Share to:

 

สะพานภูมิพล

สะพานภูมิพล
สะพานภูมิพล
พิกัด13°39′55″N 100°32′22″E / 13.66528°N 100.53944°E / 13.66528; 100.53944
เส้นทางถนนวงแหวนอุตสาหกรรม
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อทางการสะพานภูมิพล
ผู้ดูแลกรมทางหลวงชนบท
รหัสส.012 และ ส.013
เหนือน้ำสะพานทศมราชัน
ท้ายน้ำสะพานกาญจนาภิเษก
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานขึง
วัสดุคอนกรีตและเหล็ก
ความยาว702 เมตร (1)
582 เมตร (2)
ความสูง50 เมตร จากระดับน้ำถึงถนนด้านบน (1 และ 2)
ช่วงยาวที่สุด326 เมตร (1)
398 เมตร (2)
ประวัติ
ผู้ออกแบบพอลเล กุสตาฟสันส์
วันเริ่มสร้าง1 ตุลาคม พ.ศ. 2544
วันเปิด20 กันยายน พ.ศ. 2549
5 ธันวาคม พ.ศ. 2549
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
  • เป็นการสร้างสะพานขึงเคเบิลคู่ที่สร้างเร็วที่สุดในโลก
    และใหญ่ที่สุดในเอเชีย
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานภูมิพล หรือเดิม สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม[1] เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เชื่อมระหว่างถนนพระรามที่ 3 ถนนสุขสวัสดิ์ ถนนปู่เจ้าสมิงพราย และถนนกาญจนาภิเษก ลักษณะเป็นสะพานขึงขนาด 7 ช่องจราจร ประกอบด้วย 2 ช่วง คือ ช่วงเหนือ มีชื่อว่า "สะพานภูมิพล 1" เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลบางยอ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ทางด้านใต้หรือ "สะพานภูมิพล 2" เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มทดลองเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 และเปิดการจราจรอย่างเต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม

จากนั้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอังสนาของกองทัพเรือ ทรงประกอบพิธีเปิดสะพานภูมิพลอย่างเป็นทางการพร้อมกับประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ[2]

โครงสร้างพื้นฐาน

สะพานภูมิพล ประกอบด้วย 2 ช่วง คือ

  • สะพานภูมิพล 1 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือ เชื่อมระหว่างแขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร กับตำบลทรงคนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพานช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 326 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีต และเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 128 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าสามารถแล่นลอดได้
  • สะพานภูมิพล 2 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ เชื่อมระหว่างตำบลทรงคนองกับตำบลบางหญ้าแพรก อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นสะพานขึงเคเบิลคู่ขนาดกว้าง 7 ช่องจราจร (ขาขึ้นสะพาน 4 ช่อง และขาลงสะพาน 3 ช่อง) ที่ประกอบด้วยเสาสูง จำนวน 2 ต้น ความยาวสะพาน ช่วงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 398 เมตร เป็นโครงสร้างประกอบระหว่างคอนกรีตและเหล็ก และความยาวตัวสะพานในช่วงด้านหลัง 152 เมตร เป็นโครงสร้างแบบคอนกรีตอัดแรง ความสูงจากระดับน้ำสูงสุดที่กึ่งกลางสะพานประมาณ 50 เมตร เพื่อให้เรือบรรทุกหรือขนส่งสินค้าจากปากแม่น้ำเจ้าพระยาสามารถลอดได้เพื่อเข้าสู่ท่าเรือคลองเตย
  • ช่วงตะวันตก เป็นทางยกระดับข้ามถนนพระราชวิริยาภรณ์ ขนาด 5 ช่องจราจร (ขาขึ้นสะพาน 3 ช่อง และขาลงสะพาน 2 ช่อง) และเป็นทางระดับพื้นราบ ก่อนจะเป็นทางยกระดับอีกครั้งเมื่อบรรจบกับถนนสุขสวัสดิ์ โดยแยกเส้นทางออกไปจากช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
  • การก่อสร้างการเชื่อมสะพาน ใช้วิธีก่อสร้างทั้งสองฝั่งมาบรรจบกันตรงกลาง โดยทีมแขวนสะพานกำหนดระยะการเชื่อมสะพานแค่ 6 เดือน โดยการเชื่อมใช้พื้นคอนกรีตหนักอัดแรงหนักชิ้นละ 480 ตัน มาเชื่อมกัน โดยใช้เครนคู่ขนาดยักษ์ในดึงคอนกรีตขึ้นจากเรือขนส่งด้านล่าง ซึ่งการยกคอนกรีตมีเวลาแค่ 4 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น เพื่อเปิดทางให้การจราจรทางน้ำให้เป็นปกติ ใช้ระยะเวลาการก่อสร้างเพียง 4 เดือนเท่านั้น จากกำหนดเดิม 6 เดือน ซึ่งบันทึกในสถิติโลกว่า เป็นการสร้างสะพานขึงคู่ที่สร้างเร็วที่สุดในโลก[3]
สะพานภูมิพล 1 (ขวา) และสะพานภูมิพล 2 (ซ้าย) ขวามือเป็น ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์

การออกแบบ

สะพานแห่งนี้สร้างขึ้นด้วยงบประมาณของกรมทางหลวงชนบท ตามแบบเดิมจะเป็นอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา แต่ติดปัญหาด้านงบประมาณจึงปรับเป็นรูปแบบสะพาน วิศวกรผู้ออกแบบ Elljarn A.Jordet ชาวนอร์เวย์ และ Daniel J.Farquhar ชาวอังกฤษ ได้เลือกรูปแบบสะพานขึงเนื่องจากข้อกำหนดว่าตัวสะพานต้องสูงกว่าระดับน้ำ ไม่น้อยกว่า 50 เมตร ลักษณะโครงสร้างสถาปัตยกรรมมีรูปร่างเพรียว เพื่อความประหยัด สถาปนิกโครงการ Albert Yi กำหนดให้ระหว่างสะพานทั้งสองช่วง มีลักษณะคล้ายหัวแหวน โดยออกแบบให้มีลักษณะคล้ายพระธำมรงค์ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อสะพาน

เมื่อเปิดใช้สะพานใหม่ ๆ ในปี พ.ศ. 2549 สะพานเคยมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม" โดยเข้าใจผิดว่าเป็นนามพระราชทาน[4] จนกระทั่งนายวิชาญ คุณากูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2552 [5] ว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสะพานแห่งนี้ว่า "สะพานภูมิพล"

ทางแยก

รายชื่อทางแยกบน ถนนสะพานภูมิพล ทิศทาง: ถนนพระรามที่ 3–ถนนกาญจนาภิเษก
จังหวัด อำเภอ/เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
สะพานภูมิพล สะพานภูมิพล ๑ - สะพานภูมิพล ๒
กรุงเทพมหานคร ยานนาวา แยกพระรามที่ 3 - สะพานภูมิพล ๑ และ สะพานภูมิพล ๒ ถนนพระรามที่ 3 ไปคลองเตย ถนนพระรามที่ 3 ไปสะพานกรุงเทพ
สะพานภูมิพล ๑ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
สมุทรปราการ พระประแดง ทางแยกต่างระดับลัดโพธิ์ ไม่มี ถนนสุขสวัสดิ์ ไปอ.พระประแดง
สะพานภูมิพล ๒ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
สมุทรปราการ พระประแดง ทางขึ้น-ลงวัดบางหญ้าแพรก ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ไปสำโรง บรรจบถนนสุขุมวิท ถนนปู่เจ้าสมิงพราย ไปแม่น้ำเจ้าพระยา
ตรงไป: ทางเชื่อมต่อเฉลิมราชดำริ 84 พรรษา บรรจบทางพิเศษกาญจนาภิเษก
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เริ่มต้น ถนนพระรามที่ 3

สิ้นสุด ถนนกาญจนาภิเษก

งบประมาณ

ใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวน 3,660 ล้านบาท เงินกู้สมทบจาก JBIC วงเงิน 14,887 ล้านเยน รวมมูลค่าโครงการคิดเป็นเงินบาทรวมทั้งสิ้น 8,739 ล้านบาท โดยค่าเวนคืนรวมทั้งสิ้น 6,357 ล้านบาทที่จ่ายให้กับเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งสิ้น 767 ราย จำนวนที่ดิน 1,180 แปลง เนื้อที่ 347 ไร่ ค่าทดแทนที่ดินรวม 5,040 ล้านบาท จำนวนสิ่งปลูกสร้าง 1,338 หลัง ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งสิ้น 1,317 ล้านบาท[ต้องการอ้างอิง]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. * ในหลวงพระราชทานชื่อ "สะพานภูมิพล" ให้แก่กรมทางหลวงชนบท เก็บถาวร 2009-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. [1]เก็บถาวร 2010-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ในหลวงเสด็จฯลัดโพธิ์เปิดสะพานภูมิพล1-2. จากไทยโพสต์
  3. http://www.youtube.com/watch?v=kb1_cT3vibw
  4. "Bhumibol Bridge in Samut Prakan". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2010-12-04.
  5. "ในหลวง"พระราชทานชื่อ"สะพานภูมิพล"แก่สะพานวงแหวนอุตฯ[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

13°39′36″N 100°32′21″E / 13.659978°N 100.539086°E / 13.659978; 100.539086

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานทศมราชัน
สะพานภูมิพล 1 และ 2
ท้ายน้ำ
สะพานกาญจนาภิเษก
Kembali kehalaman sebelumnya