หนานหมาน
หนานหมาน (จีน: 南蠻; ยฺหวิดเพ็ง: Naam4 Maan4; เป่อ่วยยี: Lâm-bân, แปลว่า อนารยชนทางใต้) เดิมเป็นชื่อเรียกของชนเผ่าบางกลุ่มในภาคใต้ของจีน โดย 3 ราชวงศ์ ในสมัยราชวงศ์เซี่ยจนถึงสมัยราชวงศ์โจว หรือ ชนชาติในที่ราบลุ่มภาคกลาง[1] ชนชาติฮั่น[2] ซึ่งวิวัฒนาการมาจากชนเผ่าต่าง ๆ ในจิ่วโจวสืบทอดชื่อนี้และใช้แทนชนชาติต่างชาติที่ไม่ใช่ชาวฮั่นในภาคใต้ ในมุมมองแบบเอาชาวจีนเป็นศูนย์กลางแล้ว ซีหรง, ตงอี๋, เป่ย์ตี๋ และหนานหมาน ถูกเรียกรวมกันว่าซื่ออี๋ (四夷) บางแนวคิดบ่งบอกให้เห็นว่าดินแดนของราชวงศ์ซ่งใต้ ในอดีตถูกชาวมองโกล เรียกว่า หมานจึกั๋ว (蠻子國) ซึ่งหมายถึงแดนเถื่อน[3] ส่วนชาวแมนจูเรียกชาวฮั่นว่า หมานจึ (蠻子)[4] และ กองทัพราชวงศ์ชิงเองก็เรียกชาวฮั่นว่า หมานจึ (蠻子)[5] "หนานหมาน" ก่อนยุคฉินกษัตริย์แห่งฉู่เคยเรียกตัวเองว่า หมานอี๋ (蠻夷)[6] ชาวจิ้นและชาวเจิ้งต่างก็เรียกพวกเขาว่าจิงหมาน (荊蠻)[7] และต่อมาชาวฉู่ก็กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ถูกเรียกว่า จูเซี่ย (諸夏)[8][9] นอกจากนี้ ราชวงศ์โจวใช้คำว่า 蠻 เรียกกลุ่มชนเผ่าอื่น ๆ ในสมัยนั้น เช่นพวก เยวี่ย (越), ยง (庸), ไป่ผู (百濮), ปา (巴), สู่ (蜀), เจียวเหยา (僬僥), เต่าอี๋ (島夷), ซานเหมียว (三苗) เหออี๋ (和夷) นักวิชาการชื่อหลู เหม่ย์ซง (盧美松) เชื่อว่า 蠻 เป็นคำที่เรียกตัวเอง หมายถึง "คน, ประชนชน"[10] นักภาษาศาสตร์ ไป๋ อีผิง (白一平) และซาเจียเอ่อร์ (沙加爾) ได้รื้อฟื้นการสร้างการออกเสียงของภาษาจีนโบราณขึ้นมาใหม่ แล้วมองว่า 蠻 ในภาษาจีนโบราณออกเสียงว่า *mˤro[n] ซึ่งคล้ายกับคำว่า 閩 ซึ่งใช้เรียกกลุ่มชนเผ่าทางใต้ซึ่งอ่านว่า *mrə[n] มาก[11] สวี ซวี่เซิง (徐旭生) มองว่าต้นกำเนิดที่สำคัญทั้งสามของชาวจีนคือเผ่าหัวเซี่ย, ตงอี๋ และ หนานหมาน[12] "หนานหมาน" ในฐานะคนนอกเผ่าพวกต่างชาติที่จัดอยู่ในกลุ่มหนานหมานได้แก่: หลินอี๋ (林邑), ฝูหนาน (扶南)[13][14], เหลียวเหริน (獠人)[15], หลี่จู๋ (俚族)[16], ผานผาน (盤盤), หลางหยาซิว (狼牙脩) , ซือจึกั๋ว (師子國)[17], หนานเจ้า (南詔), ซื่อลี่ฝัวซื่อ (室利佛逝), หนานผิงเหลียว (南平獠), เปียวกั๋ว (驃國), เจินลา (真臘), ตงเซี่ยหมาน (東謝蠻), ซีเจ้าหมาน (西趙蠻) ฯลฯ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุยและถัง ชนกลุ่มน้อยทางตอนใต้เรียกว่าถงหมาน (峒蠻) และ ต้งหมาน (洞蠻) ในช่วงราชวงศ์ชิง มีบางส่วนมองว่าชาวซูงการ์ เรียกชาวแมนจูว่า หมานจึ[18] 南蠻 ในวัฒนธรรมญี่ปุ่นหมายถึงชาวยุโรปตั้งแต่ได้เริ่มทำการค้ากับยุโรปในศตวรรษที่ 15 (ดูรายละเอียดที่ ศิลปะนัมบัง)[19] อ่านเพิ่มเติมอ้างอิง
|