (Предложный падеж: Prepositional case)ใช้แสดงตำแหน่ง หรือสถานที่
หมายเหตุ
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 ภาษารัสเซีย at Ethnologue (26th ed., 2023)
↑ "Article 68. Constitution of the Russian Federation" . Constitution.ru . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2013. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013 .
↑ "Article 17. Constitution of the Republic of Belarus" . President.gov.by . 11 May 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2 May 2007. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013 .
↑ Nazarbaev, N. (4 December 2005). "Article 7. Constitution of the Republic of Kazakhstan" . Constcouncil.kz . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 20 October 2007. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013 .
↑ "Официальный сайт Правительства КР" . Gov.kg . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 22 December 2012. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020 .
↑ "КОНСТИТУЦИЯ РЕСПУБЛИКИ ТАДЖИКИСТАН" . prokuratura.tj . Parliament of Tajikistan. สืบค้นเมื่อ 9 January 2020 .
↑ Юрий Подпоренко (2001). "Бесправен, но востребован. Русский язык в Узбекистане" . Дружба Народов. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016 .
↑ Шухрат Хуррамов (11 September 2015). "Почему русский язык нужен узбекам?" . 365info.kz . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016 .
↑ Евгений Абдуллаев (2009). "Русский язык: жизнь после смерти. Язык, политика и общество в современном Узбекистане" . Неприкосновенный запас. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 June 2016. สืบค้นเมื่อ 27 May 2016 .
↑ "Article 16. Legal code of Gagauzia (Gagauz-Yeri)" . Gagauzia.md . 5 August 2008. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2013. สืบค้นเมื่อ 18 June 2013 .
↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 Abkhazia and South Ossetia are only partially recognized countries
↑ "Конституция Республики Абхазия" . 18 January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 18 January 2009. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020 .
↑ "Russian Language To Get Official Status In Nagorno-Karabakh" . RFERL . Radio Free Europe/Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 26 March 2021 .
↑ "КОНСТИТУЦИЯ РЕСПУБЛИКИ ЮЖНАЯ ОСЕТИЯ" [CONSTITUTION OF THE REPUBLIC OF SOUTH OSSETIA]. 11 August 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 11 August 2009. สืบค้นเมื่อ 5 April 2021 .
↑ Парламент ЛНР признал русский язык единственным государственным в республике [LPR legislature adopted Russian language as the sole state language of the republic] (ภาษารัสเซีย). Interfax. 3 June 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-06-05 .
↑ Русский признали в ДНР единственным государственным языком [Russian language became the sole state language in the DPR]. Российская газета (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 7 March 2020 .
↑ "Charter of Organization for democracy and economic development" . GUAM . 22 April 2006. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2016.
↑ "Romania : Languages of Romania" . Ethnologue.com . 1999-02-19. สืบค้นเมื่อ 2016-01-28 .
↑ 19.0 19.1 19.2 "List of declarations made with respect to treaty No. 148 (Status as of: 21/9/2011)" . Council of Europe . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012 .
↑ "National Minorities Policy of the Government of the Czech Republic" . Vlada.cz. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012 .
↑ "At home Latvian is spoken by 62% of Latvian population; the majority – in Vidzeme and Lubāna county" . Central Statistical Bureau of Latvia . 26 August 2013.
↑ "Președintele CCM: Constituția nu conferă limbii ruse un statut deosebit de cel al altor limbi minoritare" . Deschide.md. สืบค้นเมื่อ 22 January 2021 .
↑ Русский язык в Монголии стал обязательным [Russian language has become compulsory in Mongolia] (ภาษารัสเซีย). New Region. 21 September 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 9 October 2008. สืบค้นเมื่อ 16 May 2009 .
↑ Article 10 เก็บถาวร พฤษภาคม 21, 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the Constitution says: "The state language of Ukraine is the Ukrainian language. The State ensures the comprehensive development and functioning of the Ukrainian language in all spheres of social life throughout the entire territory of Ukraine. In Ukraine, the free development, use and protection of Russian, and other languages of national minorities of Ukraine, is guaranteed."
↑ "Russian Language Institute" . Ruslang.ru . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2010. สืบค้นเมื่อ 16 May 2010 .
↑ "Russian Language Enjoying a Boost in Post-Soviet States" . Gallup.com. 1 August 2008. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2010. สืบค้นเมื่อ 16 May 2010 .
↑ Арефьев, Александр (2006). Падение статуса русского языка на постсоветском пространстве . Демоскоп Weekly (ภาษารัสเซีย) (251). เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2013.
↑ Constitution and Fundamental Law of the Union of Soviet Socialist Republics , 1977: Section II, Chapter 6, Article 36
↑ "Russian: Eurasia's Most Geographically Widespread Language" . Day Translations Blog . 4 August 2014.
↑ "Russian" . Ethnologue. สืบค้นเมื่อ August 10, 2020 .
↑ "The World's Most Widely Spoken Languages" . Saint Ignatius High School . Cleveland, Ohio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 27 September 2011. สืบค้นเมื่อ 17 February 2012 .
↑ "Usage Statistics and Market Share of Content Languages for Websites, February 2020" . w3techs.com . สืบค้นเมื่อ 16 February 2020 .
ข้อมูล
ในภาษาอังกฤษ
M.A. O'Brien, New English–Russian and Russian–English Dictionary (New Orthography), New York, The Language Library 1944, Dover Publications.
Comrie, Bernard S. ; Stone, Gerald; Polinsky, Maria (1996). The Russian Language in the Twentieth Century (2nd ed.). Oxford, England: Oxford University Press . ISBN 978-0-19-824066-2 .
Carleton, T. R. (1991). Introduction to the Phonological History of the Slavic Languages . Columbus, Ohio: Slavica Press.
Cubberley, P. (2002). Russian: A Linguistic Introduction (1st ed.). Cambridge, England: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-79641-5 .
Iliev, Iv. The Russian Genitive of Negation and Its Japanese Counterpart. International Journal of Russian Stidies. 1, 2018 (In Print)
Sussex, Roland ; Cubberley, Paul (2006). The Slavic languages . Cambridge , England: Cambridge University Press . ISBN 978-0-521-22315-7 .
Timberlake, Alan (2004). A Reference Grammar of Russian . New York, NY: Cambridge University Press . ISBN 978-0-521-77292-1 .
Timberlake, Alan (1993). "Russian". ใน Comrie, Bernard; Corbett, Greville G. (บ.ก.). The Slavonic languages . London, England; New York, NY: Routledge. pp. 827–886. ISBN 978-0-415-04755-5 .
Wade, Terence (2000). Holman, Michael (บ.ก.). A Comprehensive Russian Grammar (2nd ed.). Oxford, England: Blackwell Publishing . ISBN 978-0-631-20757-3 .
ในภาษารัสเซีย
แหล่งข้อมูลอื่น