สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี อโนมสิริ)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี อโนมสิริ) เป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุติกนิกาย ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น เจ้าอาวาสวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร และเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่าศรี เกิดเมื่อปีจอ พ.ศ. 2357 บิดาเป็นชาวจีนแซ่อึง ทำอาชีพค้าขายทางทะเล เมื่ออายุได้ขวบครึ่งได้บิดามารดาพาท่านออกเดินทางไปด้วย เมื่อถึงช่องเสม็ด พวกลูกเรือได้ฆาตกรรมบิดามารดาท่าน พี่เลี้ยงพาท่านหนีออกมาได้ ป้าของท่านจึงเลี้ยงดูท่านแทนจนท่านอายุได้ 7 ขวบ จึงนำไปฝากกับพระอาจารย์สิงห์ วัดปทุมคงคา เพื่อให้ได้ศึกษาเล่าเรียน[1] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดปทุมคงคา แล้วศึกษาพระปริยัติธรรมต่อที่วัดนี้และวัดราชบุรณราชวรวิหาร ถึงปีมะเมีย พ.ศ. 2377 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดปทุมคงคาเช่นเดิม แล้วเข้าสอบพระปริยัติธรรมได้เป็นเปรียญธรรม 3 ประโยค เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะเป็นพระภิกษุประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ท่านได้บวชซ้ำในคณะธรรมยุตตามและถวายตัวเป็นข้าหลวงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักของพระองค์ สันนิษฐานว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระอุปัชฌาย์ ในระหว่างนี้ได้สอบพระปริยัติธรรมอีกจนจบเปรียญธรรม 9 ประโยค (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ว่าท่านสอบได้ถึงเปรียญธรรม 8 ประโยค แล้วไม่แปลต่อ แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าภูมิความรู้ท่านถึง 9 ประโยค จึงตั้งเป็นเปรียญธรรม 9 ประโยค)[1] ปี พ.ศ. 2494 ทรงตั้งท่านเป็นพระราชาคณะไปครองวัดปทุมคงคา ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ตราบจนมรณภาพ[1] สมณศักดิ์
ศาสนกิจพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าท่านรู้ภาษาบาลีมาก จึงโปรดให้ท่านเป็นหัวหน้าสมณทูตนำคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาออกไปเผยแผ่ในเกาะลังกา และสืบดูสถานการณ์ทางพระพุทธศาสนาที่นั่นในปีชวด พ.ศ. 2495[3] เสร็จภารกิจแล้วก็กลับมาครองวัดเดิม ในปี พ.ศ. 2416 ท่านได้รับเลือกเป็นคณปูรกะในการผนวชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย มรณภาพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี อโนมสิริ) อาพาธมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม มีหมอนวดและหมอยาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน หมอจากกระทรวงธรรมการ และหมอเชลยศักดิ์ศักดิ์ประจำตัว คอยรักษา แต่ก็ไม่ดีขึ้น เริ่มมีการอาหารหน้าและเท้าบวม ไอ หอบ จำวัดไม่หลับ จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่อังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 12 ปีมะเมีย สิริอายุ 81 ปี พรรษา 60[3] เมื่อจะรับแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ท่านได้ขอพระบรมราชานุญาตว่าเมื่อท่านมรณภาพ ขอให้ทำฮวงซุ้ยฝังศพท่านไว้ตามแบบธรรมเนียมจีน เมื่อท่านมรณภาพจึงพระราชทานหีบทองทึบบรรจุศพ และเครื่องเกียรติยศประกอบเหมือนผู้ได้รับพระราชทานโกศ[4] เสร็จการศพแล้วจึงฝังไว้ ณ วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร[1] อ้างอิง
|