สภาสังคายนาสากล
ในศาสนาคริสต์ สภาสังคายนาสากล[1][2] (อังกฤษ: Ecumenical council หรือ oecumenical council หรือ general council) คือการประชุมบรรดามุขนายกและนักเทววิทยาศาสนาคริสต์จากคริสตจักรทั่วโลก เพื่อสังคายนาหรือหาข้อตกลงร่วมกันในเรื่องหลักความเชื่อและการปฏิบัติที่ขัดแย้งกันอยู่ในขณะนั้น คำว่า “Οικουμένη” เป็นภาษากรีกแปลว่า “โลกที่อยู่อาศัย” หรือในความหมายแคบคือจักรวรรดิโรมันนั่นเอง เพราะการประชุมในสมัยแรก ๆ ริเริ่มโดยจักรพรรดิโรมัน แต่ต่อมาคำนี้ก็นำมาใช้กันโดยทั่วไปในความหมายที่หมายถึง “คริสตจักร” หรือประชาคมคริสต์ศาสนิกชน “ทั่วโลก” หรือในแต่ละนิกายในศาสนาคริสต์ สภาสังคายนาครั้งสุดท้ายที่เป็นที่ยอมรับจากทั้งฝ่ายโรมันคาทอลิกและออร์ทออดกซ์คือสังคายนาไนเซียครั้งที่สองปี ค.ศ. 787 ซึ่งถือเป็นสังคายนาครั้งที่ 7 ฉะนั้นสภาสังคายนาสากลเจ็ดครั้งแรกนี้จึงมีความสำคัญเพราะผลจากการประชุมทั้ง 7 ครั้งนั้นก็ที่เป็นที่ยอมรับกันในหลายนิกายที่รวมทั้งฝ่ายโปรเตสแตนต์ด้วย ฉะนั้นตามความคิดเห็นสมัยใหม่การประชุมสภาสังคายนา หรือ “Ecumenical council” ที่แท้จริงก็คือการประชุมทั้ง 7 ครั้งแรกที่กล่าวนี้เท่านั้น “สภาควินิเซ็กซท์” (Quinisext Council) ไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็น “สังคายนาแห่งควินนิเซ็กซท์” โดยโรมันคาทอลิกแต่อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ถือว่าเป็น “สภาสังคายนา” หรือที่เรียกว่าการประชุมสังคายนาแห่งคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่ 3 เมื่อปี ค.ศ. 680 (Third Council of Constantinople) ถ้าการประชุมเป็นการประชุมท้องถิ่นก็จะเรียกว่า “ซีนอด” (synod) คำว่า “σύνοδος” มาจากคำว่า “syn” และ “odos” ในภาษากรีก “σύν” และ “οδος” ซึ่งแปลว่า “ทาง” หรือ “ถนน” ฉะนั้นจึงหมายถึงผู้ที่มาพบปะกันระหว่างผู้ที่มีพื้นฐานอย่างเดียวกัน ในกรณีนี้คือนักบวชในคริสต์ศาสนา เอกสารจากการประชุมเอกสารจากสภาสังคายนาก็คล้ายคลึงกับระบบงานในสำนักงาน ระหว่างการประชุมก็จะออกเอกสารเวียน กล่าวและโต้สุนทรพจน์ ออกเสียง และในที่สุดก็ออกบัญญัติและแจกจ่ายเอกสารให้แก่ผู้เหมาะสม เช่นการประกาศว่าความเชื่อใดที่ถือว่านอกรีต กฎหมายที่ออกโดยสภาเรียกว่า “Canon” มาจากคำว่าในภาษากรีก “κανονες” - “kanones” ซึ่งแปลว่า “กฎ” หรือ “การดำเนินตามกฎ” ที่พิมพ์ขึ้น ซึ่งก็ยังมีหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน ในบางกรณีก็พร้อมด้วยเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายจากสภาสังคายนาเป็นรากฐานสำคัญของการวิวัฒนาการของ “กฎหมายศาสนจักร” (Canon law) โดยเฉพาะการวิจัยกฎบางข้อที่ขัดแย้งกันเองหรือการจัดแบ่งความสำคัญของกฎบัตรแต่ละข้อ กฎหมายศาสนจักรจะประกอบด้วยคำแถลงการณ์และบทลงโทษทางวินัยถ้ากฎถูกละเมิด สภาสังคายนามักจะทำการลงโทษทางวินัยในทันที่ที่มีการละเมิดกฎ ทางนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ถือว่ากฎบัตรที่ออกโดยสภาสังคายนาเป็นกฎตายตัวและมีอำนาจครอบคลุมคริสตจักรที่อยู่ในเครือข่ายในขณะที่การลงโทษจะขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ซึ่งกฎบัตรอาจจะมีหรือไม่มีความหมายต่อสถานะการณ์ก็ได้ รายชื่อสภาสังคายนาสภาสังคายนาแห่งเยรูซาเลมหนังสือกิจการของอัครทูตบันทึกว่าสังคายนาเยรูซาเลมซึ่งเป็นการกล่าวปราศัยถึงความตึงเครียดระหว่างการพยายามรักษาจารีตของชาวยิวในศาสนาคริสต์ยุคแรกและผู้ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ แม้ว่ามติของที่ประชุมเป็นที่ยอมรับในคริสตจักร[3] และต่อมาคำจำกัดความของสภาสังคายนาก็ดูจะสอดคล้องกับสภาพระคัมภีร์ (Biblical Council) แต่การประชุมครั้งนี้ไม่นับว่าอยู่ในรายการการประชุมสภาสังคายนาอย่างเป็นทางการ สภาสังคายนาเจ็ดครั้งแรก
สภาสังคายนาครั้งที่แปด
สภาสังคายนาของอีสเติร์นออร์โธดอกซ์สภาสังคายนาของโรมันคาทอลิก
อ้างอิง
|