Share to:

 

สาธารณรัฐนอฟโกรอด

สาธารณรัฐนอฟโกรอด

Новгородскаѧ земьлѧ
Novgorodskaya Zemlya
ค.ศ. 1136–ค.ศ. 1478
ธงชาติสาธารณรัฐนอฟโกรอด
ธง (ตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1385)
สาธารณรัฐนอฟโกรอด ปรมาณ ค.ศ. 1400
สาธารณรัฐนอฟโกรอด ปรมาณ ค.ศ. 1400
เมืองหลวงนอฟโกรอด
ภาษาทั่วไปภาษาราชการ:
สำเนียงนอฟโกรอดเก่า,
ภาษาสลาวอนิกคริสตจักรเก่า
ภาษาไม่เป็นทางการ:
กลุ่มภาษาเจอร์แมนิก
ตระกูลภาษายูรัล
ศาสนา
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
การปกครองสาธารณรัฐระบอบผสม
เจ้าชาย 
• ค.ศ. 1136– ค.ศ. 1138 (คนแรก)
สเวียโตสลาฟ โอโกวิช
• ค.ศ. 1462– ค.ศ. 1478 (คนสุดท้าย)
อีวานที่ 3
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 1136
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1478
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิเคียฟรุส
สาธารณรัฐปัสคอฟ
แกรนด์ดัชชีมอสโก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ รัสเซีย
 ฟินแลนด์

สาธารณรัฐนอฟโกรอด (รัสเซีย: Новгородская республика, อังกฤษ: Novgorod Republic) เป็นสาธารณรัฐใหญ่ในยุคกลางของรัสเซียที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงเทือกเขายูรัล สาธารณรัฐนอฟโกรอดมีความรุ่งเรืองระหว่างคริสต์ศักราชที่ 12 ถึง 15 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณนอฟโกรอด คำว่า “สาธารณรัฐศักดินา” (feudal republic) เป็นคำที่มักจะใช้เรียกโดยนักวิชาการในสมัยโซเวียต และโดยนักวิชาการมาร์กซิสต์เพื่อให้ตรงกับปรัชญาทางประวัติศาสตร์ของลัทธิที่ประกอบด้วยยุคทาส ยุคศักดินา ยุคทุนนิยม ยุคสังคมนิยม และยุคคอมมิวนิสต์[1] แต่นักวิชาการในปัจจุบันตั้งความสงสัยว่ารัสเซียจะเคยใช้ระบบศักดินาในความหมายเดียวกับที่ใช้ในตะวันตกในยุคกลางจริงหรือไม่[2] และคำว่า “สาธารณรัฐศักดินา” ก็ไม่เคยได้รับการใช้โดยชาวนอฟโกรอดเองแต่จะเรียกนครรัฐของตนเองว่า “อาณาจักรลอร์ดแห่งนอฟโกรอดเดอะเกรต” (His Majesty (หรือ Sovereign) Lord Novgorod the Great) (Государь Господин Великий Новгород) หรือ “ลอร์ดแห่งนอฟโกรอดเดอะเกรต” (Господин Великий Новгород)[3] อาณาบริเวณทั้งหมด - ทั้งตัวเมืองและดินแดนที่ไกลออกไป - รู้จักกันว่าเป็น “ดินแดนนอฟโกรอด” (Novgorodian Land)

นอฟโกรอดเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเคียฟรุสมาจนกระทั่งถึงราวปี ค.ศ. 1019 หรือ ค.ศ. 1020 เจ้าแห่งนอฟโกรอดแต่งตั้งโดยแกรนด์พริ้นซ์แห่งเคียฟซึ่งมักพระเป็นพระโอรสองค์ใดองค์หนึ่ง นอฟโกรอดมีบทบาทสำคัญทางการเมืองต่อชนรุสเรื่อยมาโดยการช่วยเหลือวลาดิเมียร์มหาราชแห่งเคียฟ และในการหนุนหลังยาโรสลาฟเดอะไวส์ขึ้นเป็นกษัตริย์ของเคียฟ สิ่งแรกที่ทรงทำคือทรงพระราชทางสิทธิพิเศษต่างๆ ให้นอฟโกรอดซึ่งเท่ากับเป็นการปูรากฐานในการเป็นสาธารณรัฐของนอฟโกรอดต่อมา

อ้างอิง

  1. Karl Marx and Friedrich Engels, The Communist Manifesto.
  2. See, for example, Igor Froianov, Kievskaia Rus; ocherki sotsial’no-ekonomicheskoĭ istorii. (Leningrad: Leningrad State University, 1974).
  3. Gospodin Velikiy Novgorod is also the name of a 1984 Soviet film starring future People's Artist of the Soviet Union Oleg Strizhenov. It was, however, about Novgorod in the Second World War, and was not set in the medieval period.

ดูเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya