พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
มหาอำมาตย์เอก มหาเสวกเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมุหมนตรีและองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่ ราชเลขานุการและอธิบดีกรมราชเลขานุการ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ มีพระนามเดิมเมื่อแรกประสูติว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ ประสูติเมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2403 เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหุ่น (ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวทรงกันดาล)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ พ.ศ. 2423 ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าไปรเวตสิเกรตารี (ราชเลขานุการ) กำกับดูแลกรมพระอาลักษณ์ จนกระทั่ง พ.ศ. 2435 กรมพระอาลักษณ์ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง เรียกว่า กระทรวงมุรธาธร และโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระคลังข้างที่ ซึ่งเดิมอยู่ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติมาขึ้นกับกระทรวงมุรธาธร
ช่วงปลาย พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมุรธาธร และกรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่อีกตำแหน่งหนึ่ง[4]
ต่อมาใน พ.ศ. 2436 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ เสด็จไปตรวจราชการที่หัวเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ไปทรงบังคับบัญชาราชการในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ และให้กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ทรงบังคับบัญชาราชการแทนในหน้าที่เสนาบดีกระทรวงมุรธาธรเป็นการชั่วคราว
ในช่วงปลายรัชกาล ทรงตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประพาสยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2450 พร้อมด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์, พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสรรพสาตรศุภกิจ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมขุนนครสวรรค์วรพินิต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2429 และทรงเลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ เมื่อปี พ.ศ. 2443
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ บรมธรรมิกราชวงษ์วิสุทธิ วชิราวุธราชปฤจฉานุวัตน์ รัตนบัณฑิตยชาติย์ สุขุมราชมันตนาธิบดี เมตตาสีตลหฤทัย พุทธาทิไตรรัตนคุณาลงกรณ์ ธรรมาทรบพิตร ทรงศักดินา 15,000[5] ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์เอก[6] ได้ดำรงตำแหน่งสมุหมนตรี และเป็นเสนาบดีที่ปรึกษา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2458 เวลา 15:02 น.[7] สิริพระชันษาได้ 55 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิกุล
พระกรณียกิจที่สำคัญ
พระโอรสและพระธิดา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลสวัสดิกุล มีพระชายา 1องค์, ชายา 1 องค์ และหม่อม 2 ท่าน ได้แก่
- หม่อมเจ้าหญิงจำรัส (ราชสกุลเดิม: นิลรัตน) พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
- หม่อมตลับ
- หม่อมเพิ่ม
- นักสุดาดวง ท.จ.[16] พระธิดาในพระองค์เจ้าแก้วมโนหอแห่งกัมพูชา พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดสระเกษ เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2451 (ร.ศ.127) ได้รับพระราชทานผ้าไตร 3 ไตร เงิน 200 เฟื้อง ผ้าขาวพับ 4 พับ เครื่องประโคมศพ กลองชนะ 10 จ่าปี 1 ฉัตรเบญจา 10 คัน[17]
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (7 กันยายน พ.ศ. 2403 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิประวัติ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2429)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ (22 ธันวาคม พ.ศ. 2429 - 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)[18]
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)[19]
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - ปัจจุบัน)
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ |
---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
---|
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
---|
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
---|
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
พระยศ
พระยศพลเรือน
- มหาเสวกเอก
- มหาอำมาตย์เอก[38]
พระยศเสือป่า
- 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 - นายหมู่ใหญ่[39]
- 26 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - นายกองตรี[40]
พงศาวลี
พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์
|
|
อ้างอิง
- เชิงอรรถ
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมุหมนตรี
- ↑ ประกาศแต่งตั้งเสนาบดีที่ปรึกษา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, <<หม่อมสอน สวัสดิกุล ณ อยุธยา (ปิยัมปุตระ)>>(การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๔๙๘
- ↑ ตำแหน่งข้าราชการกรมพระคลังข้างที่ รัตนโกสินทร ศก 117
- ↑ "ประกาศ เลื่อน แลตั้งกรม แลตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 1733–1735. 11 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2561.
- ↑ ได้รับพระราชทานยศเป็นมหาอำมาตย์เอก
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ คณะกรรมการกฤษฎีกา (ประเทศไทย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี
- ↑ ประกาศแต่งตั้งราชเลขาธิการ
- ↑ "แจ้งความกระทรวงธรรมการ ตั้งตำแหน่งอธิบดี กรมพยาบาลและศึกษาธิการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (50): 440. 12 มีนาคม ร.ศ. 111. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2563.
- ↑ ประกาศแต่งตั้งอธิบดีกรมพระคลังข้างที่
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมุหมนตรี และเสนาบดีที่ปรึกษา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๖, ตอน ๓๔, ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๒, หน้า ๔๙๘
- ↑ พระราชทานเพลิงศพ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 19 เมษายน ร.ศ.127 Link
- ↑ พระราชโองการแต่งตั้ง
- ↑ "พระราชโองการแต่งตั้ง" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 2020-04-27.
- ↑ 20.0 20.1 ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งกรม, เล่ม ๓ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๒๘๔, ๒๒ ธันวาคม ๑๒๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๑, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๗๙๒, ๑๒ พฤศจิกายน ๑๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่มที่ ๑๐ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๔๑๔, ๑๗ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๕๖, ๑๕ ตุลาคม ๑๓๐
- ↑ 25.0 25.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๗ หน้า ๔๐๔, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๘, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๓ หน้า ๔๕, ๒๐ เมษายน ๑๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๑, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มอักษรเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรป, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๘๔๔, ๒๔ พฤศจิกายน ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มพระชนมายุสมมงคล เก็บถาวร 2022-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๓๐, ๖ มีนาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกรมพระอาลักษณ์ เรื่อง พระราชทานเข็มตั้งสมุหมนตรีครั้งแรก เก็บถาวร 2022-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๔๔, ๒๕ ธันวาคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๕๑, ๕ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญต่างประเทศ, เล่ม ๒๔ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๑๐๐๗, ๒๒ ธันวาคม ๑๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๓๓๑, ๑๙ กันยายน ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๓๓๒, ๑๙ กันยายน ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๕ หน้า ๒๖๕, ๑๘ กันยายน ๑๑๗
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ "ประกาศเลื่อนยศนายเสือป่าพิเศษ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
- บรรณานุกรม
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 67-68. ISBN 978-974-417-594-6
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
สมเด็จพระ / กรมสมเด็จพระ | | |
---|
กรมพระยา | |
---|
กรมพระ | |
---|
กรมหลวง | |
---|
กรมขุน | |
---|
กรมหมื่น | |
---|
- = สืบราชสมบัติ
- = สยามมกุฎราชกุมาร
- * = กรมพระราชวังบวร
- ตัวเอียง = ฝ่ายใน
- ตัวหนา = ยังทรงพระชนม์
- † = หลังสิ้นพระชนม์
- X = ถอดจากฐานันดรศักดิ์
| |
|
---|
รัชกาลที่ 1 | | |
---|
รัชกาลที่ 2 | |
---|
รัชกาลที่ 3 | |
---|
รัชกาลที่ 4 | |
---|
รัชกาลที่ 5 | |
---|
รัชกาลที่ 6 | ไม่มีพระราชโอรส |
---|
รัชกาลที่ 7 | ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา |
---|
รัชกาลที่ 8 | ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา |
---|
รัชกาลที่ 9 | |
---|
รัชกาลที่ 10 | |
---|
()* สืบราชสมบัติ** กรมพระราชวังบวรสถานมงคล()^ สยามมกุฎราชกุมารX ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ |
|