สุรินทร์ ปาลาเร่
พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ ม.ป.ช. ม.ว.ม. (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย[1] และเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา และอดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน ประวัติสุรินทร์ เกิดวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรนายดารุ๊ฟ กับ นางมารีย๊ะ ปาลาเร่ ด้านครอบครัวสมรสกับนางจรีพร ปาลาเร่ มีบุตร-ธิดา 3 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)[2] การทำงานพลตํารวจตรีสุรินทร์ เป็นอดีตข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2549[3] และได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด จากนั้นก็ได้พ้นจากตำแหน่งหลังจากมีการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) จากนั้นจึงเข้าร่วมกับนายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ จัดตั้งกลุ่มสัจานุภาพ และเข้าสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550[4] แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พลตำรวจตรีสุรินทร์ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงกลับเข้ารับราชการต่อโดยเกษียณอายุราชการในเวลาต่อมา พล.ต.ต.สุรินทร์มีความสนิทกับนายอาศิส พิทักษ์คุมพล อดีตจุฬาราชมนตรี ตั้งแต่เมื่อครั้งที่นายอาศิสยังเป็นประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา เมื่อได้รับเลือกเป็นจุฬาราชมนตรี จึงเสนอชื่อให้ พล.ต.ต.สุรินทร์ เพื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยในสัดส่วนของจุฬาราชมนตรี โดยในเวลานั้นนายพิเชษฐ สถิรชวาล เลขาธิการคณะกรรมการกลางอสลามแห่งประเทศไทยในขณะนั้นได้เคลื่อนไหวทางการเมืองกดดันรัฐบาลในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่านายพิเชษฐเป็นคนสนิท ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนายพิเชษฐเองก็เป็นแกนนำพรรคเพื่อไทยด้วย ดังนั้นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงมีมติให้ยกเลิกโครงสร้างเดิมในสมัยนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ อดีตจุฬาราชมนตรีและประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทำให้นายพิเชษฐพ้นจากตำแหน่ง จากนั้นคณะกรรมการจึงเลือกพล.ต.ต.สุรินทร์ดำรงตำแหน่งแทน[5] นอกจากนี้แล้วพล.ต.ต.สุรินทร์ ยังเป็นเลขานุการจุฬาราชมนตรีอีกด้วย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 พล.ต.ต.สุรินทร์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดสงขลาอีกครั้ง โดยสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ แข่งขันกับ นายอัศวิน สุวิทย์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นน้องชายของนายนาราชา สุวิทย์ อดีต ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย ที่ทางพรรคมิได้พิจารณาส่งลงสมัครในครั้งนี้ จึงได้ย้ายออกจากพรรคประชาธิปัตย์ทั้งครอบครัวไปสมัครในนามพรรคเพื่อไทย[6] ผลการเลือกตั้ง พล.ต.ต.สุรินทร์ได้รับเลือกตั้งไปในที่สุด[7] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|