Share to:

 

สุชาติ เหมือนแก้ว

สุชาติ เหมือนแก้ว
ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552
(0 ปี 266 วัน)
ก่อนหน้าอัศวิน ณรงค์พันธ์
ถัดไปเฉลิมชัย จงศิริ
(รักษาราชการแทน)
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
(0 ปี 128 วัน)
ก่อนหน้าอัศวิน ขวัญเมือง
ถัดไปวรพงษ์ ชิวปรีชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด4 มกราคม พ.ศ. 2494 (73 ปี)
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการพ.ศ. 2516- พ.ศ. 2554
ชั้นยศพลตำรวจโท

พลตำรวจโท สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 (ผบช.ภ.4) เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2494 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26 รุ่นเดียวกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จบปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2538 และนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปี พ.ศ. 2543 ผ่านการอบรมหลักสูตรโรงเรียนผู้บัญชาการรุ่นที่ 18 (ร.ร.ผบก) และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 48 (วปอ 48)

ประวัติ

รับราชการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2516 ในกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) จากนั้นได้ผ่านตำแหน่งสำคัญในกองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) เป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในปี พ.ศ. 2547 และเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551

พล.ต.ท.สุชาติ ได้รับการคาดหมายว่าจะดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเป็นคนต่อไป แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 ขึ้น ได้มีคำสั่งโยกย้าย พล.ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผบ.ช.น. ไปเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และแต่งตั้งให้ พล.ต.ท.สุชาติ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทนในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ต่อมาในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงถูกย้ายไปเป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 (ผบช.ภ.4)

จากนั้นในปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 สำนักงานตำรวจแห่งชาติมีมติปลด พล.ต.ท.สุชาติออกมาจากราชการ เนื่องจากมีความผิดร้ายแรงจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จากการชี้มูลของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ซึ่งในขณะนั้น พล.ต.ท.สุชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ด้วยการเป็น ผบ.ชน. ซึ่งในเรื่องนี้เจ้าตัวบอกว่าจะไม่ขออุทธรณ์[1]

พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว มีชื่อเล่น ๆ ที่เพื่อนร่วมรุ่นเรียกว่า "ไอ้เบื๊อก" จึงกลายมาเป็นชื่อที่สื่อมวลชนเรียกว่า "บิ๊กเบื๊อก" หรือ "เดอะ เบื๊อก"

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ปลด"สุชาติ"-เจ้าตัวลั่นไม่ยื่นอุทธรณ์[ลิงก์เสีย]จากคมชัดลึก
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๖ มกราคม ๒๕๒๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๘, ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๑

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya