Share to:

 

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ
National Anti-Corruption Commission
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งเมษายน พ.ศ. 2542
ประเภทองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 361 ถนนนนทบุรี 1 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี 11000
งบประมาณต่อปี2,239 ล้านบาท (พ.ศ. 2562)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • วิทยา อาคมพิทักษ์, ประธานกรรมการ
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ย่อ: คณะกรรมการ ป.ป.ช.) (อังกฤษ: National Anti-Corruption Commission) เป็นคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วย กรรมการจำนวน 9 คน[1] ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ผู้ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เลขาธิการ​คนปัจจุบัน​ได้แก่ สาโรจน์ พึงรำพรรณ

ประวัติ

ยุคคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ หรือชื่อย่อ ป.ป.ป. จัดตั้งขึ้นในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2518 โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. 2518 เหตุผลในการจัดตั้ง ป.ป.ป. สืบเนื่องมาจากขบวนการนักศึกษาและประชาชนกดดันให้รัฐบาลยึดทรัพย์สินของผู้นำรัฐบาลที่ถูกโค่นล้มไปในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามทุจริตที่แพร่ระบาดมากในวงราชการ

โดยมีการแต่งตั้งกรรมการ ป.ป.ป. ชุดแรก ตามคำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ 45/2519 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการอีก 10 คน รวมเป็น 11 คน ได้แก่[2]

ยุคคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

มีการจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

การสรรหา

การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 5/1[3]เมื่อมีกรณีที่ต้องสรรหาและคัดเลือกกรรมการ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ในการสรรหากรรมการ ให้คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการ ป.ป.ช. และคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินสรรหาและเสนอรายชื่อบุคคลผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๖ และมาตรา ๗ (๔) องค์กรละห้าคน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุทำให้ต้องมีการสรรหาและคัดเลือกกรรมการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคัดเลือก สำหรับกรณีที่เป็นการสรรหาเพื่อแต่งตั้งกรรมการ แทนตำแหน่งที่ว่าง ให้องค์กรดังกล่าวแต่ละองค์กรเสนอรายชื่อเท่าจำนวนกรรมการที่ว่างลง
2. ให้มีคณะกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นกรรมการคัดเลือก โดยให้เลือกกันเอง เป็นประธานกรรมการคัดเลือกคนหนึ่ง ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ผู้ทำการแทน ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น ทำหน้าที่กรรมการคัดเลือกแทน
3. ให้คณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการจากรายชื่อบุคคลตาม (๑) ให้ได้จำนวนตามที่จะต้องแต่งตั้ง
4. ในกรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกคัดเลือกบุคคลได้ไม่ครบจำนวนตาม (๓) ให้แจ้งให้องค์กรตาม (๑) แต่ละองค์กรเสนอรายชื่อบุคคลใหม่เป็นจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการที่ยังขาดอยู่ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการคัดเลือกบุคคลได้ไม่ครบจำนวนดังกล่าว และให้คณะกรรมการคัดเลือกดำเนินการคัดเลือกเพิ่มเติมตาม (๓) เป็นกรรมการเพิ่มเติมจากที่มีการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการไว้แล้ว
5. เมื่อได้มีการคัดเลือกบุคคลเป็นกรรมการครบจำนวนแล้ว ให้ผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการประชุมเลือกกันเองเพื่อเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง และให้คณะกรรมการคัดเลือกแจ้งรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเป็นประธานกรรมการและกรรมการ พร้อมเอกสารหลักฐานตามมาตรา ๗ วรรคสอง รวมทั้งความยินยอมของบุคคลดังกล่าวต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกกรรมการตาม (๓) และ (๔) ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนด

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นเสนอต่อวุฒิสภา เกี่ยวกับการถอดถอนจากตำแหน่ง
  2. ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งทำความเห็นส่งไปยังอัยการสูงสุด เพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 308 ของรัฐธรรมนูญ
  3. ไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปรกติ กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
  4. การตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
  5. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่งและชั้นหรือระดับของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
  6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
  7. รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ทุกปี และนำรายงานออกเผยแพร่# เสนอมาตรการ ความเห็น หรือข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี รัฐสภา ศาล หรือคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ หรือวางแผนงานโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ เพื่อป้องกันหรือปราบปรามการทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม
  8. ดำเนินการส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนสิทธิหรือเอกสารสิทธิที่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้อนุมัติหรืออนุญาตให้สิทธิประโยชน์หรือออกเอกสารสิทธิแก่บุคคลใดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ทางราชการ
  9. ดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตและเสริมสร้างทัศนคติและค่านิยมเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต
  10. ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งเลขาธิการ
  11. แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
  12. ดำเนินการอื่นตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต หรือกฎหมายอื่นกำหนด

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่ง 9 ปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว

สำนักงาน ป.ป.ช.

รายนามคณะกรรมการ

ปี 2542-2546

ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 1 เมษายน พ.ศ. 2542 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546

  1. โอภาส อรุณินท์ ประธานกรรมการ
  2. พันโท กมล ประจวบเหมาะ กรรมการ
  3. เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม กรรมการ
  4. ณัฏฐ์ ศรีวิหค กรรมการ
  5. ประสิทธิ์ ดำรงชัย กรรมการ
  6. เภสัชกรหญิง คุณหญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา กรรมการ
  7. ฤดี จิวาลักษณ์ กรรมการ
  8. วิรัตน์ วัฒนศิริธรรม กรรมการ
  9. พลโท สวัสดิ์ ออรุ่งโรจน์ กรรมการ

ปี 2547-2548

สิ้นสุดวาระก่อนกำหนด จากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้จำคุกจำเลยคนละ 2 ปี แต่เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยทั้ง 9 แล้ว โทษจำคุกศาลให้รอลงอาญาไว้ 2 ปี ฐานกระทำผิดทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีขึ้นค่าตอบแทนให้ตนเอง[4]

  1. พลตำรวจเอก วุฑฒิชัย ศรีรัตนวุฑฒิ ประธานกรรมการ
  2. ชิดชัย พานิชพัฒน์ กรรมการ
  3. เชาว์ อรรถมานะ กรรมการ
  4. ประดิษฐ์ ทรงฤกษ์ กรรมการ
  5. พินิต อารยะศิริ กรรมการ
  6. ยงยุทธ กปิลกาญจน์ กรรมการ
  7. วิเชียร วิริยะประสิทธิ์ กรรมการ
  8. พลตำรวจโท ดร.วิเชียรโชติ สุกโชติรัตน์ กรรมการ
  9. วิสุทธิ์ โพธิแท่น กรรมการ

ปี 2549 - 2558

แต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549

  1. ปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานกรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
  2. กล้านรงค์ จันทิก กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 17 กันยายน พ.ศ. 2556)
    ณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ (แต่งตั้งเพิ่มเติม 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556[5]- 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565)
  3. ใจเด็ด พรไชยา กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2557)
    สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ (แต่งตั้งเพิ่มเติม 18 กันยายน พ.ศ. 2557[6])
  4. ประสาท พงษ์ศิวาภัย กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
  5. เภสัชกร ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
  6. ศาสตราจารย์เมธี ครองแก้ว กรรมการ (พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปี เมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555)
    พลตำรวจเอก สถาพร หลาวทอง กรรมการ (แต่งตั้งเพิ่มเติม 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555[7]-5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564)
  7. ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 – 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
  8. วิชัย วิวิตเสวี กรรมการ (22 กันยายน พ.ศ. 2549 - 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558)
    ไม่มีแต่งตั้งแทน
  9. สมลักษณ์ จัดกระบวนพล กรรมการ (พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากอายุครบ 70 ปี เมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)
    ปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ (แต่งตั้งเพิ่มเติม 29 กันยายน พ.ศ. 2553[8]-15 กันยายน พ.ศ. 2562)

ปี 2558 - 2566

30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 5 คน[9]รายชื่อต่อไปนี้ออกจากตำแหน่งตามวาระแล้ว 2 ราย

  1. พลเอก บุณยวัจน์ เครือหงส์ กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2566) [10]
  2. สุรศักดิ์ คีรีวิเชียร กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558[11]- 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) [12]

และมีกรรมการที่ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องจากประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ได้แก่

  1. สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ (9 กันยายน พ.ศ. 2557 - 8 กันยายน พ.ศ. 2566)
  2. พลตำรวจเอก สถาพร หลาวทอง กรรมการ ( 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564)
  3. ปรีชา เลิศกมลมาศ กรรมการ (29 กันยายน พ.ศ. 2553 - 15 กันยายน พ.ศ. 2562)
  4. ณรงค์ รัฐอมฤต กรรมการ (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565)

ปี 2567 - ปัจจุบัน

30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 5 คน[13] 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 มีพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จำนวน 2 คน[14]

  1. วิทยา อาคมพิทักษ์ ประธานกรรมการ (10 กันยายน พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)
  2. สุวณา สุวรรณจูฑะ กรรมการ (30 ธันวาคม พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน) [15]
  3. ณัฐจักร ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา กรรมการ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
  4. สุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน)
  5. เอกวิทย์ วัชชวัลคุ กรรมการ (3 มกราคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน)[16]
  6. นายกองเอก แมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ เป็น กรรมการ (22 มีนาคม พ.ศ. 2567 -ปัจจุบัน)
  7. ศาสตราจารย์พิเศษ ภัทรศักดิ์ วรรณแสง เป็น กรรมการ (6 มิถุนายน พ.ศ. 2567 -ปัจจุบัน)

ข้อวิจารณ์

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 คณะกรรมการ ปปช. ได้ออกคำสั่งให้สภามหาวิทยาลัยทุกคนทุกมหาวิทยาลัย ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน - หนี้สิน ทำให้ส่งผลกระทบต่อสมเด็จพระสังฆราช ในตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ และทำให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยในประเทศหลายแห่งไม่พอใจในคำสั่ง[17][18][19] 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ลงมติเห็นชอบกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติหนึ่งรายได้แก่

  1. ดร.[20]พศวัจณ์ กนกนาก แต่ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งจนปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-04-07. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
  2. คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๔๕/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
  3. การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 5/1
  4. "ข่าวคำพิพากษาจากผู้จัดการออนไลน์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-27. สืบค้นเมื่อ 2006-04-20.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (พลตำรวจเอก สถาพร หลาวทอง)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (นายปรีชา เลิศกมลมาศ)
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ พ้นจากตำแหน่งอายุครบ70ปี
  13. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  16. โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง “เอกวิทย์ วัชชวัลคุ” เป็น กรรมการ ป.ป.ช. แล้ว
  17. มก.ไม่กระทบยื่นบัญชีทรัพย์สิน ตั้งทีมช่วยทำเอกสารแจง
  18. มี กก.สปสช.สภามหา’ลัยไขก๊อกแล้ว ชิ่งกฎ ป.ป.ช.แจงทรัพย์!
  19. มหา'ลัยเปิดศึกชน “บิ๊กกุ้ย” กฎเหล็กใหม่ยื่นบัญชีทรัพย์สินบ้อท่า พิสูจน์ชัด “เหวี่ยงแห-กำลังภายในคนละชั้น”
  20. เปิดประวัติ"พศวัจณ์ กนกนาก"หลังวุฒิสภาไฟเขียวนั่ง"กรรมการ ป.ป.ช."

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya