สุพรรณิการ์
สุพรรณิการ์ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cochlospermum regium)[1] เป็นไม้ผลัดใบที่มีถิ่นกำเนิดในแถบทุ่งหญ้าเขตร้อนแซราดู (Cerrado) ในทวีปอเมริกาใต้[2] (บริเวณประเทศบราซิล, โบลิเวีย, ปารากวัย) และมี (ชื่อสามัญ Yellow Silk Cotton, Butter-Cup (Single), Butter-Cup (Double),Torchwood) แต่ปัจจุบันพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน สุพรรณิการ์มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ใกล้เคียงกับฝ้ายคำมาก ข้อแตกต่างที่สำคัญประการหนึ่งคือ ฝ้ายคำจะออกดอกเพียงชั้นเดียว มี 5 กลีบ และบานทีละดอก ในขณะที่สุพรรณิการ์จะมีทั้งชนิดที่ออกดอกชั้นเดียวและชนิดที่ออกดอกซ้อนกันเป็นกระจุกแน่น โดยบานพร้อม ๆ กัน[3]และสุพรรณิการ์ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสระบุรี ลักษณะทั่วไปเป็นต้นไม้ผลัดใบสูง 7-15 เมตร แผ่นใบแยกเป็น 5 แฉก ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อออกกระจายที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก ดอกเหลืองมีกลิ่น กลีบบาง เกสรสีเหลือง รังไข่มีขน ผลกลมเมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย ออกดอกเกือบตลอดปี ดอกดกมาก ราวเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมือง ของประเทศพม่าด้วย ในประเทศศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถเพื่อเป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ ในประเทศไทยนิยมปลูกสุพรรณิการ์เป็นไม้ประดับ โดยได้รับการกำหนดให้เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนครนายก และเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก สระบุรี บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี และอุทัยธานี[4][5][6] สัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษา
ระเบียงภาพ
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สุพรรณิการ์
|