Share to:

 

สามารถ ม่วงศิริ

สามารถ ม่วงศิริ
สามารถ ใน พ.ศ. 2555
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าถวิล ไพรสณฑ์
สากล ม่วงศิริ
ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ
ถัดไปวัน อยู่บำรุง
เขตเลือกตั้งเขต 28
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (55 ปี)
เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2542–ปัจจุบัน)

พลตำรวจตรี นายแพทย์ สามารถ ม่วงศิริ (เกิด 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2512) นายแพทย์ (สบ 6) โรงพยาบาลตำรวจ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์


ประวัติ

สามารถ ม่วงศิริ เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[1] เป็นบุตรของนายประเสริฐ ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร กับ นางรัตนา ม่วงศิริ และเป็นพี่ชายของนายสากล ม่วงศิริ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และนายสารัช ม่วงศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

การศึกษา

  • ประถมศึกษาตอนต้น โรงเรียนป้วยฮั้วกงฮัก
  • ประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดหนัง
  • มัธยมศึกษา โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • ปริญญา แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประกาศนียบัตร วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ
  • Visiting fellow in Hip and Knee Service, Hospital for Special Surgery, New York, U.S.
  • แพทย์เวชศาสตร์การบิน สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ
  • การบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 40 วิทยาลัยการตำรวจ
  • การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 20 สถาบันพระปกเกล้า

การทำงาน

  • นายแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลกลาง กรมราชทัณฑ์
  • นายแพทย์ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลตำรวจ
  • นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อเข่าและข้อสะโพก
  • กรรมการชมรมศัลยแพทย์ข้อเข่าข้อสะโพก แห่งประเทศไทย
  • หัวหน้าศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาล โรงพยาบาลตำรวจ
  • ประธานศูนย์ความเป็นเลิศการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ โรงพยาบาลตำรวจ
  • หัวหน้าทีมปฏิบัติการ โรงพยาบาลตำรวจ ภารกิจช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่า จ.เชียงราย

งานการเมือง

สามารถได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยเอาชนะ วัน อยู่บำรุง จากพรรคเพื่อไทยไปได้ ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิม แต่ไม่ได้รับเลือก[2]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๔". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-25. สืบค้นเมื่อ 2017-01-28.
  2. "ตรวจคะแนน เลือกตั้ง ส.ส.กทม.ครบ 30 เขต!". mgronline.com. 2019-03-25.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔ เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓๒๖, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
Kembali kehalaman sebelumnya